Remove ads
สถานศึกษาในสังกัดกองทัพบก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (ชื่อย่อ: รร.จปร.) เป็นสถาบันการศึกษาทางทหาร ในระดับอุดมศึกษาในสังกัดกรมยุทธศึกษาทหารบก กองทัพบก ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ผู้ที่ศึกษาในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เรียกว่า นักเรียนนายร้อย (นนร.) ต้นไม้สัญลักษณ์ประจำโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า คือ จำปีสิรินธร ปัจจุบัน (1 ตุลาคม 2567) พลโท อุดม แก้วมหา เป็นผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า พลตรี เทพพิทักษ์ นิมิตร และ พลตรี เอกอนันต์ เหมะบุตร เป็นรองผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
Chulachomklao Royal Military Academy | |
เครื่องหมายราชการ | |
ชื่อย่อ | รร.จปร. / CRMA |
---|---|
คติพจน์ | สพฺเพสํ สงฺฆภูตานํ สามคฺคี วุฑฒิ สาธิกา (ความเป็นผู้พร้อมเพรียงแห่งชน ผู้เป็นหมู่แล้วทั้งหลายทั้งปวงให้ความเจริญสำเร็จ) |
ประเภท | สถาบันการศึกษาทางทหาร |
สถาปนา | 5 สิงหาคม พ.ศ. 2430 |
สังกัดการศึกษา | กรมยุทธศึกษาทหารบก |
ผู้บัญชาการ | พลโท อุดม แก้วมหา [1] |
ที่ตั้ง | |
สี | สีแดง-เหลือง |
เว็บไซต์ | www |
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ากำเนิดขึ้นพร้อม ๆ กับกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ โดยเริ่มจากการจัดตั้งทหารมหาดเล็กเด็กที่เรียกวว่า "ทหารมหาดเล็กไล่กา" จำนวน 12 คน ในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้ขยายกำลังขึ้นโดยฝึกข้าหลวงเดิมให้เป็นทหารมหาดเล็กสมทบกับพวกมหาดเล็กไล่การวม 24 คน จึงเรียกทหารในชุดนี้ว่า "ทหาร 2 โหล" และต่อมาได้เพิ่มจำนวนทหารมหาดเล็กเป็น 72 คน แต่งตั้งเป็นกองทหารมหาดเล็กสำหรับรักษาพระองค์อย่างใกล้ชิด
ในห้วงสงครามมหาเอเซียบูรพา ประเทศไทยได้ทำสัญญาเป็นพันธมิตรไมตรีกับฝ่ายญี่ปุ่น เมื่อ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ในปี พ.ศ. 2486 ฝ่ายพันธมิตรได้ทำการโจมตีทางอากาศต่อที่หมายในกรุงเทพมหานครอย่างหนัก ทางราชการจึงคิดแผนการย้ายเมืองหลวงไปอยู่ ณ สถานที่แห่งใหม่ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2487 นักเรียนนายร้อยทุกหลักสูตรและทุกคน จึงได้ออกเดินทางจากกรุงเทพมหานครไปขึ้นรถไฟที่สถานีรถไฟสามเสน ไปลงที่สถานีรถไฟตะพานหิน จังหวัดพิจิตร จากนั้นเดินเท้าต่อไปอีก 112 กิโลเมตร เข้าสู่หมู่บ้านป่าแดง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ เปิดทำการสอนนักเรียนนายร้อยอยู่ไม่นาน พอต้นปี พ.ศ. 2488 ได้เคลื่อนย้ายมาอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนกระทั่งสงครามสงบในเดือนกันยายน พ.ศ. 2488 โรงเรียนนายร้อยจึงได้กลับมาอยู่ ณ สถานที่ตั้งเดิม
พ.ศ. 2489 กระทรวงกลาโหมได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรของโรงเรียนนายร้อย เป็นหลักสูตรการศึกษา 5 ปีตามแบบอย่างโรงเรียนนายร้อยทหารบกของสหรัฐอเมริกา
รายนามผู้บัญชาการ | ||
---|---|---|
พระนามและนาม | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
1. จอมพล สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ | พ.ศ. 2449–2452 | |
2. พันเอก พระยาศักดาภิเดชวรฤทธิ์ (ทองดี ภีมะโยธิน) | พ.ศ. 2456–2458 | |
3. พันเอก พระยาอุปเทศทวยหาญ (เชื่อม ประพันธโยธิน) | พ.ศ. 2458–2468 | |
4. พลตรี พระยารามรณรงค์ (หม่อมหลวงชวย ฉัตรกุล) | พ.ศ. 2467–2471 | |
5. พลตรี พระยาเสนีย์ณรงค์ฤทธิ์ (หม่อมหลวงเล็ก สนิทวงศ์) | พ.ศ. 2471–2473 | |
6. พลตรี หม่อมเจ้านิลประภัศร เกษมศรี | พ.ศ. 2473–2475 | |
7. พันโท พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) | พ.ศ. 2475–2476 | |
8. พันโท หลวงวิภาครัฐกิจ (ศุข เมนะรุจิ) | พ.ศ. 2476–2479 | |
9. พันเอก หลวงสวัสดิ์รณรงค์ (สวัสดิ์ ดาระสวัสดิ์) | พ.ศ. 2479–2483 | |
10. พันโท ขุนเรืองวีระยุทธ | พ.ศ. 2483–2489 | |
11. พลตรี หม่อมราชวงศ์เทียมพันธ์ กฤดากร ราชเสนากฤดากร | พ.ศ. 2489–2490 | |
12. พลตรี เดช เดชประดิยุทธ | พ.ศ. 2490 | |
13. พลตรี สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ | พ.ศ. 2490–2491 | |
14. พลตรี กำปั่น กัมปนาทแสนยากร | พ.ศ. 2492–2495 | |
15. พลตรี ขุนเสนาทิพ | พ.ศ. 2495–2503 | |
16. พลตรี อ่อง โพธิกนิษฐ | พ.ศ. 2503–2506 | |
17. พลตรี บุญชัย บำรุงพงศ์ | พ.ศ. 2506–2507 | |
18. พลตรี สำราญ แพทยกุล | พ.ศ. 2507–2510 | |
19. พลตรี บุญ รังคะรัตน์ | พ.ศ. 2510–2515 | |
20. พลตรี ชัย สุรสิทธิ์ | พ.ศ. 2515–2519 | |
21. พลตรี ปิ่น ธรรมศรี | พ.ศ. 2519 | |
22. พลตรี จวน วรรณรัตน์ | พ.ศ. 2519–2522 | |
23. พลตรี ยุทธศักดิ์ คล่องตรวจโรค | พ.ศ. 2522–2524 | |
24. พลตรี วิจิตร สุขมาก | พ.ศ. 2524–2528 | |
25. พลตรี นิยม ศันสนาคม | พ.ศ. 2528–2531 | |
26. พลตรี เผด็จ วัฒนะภูติ | พ.ศ. 2531–2532 | |
27. พลตรี ขจร รามัญวงศ์ | พ.ศ. 2532 | |
28. พลโท สมพร เติมทองไชย | พ.ศ. 2532–2534 | |
29. พลโท วัฒนา สรรพานิช | พ.ศ. 2534–2536 | |
30. พลโท บัณฑิตย์ มลายอริศูนย์ | พ.ศ. 2536–2537 | |
31. พลโท อาวุธ วิภาตะพันธุ์ | พ.ศ. 2537–2539 | |
32. พลโท อำนวย สวนสมจิตร | พ.ศ. 2539–2541 | |
33. พลโท สมทัต อัตตะนันทน์ | พ.ศ. 2541–2543 | |
34. พลโท สมชาย อุบลเดชประชารักษ์ | พ.ศ. 2543–2544 | |
35. พลโท ชาตรี ศิรศรัณย์ | พ.ศ. 2544–2546 | |
36. พลโท พงษ์ศักดิ์ เอกบรรณสิงห์ | พ.ศ. 2546 | |
37. พลโท ทรงกิตติ จักกาบาตร์ | พ.ศ. 2546–2547 | |
38. พลโท สุเทพ โพธิ์สุวรรณ | พ.ศ. 2547–2548 | |
39. พลโท กมล แสนอิสระ | พ.ศ. 2548–2550 | |
40. พลโท วรวิทย์ พรรณสมัย | พ.ศ. 2550–2552 | |
41. พลโท ปริญญา สมสุวรรณ | พ.ศ. 2552–2554 | |
42. พลโท ดนัย มีชูเวท | พ.ศ. 2554–2555 | |
43. พลโท พอพล มณีรินทร์ | พ.ศ. 2555–2557 | |
44. พลโท ชาญชัย ยศสุนทร | พ.ศ. 2557–2558 | |
45. พลโท ถกลเกียรติ นวลยง | พ.ศ. 2558–2559 | |
46. พลโท สิทธิพล ชินสำราญ | พ.ศ. 2559–2562 | |
47. พลโท ณัฐวุฒิ ชุณหะนันทน์ | พ.ศ. 2562-2563 | |
48. พลโท จิรเดช กมลเพ็ชร | พ.ศ. 2563-2564 | |
49. พลโท ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ | พ.ศ. 2564-2566 | |
50. พลโท ไกรภพ ไชยพันธ์ | พ.ศ. 2566-พ.ศ.2567 | |
51. พลโท อุดม แก้วมหา[5] | พ.ศ. 2567-ปัจจุบัน |
หมายเหตุ คำนำหน้านาม ตำแหน่งทางการทหาร พระนาม หรือนามของผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเป็นคำนำหน้านาม ตำแหน่งทางการทหาร พระนาม หรือนามในขณะดำรงตำแหน่งในขณะนั้น
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.