พระเจ้านครเมืองน่าน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช[2] (2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2374 – 5 เมษายน พ.ศ. 2461)[3] ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 และองค์ที่ 13 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ (21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 – 5 เมษายน พ.ศ. 2461) เป็นพระโอรสองค์ที่สองในพระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 62 และเป็นพระนัดดา (หลานปู่) ใน สมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 57 และเป็นพระเชษฐาต่างเจ้ามารดากับเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 ชาวเมืองน่านเรียกพระนามอย่างลำลองว่า "พระเจ้าน่าน" และทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเลื่อนพระเกียรติยศขึ้นเป็น "พระเจ้าประเทศราช" (องค์ที่ 7) (18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 - 5 เมษายน พ.ศ. 2461) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
บทความนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มีเนื้อหา รูปแบบ หรือลักษณะการนำเสนอที่ไม่เหมาะสมสำหรับสารานุกรม |
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พระเจ้านครเมืองน่าน | |||||||||||||
![]() | |||||||||||||
เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ | |||||||||||||
ราชาภิเษก | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2437 | ||||||||||||
ครองราชย์ | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2437 - 5 เมษายน พ.ศ. 2461 | ||||||||||||
รัชกาล | 24 ปี 1 เดือน 15 วัน | ||||||||||||
ก่อนหน้า | เจ้าอนันตวรฤทธิเดช | ||||||||||||
ถัดไป | เจ้ามหาพรหมสุรธาดา | ||||||||||||
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว | ||||||||||||
เจ้าอุปราช | เจ้าอุปราช (สิทธิสาร) เจ้าอุปราชนครน่าน (21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2437 - 17 ตุลาคม พ.ศ. 2442) เจ้าอุปราช (มหาพรม) เจ้าอุปราชนครน่าน (9 มกราคม พ.ศ. 2443 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462) | ||||||||||||
เจ้าอุปราชนครน่าน | |||||||||||||
ดำรงพระยศ | 16 ตุลาคม พ.ศ. 2432 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2437 | ||||||||||||
รวมระยะเวลา | 4 ปี 4 เดือน 5 วัน | ||||||||||||
ก่อนหน้า | เจ้าอุปราช (มหาพรหม) เจ้าอุปราชนครน่าน | ||||||||||||
ถัดไป | เจ้าอุปราช (สิทธิสาร) เจ้าอุปราชนครน่าน | ||||||||||||
เจ้าผู้ครองนคร | พระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช (เจ้าหลวง) | ||||||||||||
เจ้าราชวงศ์นครน่าน | |||||||||||||
ดำรงพระยศ | พ.ศ. 2398 - 16 ตุลาคม พ.ศ. 2432 | ||||||||||||
รวมระยะเวลา | 34 ปี 10 เดือน 16 วัน | ||||||||||||
ก่อนหน้า | เจ้าราชวงศ์ (อชิตวงษ์) เจ้าราชวงศ์นครน่าน | ||||||||||||
ถัดไป | เจ้าราชวงศ์ (สิทธิสาร) เจ้าราชวงศ์นครน่าน | ||||||||||||
เจ้าผู้ครองนคร | พระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช (เจ้าหลวง) | ||||||||||||
ประสูติ | 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2374 ณ หอคำหลวง นครน่าน (เวียงเหนือ) | ||||||||||||
พิราลัย | 5 เมษายน พ.ศ. 2461 (87 ปี 2 เดือน 28 วัน) ณ หอคำหลวง นครน่าน (เวียงใต้) | ||||||||||||
พระราชทานเพลิงพระศพ | 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 ณ พระเมรุชั่วคราว สุสานหลวงดอนชัย นครน่าน | ||||||||||||
บรรจุพระอัฐิ | พระสถูป (ด้านทิศตะวันตก) วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน | ||||||||||||
พระมเหสี | แม่เจ้ายอดหล้าอรรคราชเทวี | ||||||||||||
พระชายา | 5 องค์ | ||||||||||||
หม่อม | 2 ท่าน | ||||||||||||
| |||||||||||||
พระบุตร | 41 องค์ | ||||||||||||
ราชสกุล | ณ น่าน (สายที่ 1)[1] | ||||||||||||
ราชวงศ์ | ติ๋นมหาวงศ์ | ||||||||||||
พระบิดา | พระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช | ||||||||||||
พระมารดา | แม่เจ้าสุนันทาอรรคราชเทวี | ||||||||||||
ศาสนา | พุทธ นิกายเถรวาท |
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช มีพระนามเดิมว่า เจ้าสุริยะ ประสูติเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2374 (ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๓ ปีเถาะ จ.ศ. ๑๑๙๓) เป็นพระโอรสองค์ที่สองในพระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 62 ประสูติแต่แม่เจ้าสุนันทาอรรคราชเทวี (พระชายาที่ 1) ทรงเป็นพระนัดดา (หลานปู่/ย่า) ในสมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 57 กับแม่เจ้าขันแก้วราชเทวี (พระชายาที่ 4) ราชธิดาในเจ้าฟ้าแว่นส่อย เจ้าฟ้าเมืองเชียงแขง พระองค์จึงมีเชื้อสายไทลื้อทางฝ่ายพระบิดา และทรงมีพระเชษฐาพระอนุชาและพระขนิษฐาร่วมพระมารดา 6 พระองค์ มีรายพระนามตามลำดับ ดังนี้
ตลอดรัชสมัยของ พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช พระองค์ได้ทรงพัฒนานครน่านและเมืองบริวารในด้านต่างๆ เพื่อให้ทันกับกาลสมัยและการพัฒนาในส่วนกลาง ได้ทรงสร้างถาวรวัตถุทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และได้ทรงก่อสร้างสถานศึกษา ตลอดจนสถานที่ราชการต่างๆ เพื่อความผาสุกแก่ประชาชนนครน่านอย่างแท้จริง
Mr.Herbert Warington Smyth อดีตเจ้ากรมเหมืองแร่ของประเทศสยาม กล่าวถึง พระเจ้าสุริยะพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้านครน่าน
... “ร่องรอยของความมีคุณธรรมซึ่งปรากฎบนใบหน้าที่เป็นผลจากการกรำศึกมาชั่วชีวิต ทั้งยังเปี่ยมล้นด้วยอุดมคตินั้น เห็นจะหาดูได้ยากในหมู่คนสูงอายุ อย่างดีที่สุดก็เห็นแต่เพียงความเป็นมิตรที่ดูอ่อนล้า แต่ในชายคนนี้นั้นริมฝีปากที่เป็นเส้นตรงอย่างเด็ดเดี่ยวกับแววตาครุ่นคิดดูจะเป็นลักษณะเฉพาะตัวของคนที่จริงจังกับชีวิตอยู่บ้างไม่มากก็น้อย สีหน้าที่รับรู้อย่างรวดเร็วและความกระตือรือล้นในการสนทนาของเขา ทำให้รู้สึกว่าการพูดคุยกับเขาเหมือนการพุดคุยกับชาวตะวันตกที่มีการศึกษา และข้าพเจ้ารู้สึกชื่นชมด้วยความเพลิดเพลินแกมประหลาดใจ”...
ที่มาข้อมูล : หนังสือ Five year in Siam 1898
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 ทรงได้รับพระราชทานพระอิสริยยศต่างๆ ดังนี้
หมายเหตุ : ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครน่านพระองค์แรกและพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์น่านที่ได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศสูงสุดถึง "พระเจ้านครเมืองน่าน" มีพระสถานะเป็น พระเจ้าประเทศราชล้านนา องค์ที่ 7 (องค์สุดท้าย)[7] นอกจากนี้พระองค์ยังทรงได้รับพระราชทานมหามงกุฎจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับว่าเป็นพระเจ้าประเทศราชล้านนา พระองค์เดียวที่ได้รับพระราชทานพระเกียรติยศนี้
ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช | |
---|---|
การทูล | ไหว้สาพระบาทเจ้า |
การแทนตน | ข้าบาทเจ้า |
การขานรับ | บาทเจ้า |
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 ทรงได้รับพระราชทานเครื่องประกอบพระอิสริยยศต่าง ๆ ดังนี้
ถึงแก่พิราลัย
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้าผู้ครองนครน่าน ประชวรเป็นพระโรคชรา พระอาการทรงบ้างทรุดบ้างเสมอมา จนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2461 พระอาการได้กำเริบมากขึ้น แพทย์หลวงและแพทย์ชเลยศักดิประกอบโอสถถวายการรักษาโดยเต็มกำลังพระอาการหาคลายไม่ ครั้นถึงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2461 (เวลา 10.50 น.) พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ก็ได้เสด็จถึงแก่พิราลัย ณ หอคำหลวงนครน่าน (ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน) สิริพระชนมายุได้ 87 ปี 2 เดือน 28 วัน รวมระยะเวลาที่ทรงครองนครน่าน 24 ปี 1 เดือน 15 วัน[11]
พระราชทานเพลิงพระศพ
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานนำเครื่องพระราชทานเพลิงศพ ไปพระราชทานเพลิงศพ พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้าผู้ครองนครน่าน ที่วัดจังหวัดน่าน โดยพระราชทาน เงินสลึง 2 ชั่ง ไตร 15 ไตร ผ้าขาว 30 ผับ ร่มกระดาษ 100 คัน รองเท้า 100 คู่ เครื่องประโคมศพ แตรงอน 2 แตรฝรั่ง 2 กลองชนะ 10 จ่าปี่ 1 จ่ากลอง 1 กับภูษาโยงสาย 1 หีบศิลาน่าเพลิง 1 โกศไม้สิบสอง ฐานฝา 1 ฐาน ฐานเครื่องสูง 12 ฐาน ชั้นรองโกศ 2 ชั้น บัวรับผ้าภูษาโยง 2 เสลี่ยงหิ้ว 1[12]
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 มีพระชายา 7 องค์ และพระโอรสพระธิดา รวมทั้งสิ้น 41 พระองค์ (อยู่ในราชสกุล ณ น่าน สายที่ 1) มีรายพระนามตามลำดับ ดังนี้
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้านครเมืองน่าน ได้เข้าเฝ้าทูลอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 รวมทั้งสิ้น 12 ครั้ง ดังนี้
ถวายเครื่องราชบรรณาการ
วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2440 เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้านครเมืองน่าน พร้อมด้วยเจ้านายบุตรหลานแสนท้าวพระยา ประกอบด้วย เจ้าราชบุตร (รัตนเรืองรังษี) เจ้าราชบุตรนครเมืองน่าน, เจ้าราชสัมพันธ์วงษ์ (บัวลอง) เจ้าราชสัมพันธ์วงษ์นครเมืองน่าน, เจ้าราชภาคินัย (มหาวงษ์) เจ้าราชภาคินัยนครเมืองน่าน, นายน้อยวงษ์ พระยาเทพเสนา พระยาอินตปัญญา ท้าวแสนนายไพร่ 120 คน รวมเมืองนครน่าน 127 คน เข้าเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท ถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการ ดังนี้ .. ต้นไม้ทอง 1 ต้น สูง 3 ศอก 16 นิ้ว 9 ชั้น มีก้าน 27 ก้าน ดอก 83 ดอก ใบ 81 ใบ ทองคำหนัก 30 บาท 2 สลึง ต้นไม้เงิน 1 ต้น สูงต่ำมีก้านดอกใบเท่าต้นไม้ทอง เงินหนัก 34 บาท 1 สลึง เครื่องราชบรรณาการของหลวง นรมาต 1 ยอด หนัก 2 ชั่ง ขี้ผึ้งหนัก 2 หาบ ผ้าขาว 100 เพลา
จัดพิธีทูลพระขวัญ
วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2440 เวลาบ่าย 4 โมงครึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ เสด็จออกที่มุขเด็จพระที่นั่ง จักรีมหาปราสาท พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพร้อมกัน และโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าผู้ครองนครเจ้าบุตรหลานหัวเมืองประเทศราชฝ่ายเหนือเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท จัดพิธีทูลพระขวัญตามธรรมเนียมล้านนา แล้วพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้านครเมืองน่าน เจ้าอุปราชผู้รักษาราชการเมืองนครลำปาง เจ้าอุปราชผู้รักษาราชการเมืองนครลำพูน เจ้าราชวงษ์เมืองนครเชียงใหม่ และพระยาพิริยวิไชย เจ้าเมืองแพร่ ถวายด้ายพระขวัญผูกข้อพระหัตถ์ ตามประเพณีลาวเสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสแสดงความขอบใจ เจ้านายแลแสนท้าวพระยาลาว ตามสมควร [13]
ทูลเกล้าถวายหนังสือและสิ่งของสำหรับหอพุทธสาสนสังคหะ
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 พร้อมด้วยเจ้านายบุตรหลานแลเค้าสนามหลวงกับพระภิกษุสงฆ์ในนครน่าน ทูลเกล้าฯ ถวาย หนังสือ พระวินัย 98 ผูก พระสูตร 148 ผูก พระอภิธรรม 95 ผูก รวม 330 ผูก และทูลเกล้าฯ ถวาย หีบพระธรรม 1 หีบ[14]
ดังหนังสือแจ้งความกระทรวงคมนาคม พแนกกรมทาง ระบุไว้ดังนี้ (สะกดตามต้นฉบับ)
แจ้งความกระทรวงคมนาคม
พแนกกรมทาง
ด้วยกระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือที่ ๗๐/๙๔๑๑ ลงวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์พ.ศ. ๒๔๕๘ นำส่งต้นใบบอกของเค้าสนามหลวงนครน่านมายังกระทรวงคมนาคมความว่า จำเดิมแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชได้เสด็จสวรรคตแล้ว เจ้านายข้าราชการตลอดจนสมณะอาณาประชาราษฎรในนครน่าน อาการเศร้าโศกโศกาลัยรภกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ได้โปรดเกล้าฯ ได้รับความร่มเย็นเปนศุขเสมอหน้า แลคำนึงถึงการที่จะสำแดงความจงรักภักดีให้ปรากฏ เพื่อเปนการสนองพระเดชพระคุณ จึงมหาอำมาตย์เอก พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช พระเจ้าผู้ครองนคร ๑ อำมาตย์เอก เจ้าอุปราช เสนามหาดไทย ๑ กับอำมาตย์เอก พระยารามราชเดช ปลัดมณฑลประจำนคร ๑ ได้เป็นหัวน่าคิดสร้างสะพานอันเปนถาวรวัตถุแลสาธารณประโยชน์ขึ้น แลได้ช่วยกันออกทุนทรัพย์พร้อมกับข้าราชการและประชาชนชาวนครน่านด้วยความศรัทธา ได้เงินรวมทั้งสิ้นเปนจำนวน ๑๐,๒๐๐ บาท ๖๒ สตางค์ จ้างเหมาช่างที่ชำนาญทำสพานด้วยไม้แดง ไม้ตะเคียน ไม้เต็ง ไม้รัง ตามแบบของคมนาคม ข้ามลำห้วยแลลำน้ำต่างๆ ที่อยู่ในถนนสายจากนครน่านผ่านอำเภอเมืองสา อำเภอศีร์ษะเกษแยกไปอำเภอท่าปลากับจังหวัดแพร่ ซึ่งเปนถนนสำคัญมีมหาชนไปมามิได้ขาดขึ้น ๔ สะพาน คือ
1.) สพานข้ามลำน้ำสา มีขนาดกว้าง ๒ วา ยาว ๓๖ วา ทำเป็นรูปโค้งมีไม้ยืดยัน มีเขื่อนแลปีกกาทำด้วยไม้กระยาเลย สำหรับกันไม้ขอนสักที่ไหลตามสายน้ำ
2.)สพานข้ามลำห้วยเย็น มีขนาดกว้าง ๒ วา ยาว ๘ วา
3.) สพานข้ามลำห้วยไผ่ มีขนาดกว้าง ๒ วา ยาว ๕ วา
4.) สพานข้ามลำห้วยแก้ว มีขนาดกว้าง ๒ วา ยาว ๕ วา
สพานทั้ง ๓ นี้ทำเป็นรูปธรรมดา ได้จัดทำเปนการแล้วเสร็จทั้ง ๔ สพาน แต่เมื่อเดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๔๕๗ นั้นแล้ว ครั้นเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๕๘ ได้กระทำพิธีฉลอง คือ ได้ปลูกปรำประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัตยุบัน ประดับประดาด้วยเครื่องสักการะบูชา อาราธนาพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์รุ่งขึ้นเช้าได้ถวายอาหารบิณฑบาตกับเครื่องไทยทาน แล้วอำมาตย์เอก เจ้าอุปราช เสนามหาดไทย ได้อ่านคำอุทิศขอพระราชทานถวายพระราชกุศลในการที่ได้สร้างสะพานนี้แด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงพระปิยมหาราช กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัตยุบันนี้ นับว่าเปนการเปิดสะพานให้มหาชน สัตว์พาหนะ ยานพาหนะ ใช้เปนทางสัญจรข้ามไปมาได้สดวกแล้ว บรรดาผู้มีจิตร์ศรัทธาบริจาคทรัพย์ตามบาญชีท้ายแจ้งความ มีความยินดีขอพระราชทานถวายพระราชกุศลและขอรับพระราชทานนามสพานทั้ง ๔ เพื่อเปนความสวัสดีแก่ผู้ที่สัญจรไปมานั้นด้วย
กระทรวงคมนาคมได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ทรงอนุโมทนาในส่วนกุศลที่เนื่องมาจากการสาธารณประโยชน์นี้ด้วยแล้ว และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสพานทั้ง ๔ นั้นว่า
1.) สพานข้ามลำน้ำสา พระราชทานนามว่า "นันทสาระวดี"
2.) สพานข้ามลำห้วยเย็น พระราชทานนามว่า "นันทคีตาลัย"
3.) สพานข้ามลำห้วยไผ่ พระราชทานนามว่า "นัททไวณุวัต"
4.) สพานข้ามลำห้วยแก้ว พระราชทานนามว่า "นันทรัตนารม"
“ส่วนทาสเชลยนั้นถึงจะเป็นสมบัติของเจ้าผู้ครองนครทั้งหลายอยู่บ้างก็ดี บัดนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานผลประโยชน์ให้กับเจ้าผู้ครองนครเพียงพอแล้ว เพราะฉนั้นเจ้าผู้ครองนครแลพญาท้าวแสนเมืองน่าน จึงพร้อมกันลดค่าตัวทาสเชลยทั้งปวงที่มีอายุกว่า 10 ปี ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม รัตนโกสินทร์ศก 116 ต่อไปเป็นค่าตัวคนละ 20 รูปี ส่วนบุตรทาสเชลยทั้งปวงซึ่งเกิดภายหลังวันที่ 16 ธันวาคม รัตนโกสินทร์ศก 116 สืบไป ขอยกให้เปนไทยพ้นจากการเป็นทาสเชลยสืบไปชั่วบุตรหลาน”
— พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช พระเจ้านครน่าน ประกาศเลิกทาสในนครน่านทั้งปวง สนองพระราชบัญชาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช รัชกาลที่ 5
หอไตรหลังนี้มีความพิเศษตรงบริเวณรวงผึ้ง ทำเป็นรูปพระครุฑพ่าห์อันเป็นตราแผ่นดินของสยาม เหนือครุฑมีอักษรย่อภาษาไทยในกรอบสี่เหลี่ยมข้อความว่า “พ.จ.น.พ.ร.ช.ก.ศ.ถ.พ.พ.ธ.จ.ลฯะ” แปลความได้ว่า “พระเจ้าน่านพระราชกุศลถวายพระพุทธเจ้าหลวง” หอไตรแห่งนี้สร้างขึ้นในปีเดียวกับการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ดี ตลอดจนถึงความจงรักภักดีระหว่างนครน่านกับอาณาจักรสยามผ่านงานศิลปกรรม ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาให้ความเห็นว่าไม่ได้มีการใช้อย่างสม่ำเสมอ เข้าใจว่าบางทีอาจเป็นเพราะต้องการประหยัดเนื้อที่หรือที่จะเขียนไม่พอ ดังนั้นการใช้ตัวย่อที่หอไตรวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารแห่งนี้ก็คงเกิดจากเหตุผลนี้เช่นกัน[19]
เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญของเมืองนครน่าน ในยุคสมัยที่พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน (พ.ศ. 2436 – พ.ศ. 2461) มีเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ดังนี้
1.) นครน่าน เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง (ประเทศไทยเสียดินแดน ครั้งที่ 11)
ในปี พ.ศ. 2446 เมืองนครน่าน ได้เสียดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง (ประเทศไทยเสียดินแดน ครั้งที่ 11) รวมพื้นที่ 25,500 ตร.กม. ประกอบด้วย เมืองเงิน เมืองคอบ เมืองเชียงลม เมืองเชียงฮ่อน และเมืองหลวงภูคา (ซึ่งปัจจุบันคือพื้นที่ แขวงไชยบุรีทั้งหมด รวมถึงพื้นที่บางส่วนในแขวงหลวงน้ำทา, แขวงบ่อแก้ว และแขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว) ให้กับจักรวรรดิฝรั่งเศส
การเสียดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงในอาณาเขตเมืองนครน่าน ให้กับจักรวรรดิฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2446 โดยในอดีตพื้นที่บริเวณฝั่งขวาของแม่น้ำโขงเป็นเขตอิทธิพลของล้านนา ซึ่งถือกันมาตั้งแต่โบราณว่าเป็นเขตแดนล้านนาจรดกับแม่น้ำโขงโดยมีแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติกั้นอาณาจักรล้านนากับอาณาจักรล้านช้าง (ลาว) หลักการข้างต้นยังปฏิบัติสืบมาถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 เพราะมีหลักฐานกล่าวถึง เมืองเงิน หรือ (เมืองกุฎสาวดี) ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำโขงและอยู่ภายใต้การปกครองของเมืองนครน่าน เมื่อปี พ.ศ. 2415 คนในบังคับของอังกฤษเดินทางเข้ามาค้าขายที่เมืองเงิน ถูกคนร้ายฆ่าตาย แล้วเหตุการณ์ในครั้งนั่น เจ้าหลวงเมืองนครน่าน เป็นผู้ชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดให้กับคนในบังคับของอังกฤษ หัวเมืองชายแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงที่เป็นเมืองขึ้นกับเมืองนครน่าน ประกอบด้วย เมืองเงิน (เมืองกุฎสาวดี), เมืองคอบ, เมืองเชียงลม, เมืองเชียงฮ่อน และเมืองหลวงภูคา แม้ว่าทั้ง 5 เมืองนี้จะเป็นเมืองชายขอบของเมืองนครน่าน แต่เจ้าผู้ครองนครน่าน ก็ดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตามเมื่อจักรวรรดินิยมมีความต้องการดินแดนในส่วนนี้ก็เข้าแทรกแซงด้วยกำลังที่เหนือกว่า จนกระทั่งได้ไปในที่สุด
2.) จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้านครเมืองน่าน ทรงรับราชการสนองพระเดชพระคุณ ในวาระโอกาศต่าง ๆ ดังนี้
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 มีพระชายา 7 องค์ และพระโอรสพระธิดา รวมทั้งสิ้น 41 พระองค์ (อยู่ในราชสกุล ณ น่าน สายที่ 1) มีรายพระนามตามลำดับ ดังนี้
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่าง ๆ ดังนี้
พงศาวลีของพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.