Loading AI tools
พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลโทหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา (ประสูติ 8 มกราคม พ.ศ. 2530) เป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สุจาริณี วิวัชรวงศ์ (นามเดิม : หม่อมสุจาริณี มหิดล ณ อยุธยา)
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา | |
---|---|
เจ้าฟ้าชั้นเอก | |
พระรูปใน พ.ศ. 2563 | |
ประสูติ | 8 มกราคม พ.ศ. 2530 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ราชวงศ์ | จักรี |
ราชสกุล | มหิดล |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | สุจาริณี วิวัชรวงศ์ |
ศาสนา | พุทธเถรวาท |
พระองค์ทรงเป็นนักกีฬาขี่ม้า นักออกแบบเสื้อ อาจารย์หัวหน้าแผนกโรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า และอดีตนักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทย
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สุจาริณี วิวัชรวงศ์ อดีตนักแสดง[1] เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 10 ค่ำ เดือนยี่ ปีขาล อัฐศก จ.ศ. 1348 ตรงกับวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2530 เมื่อแรกประสูติมีพระยศที่ “หม่อมเจ้า” พระนามว่า หม่อมเจ้าบุษย์น้ำเพชร มหิดล มีพระโสทรเชษฐาสี่องค์ ได้แก่ จุฑาวัชร วิวัชรวงศ์, วัชเรศร วิวัชรวงศ์, จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ และวัชรวีร์ วิวัชรวงศ์ และพระองค์มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาต่างพระมารดาสองพระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร
ในปี พ.ศ. 2539 หลังจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (พระยศในขณะนั้น) ทรงหย่ากับหม่อมสุจาริณี หม่อมสุจาริณีพร้อมพระโอรสทั้งสี่องค์ ได้ย้ายไปพำนักยังต่างประเทศ ส่วนหม่อมเจ้าบุษย์น้ำเพชร พระธิดา อยู่ในการดูแลของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร[2] ได้รับพระราชทานพระนามใหม่ว่า หม่อมเจ้าจักรกฤษณ์ยาภา มหิดล[3] ขณะมีพระชันษา 10 ปี ประทับอยู่กับพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ราวสองปี[4] ต่อมาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานพระนามใหม่ว่า หม่อมเจ้าสิริวัณวรี มหิดล ภายหลังพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2548[5]
พระองค์สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนจิตรลดา[6] ต่อมาได้สำเร็จการศึกษาศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 1 (เหรียญทอง) ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.93[7][8] และทรงได้รับรางวัลนิสิตดีเด่นประจำปีการศึกษา 2551 ด้วยมีผลการการเรียนอันน่าพึงใจ[9] หลังจากนี้พระองค์ได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโท ณ วิทยาลัยสมาคมการออกแบบเสื้อผ้าปารีส (École de la chambre syndicale de la couture parisienne)[10] ประเทศฝรั่งเศส[11][12]
เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
พระองค์เรียกแทนพระองค์เองว่า "ท่านหญิง" ด้วยมีพระยศเดิมเป็นหม่อมเจ้ามาก่อน พระองค์มีพระสหายน้อยคน ทรงประทานสัมภาษณ์ว่า "...ท่านหญิงมีเพื่อนน้อย แต่ทุกคนดีมีคุณภาพ"[13] ระหว่างที่ทรงศึกษา ณ โรงเรียนจิตรลดา พระสหายจะเรียกพระองค์ว่า "ตึก" เพราะทรงสวมรองเท้าส้นตึกซึ่งเป็นที่นิยมมากในขณะนั้น[14]
พระองค์ได้รับการจัดอยู่ในลำดับที่ 16 โดยนิตยสารฟอบส์ในเยาวราชนิกุลที่ทรงได้รับความนิยมมากสุดในโลก 20 อันดับ[15] ในปี พ.ศ. 2556 เว็บไซต์ askmen ได้จัดอันดับพระองค์ว่าเป็นเจ้าหญิงที่โดดเด่นที่สุด อันดับที่ 7[16] และพระองค์ได้รับรางวัล "แฟชั่นไอคอน" จากนิตยสาร นูเมโร ไทยแลนด์ ในปีเดียวกัน[17] และเมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 นิตยสาร Garzia ของอังกฤษได้จัดอันดับให้พระองค์เป็นสมาชิกราชวงศ์ที่มีสไตล์ที่สุดจากทั่วโลก [18][19]
วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557 พระองค์หญิงได้ทรงโพสต์ข้อความผ่านบัญชีเฟซบุ๊กส่วนพระองค์ว่าทรงคบหากับชายชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งตั้งแต่เดือนมกราคมปีที่แล้ว ด้วยทรงต้องการสยบข่าวลือที่ว่าพระองค์เสกสมรสแล้ว[20][21]
เหรียญรางวัล | ||
---|---|---|
แบดมินตันหญิง | ||
ตัวแทนของ ไทย | ||
ซีเกมส์ | ||
มะนิลา 2005 | ทีมหญิง | |
ขี่ม้า | ||
ตัวแทนของ ไทย | ||
ซีเกมส์ | ||
กัวลาลัมเปอร์ 2017 | ทีม |
พระองค์ได้รับการคัดเลือกให้เป็นนักกีฬาทีมชาติไทย ได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปร่วมแข่งขันในการแข่งขันกีฬาแบดมินตันซีเกมส์ 2005 ประเภททีมหญิง ที่ประเทศฟิลิปปินส์ โดยได้รับรางวัลเหรียญทอง[22] และอีกหลายรายการ[23][24]
นอกจากกีฬาแบดมินตัน พระองค์ยังสนพระทัยกีฬาขี่ม้าตั้งแต่พระชันษา 9 ปี ด้วยทรงขี่ม้าตามสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ต่อมาพระองค์ได้กลับมาสนพระทัยจนเป็นนักกีฬาขี่ม้าดังกล่าว ซึ่งชนะเลิศในรายการไทยแลนด์แชมเปียนชิพคิงส์คัพ 2012 และทรงตั้งพระทัยที่จะคัดเลือกเป็นนักกีฬาทีมชาติไทยในซีเกมส์ 2013 ในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ทรงลงแข่งขันขี่ม้าประเภทศิลปะบังคับม้าประเภททีม[25] วันที่ 14 ธันวาคม พระองค์ลงแข่งรอบชิงชนะเลิศทรงทำคะแนนรวม 53.810 คะแนน จบอันดับที่ 10 ในการแข่งขัน ต่อมาทรงลงแข่งขันในซีเกมส์ 2017 ในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ทรงลงแข่งขันขี่ม้าประเภทศิลปะบังคับม้าประเภททีม[26] วันที่ 23 สิงหาคม พระองค์ลงแข่งขันศิลปะบังคับม้าประเภทบุคคล[27]
ทรงเข้าร่วมการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2014[28][29] โดยเข้าแข่งขันกีฬาศิลปะการบังคับม้าประเภททีม ลงแข่งขันเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557 ร่วมกับ เฉลิมฉาน ยศวิริยะพาณิชย์, รวิสรา เวชากร และภคินี พันธาภา ส่วนพระองค์ได้คะแนน ร้อยละ 58.079 รวมคะแนนเฉลี่ยทีมไทยอยู่อันดับที่ 7 ด้วยคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 62.711 และในอีกเก้าปีต่อมาในเอเชียนเกมส์ 2022 ทรงลงแข่งขันในชนิดกีฬาและประเภทเดิม[30]
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ได้รับเชิญจากห้องเสื้อปีแยร์ บาลแม็ง ให้จัดแสดงผลงานการออกแบบเสื้อผ้าจำนวน 39 ชุด ในงานสัปดาห์แฟชั่นปารีส (Paris Fashion Week: Spring/Summer 2008) ที่โรงอุปรากรปาแลการ์นีเย กรุงปารีส เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2550[31] โดยเสื้อผ้าที่จัดแสดงทรงผสมผสานระหว่างเครื่องแต่งกายแบบชาวตะวันตก กับรูปแบบผ้านุ่งไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ ตัดเย็บโดยช่างจากวิทยาลัยในวังหญิง[32]
ผ้ามัดหมี่ลายของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เมื่อ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ที่บ้านนาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงมีความตั้งใจที่จะสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จึงได้ทรงนำประสบการณ์การทำงาน การศึกษา เดินทางไปชมผ้าไทย และงานหัตถกรรมพื้นบ้านตามภาคต่าง ๆ ซึ่งทำให้ทรงทอดพระเนตรเห็นผลงานที่สามารถนำมาพัฒนาให้ร่วมสมัย และเป็นสากลได้ จึงได้ทรงออกแบบลายผ้ามัดหมี่ โดยออกแบบลายให้มีความหมายถึงการส่งมอบความรัก ความสุข ให้ชาวไทยทุกคน โดยแบ่งออกเป็น ลาย S ที่ท้องผ้า ลายเชิงผ้ารูปหัวใจ ลาย S ประกอบกับลายขิดที่เชิงผ้า ลายต้นสนที่เชิงผ้า และลายหางนกยูงที่เชิงผ้า
เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 67 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จเป็นองค์ประธานการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” และงานหัตถกรรม รอบตัดสิน ระดับประเทศ ประจาปี 2567 โดยได้พระราชทานพระอนุญาตให้กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จัดประกวดแข่งขันผ้าลายสิริวชิราภรณ์ และงานหัตถกรรม อันเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อสืบสานผ้าไทย ทั้งนี้ ผ้าลายสิริวชิราภรณ์ เป็นผ้าลายที่ พระราชทานให้แก่กระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 ณ บ้านคาปุน ตำบลคำน้าแซบ อำเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเชิญไปมอบแก่ศิลปินช่างทอผ้าและหัตถกรรมไทยทั่วประเทศ โดยเป็นลายผ้าที่ทรงสร้างสรรค์ออกแบบเนื่องในปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 มีจำนวน 4 ลาย ได้แก่ ลายวชิรภักดิ์ ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ 2567 ลายหัวใจ และลายดอกรักราษฎร์ภักดี
มูลนิธิอารยศิลป์ สิริวัณณวรีนารีรัตน์ เป็นมูลนิธิที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงมีพระราชประสงค์ให้ก่อตั้งขึ้น และทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์อุปถัมภ์มูลนิธิ โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนเริ่มแรกให้แก่มูลนิธิ เป้าหมายสำคัญของมูลนิธิ คือ การช่วยเหลือผู้ที่มีความสามารถทางด้านศิลปะ โดยให้ทุนการศึกษาในระดับปริญญาโท ปริญญาเอก หรือประกาศนียบัตรทางด้านศิลปะเฉพาะทาง สำหรับผู้เรียนศิลปะในแขนงสาขาต่าง ๆ เพื่อนำองค์ความรู้มาต่อยอดเชิงบูรณาการให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติในเชิงศิลปกรรม
ทั้งนี้ทรงมียี่ห้อเสื้อผ้าส่วนพระองค์คือ "สิริวัณณวรี" (Sirivannavari)[33] และมียี่ห้อของแต่งบ้านส่วนพระองค์ชื่อ "สิริวัณณวรีเมซอง" (Sirivannavari Maison)[34] ทั้งนี้สินค้าบางส่วนของพระองค์ได้รับการจดลิขสิทธิ์โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศเพื่อมิให้เกิดการละเมิดหรือลอกเลียน
พลโทหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา | |
---|---|
รับใช้ | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2555 – ปัจจุบัน |
ชั้นยศ | พลโทหญิง |
และนายทหารพิเศษประจำกองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ฯ (4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555)[47]
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงมีรถยนต์ที่นั่งดังนี้
พงศาวลีของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.