คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
ไปยาลน้อย
เครื่องหมายวรรคตอนภาษาไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
ไปยาลน้อย หรือ เปยยาลน้อย (ฯ) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนอย่างหนึ่งในการเขียนภาษาไทย ใช้ในการย่อคำเพื่อให้เขียนสั้นลง โดยเขียนแต่ส่วนหน้า ละส่วนหลังเอาไว้ แล้วใส่ไปยาลน้อยไว้แทน ยังปรากฏที่มาที่ชัดเจนคือ
Remove ads
คำว่า ไปยาล มาจากคำว่า เปยฺยาล ในภาษาบาลี แปลว่า ย่อ
Remove ads
การใช้
เครื่องหมายไปยาลน้อย นิยมใช้ใน 2 ลักษณะด้วยกัน คือ
- ใช้กับคำพิเศษบางคำที่นิยมใช้ย่อโดยทั่วไป เช่น
- ข้าฯ คำเต็มคือ ข้าพเจ้า
- ฯพณฯ (อ่านว่า พะนะท่าน) ย่อมาจากคำ พณหัว พณหัวเจ้า หรือ พณหัวเจ้าท่าน ใช้กับข้าราชการผู้ใหญ่ชั้นรัฐมนตรี เอกอัครราชทูต เป็นต้น[1] เคยมีหนังสือเวียนของกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีให้เลิกใช้ เว้นแต่ในกรณีพิเศษอันเกี่ยวกับต่างประเทศเท่านั้น แต่คนยังนิยมใช้กันอยู่[2]
- ใช้ย่อคำที่ยาวให้สั้นลง
- กรุงเทพฯ คำเต็มคือ "กรุงเทพมหานคร"
- โปรดเกล้าฯ คำเต็มคือ "โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม"
- ราชสกุล ที่ลงท้าย ณ อยุธยา เช่น "เทพหัสดินฯ" คำเต็มคือ "เทพหัสดิน ณ อยุธยา" [3]
- วัดพระเชตุพนฯ คำเต็มคือ "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร"
- ใช้บอกวันขึ้นแรมในปฏิทินจันทรคติไทย เช่น
- ๖ ๓ฯ ๓ อ่านว่า วันศุกร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3
- ๒ ๑๑ ฯ ๗ อ่านว่า วันจันทร์ แรม 11 ค่ำ เดือน 7
นอกจากนี้อาจใช้ในกรณีอื่น ๆ เพื่อย่อคำให้สั้น แต่เมื่ออ่านหรือเขียนคำอ่าน ต้องอ่านคำเต็ม ห้ามเขียนหรืออ่านคำหน้าแล้วต่อด้วยฯ เช่น กรุง-เทพ-ละ กรุงเทพละ เด็ดขาด
หมายเหตุ: ไปยาลน้อยไม่ใช่อักษร แต่มักจะจัดรวมไว้ในหมวดหมู่อักษรไทย เพื่อความสะดวกในการดูภาพรวมของอักษรและเครื่องหมายที่ใช้ในการเขียนหนังสือไทย
Remove ads
ไปยาลน้อยในภาษาอื่น
ภาษาอื่นที่ใช้ไปยาลน้อยคือภาษาเขมร (។) การใช้ที่เหมือนกันคือใช้บอกวันขึ้นแรมทางจันทรคติ สำหรับการใช้เพื่อจบประโยค ดูที่ อังคั่น
อีกภาษาที่ใช้ไปยาลน้อยคือภาษาลาว (ຯ) ใช้เพื่อบอกในความและและอื่น ๆ ต่อไปเรื่อย ๆ
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads