ไปยาลใหญ่
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปยาลใหญ่ หรือ เปยยาลใหญ่ (ฯลฯ) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนอย่างหนึ่ง ในการเขียนภาษาไทย มีรูปเป็นอักษรไทย ล ที่อยู่ระหว่างเครื่องหมายไปยาลสองตัว ใช้ละคำต่อท้ายที่ยังมีอีกมาก ยังไม่ปรากฏที่มาที่ชัดเจน
ฯลฯ | |
---|---|
ไปยาลใหญ่ | |
คำว่า ไปยาล มาจาก คำว่า เปยฺยาล ในภาษาบาลี แปลว่า ย่อ ซึ่งเมื่อเขียนภาษาบาลีด้วยอักษรไทย จะใช้ ฯเปฯ ในคำสวดแทน[1]
การใช้ไปยาลใหญ่
- ใช้ละคำที่ยังมีต่อท้ายอีกมาก ให้อ่านว่า "ละ" หรือ "และอื่น ๆ" เช่น
- ในหลายจังหวัดของภาคอีสาน ได้แก่ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ขอนแก่น ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ฯลฯ
- ในหนังสือโบราณ มีการใช้เครื่องหมายไปยาลใหญ่ คั่นกลาง ระหว่าง คำต้น และคำท้าย ให้อ่านว่า "ละถึง" เช่น
- พยัญชนะไทย 44 ตัว มี ก ฯลฯ ฮ
- ข้าวรพุทธเจ้า ฯลฯ ชโย
ไปยาลใหญ่ในภาษาอื่น
ภาษาอื่นที่ใช้ไปยาลใหญ่คือภาษาเขมร (៘) ซึ่งเป็นอักขระตัวเดียวในคอมพิวเตอร์ต่างจากอักษรไทย และภาษาลาว (ຯລຯ) ใช้ละคำต่อท้ายที่ยังมีอีกมากเหมือนกับภาษาไทย
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.