Loading AI tools
ผู้นำทางทหารชาวไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอมพล ผิน ชุณหะวัณ ป.จ. ม.ป.ช. ม.ว.ม. หรือ หลวงชำนาญยุทธศาสตร์ (14 ตุลาคม พ.ศ. 2434 – 26 มกราคม พ.ศ. 2516) เป็นทหารบกและนักการเมืองชาวไทย ผู้นำรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 และเคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
ผิน ชุณหะวัณ | |
---|---|
ผิน ใน พ.ศ. 2496 | |
ผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะทหารแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 8 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ก่อนหน้า | ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี) |
ถัดไป | ควง อภัยวงศ์ (นายกรัฐมนตรี) |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494 – 19 เมษายน พ.ศ. 2499 | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ |
ถัดไป | ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร | |
ดำรงตำแหน่ง 12 ธันวาคม พ.ศ. 2496 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500 | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | พิศาล สุนาวิน |
ถัดไป | วิบูลย์ ธรรมบุตร |
ผู้บัญชาการทหารบก คนที่ 15 | |
ดำรงตำแหน่ง 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 – 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 | |
ก่อนหน้า | พลเอก อดุล อดุลเดชจรัส |
ถัดไป | สฤษดิ์ ธนะรัชต์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ผิน 14 ตุลาคม พ.ศ. 2434 อำเภอสี่หมื่น เมืองราชบุรี ประเทศสยาม (ปัจจุบัน อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ประเทศไทย) |
เสียชีวิต | 26 มกราคม พ.ศ. 2516 (81 ปี) เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย (ปัจจุบัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย) |
คู่สมรส |
|
บุตร |
|
บุพการี |
|
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | 2459 - 2497 |
ยศ | |
บังคับบัญชา | มณฑลทหารบกที่ 3 กองทัพพายัพ กระทรวงกลาโหม กองทัพไทย |
ผ่านศึก |
|
ผินเกิดที่ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นบุตรของนายไข่ และ นางพลับ ชุณหะวัณ ชาวสวนและแพทย์แผนโบราณ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 8 คนหนึ่งในนั้นคือ พล.ท.พจน์ ชุณหะวัณ หรือ ขุนพจน์ศรศักดิ์[3]
จอมพล ผิน ชุณหะวัณ ถึงแก่อสัญกรรมในวันศุกร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2516 ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า รวมอายุ 81 ปี 104 วัน
จอมพล ผิน ชุณหะวัณ สมรสครั้งแรกกับคุณหญิงวิบุลลักสม์ ชุณหะวัณ (พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2497) มีบุตร-ธิดา 5 คน คือ
หลังจากคุณหญิงวิบุลลักสม์ถึงแก่อนิจกรรม จึงสมรสครั้งที่สองกับ นางสุภาพ ชุณหะวัณ มีบุตร 1 คน คือ
จอมพล ผิน ได้รับสมัครเข้าเป็นนักเรียนนายสิบ ที่โรงเรียนนายสิบ กรมทหารที่ 4 ราชบุรี เมื่อมีอายุได้ 16 ปี เมื่อจบหลักสูตรสามารถสอบไล่ได้คะแนนดีเยี่ยม จึงได้เลื่อนขั้นไปศึกษาต่อใน โรงเรียนนายร้อยทหารบก จนจบ (รุ่นเดียวกับจอมพล แปลก พิบูลสงคราม) และได้พระราชทานยศเป็นนายร้อยตรีเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2459[4] ประจำกรมทหารราบที่ 4 ราชบุรี จากนั้นในปี 2462 จึงได้ย้ายมารับราชการที่ กรมยุทธศาสตร์ทหารบก[5] หลังจากนั้นได้เข้าเรียนโรงเรียนเสนาธิการทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2471 ขณะอายุได้ 37 ปีมียศและบรรดาศักดิ์เป็น ร้อยเอก ขุนชำนาญยุทธศาสตร์ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงชำนาญยุทธศาสตร์"[6] และ พ.ศ. 2472 ได้เลื่อนยศเป็นพันตรีในเวลาถัดมา
จอมพลผิน ชุณหะวัณ ได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า "บุรุษผู้รักชาติจนน้ำตาไหล" หรือ "วีรบุรุษเจ้าน้ำตา" เนื่องจากให้สัมภาษณ์ในเหตุการณ์รัฐประหาร เมื่อปี พ.ศ. 2490 ว่าทำไปเพราะ รักชาติ ขณะที่ให้สัมภาษณ์ทุกครั้งเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็มักน้ำตาไหลด้วยความตื้นตัน
จอมพล ผิน ชุณหะวัณ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[28] ดังนี้
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.