จังหวัดน่าน
จังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
น่าน (ไทยถิ่นเหนือ: ᨶᩣ᩠᩵ᨶ) เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของภาคเหนือ เป็นที่ตั้งของเมืองที่สำคัญในอดีต เช่น เวียงวรนคร (เมืองพลัว) เวียงศีรษะเกษ (เมืองงั่ว) เวียงภูเพียงแช่แห้ง อีกทั้งยังเป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำน่าน
จังหวัดน่าน | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Nan |
![]() ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย:
| |
คำขวัญ: แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง | |
![]() แผนที่ประเทศไทย จังหวัดน่านเน้นสีแดง | |
ประเทศ | ไทย |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | ชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่[1] (ตั้งแต่ พ.ศ. 2566) |
พื้นที่[2] | |
• ทั้งหมด | 11,472.072 ตร.กม. (4,429.392 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 13 |
ประชากร | |
• ทั้งหมด | 472,722 [5] คน |
• อันดับ | อันดับที่ 57 |
• ความหนาแน่น | 41.20 คน/ตร.กม. (106.7 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 75 |
รหัส ISO 3166 | TH-55 |
ชื่อไทยอื่น ๆ |
|
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | กำลังเสือโคร่ง |
• ดอกไม้ | เสี้ยวดอกขาว |
• สัตว์น้ำ | ปลาปากหนวด |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ภายในศูนย์ราชการจังหวัดน่าน เลขที่ 102 หมู่ที่ 11 ถนนน่าน-พะเยา ตำบลไชยสถาน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน 55000 |
• โทรศัพท์ | 0 5471 0341 |
• โทรสาร | 0 5471 0341 |
เว็บไซต์ | http://www.nan.go.th/ |
![]() |
จังหวัดน่าน | |
![]() | |
ชื่อภาษาไทย | |
---|---|
อักษรไทย | น่าน |
อักษรโรมัน | Nan |
ชื่อคำเมือง | |
อักษรธรรมล้านนา | ᨶᩣ᩠᩵ᨶ |
อักษรไทย | น๋าน |
มีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ยาวนาน มีชื่อเรียกในพงศาวดารว่า นันทบุรี เมืองน่านในอดีตเป็นนครรัฐเล็ก ๆ ก่อตัวขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18 บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำน่านและแม่น้ำสาขาในหุบเขาทางตะวันออกของภาคเหนือ
ประวัติศาสตร์เมืองน่านเริ่มปรากฏขึ้นราว พ.ศ. 1825 ภายใต้การนำของพญาภูคาและนางพญาจำปาผู้เป็นชายา ซึ่งทั้งสองเป็นชาวเมืองเงินยาง ได้เป็นแกนนำพาผู้คนอพยพมาตั้งศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองล่าง ต่อมาเพี้ยนเป็นเมืองย่าง (เชื่อกันว่าคือบริเวณริมฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำย่างบริเวณตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว เลยไปถึงลำน้ำบั่ว ใกล้ทิวเขาดอยภูคาในเขตบ้านเสี้ยว บ้านทุ่งฆ้อง บ้านลอมกลาง ตำบลยม อำเภอท่าวังผา) เพราะปรากฏร่องรอยชุมชนในสภาพที่เป็นคูน้ำ คันดิน และกำแพงเมืองซ้อนกันอยู่ เห็นชัดเจนที่สุดคือบริเวณข้างพระธาตุจอมพริกบ้านเสี้ยวมีกำแพงเมืองปรากฏอยู่ซึ่งเป็นปราการทิศใต้ และป้อมปราการทิศเหนือลักษณะที่ปรากฏเป็นสันกำแพงดินบนยอดดอยม่อนหลวง บ้านลอมกลาง เป็นกำแพงเมืองสูงถึง 3 ชั้น ในแต่ละชั้นกว้าง 3 เมตร สูง 5 เมตร ขนานไปกับยอดดอยม่อนหลวง ต่อมาพระยาภูคา ได้ขยายอาณาเขตปกครองของตนออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยส่งราชบุตรบุญธรรม 2 คนไปสร้างเมืองใหม่ โดยขุนนุ่นผู้พี่ไปสร้างเมืองจันทบุรี (เมืองพระบาง) และขุนฟองผู้น้องสร้างเมืองวรนครหรือเมืองปัว
ภายหลังขุนฟองถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนราชบุตรจึงได้ขึ้นครองเมืองปัวแทน ด้านพญาภูคาครองเมืองย่างมานานและมีอายุมากขึ้น มีความประสงค์จะให้เจ้าเก้าเถื่อนผู้หลานมาครองเมืองย่างแทน จึงให้เสนาอำมาตย์ไปเชิญ เจ้าเก้าเถื่อนเกรงใจปู่จึงยอมไปอยู่เมืองย่างและมอบให้ชายาคือนางพญาแม่ท้าวคำปินดูแลรักษาเมืองปัวแทน เมื่อพญาภูคาถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนจึงครองเมืองย่างแทน ในช่วงที่เมืองปัวว่างจากผู้นำ เนื่องจากเจ้าเก้าเถื่อนไปครองเมืองย่างแทนปู่นั้น พญางำเมืองเจ้าผู้ครองเมืองพะเยา จึงได้ขยายอิทธิพลเข้าครอบครองบ้านเมืองในเขตเมืองน่านทั้งหมด นางพญาแม่เท้าคำปินพร้อมด้วยบุตรในครรภ์ได้หลบหนีไปอยู่บ้านห้วยแร้ง จนคลอดได้บุตรชายชื่อว่าเจ้าขุนใส เติบใหญ่ได้เป็นขุนนางรับใช้พญางำเมืองจนเป็นที่โปรดปราน พญางำเมืองจึงสถาปนาให้เป็นเจ้าขุนใสยศ ครองเมืองปราด ภายหลังมีกำลังพลมากขึ้นจึงยกทัพมาต่อสู้จนหลุดพ้นจากอำนาจเมืองพะเยา และได้รับการสถาปนาเป็นพญาผานอง ขึ้นครองเมืองปัวอย่างอิสระระหว่างปี 1865-1894 รวม 30 ปีจึงพิราลัย
ในสมัยของพญาการเมือง (กรานเมือง) โอรสของพญาผานอง เมืองปัวได้มีการขยายตัวมากขึ้น ตลอดจนมีความสัมพันธ์กับเมืองสุโขทัยอย่างใกล้ชิด พงศาวดารเมืองน่านกล่าวถึงพญาการเมืองว่า ได้รับเชิญจากเจ้าเมืองสุโขทัย (พระมหาธรรมราชาลิไท) ไปร่วมสร้างวัดหลวงอภัย (วัดอัมพวนาราม) ขากลับเจ้าเมืองสุโขทัย ได้พระราชทานพระธาตุ 7 องค์ พระพิมพ์ทองคำ 20 องค์ พระพิมพ์เงิน 20 องค์ ให้กับพญาการเมืองมาบูชา ณ เมืองปัว ด้วยพญาการเมืองได้ปรึกษาพระมหาเถรธรรมบาลจึงได้ก่อสร้างพระธาตุแช่แห้งขึ้นที่บนภูเพียงแช่แห้ง พร้อมทั้งได้อพยพผู้คนจากเมืองปัวลงมาสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณพระธาตุแช่แห้ง เรียกว่า ภูเพียงแช่แห้งในปี พ.ศ. 1902 โดยมีพระธาตุแช่แห้งเป็นศูนย์กลางเมือง หลังจากพญาการเมืองถึงแก่พิราลัย โอรสคือพญาผากองขึ้นครองแทน อยู่มาเกิดปัญหาความแห้งแล้ง จึงย้ายเมืองมาสร้างใหม่ที่ริมแม่น้ำน่านด้านตะวันตกบริเวณบ้านห้วยไค้ คือบริเวณที่ตั้งของจังหวัดน่านในปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 1911[8]
ในสมัยเจ้าปู่เข่งครองเมืองระหว่างปี พ.ศ. 1950–1960 ได้สร้างวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร วัดพระธาตุเขาน้อย วัดพญาภู แต่สร้างไม่ทันเสร็จก็ถึงแก่พิราลัยเสียก่อน พญางั่วฬารผาสุมผู้เป็นหลานได้สร้างต่อจนแล้วเสร็จและได้สร้างพระพุทธรูปทองคำปางลีลา ปัจจุบันคือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
ในปี พ.ศ. 1993 พระเจ้าติโลกราชกษัตริย์นครเชียงใหม่ มีความประสงค์จะครอบครองเมืองน่านและแหล่งเกลือบ่อมาง (เขตตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือปัจจุบัน) ที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์และหาได้ยากทางภาคเหนือ จึงได้จัดกองทัพเข้ายึดเมืองน่าน พญาอินต๊ะแก่นท้าวไม่อาจต้านทานได้จึงอพยพหนีไปอาศัยอยู่ที่เมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) เมืองน่านจึงถูกผนวกเข้าไว้ในอาณาจักรล้านนาตั้งแต่นั้นมา
ตลอดระยะเวลาเกือบ 100 ปีที่เมืองน่านอยู่ในครอบครองของอาณาจักรล้านนา ได้ค่อย ๆ ซึมซับเอาศิลปวัฒนธรรมของล้านนามาไว้ในวิถีชีวิต โดยเฉพาะการรับเอาศิลปกรรมทางด้านศาสนา ปรากฏศิลปกรรมแบบล้านนาเข้ามาแทนที่ศิลปกรรมแบบสุโขทัยอย่างชัดเจน เช่น เจดีย์วัดพระธาตุแช่แห้ง เจดีย์วัดสวนตาล (มวลสารจากวัดสวนตาลใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา) เจดีย์วัดพระธาตุช้างค้ำ แม้จะเหลือส่วนฐานที่มีช้างล้อมรอบซึ่งเป็นลักษณะศิลปะแบบสุโขทัยอยู่ แต่ส่วนองค์เจดีย์ขึ้นไปถึงส่วนยอดเปลี่ยนเป็นศิลปกรรมแบบล้านนาไปจนหมดสิ้น ในระหว่างปี พ.ศ. 2103–2328 เมืองน่านได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าอยู่หลายครั้งและต้องเป็นเมืองร้างไร้ผู้คนถึง 2 ครา คือ ครั้งแรก ปี พ.ศ. 2247–2249 ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2321–2344
ปี พ.ศ. 2331 เจ้าอัตถวรปัญโญ ได้ลงมาเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เพื่อขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมา หลังจากขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน เจ้าอัตถวรปัญโญก็ยังมิได้เข้าไปอยู่ในตัวเมืองน่านเสียทีเดียวเนื่องจากตัวเมืองน่านยังรกร้างอยู่ จึงได้ย้ายไปอาศัยอยู่ตามที่ต่าง ๆ คือ บ้านตึ๊ดบุญเรือง เมืองงั้ว (ปัจจุบัน คือ บริเวณอำเภอนาน้อย) เมืองพ้อ (ปัจจุบัน คือ บริเวณอำเภอเวียงสา) จนกระทั่งหลังจากได้บูรณะซ่อมแซมตัวเมืองน่านพร้อมทั้งได้ขอพระบรมราชานุญาตแล้ว จึงกลับเข้ามาอยู่ในตัวเมืองน่านในปี พ.ศ. 2344 ในยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ นครน่านมีฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราช เจ้าผู้ครองนครน่านในชั้นหลังทุกองค์ต่างปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความเที่ยงธรรม มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ได้ช่วยราชการบ้านเมืองสำคัญหลายครั้งหลายคราด้วยกัน นอกจากนี้เจ้าผู้ครองนครน่านต่างได้อุปถัมภ์ค้ำจุนและทำนุบำรุงกิจการพระพุทธศาสนาในนครน่านและหัวเมืองขึ้นต่าง ๆ เป็นสำคัญ ได้สร้างธรรมนิทานชาดก การจารพระไตรปิฎกลงในคัมภีร์ใบลาน นับเป็นคัมภีร์ได้ 335 คัมภีร์นับเป็นผูกได้ 2,606 ผูก ได้นำไปมอบให้เมืองต่าง ๆ เช่น นครลำปาง นครลำพูน นครเชียงใหม่ นครแพร่ และนครหลวงพระบาง
ในปี พ.ศ. 2446 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้านครเมืองน่าน เลื่อนยศฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น พระเจ้านครเมืองน่าน มีพระนามปรากฏตามสุพรรณปัฏว่า “พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงศาธิบดี สุจริตจารีราชานุภาวรักษ์ วิบุลยศักดิ์กิตติไพศาล ภูบาลบพิตร์ สถิตย์ณนันทราชวงษ์ พระเจ้านครเมืองน่าน” นับเป็นพระเจ้านครน่านองค์แรกและองค์เดียวในประวัติศาสตร์น่าน ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าน่าน พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 ได้โปรดให้สร้างหอคำ (คุ้มหลวง) ขึ้นแทนหลังเดิมซึ่งสร้างในสมัยของ เจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 62 และด้านหน้าหอคำมีข่วงไว้ทำหน้าที่คล้ายสนามหลวง สำหรับจัดงานพิธีต่าง ๆ ตลอดจนเป็นที่จัดขบวนทัพออกสู้ศึก จัดขบวนนำเสด็จ หรือขบวนรับแขกบ้านแขกเมืองสำคัญ และในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2474 เมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 ถึงแก่พิราลัย ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครน่าน ก็ถูกยุบเลิกตั้งแต่นั้นมา ส่วนหอคำได้ใช้เป็นศาลากลางจังหวัดน่าน จนปี พ.ศ. 2511 จังหวัดน่านได้มอบหอคำให้กรมศิลปากร ใช้เป็นสถานที่จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านจนกระทั่งปัจจุบัน
ในยุคประชาธิปไตย จังหวัดน่านยังมีตำนานการเป็นแหล่งกบดานของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยเฉพาะที่อำเภอทุ่งช้าง ซึ่งเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญอีกแห่งหนึ่ง โดยมีอนุสรณ์สถานวีรกรรมทุ่งช้างเป็นพยานช่วยเตือนความจำให้แก่ชนรุ่นหลัง
จังหวัดน่าน ตั้งอยู่บริเวณเส้นรุ้งที่ 18 องศา 46 ลิปดา 30 ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ 18 องศา 46 ลิปดา 44 ฟิลิปดาตะวันออก ระดับความสูงของพื้นที่อยู่สูง 2,112 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาซึ่งวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ มีพื้นที่ 11,472.076 ตารางกิโลเมตร หรือ 7,170,045 ไร่ โดยเฉพาะบริเวณชายแดนด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ ประมาณ 668 กิโลเมตร มีภูเข้ ในเขตอำเภอบ่อเกลือ เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในจังหวัด คือมีความสูงถึง 2,079 เมตร[9] และมีดอยภูคา ในเขตอำเภอปัว เป็นยอดเขาที่สำคัญของจังหวัด มีความสูง 1,980 เมตร ส่วนพื้นที่ราบจะอยู่บริเวณตอนกลางของจังหวัด และตามลุ่มน้ำต่าง ๆ แหล่งน้ำที่สำคัญของจังหวัดคือแม่น้ำน่าน ซึ่งมีต้นกำเนิดทางตอนเหนือของจังหวัด แล้วไหลลงไปยังเขื่อนสิริกิติ์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ และบรรจบกับแม่น้ำปิงที่จังหวัดนครสวรรค์เป็นแม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากนี้ยังมีลำน้ำสาขาต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ลำน้ำสา ลำน้ำว้า ลำน้ำสมุน ลำน้ำปัว ลำน้ำยาว ลำน้ำย่าง ลำน้ำแหง เป็นต้น มีพื้นที่กว้างใหญ่ พื้นที่เต็มไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน ทั้งยังมีประชากรหลายชาติพันธุ์ นับว่าเป็นดินแดนของความหลากหลายอีกแห่งหนึ่งของประเทศ
ลักษณะพื้นที่
จังหวัดน่าน มีทิวเขาหลวงพระบางและทิวเขาผีปันน้ำ ซึ่งเป็นทิวเขาหินแกรนิต ที่มีความสูง 600–1,200 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ทอดผ่านทั่วจังหวัด คิดเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด พื้นที่ของจังหวัดน่านโดยทั่วไป มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่น ลอนชันเกิน 30 องศา ประมาณร้อยละ 85 ของพื้นที่จังหวัด ส่วนลูกคลื่นลอนลาด ตามลุ่มน้ำ จะเป็นที่ราบแคบ ๆ ระหว่างหุบเขาตามแนวยาวของลุ่มน้ำน่าน ลุ่มน้ำสา ลุ่มน้ำว้า ลุ่มน้ำปัว ลุ่มน้ำย่าง และลุ่มน้ำกอน
จังหวัดน่าน มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 7,170,045 ไร่ หรือ 11,472.07 ตารางกิโลเมตร จำแนกได้ ดังนี้
จังหวัดน่าน มีลักษณะภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อนแบบ 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว โดยมีความแตกต่างของแต่ละฤดูอย่างชัดเจน
ข้อมูลภูมิอากาศของจังหวัดน่าน | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 30.7 (87.3) |
33.7 (92.7) |
36.2 (97.2) |
36.9 (98.4) |
36.0 (96.8) |
34.4 (93.9) |
33.0 (91.4) |
32.4 (90.3) |
33.1 (91.6) |
32.9 (91.2) |
32.5 (90.5) |
30.3 (86.5) |
33.51 (92.32) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 23.1 (73.6) |
25.6 (78.1) |
28.4 (83.1) |
30.1 (86.2) |
30.0 (86) |
29.5 (85.1) |
28.5 (83.3) |
28.0 (82.4) |
28.0 (82.4) |
27.4 (81.3) |
26.0 (78.8) |
23.2 (73.8) |
27.32 (81.17) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 14.7 (58.5) |
15.9 (60.6) |
19.3 (66.7) |
22.3 (72.1) |
23.9 (75) |
24.4 (75.9) |
24.1 (75.4) |
23.8 (74.8) |
23.8 (74.8) |
22.5 (72.5) |
19.5 (67.1) |
15.5 (59.9) |
20.81 (69.46) |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย | 2.7 | 1.3 | 3.3 | 8.5 | 14.0 | 16.7 | 19.8 | 21.7 | 18.4 | 10.8 | 3.2 | 1.7 | 122.1 |
แหล่งที่มา: Thai Meteorological Department[11] |
จังหวัดน่านมีด่านเข้าออกกับประเทศลาวหลายแห่งด้วยกัน เช่น จุดผ่านแดนถาวรสากลห้วยโก๋น-น้ำเงิน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ, จุดผ่อนปรนบ้านใหม่ชายแดน อำเภอสองแคว และจุดผ่อนปรนบ้านห้วยสะแตง อำเภอทุ่งช้าง
จังหวัดน่าน มีจำนวนอุทยานแห่งชาติ 7 แห่ง, วนอุทยาน 1 แห่ง, เขตห้ามล่าสัตว์ป่า 1 แห่ง และสวนรุกขชาติ 2 แห่ง ได้แก่
จังหวัดน่าน แบ่งการปกครองออกเป็น 15 อำเภอ 99 ตำบล 893 หมู่บ้าน ได้แก่
เลข | ชื่ออำเภอ | ตำบล | หมู่บ้าน | จำนวนประชากร(2566) | พื้นที่ทั้งหมด(ตร.กม.) | ห่างจากตัวจังหวัด(กม.) | แผนที่แต่ละอำเภอ | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาษาไทย | ตัวเมือง | อักษรโรมัน | |||||||
1. | เมืองน่าน | ![]() |
Mueang Nan | 11 | 109 | 82,060 | 813.126 | 1.97 | ![]() |
2. | แม่จริม | ![]() |
Mae Charim | 5 | 38 | 16,348 | 998.152 | 44.17 | ![]() |
3. | บ้านหลวง | ![]() |
Ban Luang | 4 | 26 | 11,302 | 338.210 | 42.85 | ![]() |
4. | นาน้อย | ![]() |
Na Noi | 7 | 69 | 31,812 | 1,408.122 | 63.39 | ![]() |
5. | ปัว | ![]() |
Pua | 12 | 107 | 64,259 | 657.363 | 59.54 | ![]() |
6. | ท่าวังผา | ![]() |
Tha Wang Pha | 10 | 91 | 50,495 | 702.204 | 43.57 | ![]() |
7. | เวียงสา | ![]() |
Wiang Sa | 17 | 128 | 69,581 | 1,894.893 | 25.03 | ![]() |
8. | ทุ่งช้าง | ![]() |
Thung Chang | 4 | 40 | 18,935 | 760.811 | 76.99 | ![]() |
9. | เชียงกลาง | ![]() | Chiang Klang | 6 | 60 | 27,097 | 277.115 | 65.65 | ![]() |
10. | นาหมื่น | ![]() | Na Muen | 4 | 48 | 14,256 | 785.608 | 82.85 | ![]() |
11. | สันติสุข | ![]() | Santi Suk | 3 | 31 | 15,681 | 416.837 | 39.93 | ![]() |
12. | บ่อเกลือ | ![]() | Bo Kluea | 4 | 38 | 15,316 | 848.341 | 94.11 | ![]() |
13. | สองแคว | ![]() | Song Khwae | 3 | 25 | 12,466 | 544.364 | 76.14 | ![]() |
14. | ภูเพียง | ![]() | Phu Phiang | 7 | 61 | 35,929 | 508.236 | 11.32 | ![]() |
15. | เฉลิมพระเกียรติ | ![]() | Chaloem Phra Kiat | 2 | 22 | 9,832 | 518.690 | 126.70 | ![]() |
รวม | 99 | 893 | 472,722 | 11,472.072 | - | - |
จังหวัดน่าน มีการปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง (องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน), เทศบาลเมือง 1 แห่ง (เทศบาลเมืองน่าน), เทศบาลตำบล 18 แห่ง, และองค์การบริหารส่วนตำบล 80 แห่ง ได้แก่
ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | พระยาพิชัยชาญฤทธิ์ | พ.ศ. 2433-2435 |
2 | พระยาสุนทรนุรักษ์ | พ.ศ. 2435-2437 |
3 | หลวงชาญภูเบศร์ (สวัสดิ์ ภูมิรัตน์) | พ.ศ. 2437-2439 |
4 | จมื่นมหาดเล็ก (เรือง ภูมิรัตน์) | พ.ศ. 2439-2444 |
5 | พระยาบรมบาทบำรุง | พ.ศ. 2444-2449 |
6 | พระยาอุไทยมนตรี (พร จารุจินดา) | พ.ศ. 2449-2450 |
7 | พระยาอมรฤทธิ์ธำรง (ฉี่ บุนนาค) | พ.ศ. 2450-2451 |
8 | พระอาทรธนพัฒน์ (เจิม จารุจินดา) | พ.ศ. 2451-2454 |
9 | พระอารีราชการัณย์ (หม่อมราชวงศ์ปาน นพวงศ์) | พ.ศ. 2454-2467 |
10 | พระยาวรวิไชยวุฒิกรณ์ (เลื่อน สนธิรัตน์) | พ.ศ. 2467-2470 |
11 | พระยาอนุบาลพายัพกิจ (ปุ่น อาสนจินดา) | พ.ศ. 2470-2471 |
12 | พระยากรุงศรีสวัสดิ์การ (จำรัส สวัสดิ์-ชูโต) | พ.ศ. 2471-2476 |
13 | พระเกษตรสรรพกิจ (นุ่ม วรรณโกมล) | พ.ศ. 2476-2480 |
14 | พระบริหารทัณฑนิติ (ประเสริฐ เศวตกนิษฐ์) | พ.ศ. 2480-2482 |
15 | พระชาติตระการ (หม่อมราชวงศ์จิตร คเนจร) | พ.ศ. 2482-2482 |
16 | หลวงทรงประศาสน์ (ทองคำ นวลทรง) | พ.ศ. 2482-2488 |
17 | ขุนระดับคดี (ปัญญา รมยานนท์) | พ.ศ. 2488-2488 |
18 | ขุนอักษรสารสิทธิ์ (พินิจ อักษรสารสิทธิ์) | พ.ศ. 2488-2489 |
19 | ขุนวิศิษฐ์อุดรการ (กรี วิศิษฐ์อุดรการ) | พ.ศ. 2489-2490 |
20 | นายชลอ จารุจินดา | พ.ศ. 2490-2490 |
21 | นายนวล มีชำนาญ | พ.ศ. 2490-2496 |
22 | นายมานิต ปุรณพรรค์ | พ.ศ. 2496-2500 |
23 | หลวงอนุมัติราชกิจ (อั๋น อนุมัติราชกิจ) | พ.ศ. 2500-2503 |
24 | นายวิชาญ บรรณโศภิษฐ์ | พ.ศ. 2503-2510 |
25 | นายชิต ทองประยูร | พ.ศ. 2510-2511 |
26 | พลตำรวจตรี ศรีศักดิ์ ธรรมรักษ์ | พ.ศ. 2511-2514 |
27 | นายสุกิจ จุลละนันทน์ | พ.ศ. 2514-2517 |
28 | นายสวัสดิ์ ประไพพานิช | พ.ศ. 2517-2518 |
29 | นายโชดก วีรธรรมพูลสวัสดิ | พ.ศ. 2518-2520 |
30 | นายสายสิทธิ พรแก้ว | พ.ศ. 2520-2521 |
31 | พันโท นายแพทย์ อุดม เพ็ชรศิริ | พ.ศ. 2521-2523 |
32 | นายชัยวัฒน์ หุตะเจริญ | พ.ศ. 2523-2526 |
33 | นายประกอบ แพทยกุล | พ.ศ. 2526-2528 |
34 | นายเฉลิม พรหมเลิศ | พ.ศ. 2528-2530 |
35 | นายกาจ รักษ์มณี | พ.ศ. 2530-2532 |
36 | พันตรี ปรีดา นิสัยเจริญ | พ.ศ. 2532-2533 |
37 | นายอำนวย ยอดเพชร | พ.ศ. 2533-2535 |
38 | นายจิโรจน์ โชติพันธุ์ | พ.ศ. 2535-2536 |
39 | นายประวิทย์ สีห์โสภณ | พ.ศ. 2536-2537 |
40 | นายสุจริต นันทมนตรี | พ.ศ. 2537-2539 |
41 | นายจเด็จ อินสว่าง | พ.ศ. 2539-2541 |
42 | นายเชิดพงษ์ อุทัยสาง | พ.ศ. 2541-2541 |
43 | ร้อยตำรวจตรี ธนะพงษ์ จักกะพาก | พ.ศ. 2541-2545 |
44 | นายสุวัฒน์ โชคสุวัฒนสกุล | พ.ศ. 2545-2548 |
45 | นายปริญญา ปานทอง | พ.ศ. 2548-2550 |
46 | นายสมพงษ์ อนุยุทธพงศ์ | พ.ศ. 2550-2551 |
47 | นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต | พ.ศ. 2551-2552 |
48 | นายวีรวิทย์ วิวัฒนวณิช | พ.ศ. 2552-2553 |
49 | นายเสนีย์ จิตตเกษม | พ.ศ. 2553-2554 |
50 | นายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ | พ.ศ. 2554-2555 |
51 | นายชุมพร แสงมณี | พ.ศ. 2555-2556 |
52 | นายอุกริช พึ่งโสภา | พ.ศ. 2556-2558 |
53 | นายสุวัฒน์ พรมสุวรรณ | พ.ศ. 2558-2559 |
54 | นายไพศาล วิมลรัตน์ | พ.ศ. 2559-2561 |
55 | นายวรกิตติ ศรีทิพากร | พ.ศ. 2561-2563 |
56 | นายนิพันธ์ บุญหลวง | พ.ศ. 2563-2564 |
57 | นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต | พ.ศ. 2564-2566 |
58 | นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ | พ.ศ. 2566-ปัจจุบัน |
จังหวัดน่าน แบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออกเป็น 3 เขต (สำหรับการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2566)[15] และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือก 3 คน จากทั้งหมด 400 คนทั่วประเทศในสภาผู้แทนราษฎรไทย
รายนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน ปี พ.ศ. 2566
ประชากรในจังหวัดน่านมีอยู่อย่างเบาบางเป็นอันดับ 3 ของประเทศ (ประมาณ 41 คนต่อตารางกิโลเมตร)[ต้องการอ้างอิง] กระจัดกระจายไปตามสภาพทางภูมิศาสตร์ แบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่
นอกจากนี้ในบริเวณที่สูงตามไหล่เขายังเป็นชุมชนของชนกลุ่มน้อยที่เรียกกันว่า "ชาวเขา" ได้แก่ ชาวม้ง, เมี่ยน, ลัวะหรือถิ่น, ขมุ รวมถึงชาวตองเหลืองหรือมาบลี ที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา
ผู้คนในจังหวัดน่านจึงมีภาษาพูดที่หลากหลายด้วยเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่จะพูดภาษาไทยถิ่นเหนือหรือคำเมืองสำเนียงน่าน[ต้องการอ้างอิง]
เนื่องด้วยภูมิศาสตร์ของจังหวัดน่านมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ ไม่มาก และเป็นจังหวัดชายแดนติดกับประเทศลาว ดังนั้นการเดินทางมาจังหวัดน่านจึงมีเส้นทางที่จำกัด ไม่มีทางรถไฟ แต่ก็มีท่าอากาศยานน่านนคร รวมทั้งมีถนนสายหลักที่ตัดผ่านตลอดความยาวตั้งแต่เหนือลงมาและมีสภาพผิวถนนที่ดี สามารถใช้งานได้ตลอดปี
เครือข่ายถนนในจังหวัดประกอบด้วยแนวถนนในแนวเหนือ-ใต้ และแนวตะวันตก-ตะวันออก มีถนนลาดยางจากตัวจังหวัดไปยังอำเภอต่าง ๆ และจังหวัดใกล้เคียง ทางหลวงแผ่นดินที่สำคัญ ได้แก่
[บริษัทผู้ให้บริการ]
[เส้นทาง]
[รถโดยสารระหว่างประเทศ]
จังหวัดน่านไม่มีเส้นทางรถไฟผ่าน แต่สามารถเดินทางมาลงที่สถานีรถไฟเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ แล้วเดินทางด้วยถนนระยะทางประมาณ 140 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 มายังตัวจังหวัดได้
มีท่าอากาศยานน่านนครซึ่งเป็นสนามบินพาณิชย์ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของตัวเมืองห่างประมาณ 3 กิโลเมตร มีเที่ยวบินระหว่างท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มายัง ท่าอากาศยานน่านนคร สูงสุด 20 เที่ยวบินไปกลับต่อวัน
จังหวัดน่านอาจไม่มีชื่อเสียงเป็นอันดับต้น ๆ ของสถานที่ท่องเที่ยว[ต้องการอ้างอิง] แต่ความจริงแล้ว ที่นี่มีแหล่งท่องเที่ยวให้ผู้สนใจได้ท่องเที่ยวมากมายไม่รู้จบ ทั้งสถานที่ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี แหล่งอารยธรรมโบราณ โดยที่เพิ่งค้นพบในเขตอำเภอเมืองน่าน ส่วนโบราณสถานโดยเฉพาะวัดเก่าแก่มีให้เห็นแทบทุกอำเภอ ได้แก่ วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดด้าน วัดภูมินทร์ หอคำ วัดหนองบัว วัดบุญยืน ซึ่งล้วนแต่มีอายุนับร้อย ๆ ปี มีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงามทั้งสิ้น
สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติก็มีความหลากหลาย เช่น เส้นทางชมธรรมชาติหมู่บ้านมณีพฤกษ์ ในอำเภอทุ่งช้าง อุทยานแห่งชาติหลายแห่ง และเสาดินที่อำเภอนาน้อย บ่อเกลือโบราณในอำเภอบ่อเกลือ หรือการล่องแก่งน้ำว้าที่มีทัศนียภาพสวยงามตลอดเส้นทาง เป็นต้น
สำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดน่าน สามารถท่องเที่ยวได้ทั่วทุกอำเภอ ด้วยมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมีงานบุญประเพณีที่สำคัญ เช่น งานแข่งเรือ งานไหว้พระธาตุ ส่วนผู้ที่ชื่นชอบศิลปะการแสดงก็สามารถชมการแสดงนาฏศิลป์ที่งดงาม รวมทั้งดนตรีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น ดนตรีวงปี่จุ้ม จ๊อยซอ ฟ้อนแง้น เป็นต้น
จังหวัดน่าน มีอุทยานแห่งชาติ 7 แห่ง, วนอุทยาน 1 แห่ง, เขตห้ามล่าสัตว์ป่า 1 แห่ง และสวนรุกขชาติ 2 แห่ง ได้แก่
อุทยานแห่งชาติ
วนอุทยาน
เขตห้ามล่าสัตว์ป่า
สวนรุกขชาติ
|
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.