คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
มณฑลพายัพ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
มณฑลพายัพ เป็นมณฑลหนึ่งในการปกครองส่วนภูมิภาคในระบบมณฑลเทศาภิบาลของราชอาณาจักรสยาม ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของไทยในปัจจุบัน
Remove ads
Remove ads
ประวัติศาสตร์
สรุป
มุมมอง
การปฏิรูปการปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ
หลังจากที่อาณาจักรสยามได้ลงนามในสนธิสัญญาเบาวริ่งในปี พ.ศ. 2398 อังกฤษได้เข้ามาทำการค้ากับสยามมากขึ้น สินค้าที่อังกฤษมีความต้องการ คือ ไม้สัก ในสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร ได้มีคนในบังคับอังกฤษเข้ามาทำไม้ในเขตนครเชียงใหม่เป็นจำนวนมาก และเกิดการทะเลาะแก่งแย่งผลประโยชน์ระหว่างคนในบังคับอังกฤษกับบรรดาเจ้านายและเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ กรณีพิพาทได้ลุกลามมาถึงกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และยืดเยื้อมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จากสภาพปัญหาดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยที่จะแก้ไขปัญหาก่อนที่อังกฤษซึ่งเป็นมหาอำนาจจะเข้ามาแทรกแซงจนเป็นปัญหาใหญ่ต่อไป ในปี พ.ศ. 2427 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร เป็นข้าหลวงต่างพระองค์ขึ้นไปจัดการศาลต่างประเทศและทำหน้าที่ชำระคดีความระหว่างคนในบังคับอังกฤษกับเจ้านายฝ่ายเหนือ พร้อมทั้งจัดระเบียบการปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือใหม่
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริในการปฏิรูปการปกครองโดยเฉพาะการปฏิรูปหัวเมือง ต่อมาในปี พ.ศ. 2437 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกการจัดการปกครองหัวเมืองจากเมืองประเทศราช หัวเมืองชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี ชั้นจัตวา แล้วใช้การปกครองระบบเทศาภิบาลแทน โดยแบ่งการจัดการปกครองออกเป็น มณฑล เมือง อำเภอ ในแต่ละมณฑลจะมี “ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑล” หรือ “ข้าหลวงใหญ่” (ต่อมาเรียกว่าผู้บัญชาการมณฑล) ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคัดเลือกจากผู้ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้ปฏิบัติงานต่างพระเนตรพระกรรณ แล้วทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวม นครเชียงใหม่, นครน่าน, นครลำปาง, นครลำพูน, นครแพร่, เมืองเถิน เข้าเป็น “มณฑลลาวเฉียง” และมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครเชียงใหม่ หัวเมืองฝ่ายเหนือจึงสิ้นสุดความเป็นเมืองประเทศราชหรือนครรัฐอิสระ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา[2]
มณฑลลาวเฉียง
ในปี พ.ศ. 2437 หัวเมืองประเทศราชล้านนา ถูกจักรวรรดิอังกฤษและจักรวรรดิฝรั่งเศสขนาบโอบล้อมทั้งสองด้าน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมหัวเมืองในดินแดนล้านนา จัดตั้งขึ้นเป็น "มณฑลลาวเฉียง" หรือ "มณฑลพายัพ" ในเวลาต่อมา หัวเมืองในดินแดนล้านนา อันประกอบด้วยหัวเมืองสำคัญ ได้แก่ นครเชียงใหม่, นครน่าน, นครลำปาง, นครลำพูน, นครแพร่ และเมืองเถิน จึงถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสถานะของหัวเมืองในดินแดนล้านนาจากหัวเมืองประเทศราชกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสยามอย่างสมบูรณ์
มณฑลพายัพ
ต่อมาเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อมณฑลเป็น "มณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ" แล้วจึงเปลี่ยนมาเป็น "มณฑลพายัพ" ในปลายปีเดียวกัน ซึ่งประกอบด้วย 6 หัวเมือง ได้แก่
- นครเชียงใหม่ - ครอบคลุมพื้นที่ ดังนี้
- นครลำปาง - ครอบคลุมพื้นที่ ดังนี้
- นครลำพูน - ครอบคลุมพื้นที่ ดังนี้
- นครน่าน - ครอบคลุมพื้นที่ ดังนี้
- เมืองเชียงของ
- เมืองเทิง
- เมืองเชียงคำ
- เมืองเชียงลม
- เมืองคอบ
- เมืองเชียงฮ่อน
- เมืองจอมเพชร แขวงหลวงพระบาง (สปป. ลาว)
- แขวงไชยบุรี (สปป. ลาว ทั้งหมด)
- นครแพร่ - ครอบคลุมพื้นที่ ดังนี้
- เมืองเถิน (ต่อมาในปี พ.ศ. 2446 ถูกยุบรวมเข้ากับนครลำปาง)
ต่อมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยก นครลำปาง, นครน่าน และนครแพร่ ออกจากมณฑลพายัพ และให้จัดตั้งเป็น "มณฑลมหาราษฎร์" โดยมีสำนักข้าหลวงใหญ่มณฑลตั้งอยู่ที่นครแพร่
ต่อมาเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบมณฑลมหาราษฎร์ แล้วให้กับเข้ามารวมกันมณฑลพายัพตามเดิม
Remove ads
รายพระนามเจ้าผู้ครองนคร
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
เจ้าผู้ครองนครลำพูน
เจ้าผู้ครองนครลำปาง
เจ้าผู้ครองนครน่าน
เจ้าผู้ครองนครแพร่
Remove ads
ข้าหลวงเทศาภิบาล
สรุป
มุมมอง
เมื่อปี พ.ศ. 2437 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยกเลิกการจัดการปกครองหัวเมือง แบบเมืองประเทศราช หัวเมืองชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี ชั้นจัตวา แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ใช้การปกครองแบบเทศาภิบาลแทน โดยแบ่งการปกครองออกเป็น "มณฑล" , "เมือง" , "อำเภอ" ในแต่ละมณฑลจะมี “ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑล” หรือ “ข้าหลวงใหญ่” (ต่อมาเรียกว่าผู้บัญชาการมณฑล) ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้ปฏิบัติงานต่างพระเนตรพระกรรณ สำหรับมณฑลพายัพ มีข้าหลวงใหญ่ หรือ สมุหเทศาภิบาล ดังนี้
โรงเรียนประจำมณฑลพายัพ
- โรงเรียนประจำมณฑลพายัพ "ยุพราชวิทยาลัย" ปัจจุบันคือ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
- โรงเรียนสตรีประจำมณฑลพายัพ "วัฒโนทัยพายัพ" ปัจจุบันคือ โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่
แหล่งข้อมูลอื่น
- ชัยวัฒน์ ปะสุนะ. “ระบอบอาณานิคมของอังกฤษในพม่าและแหลมมลายู กับการจัดการมณฑลพายัพของรัฐสยาม ค.ศ. 1894-1933.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564.
- เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว. “รัฐสยามกับล้านนา พ.ศ. 2417–2476.” วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.[ลิงก์เสีย]
- พรพรรณ จงวัฒนา. “กรณีพิพาทระหว่างเจ้านครเชียงใหม่กับคนในบังคับอังกฤษอันเป็นเหตุให้รัฐบาลสยามจัดการปกครองมณฑลพายัพ (พ.ศ. 2401–2445).” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517.[ลิงก์เสีย]
- ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. “สภาวะการกลายเป็นมณฑลพายัพ: ประวัติศาสตร์ของอำนาจ-ความรู้ และการผลิตพื้นที่โดยสยาม (พ.ศ. 2416–2475).” วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2562.
- สรัสวดี ประยูรเสถียร. “การปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพ (พ.ศ. 2436–2476).” ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2523. เก็บถาวร 2020-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
Remove ads
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads