Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ (14 มกราคม พ.ศ. 2474 – 2 มิถุนายน พ.ศ. 2539) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (3 สมัย) และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี 5 สมัย
ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ | |
---|---|
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 | |
ดำรงตำแหน่ง 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ |
ดำรงตำแหน่ง 11 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 10 เมษายน พ.ศ. 2518 – 12 มกราคม พ.ศ. 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 มกราคม พ.ศ. 2474 |
เสียชีวิต | 2 มิถุนายน พ.ศ. 2539 (65 ปี) เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร |
คู่สมรส | สุมาลี เรืองกาญจนเศรษฐ์[1] |
ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ เกิดเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2474 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 [2]
ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ เสียชีวิตด้วยการถูกลอบสังหารด้วยอาวุธมีด ในบ้านพักของตนเอง โดยนายอำนาจ เอกพจน์ เป็นผู้ลอบสังหาร และมีนายนิรันดร เรืองกาญจนเศรษฐ์ บุตรชายคนโตเป็นผู้บงการ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2539 สิริอายุรวม 65 ปี [3][4] โดยอำนาจถูกจับกุมในที่เกิดเหตุ หลังจากถูกเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยิงจนได้รับบาดเจ็บ ส่วนนิรันดรได้กระทำอัตวินิบาตกรรมที่บ้านในตำบลจอมอ้น อำเภอจอมบึง เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ในวันต่อมา ภุชงค์ แนวจำปาซึ่งเป็นคนดูต้นทางได้ขอมอบตัวที่สะพานพระราม 9 โดยภุชงค์ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต ส่วนอำนาจถูกตัดสินประหารชีวิตและถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2542 พร้อมกับนักโทษประหารอีก 4 คน ที่เรือนจำกลางบางขวาง ขณะอายุ 26 ปี[5][6]
ไชยศิริ ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 และได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 รวม 5 สมัย[7] เขาเคยเป็นหัวหน้าพรรคประชาราษฎร์ ในปี พ.ศ. 2525[8] ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น "พรรคกิจประชาคม"
ไชยศิริ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อ พ.ศ. 2518 ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช[9] และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 3 สมัยติดต่อกัน (ครม. 43-45) ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์[10] และ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[11]
ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 5 สมัย คือ
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.