ไปยาลน้อย
เครื่องหมายวรรคตอนภาษาไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปยาลน้อย หรือ เปยยาลน้อย (ฯ) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนอย่างหนึ่งในการเขียนภาษาไทย ใช้ในการย่อคำเพื่อให้เขียนสั้นลง โดยเขียนแต่ส่วนหน้า ละส่วนหลังเอาไว้ แล้วใส่ไปยาลน้อยไว้แทน ยังปรากฏที่มาที่ชัดเจนคือ
ฯ | |
---|---|
ไปยาลน้อย | |
คำว่า ไปยาล มาจากคำว่า เปยฺยาล ในภาษาบาลี แปลว่า ย่อ
การใช้
เครื่องหมายไปยาลน้อย นิยมใช้ใน 2 ลักษณะด้วยกัน คือ
- ใช้กับคำพิเศษบางคำที่นิยมใช้ย่อโดยทั่วไป เช่น
- ข้าฯ คำเต็มคือ ข้าพเจ้า
- ฯพณฯ (อ่านว่า พะนะท่าน) ย่อมาจากคำ พณหัว พณหัวเจ้า หรือ พณหัวเจ้าท่าน ใช้กับข้าราชการผู้ใหญ่ชั้นรัฐมนตรี เอกอัครราชทูต เป็นต้น[1] เคยมีหนังสือเวียนของกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีให้เลิกใช้ เว้นแต่ในกรณีพิเศษอันเกี่ยวกับต่างประเทศเท่านั้น แต่คนยังนิยมใช้กันอยู่[2]
- ใช้ย่อคำที่ยาวให้สั้นลง
- กรุงเทพฯ คำเต็มคือ "กรุงเทพมหานคร"
- โปรดเกล้าฯ คำเต็มคือ "โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม"
- ราชสกุล ที่ลงท้าย ณ อยุธยา เช่น "เทพหัสดินฯ" คำเต็มคือ "เทพหัสดิน ณ อยุธยา" [3]
- วัดพระเชตุพนฯ คำเต็มคือ "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร"
- ใช้บอกวันขึ้นแรมในปฏิทินจันทรคติไทย เช่น
- ๖ ๓ฯ ๓ อ่านว่า วันศุกร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3
- ๒ ๑๑ ฯ ๗ อ่านว่า วันจันทร์ แรม 11 ค่ำ เดือน 7
นอกจากนี้อาจใช้ในกรณีอื่น ๆ เพื่อย่อคำให้สั้น แต่เมื่ออ่านหรือเขียนคำอ่าน ต้องอ่านคำเต็ม ห้ามเขียนหรืออ่านคำหน้าแล้วต่อด้วยฯ เช่น กรุง-เทพ-ละ กรุงเทพละ เด็ดขาด
หมายเหตุ: ไปยาลน้อยไม่ใช่อักษร แต่มักจะจัดรวมไว้ในหมวดหมู่อักษรไทย เพื่อความสะดวกในการดูภาพรวมของอักษรและเครื่องหมายที่ใช้ในการเขียนหนังสือไทย
ไปยาลน้อยในภาษาอื่น
ภาษาอื่นที่ใช้ไปยาลน้อยคือภาษาเขมร (។) การใช้ที่เหมือนกันคือใช้บอกวันขึ้นแรมทางจันทรคติ สำหรับการใช้เพื่อจบประโยค ดูที่ อังคั่น
อีกภาษาที่ใช้ไปยาลน้อยคือภาษาลาว (ຯ) ใช้เพื่อบอกในความและและอื่น ๆ ต่อไปเรื่อย ๆ
อ้างอิง
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.