Loading AI tools
เจ้านครเมืองน่าน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าอนันตวรฤทธิเดช ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 62 และองค์ที่ 12 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ ชาวเมืองน่านเรียกพระนามโดยลำลองว่า “เจ้ามหาชีวิต” ทรงปกครองนครน่าน ระหว่างปี พ.ศ. 2395 - พ.ศ. 2435 รวมระยะเวลา 40 ปี และทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครน่านที่ครองราชสมบัตินครน่านยาวนานที่สุด
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
เจ้าอนันตวรฤทธิเดช | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เจ้ามหาชีวิต | |||||||||
เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 62 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ | |||||||||
ราชาภิเษก | 18 เมษายน พ.ศ. 2399 | ||||||||
ครองราชย์ | 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2395 – 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2435 | ||||||||
รัชกาล | 40 ปี 14 วัน | ||||||||
ก่อนหน้า | พระเจ้ามหาวงษ์ | ||||||||
ถัดไป | พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช | ||||||||
กษัตริย์ | |||||||||
เจ้าอุปราช |
| ||||||||
ประสูติ | พ.ศ. 2348 หอคำ เมืองเทิง นครน่าน | ||||||||
พิราลัย | 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2435 (86 ปี) ณ หอคำหลวง นครน่าน (เวียงใต้) | ||||||||
พระราชทานเพลิงพระศพ | 28 เมษายน พ.ศ. 2436 ณ พระเมรุชั่วคราว สุสานหลวงดอนชัย นครน่าน | ||||||||
บรรจุพระอัฐิ | พระสถูป (องค์ตรงกลาง) วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร | ||||||||
พระมเหสี | แม่เจ้าสุนันทาอรรคราชเทวีแม่เจ้าขอดแก้วอัครเทวี | ||||||||
พระชายา | 7 องค์ | ||||||||
หม่อม | 3 ท่าน | ||||||||
| |||||||||
พระบุตร | 31 องค์ | ||||||||
ราชสกุล | ณ น่าน สายที่ 2[1] | ||||||||
ราชวงศ์ | ติ๋นมหาวงศ์ | ||||||||
พระบิดา | สมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ | ||||||||
พระมารดา | แม่เจ้าขันแก้วราชเทวี | ||||||||
ศาสนา | พุทธ นิกายเถรวาท |
เจ้าอนันตวรฤทธิเดช มีพระนามเดิมว่า เจ้าอนันตยศ ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2348 ณ เมืองเทิง นครน่าน เป็นพระโอรสองค์โตในสมเด็จเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 57 ประสูติแต่แม่เจ้าขันแก้วราชเทวี (ชายาองค์ที่ 4) ราชธิดาในเจ้าฟ้าแว่นส่อย เจ้าฟ้าเมืองเชียงแขง มีพระขนิษฐาร่วมพระมารดา 1 พระองค์ คือ เจ้านางต่อมคำ
เจ้าอนันตยศ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นเป็น "เจ้าพระพิไชยราชา เมืองน่าน" ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนยศขึ้นเป็น "เจ้าพระยารัตนหัวเมืองแก้ว เมืองน่าน" ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนยศขึ้นเป็น "เจ้าพระยาบุรีรัตน เมืองน่าน" ต่อมาภายหลังจากที่พระเจ้ามหาวงศ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 61 เสด็จถึงแก่พิราลัย เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2394 เจ้าบุรีรัตน์ (อนันตยศ) เจ้าบุรีรัตน์นครน่าน ผู้เป็นพระภาติยะ (หลานลุง) จึงได้ขึ้นครองราชสมบัตินครน่าน ตามมติที่ประชุมเจ้านายขุนนางเสนาเค้าสนามหลวงนครน่าน (และรอการแต่งตั้งจากราชสำนักสยาม) ต่อมาเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2395 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระอิสริยยศ เจ้าบุรีรัตน์ (อนันตยศ) เจ้าบุรีรัตน์เมืองน่าน ขึ้นเป็น “เจ้าเมืองน่าน” ได้รับการเฉลิมพระนามว่า พระยามงคลวรยศ พระยานครน่าน และต่อมาเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2400 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกสกุลวงศ์เจ้าเมืองน่านขึ้นเป็น "เจ้า" กันทั้งวงศ์สกุล พระยามงคลวรยศ เจ้าเมืองน่าน จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระอิสริยยศขึ้นเป็น “เจ้านครเมืองน่าน” ได้รับการเฉลิมพระนามว่า "เจ้าอนันตวรฤทธิเดช กุลเชฐมหันต์ ไชยนันทบุร มหาราชวงษาธิบดี เจ้านครเมืองน่าน"
คำบอกเล่าบางส่วนเมื่อครั้ง คณะมิชชันนารีมาเมืองน่าน เมื่อปี พ.ศ. 2415
คณะมิชชันนารีมาเมืองน่าน ในสมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน ความว่า เมื่อ ค.ศ. 1872 (พ.ศ. 2415) พ่อครูหลวงแมคกิลวารี . ผ่านมายังเมืองน่านในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม . ในสายตาของมิชชันนารี . เมืองน่านเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงเจริญรุ่งเรืองและมีความสำคัญยิ่งเมืองหนึ่งในล้านนา เจ้าผู้ครองนครเป็นผู้ที่มีความปรีชาสามารถ แม้ว่าจะทรงเป็นผู้ปกครองหัวเก่าไม่ยอมรับวิถีชีวิตและการค้าของต่างชาติก็ตาม เมื่อมิชชันนารีไปถึงเมืองน่านก็ได้รับการเอาใจใส่อย่างดีจากเจ้าบุรีรัตน์ ผู้เป็นหลานของเจ้าผู้ครองนครน่าน ซึ่งมิชชันนารีเคยพบที่เมืองเชียงใหม่.พ่อครูหลวง (แมคกิลวารี) มีความใฝ่ฝันมาก่อนหน้านี้ว่าอยากจะขยายงานมาที่เมืองน่าน.ท่านบันทึกไว้ว่า "ข้าพเจ้ารู้สึกรักเมืองน่านตั้งแต่แรกพบและหมายไว้ว่าจะเป็นที่ตั้งศูนย์มิชชันในวันข้างหน้า" เมื่อ ค.ศ. 1890 (พ.ศ. 2433) พ่อครูหลวงแมคกิลวารี ได้เดินทางมายังเมืองน่านอีกครั้งหนึ่ง พร้อมด้วยนางสาวมาการ์เร็ต ลูกสาว ถึงเมืองน่าน ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากข้าราชการเมืองน่าน มีชาวเมืองน่านมามุงดูอย่างหนาแน่น มิชชันนารีกล่าวว่า ถึงแม้จะมีคนมามุงดูแน่นขนัดแต่ก็ไม่ค่อยยอมฟังเรื่องราวของคริสต์ศาสนาเลยการมาครั้งนี้ มิชชันนารีได้มีโอกาสเข้าเฝ้าเจ้าผู้ครองนคร คือ เจ้าอนันตวรฤทธิเดช ที่คุ้มแก้ว มิชชันนารีบันทึกเรื่องเจ้าอนันตวรฤทธิเดชไว้ว่า เป็นเจ้าผู้ครองหัวเมืองล้านนาที่มีความสำคัญกับราชสำนักกรุงเทพฯ เป็นที่สองรองจากกษัตริย์เชียงใหม่ พระองค์แสดงความยินดีที่มีฝรั่งมิชชันนารีมาเยี่ยมเมืองน่าน และทรงกล่าวสัพยอกกับมิชชันนารีว่า ท่านอายุมากเกินที่จะเข้าศาสนาใหม่[2]
ที่มาข้อมูล : ประสิทธิ์ พงศ์อุดม. นันทบุรีศรีนครน่าน ประวัติศาสตร์ สังคม และคริสต์ศาสนา เชียงใหม่ : ฝ่ายประวัติศาสตร์ สภาคริสตจักรในประเทศไทย, 2539
เจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้านครเมืองน่าน ทรงดำรงพระอิสริยยศ ดังนี้
เจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 62 มีพระอรรคราชเทวี, พระราชเทวี, หม่อม 12 องค์ และพระโอรสพระธิดา รวมทั้งสิ้น 31 พระองค์ (อยู่ในราชสกุล ณ น่าน สายที่ 2) มีรายพระนามตามลำดับ ดังนี้
ถึงแก่พิราลัย
เจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 62 ทรงประชวรด้วยพระโรคชรา พระอาการทรงบ้างทรุดบ้างเสมอมา ครั้นถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2435 พระอาการได้กำเริบมากขึ้น แพทย์หลวงได้ประกอบโอสถถวายการรักษาโดยเต็มกำลังพระอาการหาคลายไม่ ครั้นถึงวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2435 ก็ได้เสด็จถึงแก่พิราลัย ณ หอคำคุ้มหลวงนครน่าน สิริพระชนมายุได้ 87 ปี 5 เดือน 28 วัน รวมระยะเวลาที่ทรงปกครองนครน่าน 40 ปี 24 วัน[5]
พระราชทานหีบศิลาน่าเพลิงและของไทยธรรม
วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานหีบศิลาหน้าเพลิง แลของไทยธรรมทั้งเครื่องสำหรับเกียรติยศ ให้ข้าหลวงและเจ้าพนักงานคุมไปพระราชทานในการปลงศพ เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้านครเมืองน่าน โดยพระราชทานเครื่องประกอบเกียรติยศ ประกอบด้วย (1) โกศแปดเหลี่ยม (2) กลองชะนะเขียว 5 คู่ (3) ฉัตรเบญจา 2 คู่ (4) ไตร 10 ไตร (5) เงิน 10 ชั่ง (6) ผ้าขาว 20 ผับ (7) ร่ม 50 คัน (8) รองเท้า 50 คู่ (9) หีบศิลาหน้าเพลิง 1 สำหรับ [6]
พระพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ
วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2436 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระยาสุนทรนุรักษ์ (เลื่อง ภูมิรัตน์) (ข้าหลวง) กับพระอนุรักษ์สมบัติ (พนักงาน) พร้อมด้วย เจ้าราชวงษ์ (สุริยะ ณ น่าน) ว่าที่เจ้าอุปราชนครน่าน แลเจ้านายบุตรหลานญาติพี่น้อง ได้ยกพระศพเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้านครเมืองน่าน ลงพระโกศแล้วประดิษฐานตั้งเหนือชั้นแว่นฟ้าแล้วแห่พระศพเข้าสู่พระเมรุ เจ้าพนักงานได้อัญเชิญหีบศิลาน่าเพลิงตั้งไว้ในที่สมควร ได้มีการกุศลแลการมหรศพครบ 7 วัน ครั้นถึงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2436 (เวลาบ่าย) เจ้าพนักงานยกพระโกศพระศพลงเปลื้องเสร็จแล้วยกขึ้นประดิษฐานบนจิตกาธาร ณ พระเมรุ สุสานหลวงดอนชัย พระยาสุนทรนุรักษ์ (เลื่อง ภูมิรัตน์) (ข้าหลวง) ทอดผ้าไตรของหลวง 10 ไตร พระสงฆ์บังสุกุล อนุโมทนา เจ้าพนักงานอัญเชิญหีบศิลาหน้าเพลิงและเครื่องพระราชทานเพลิง เข้าไปถวายผู้เเทนพระองค์ทรงจุดเพลิงพระราชทานพร้อมด้วยเจ้านายบุตรหลานของเจ้านครเมืองน่าน[7]
ราชวงษปกรณ์ พงษาวดารเมืองน่าน ได้ระบุว่า
ภายหลังจากที่ เจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้านครเมืองน่าน ได้เสด็จถึงแก่พิราลัย เมื่อวันศุกร์ ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2435 ณ คุ้มหลวงนครน่าน เมื่อนั้นเจ้าอุปราช ก็ให้เจ้านายผู้ใหญ่ผู้น้อยลงไปกราบทูลพระมหากระษัตริย์เจ้าในกรุงเทพมหานคร ว่าด้วย เจ้าอนันตวรฤทธิเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงษาธิบดี เจ้านครเมืองน่าน ถึงแก่พิราลัย ในปี พ.ศ. 2435 เจ้ามหาอุปราชาหอน่า เป็นประธาน และพระยาสุนทรนุรักษ์ ข้าหลวงใหญ่ประจำนครเมืองน่าน และเจ้าราชวงษ์ เสนาอามาตย์ก็ได้กะเกณฑ์ไพร่พลบ้านเมืองให้ตัดไม้มาสร้างพระเมรุ ในปี พ.ศ. 2435 เจ้ามหาอุปราชาหอน่า เป็นประธาน เจ้าราชวงษ์ และพระยาสุนทรนุรักษ์ ข้าหลวงใหญ่ประจำนครเมืองน่าน พร้อมด้วยหน่อมหาขัติยราชวงษา และเสนาอามาตย์ทั้งหลายก็พร้อมกันแล้ว ก็ชุมนุมมายังช่างไม้ทั้งหลาย ให้สร้างมหาปราสาทพระเมรุหลวงหลังใหญ่ ที่สุสานหลวงข่วงดอนไชย ลุ่มวัดหัวเวียงหั้นแล เจ้ามหาอุปราชาหอน่า ก็ได้แต่งให้พระยาหลวงจ่าแสนราชาไชยอภัยนันทวรปัญญาวิสุทธิมงคล ให้เป็นหัวหน้าในการจัดการควบคุมยังช่างไม้ทั้งหลาย ที่สร้างมหาปราสาทพระเมรุหลวง มหาปราสาทพระเมรุหลวง สร้างเป็นจตุรมุข ออก 4 ด้านหลังมุงยอดภายในบนประดับแล้วไปด้วยน้ำสีต่าง ๆ ใส่ข้างยอดช่องฟ้าและปวงปี บนยอดใส่เสวตรฉัตรงามดีสอาด แล้วก็แต่งสร้างศาลาบาดล้อมแง่ 14 ด้านจอดติดกันมุงด้วยคา หุ้มด้วยผ้าขาว ทั้ง 4 ด้าน มีประตูทั้ง 4 ด้าน สามารถไขเปิดได้ แล้วก็ตกแต่งด้วยโคมไฟ มากมาย ครั้นถึงวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2436 ก็ได้เชิญเอาพระบรมศพเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ ลงจากหอคำราชโรงหลวง ก็กระทำสงเสพด้วยดุริยดนตรีนันทเภรีพันสอาด แต่งรูปเทวบุตร 32 ตนไปก่อนน่าแทนแห่ เอาพระศพพระเจ้าฟ้าไปสู่ปราสาทพระเมรุหลวงวันนั้นแล แล้วก็ตั้งเขาอันม่วน มโหรสพ อย่างยิ่งใหญ่ ฝูงประชาไพร่สนุกใจ กระทำบุญให้ทานไปไม่ให้ขาดหยาดน้ำอุทิศส่วนบุญ คือว่ามหาบังสกุลเปนต้นหั้นแล ครั้นถึงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2436 ก็ได้พร้อมกันอัญเชิญเอาพระบรมศพ พระเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ ไปถวายพระเพลิงวันนั้นแล ครั้นถึงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2436 เจ้ามหาอุปราชาสุวรรณฝ่ายน่าหอคำ เจ้าราชวงษาเป็นประธาน และหน่อขัติยวงษา เสนาอามาตย์ทั้งหลายก็พร้อมกันอังคาตราธนาเอายังมหาอัฐิเจ้า เสด็จลงจากพระเมรุแล้วก็สงเสพด้วยดุริยดนตรีแห่นำเข้ามาให้สถิตย์อยู่ในพระวิหารหลวงวัดพระธาตุช้างค้ำก่อน แล้วก็กระทำบังสกุลพระอัฐิเจ้าทำบุญหื้อทานอยู่ในที่นั้น ครั้นถึงวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 ก็พร้อมอาราธนาเอาพระมหาอัฐิเจ้าขึ้นสถิตย์ในพระสูป ณ ข่วงพระธาตุเจ้า วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ณ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัด
เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 62 (14 พฤษภาคม พ.ศ. 2395 - 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2435) ได้เข้าเฝ้าทูลอองธุลีพระบาทถวายความจงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรี ดังนี้
เจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 62 พระองค์ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในพระอาณาจักรนครน่าน เช่น สร้างพระวิหาร วัด พระพุทธรูป รวมไปถึงการอุปถัมภ์การบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดวาอาราม ต่างๆ ในพระอาณาจักรนครน่าน ดังนี้
เมืองนครน่าน (ณ ปัจจุบัน) นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2400 จนถึงปัจจุบัน เจ้าผู้ครองนครน่านที่เสวยราชสมบัติอยู่ที่เวียงเหนือสืบกันมาได้ 36 ปี จนถึงปี พ.ศ. 2398 พระยาอนันตยศ เจ้าเมืองน่าน (ภายหลังได้รับการสถาปนาเลื่อนอิสริยยศขึ้นเป็น เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้านครเมืองน่าน คือ พระบิดาในพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช และเจ้ามหาพรหมสุรธาดา) จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจาก รัชกาลที่ 4 ย้ายเมืองกลับมาตั้งอยู่ที่เวียงเก่า (เมืองน่าน ปัจจุบัน) และโปรดให้ย้ายมาเมื่อปี พ.ศ. 2400 และโปรดให้สร้างคุ้มหลวงหอคำเป็นที่ประทับของเจ้าผู้ครองนครน่าน สืบกันมาจนบัดนี้
ตัวเมืองน่าน ในปี พ.ศ. 2400
ตัวเมืองน่านหันหน้าเมืองออกสู่แม่น้ำน่านซึ่งเป็นเบื้องตะวันออก มีกำแพง 4 ด้าน ด้านยาวทอดไปตามลำน้ำน่านเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตัวกำแพงสูงจากพื้นดินประมาณ 2 วา มีเชิงเทินกว้าง 3 ศอก ประกอบด้วยในเสมาตรงมุมกำแพงก่อป้อมไว้ทั้ง 4 แห่ง มีปืนใหญ่ประจำป้อมๆละ 4 กระบอก มีประตู 7 ประตู ที่ประตูก่อเป็นซุ้ม ประกอบด้วยใบทวารแข็งแรง กำแพงด้านตะวันออกมีประตูชัย, ประตูน้ำเข้ม ด้านตะวันตกมีประตูท่อน้ำ, ประตูหนองห่าน ด้านใต้มีประตูเชียงใหม่, ประตู่ท่าลี่ มีคูล้อม 3 ด้าน เว้นด้านตะวันออกซึ่งเป็นลำแม่น้ำน่านเดิมกั้น
การก่อสร้างกำแพงเมืองเมื่อครั้งแรกมาตั้งเมืองนี้ มีเรื่องเล่ากันสืบมาเป็นทำนองเทพนิยายว่า ครั้งนั้นตกอยู่ในวัสสันตฤดู มีโคอศุภราชตัวหนึ่งวิ่งข้ามแม่น้ำน่านมาจากทางทิศตะวันออก ครั้นมาถึงที่บ้านห้วยไค้ก็ถ่ายมูลและเหยียบพื้นดินทิ้งรอยไว้ เริ่มแต่ประตูชัยบ่ายหน้าไปทิศเหนือแล้ววกไปทางทิศตะวันตกเป็นวงกลมสี่เหลี่ยมมาบรรจบรอยเดิมที่ประตูชัย แล้วก็นิราศอันตรธานไป ลำดับกาลนั้น พระยาผากองดำริที่จะสร้างนครขึ้นใหม่ ครั้นได้ประสบรอยโคอันหากกระทำไว้เป็นอัศจรรย์ พิเคราะห์ดูก็ทราบแล้วว่าสถานที่บริเวณรอบโคนั้นเป็นชัยภูมิดี สมควรที่จะตั้งนครได้ จึงได้ย้ายเมืองมาตั้งที่บ้านห้วยไค้นั้น และก่อกำแพงฝังรากลงตรงแนวทางที่โคเดินถ่ายมูลไว้มิได้ทิ้งรอยแนวกำแพงจึง มิสู้จะตรงนัก เพราะเป็นกำแพงโดยโคจร เรื่องนี้จะมีความจริงหรือไม่เพียงไรก็ตามเห็นว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติของเมืองนี้ ซึ่งชาวเมืองก็ยังนิยมเชื่อถือว่าเป็นความจริง และนำเอาคติที่เชื่อว่าโคเป็น ผู้บันดาลเมืองมาทำรูปโคติดไว้ตามจั่วบ้านเรือนเพื่อเป็นศิริมงคลอยู่ทั่วไป จึงนำมากล่าวไว้ด้วย
ประตูเมืองเป็นด่านสำคัญชั้นในของเมือง ในเวลาที่บ้านเมืองไม่ใคร่จะปกติราบคาบจึงต้องมีการรักษากันแข็งแรง ประตูเมืองทั้ง 7 นี้ มีนายประตูเป็นผู้รักษา มีหน้าที่ในการปิดเปิดประตูตามกำหนดเวลา คือ ปิดเวลาประมาณ 22.00 น. และเปิดในเวลาประมาณ 05.00 น. ถ้าเป็นเวลาที่ประตูปิดตามกำหนดเวลาแล้ว จะเปิดให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าออกไม่ได้ และทั้งมีอาชญาของเจ้าผู้ครองนครบังคับเอาโทษแก่ผู้ที่ปีนข้ามกำแพงไว้ด้วย นายประตูเป็นผู้ที่เจ้าผู้ครองนครได้แต่งตั้งไว้ได้รับศักดิ์เป็นแสนบ้าง ท้าวบ้าง มีบ้านเรือนประจำอยู่ใกล้ๆ ประตูนั่นเอง ให้มีผลประโยชน์คือในฤดูเดือนยี่หรือเดือนสาม ซึ่งเป็นฤดูเก็บเกี่ยวข้าว เจ้านายท้าวพญาและราษฎรภายในกำแพงเมืองทั้งปวง เมื่อขนข้าวจากนาเข้ามาในเมืองทางประตูใด ก็ให้นายประตูนั้นมีสิทธิเก็บกักข้าวจากผู้นำเข้ามาได้หาบละ 1 แคลง (ประมาณ 1 ทะนาน) นอกจากนี้ นายประตูยังได้สิ่งของโดยมากเป็นอาหารจากผู้ที่ผ่านเข้าออกประตูเป็นประจำวันโดยนำตะกร้าหรือกระบุงไปแขวนไว้ที่หน้าประตูอันสุดแล้วแต่ใครจะให้อีกด้วย
(อาชญาของเมืองที่ต้องมีนายประตูดังกล่าวแล้วนี้ ได้เลิกไปเมื่อในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน)
ตรงใจกลางเมืองเป็นที่อยู่ของเจ้าผู้ครองนคร เรียกว่าคุ้มหลวงและหอคำ “คุ้ม” ตรงกับภาษาไทยใต้เรียกว่า “วัง” คุ้มหลวง ก็คือวังใหญ่นั่นเอง และ “หอคำ” นั้นตรงกับภาษาไทยใต้เรียกว่า “ตำหนักทอง” อันสร้างขึ้นไว้ในบริเวณคุ้มหลวงเป็นเครื่องประดับเกียรติยศ
บรรดาเมืองประเทศราชในลานนาไทยทั้งปวง ย่อมมีบริเวณที่คุ้มหลวงสำหรับเมือง ใครได้เป็นเจ้าเมืองจะเป็นโดยได้สืบทายาทหรือไม่ก็ตาม ย่อมย้ายจากบ้านเดิมไปอยู่ในคุ้มหลวงทุกคน แต่ส่วนเหย้าเรือนในคุ้มหลวงนั้นแต่ก่อนสร้างเป็นเครื่องไม้ ถ้าเจ้าเมืองคนใหม่ไม่พอใจจะอยู่ร่วมเรือนกับเจ้าเมืองคนเก่าก็ย่อมจะให้รื้อถอนเอาไปปลูกถวายวัด (ยังปรากฏเป็นกุฏิวิหารของวัดที่เมืองน่านบางแห่ง) แล้วสั่งกะเกณฑ์ให้สร้างเรือนขึ้นอยู่ตามชอบใจของตน ส่วนหอคำนั้น มิได้มีทุกเมืองประเทศราช เพราะหอคำเป็นเครื่องประดับเกียรติพิเศษสำหรับตัวเจ้าผู้ครอง ต่อเจ้าผู้ครองเมืองคนใดได้รับเกียรติเศษสูงกว่าเจ้าผู้ครองเมืองโดยสามัญ ก็สร้างหอคำขึ้งเป็นที่อยู่เฉลิมเกียรติยศ
หอคำเมืองนครน่าน เพิ่งมีขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2400 มีเรื่องปรากฏในพงศาวดารเมืองน่านว่าเมื่อพระยาอนันตยศย้ายกลับมาตั้งอยู่ที่เมืองเก่าแล้ว ต่อมาอีกปีหนึ่ง พ.ศ. 2399 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเลื่อนอิสริยยศ พระยาอนันตยศ เจ้าเมืองน่าน ขึ้นเป็น เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้านครเมืองน่าน มีพระเกียรติยศสูงกว่าเจ้าเมืองน่านองค์ก่อนๆ ซึ่งดำรงพระยศเป็นแต่ พระยาน่าน ฉะนั้นในปี พ.ศ. 2400 เจ้าอนันตวรฤทธิเดช จึงโปรดให้สร้างหอคำขึ้นและให้เปลี่ยนชื่อคุ้มหลวงว่า “คุ้มแก้ว” เพื่อให้วิเศษเป็นตามลักษณะของหอคำ
หอคำที่สร้างขึ้นในครั้งนั้น ตัวเรือนเป็นเครื่องไม้ เป็นตัวเรือนรวมอยู่ในคุ้มแก้ว 7 หลัง โดยเฉพาะตัวเรือนที่เป็นหอคำหลวงมีห้องโถงขนาดใหญ่ นับว่าเป็นทำนองท้องพระโรงสำหรับเป็นที่เสด็จออกว่าราชการ
เมื่อเจ้าอนันตวรฤทธิเดช ถึงแก่พิราลัย ในปี พ.ศ. 2435 พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ผู้เป็นพระโอรสจึงได้ขึ้นครองเมืองนครน่านสืบต่อไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2437 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเลื่อนอิสริยยศ เจ้าราชวงษ์ ว่าที่เจ้าอุปราช นครเมืองน่าน ขึ้นเป็น เจ้าสุริยพงศ์ผริตเดชฯ เจ้านครเมืองน่าน เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2437 ก็ได้เสด็จเข้าไปประทับอยู่ในคุ้มแก้ว แล้วทรงโปรดให้เรียกว่า “คุ้มหลวง” ไปตามเดิม ล่วงเวลามาอีก 10 ปี ครั้นถึงปี พ.ศ. 2446 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเลื่อนพระอิสริยยศ เจ้าสุริยพงศ์ผริตเดชฯ เจ้านครเมืองน่าน ขึ้นเป็น พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้านครเมืองน่าน พระองค์จึงโปรดให้รื้อหอคำหลังเก่าไปถวายวัด แล้วทรงโปรดให้สร้างหอคำขึ้นใหม่โดยเป็นตึกก่ออิฐถือปูนขึ้นแทน และยังถาวรอยู่มาจนทุกวันนี้ ซึ่งขณะนี้ทางราชการได้ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ น่าน
ภายในบริเวณหอคำหลวงนครน่าน (คุ้มแก้ว) ประกอบด้วย
ณ ลานหน้าคุ้มแก้วเป็นที่ตั้งโรงช้าง ซึ่งเป็นพาหนะที่สำคัญของบ้านเมืองในสมัยนั้น บ้านเมืองที่เป็นเมืองชั้นราชธานี ย่อมจะรวบรวมสะสมช้างไว้มากทุกเมือง ยิ่งเป็นท้องที่ในภาคพายัพนี้แล้วช้างเป็นสิ่งจำเป็นในการลำเลียงและการทัพศึก ในสมัยนั้นเป็นอันมาก
1.) สนาม
ณ เบื้องขวาของคุ้ม ตรงข้ามกับวัดภูมินทรและที่โรงเรียนจุมปีวนิดาตั้งอยู่เดี๋ยวนี้เป็นที่ตั้งศาลาว่าการบ้านเมือง เรียกว่า “สนาม” ถัดไปเป็นศาลาสุรอัยการ 2 หลัง (สุรเพ็ชฌฆาต, อัยการ – คนใช้, คนเวร) คือเป็นที่สำนักของพวกเพ็ชฌฆาต และเป็นที่เก็บสรรพเอกสารของบ้านเมือง ซึ่งมีคนเวรอยู่ประจำ ถัดไปเป็นคอก (เรือนจำ) จะได้กล่าวต่อไปในเรื่องการปกครอง
2.) ฉางหลวง
ณ ศาลากลางจังหวัด เดิมเป็นที่ตั้งฉางของบ้านเมือง มีอยู่ 2 โรงด้วยกัน สำหรับเป็นที่เก็บเสบียงและพัสดุสิ่งของที่ใช้ในกิจการบ้านเมือง เป็นต้นว่าจำพวกเสบียงก็มี ข้าว เกลือ มะพร้าว พริก หอม กระเทียม ตลอดจนหมู เป็ด ไก่ ที่เป็นๆ สะสมไว้เป็นบางคราว และจำพวกเครื่องก็มี ขัน น้ำมันยาง ขี้ผึ้ง ดินประสิว กระดาษ เป็นต้น สิ่งของเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญของบ้านเมือง โดยเฉพาะเสบียงเป็นกำลังของรี้พลสำหรับป้องกันบ้านเมือง ซึ่งจะต้องมีให้พรักพร้อมอยู่เสมอ ทางบ้านเมืองได้กะเกณฑ์เอาสิ่งของเหล่านี้แก่พลเมือง เอามาขึ้นฉางไว้ทุกปี เรียกว่า “หล่อฉาง”
3.) บ้านเรือน
ในยุคนั้นได้ความว่าเมืองน่านมีภูมิฐานบ้านเรือนเป็นปึกแผ่นคับคั่งแล้ว แต่ภายนอกกำแพงนั้นเป็นป่ารกอยู่โดยมาก มีบ้านเรือนเบาบางไม่อุ่นหนาฝาครั่งเหมือนภายในกำแพงเมืองแต่บ้านเรือนนั้นไม่ใคร่จะเป็นที่เจริญนัก เพราะเครื่องมือที่จะตัดฟันไม้ไม่มีมากเหมือนเดี๋ยวนี้ จะทำอะไรก็ไม่ใคร่สะดวก เป็นต้นว่ากระดานก็ต้องถากเอาด้วยมีดและขวานเป็นพื้น ไม่มีเลื่อยจะใช้ ราษฎรไม่มีกำลังพอที่จะทำบ้านเรือนด้วยเครื่องไม้จริงได้ จึงต้องทำด้วยไม้ไผ่ เว้นแต่เจ้านายท้าวพญาผู้ซึ่งมีอำนาจใช้กะเกณฑ์ผู้คนได้ จึงจะปลูกบ้านได้งามๆ นอกจากนี้ยังมีกฎเกณฑ์ห้ามไว้ว่าบ้านเรือนราษฎรที่อยู่ภายในกำแพงเมืองก็ดี ภายนอกก็ดี จะมุงหลังคาด้วยกระเบื้องไม้ไม่ได้ด้วยถือว่าเป็นการกระทำเทียบเคียงหรือตีเสมอกับเจ้านาย มีอาชญาไว้ว่าเป็นความผิด ฉะนั้นบ้านเรือนจึงมุงหลังคาด้วยใบพลวงหรือแฝกเป็นพื้น
4.) วัด
วัดวาอารามภายในกำแพงเมืองครั้งนั้นคงมีจำนวนเท่ากับปัจจุบันนี้ แต่ส่วนมากเศร้าหมองไม่รุ่งเรือง มีวัดที่สำคัญอยู่ 2 วัด คือ วัดช้างค้ำกับวัดภูมินทร์ แท้จริงกิจการฝ่ายพระศาสนานี้อาจกล่าวได้ว่า ได้ย่างขึ้นสู่ความเจริญนับแต่ พ.ศ. 2400 เป็นต้นมา ปรากฏตามพงศาวดารเมืองน่านว่า เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน เป็นผู้มากด้วยศรัทธาแก่กล้าด้วยการบริจาคในอันที่จะเชิดชูพระศาสนาให้รุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่ง ในชั้วชนมายุกาลของท่านจึงเต็มไปด้วยเรื่องการสร้างบูรณะปฏิสังขรณ์โบสถ์ วิหาร เจดียสถาน ตามวัดทั้งในเมืองและนอกเมือง และสร้างคัมภีร์พระสูตรพระธรรมขึ้นไว้เกือบตลอดสมัย ความเจริญในฝ่ายพระศาสนาที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ ย่อมเป็นผลนับเนื่องในเนื้อนาบุญของท่านที่ได้ปลูกฝังไว้ด้วยดีแล้วส่วนหนึ่ง
5.) ตลาด
การค้าขายแลกเปลี่ยนคงกระทำกันแต่ที่กาดมั่ว (ตลาด) แห่งเดียวแท้จริง ที่เรียกว่าตลาดนี้ ยังไม่ถูกต้องดี เพราะตลาดในครั้งนั้นยังไม่มีตัวเรือนโรง เพียงแต่มีข้าวของอะไรก็นำมาวางขายกันตามสองฟากข้างถนนเท่านั้น ตำบลที่นัดตลาดอยู่ในกำแพงเมืองที่ถนนผากองเดี๋ยวนี้ตรงหน้าคุ้มข้างวัดช้างค้ำ นัดซื้อขายกันแต่เวลาเช้าเวลาเดียว สิ่งของที่นำมาขายกันเป็นจำพวกกับข้าวโดยมาก ส่วนร้านขายสิ่งของนั้นปรากฏว่ายังไม่มีเลย
6.) ถนน
ถนนหนทางในครั้งนั้น เท่าที่มีควรจะเรียกว่าเป็นตรอกทางเดินมากกวา เพราะมีส่วนกว้าง อย่างดีก็แต่เพียง 4 - 5 ศอก ถนนชนิดนี้แต่ภายในกำแพงเมืองซึ่งตัดจากประตูหนึ่งไปยังอีกประตูหนึ่ง นอกจากนี้ก็มีแต่ทางเดินธรรมดา
กองทัพกรุงเทพฯ ซึ่งมีเจ้าหมื่นไวยวรนารถ เป็นแม่ทัพ ยกออกจากกรุงเทพฯ โดยทางเรือเมื่อวันอังคารเดือน 11 แรม 11 ค่ำ ปีระกา พ.ศ. 2428 (3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428) ขึ้นไปถึงเมืองพิชัยเมื่อเดือน 12 แรม 2 ค่ำ (2 มกราคม พ.ศ. 2429) ตั้งประชุมพลที่เมืองพิชัยนั้น ได้โปรดฯ ให้พระยาศรีสหเทพ (อ่วม) ขึ้นไปเป็นพนักงานจัดเสบียงพาหนะส่งกองทัพ ได้จัดการเดินทัพขึ้นไปเมืองหลวงพระบางเป็น 3 ทาง คือ
อนึ่ง เสบียงอาหารที่จะจ่ายให้ไพร่พลในกองทัพตั้งแต่เมืองพิชัย เป็นระยะตลอดไปกว่าจะถึงเมืองหลวงพระบางนั้น พระยาศรีสหเทพรับจัดส่งขึ้นไปรวบรวมไว้เป็นระยะทุกๆ ตำบล ที่พักให้พอจ่ายกับจำนวนพลในกองทัพมิให้เป็นที่ขัดขวางได้
กองทัพตั้งพักรอพาหนะอยู่ ณ เมืองพิชัย ประมาณ 20 วัน ก็ยังหามาพรักพร้อมกับจำนวนที่เกณฑ์ไม่ ได้ช้าง 108 เชือก โคต่าง 310 ตัว ม้า 11 ตัวเท่านั้น แต่จะให้รอชักช้าไปก็จะเสียราชการ จึงได้จัดเสบียงแบ่งไปแต่พอควรส่วนหนึ่งก่อน อีกส่วนหนึ่งได้มอบให้กรมการเมืองพิชัยรักษาไว้ให้ส่งไปกับกองลำเลียง
ครั้น ณ วันศุกร์ เดือนอ้าย แรม 11 ค่ำ ปีระกา พ.ศ. 2428 เวลาเช้า 3 โมงเศษ เจ้าหมื่นไวยวรนารถยกกองทัพออกจากเมืองพิชัยให้นายร้อยเอกหลวงจำนงยุทธกิจ (อิ่ม) คุมทหารกรุงเทพฯ 100 คนเป็นทัพหน้า ให้นายจ่ายวด (สุข ชูโต) เป็นผู้ตรวจตรา ให้พระอินทรแสนแสง ปลัดเมืองกำแพงเพชรคุมไพร่พลหัวเมือง 100 คน เป็นผู้ช่วยกองหน้า สำหรับแผ้วถางหนทางที่รกเรี้ยวกีดขวางให้กองทัพเดินได้สะดวกด้วย ให้นายร้อยเอกหลวงอาจหาญณรงค์ กับนายร้อยเอกหลวงดัษกรปลาศ เป็นปีกซ้ายและขวา นายร้อยเอกหลวงวิชิต เป็นกองหลัง พระพลเมืองสวรรคโลกเป็นกองลำเลียงเสบียงอาหาร และกองอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวมานี้ก็ให้ยกเป็นลำดับไปทุก ๆ กอง
ครั้น ณ วันพุธ เดือนยี่ แรมค่ำ 1 ปีระกา ฯ กองทัพได้ยกไปถึงสบสมุนใกล้กับเมืองน่าน ระยะทางราว 200 เส้นเศษ พักจัดกองทัพอยู่ใกล้เมือง เจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้านครเมืองน่าน แต่งให้พระยาวังซ้าย และเจ้านายบุตรหลาน แสนท้าวพระยา คุมช้างพลายสูง 5 ศอก ผูกเครื่องจำลองเขียนทอง 3 เชือก กับดอกไม้ ธูปเทียนออกมารับ แม่ทัพจึงให้รอกองทัพพักอยู่นอกเมือง 1 คืน
ครั้นรุ่งขึ้นวันพฤหัสบดี เดือนยี่ แรม 2 ค่ำ เจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้านครเมืองน่าน จึงแต่งให้ท้าวพระยาคุมช้างพลายผูกจำลองเขียนทอง ออกมารับ 3 เชือก และจัดให้เจ้าวังซ้ายผู้หลานคุมกระบวนออกมารับกองทัพด้วย เวลาเช้า 3 โมงเศษ เดินช้างนำทัพเข้าในเมืองพร้อมด้วยกระบวนแห่ที่มารับ ตั้งแต่กองทัพฝ่ายเหนือออกจากเมืองพิชัยไปจนถึงเมืองน่าน รวมวันเดินกองทัพ 17 วัน หยุดพักอยู่เมืองฝางและท่าแฝก 4 วัน รวมเป็น 21 วัน
เวลาบ่าย 3 โมงเศษ เจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้านครเมืองน่าน พร้อมด้วยเจ้าอุปราช เจ้าราชวงศ์ เจ้านายบุตรหลาน แต่งตัวเต็มยศตามแบบบ้านเมืองมายังทำเนียบที่พักกองทัพนั้น ฝ่ายกองทัพก็ได้จัดทหารกองเกียรติยศ 12 คน มีแตรเดี่ยว 2 คัน คอยรับอยู่ที่ทำเนียบ เมื่อเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้านครเมืองน่าน เสด็จมาถึงแล้วสนทนาปราศรัยไต่ถามด้วยข้อราชการ และอวยชัยให้พรในการที่จะปราบศัตรูให้สำเร็จ โดยพระบรมราชประสงค์ทุกประการและจัดพระพุทธรูปศิลาศรีพลี 1 องค์ พระบรมธาตุ 1 องค์ ให้แม่ทัพ เพื่อเป็นพิชัยมงคลป้องกันอันตรายในการที่จะไปราชการทัพนั้น กับให้ของทักถามแก่กองทัพสำหรับบริโภคด้วยหลายสิ่ง ครั้นรุ่งขึ้นแม่ทัพนายกองได้ไปเยี่ยมตอบเจ้านครเมืองน่าน กับเจ้าอุปราชเจ้าราชวงศ์และเจ้านายเมืองน่าน
ต่อมาพระยาศรีสหเทพ ข้าหลวง อัญเชิญเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาสุราภรณ์มงกุฎสยาม ชั้นที่ 1 ซึ่งโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่ เจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้านครเมืองน่าน ขึ้นไปถึงแม่ทัพได้จัดพิธีรับพระราชทานตามธรรมเนียม
ครั้น ณ วันเสาร์ เดือนยี่ แรม 11 ค่ำ เจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้านครเมืองน่าน ได้ส่งช้างมาเข้ากองทัพ 100 เชือก แม่ทัพจึงให้เปลี่ยนช้างหัวเมืองชั้นในที่ได้บรรทุกกระสุนดินดำ เสบียงอาหารมาในกองทัพ 58 เชือก มอบให้พระพิชัยชุมพลมหาดไทยเมืองพิชัย คุมกลับคืนไปยังเมืองพิชัย เพื่อจะได้บรรทุกเสบียงลำเลียงเข้าจากเมืองพิชัยขึ้นมาส่งยังฉางเมืองท่าแฝก ซึ่งพระยาสวรรคโลกได้มาตั้งฉางพักเสบียงไว้สำหรับเมืองน่านจะมารับลำเลียงส่งไปถึงท่าปากเงยและเมืองหลวงพระบางจะได้จัดเรือมารับแต่ปากเงย ส่งต่อไปถึงเมืองงอย[14]
พงศาวลีของเจ้าอนันตวรฤทธิเดช | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.