พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ หรือ พระเวชยันตรังสฤษฏ์ (นามเดิม: มุนี มหาสันทนะ; 29 มีนาคม พ.ศ. 2436 - 10 กันยายน พ.ศ. 2527) ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์[1] ผู้บัญชาการทหารอากาศคนแรกของกองทัพอากาศไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการสำนักนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์, กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงอุตสาหกรรม และอดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ข้อมูลเบื้องต้น รองนายกรัฐมนตรี, นายกรัฐมนตรี ...
มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์
Thumb
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
25 ธันวาคม พ.ศ. 2496  2 สิงหาคม พ.ศ. 2498
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าพลตรี สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ
ถัดไปจอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี
จอมพลเรือ ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
ดำรงตำแหน่ง
16 ธันวาคม พ.ศ. 2481  20 สิงหาคม พ.ศ. 2484
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าพระยาฤทธิอัคเนย์
ถัดไปหลวงเดชสหกรณ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
5 พฤษภาคม พ.ศ. 2485  1 สิงหาคม พ.ศ. 2487
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปพลเรือตรี ผัน นาวาวิจิต
ดำรงตำแหน่ง
12 มิถุนายน พ.ศ. 2495  12 ธันวาคม พ.ศ. 2496
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าสุกิจ นิมมานเหมินท์
ถัดไปพลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
ดำรงตำแหน่ง
22 สิงหาคม พ.ศ. 2507  7 มีนาคม พ.ศ. 2512
นายกรัฐมนตรีพลเอก ถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้าบุณย์ เจริญไชย
ถัดไปพลโท พงษ์ ปุณณกันต์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพานิชย์
ดำรงตำแหน่ง
31 มกราคม พ.ศ. 2489  24 มีนาคม พ.ศ. 2489
นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์
ก่อนหน้าหม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์
ถัดไปหม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์
ดำรงตำแหน่ง
21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491  8 เมษายน พ.ศ. 2491
นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์
ก่อนหน้าหม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์
ถัดไปพระยามไหสวรรย์
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494  6 ธันวาคม พ.ศ. 2494
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าพลตรี เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ
ถัดไปพลตรี หลวงวิจิตรวาทการ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490  21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490
นายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์
ก่อนหน้าพระยาประกิตกลศาสตร์
ถัดไปหม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2498  21 มีนาคม พ.ศ. 2500
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าพลอากาศเอก ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี
ถัดไปพลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
31 มีนาคม  16 กันยายน พ.ศ. 2500
นายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าพลเอก มังกร พรหมโยธี
ถัดไปหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
ผู้บัญชาการทหารอากาศ
ดำรงตำแหน่ง
27 เมษายน พ.ศ. 2480  18 มีนาคม พ.ศ. 2484
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปพลอากาศโท หลวงอธึกเทวเดช
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดำรงตำแหน่ง
17 สิงหาคม พ.ศ. 2493  6 กันยายน พ.ศ. 2504
(11 ปี 20 วัน)
ก่อนหน้าศ.หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก โสณกุล
ถัดไปจอมพล ประภาส จารุเสถียร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 มีนาคม พ.ศ. 2436
อำเภอบางพลัด จังหวัดธนบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต10 กันยายน พ.ศ. 2527 (91 ปี)
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองพรรคเสรีมนังคศิลา
คู่สมรสท่านผู้หญิง ดาระกา เวชยันตรังสฤษฏ์
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพอากาศไทย
ยศ พลอากาศโท
ปิด

ประวัติ

พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ มีนามเดิมว่า มุนี มหาสันทนะ ศึกษาที่โรงเรียนราชวิทยาลัย สมัยสายสวลี จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2454 จากนั้นไปศึกษาต่อด้านวิศวกรรมที่มหาวิทยาลัยวิคตอเรีย ประเทศอังกฤษ [2] หลังจากจบการศึกษาแล้วเริ่มรับราชการกองทัพบกไทย พร้อมกับรับพระราชทานยศร้อยตรีเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2462[3] สังกัดกรมอากาศยานทหารบก

รับราชการ

วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 ร้อยเอก มุนี มหาสันทนะ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงเวชยันต์รังสฤต ถือศักดินา 800[4]

ในปี พ.ศ. 2472 ขณะดำรงตำแหน่ง พันโท หลวงเวชยันต์รังสฤษฏ์ รั้งตำแหน่งผู้บังคับฝูงกองโรงงาน กรมอากาศยาน ท่านเป็นผู้ออกแบบเครื่องบินทิ้งระเบิด ปีก 2 ชั้น 2 ที่นั่งลำแรกของไทย ใช้ชื่อว่า "เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ 2" หรือ "เครื่องบินบริพัตร" ใช้ประจำการในกองทัพตั้งแต่ พ.ศ. 2472 - 2483 [5]

ต่อมากำลังทางอากาศของไทยเติบโตขึ้น และได้รับการยกฐานะเป็น "กองทัพอากาศ" เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2480 ขณะนั้นท่านมียศเป็น นาวาอากาศเอก พระเวชยันต์รังสฤษฏ์ ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศคนแรกเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2480 [6] ดำรงตำแหน่งนี้จนถึงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2484 ก่อนจะย้ายไปดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาการป้องกันพระราชอาณาจักร โดยมีนายนาวาอากาศเอก หลวงอธึกเทวเดช ดำรงตำแหน่งแทน [7] และได้รับยศทางทหารสูงสุดเป็น พลอากาศโท เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 [8]

ยศ

  • 20 พฤษภาคม 2462 – โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงกลาโหมส่งสัญญาบัตรยศไปพระราชทาน[9]

บทบาททางการเมือง

ในเวลาต่อมาเมื่อรัฐบาลจะยกเลิกบรรดาศักดิ์ไทย พระเวชยันตรังสฤษฏ์ในฐานะรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 จึงลาออกจากบรรดาศักดิ์ โดยเลือกใช้ราชทินนามเป็นนามสกุล และนามสกุลเดิมเป็นชื่อรองว่า มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์[10]

ท่านดำรงตำแหน่งในรัฐบาล ตั้งแต่ พ.ศ. 2480 ตำแหน่งรัฐมนตรี ในรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ (พ.ศ. 2481-2484) ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (พ.ศ. 2489[11], 2491, 2494[12]) กระทรวงคมนาคม (พ.ศ. 2490) ในรัฐบาลควง อภัยวงศ์ สำนักนายกรัฐมนตรี ใน พ.ศ. 2494[13]

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2500) ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม[14] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (พ.ศ. 2507-2513) ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร [15] นอกจากนี้แล้วยังได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.จังหวัดพระนคร สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ด้วย[16]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

  •  ลาว :
    • พ.ศ. 2498 – Thumb เครื่องราชอิสริยาภรณ์พระบรมรูป ชั้นที่ 1[26]

อ้างอิง

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.