Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท (เกิด 20 ตุลาคม พ.ศ. 2500) ชื่อเล่น เจี๊ยบ องคมนตรี[1] ผู้บัญชาการทหารบกคนสุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และผู้บัญชาการทหารบกคนแรกในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
เฉลิมชัย สิทธิสาท | |
---|---|
องคมนตรี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 2 ตุลาคม พ.ศ. 2561 (6 ปี 26 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 30 กันยายน พ.ศ. 2561 (1 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลเอก ธีรชัย นาควานิช |
ถัดไป | พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ |
เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 30 กันยายน พ.ศ. 2561 (1 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลเอก ธีรชัย นาควานิช |
ถัดไป | พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 (4 ปี 61 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 ตุลาคม พ.ศ. 2500 อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา |
คู่สมรส | เบญจวรรณ สิทธิสาท |
ชื่อเล่น | เจี๊ยบ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2561 |
ยศ | พลเอก |
รองประธานกรรมการในคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์ช้างป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ในภาคตะวันออก อดีตผู้บัญชาการทหารบก คนที่ 40 และอดีตเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[2] ตุลาการศาลทหารสูงสุด[3] อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอดีตผู้อำนวยการกองอำนวยการร่วมรักษาความสงบเรียบร้อย[4] กรรมการในคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 6/2559[5]กรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก[6] กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว[7] กรรมการในคณะกรรมการเพื่อเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รองประธานกรรมการใน คณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี ด้วยหัวใจ[8][9] กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ[10] กรรมการ ธนาคารทหารไทย ราชองครักษ์เวร[11]กรรมการ ในคณะกรรมการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี การประกาศใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 210/2559[12] กรรมการในคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ[13] คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ กรรมการบริหาร มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์[14]และ กรรมการในคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช[15] อดีตรองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[16]
เป็นบุตรของ พ.ท.บุญโถม กับ นางจงจิตต์ สิทธิสาท มีพี่น้อง 3 คน คือ
ชีวิตครอบครัวสมรสกับ นางเบญจวรรณ สิทธิสาท มีบุตร 2 คน คือ
ในวันที่ 3 ตุลาคม 2559 เขาได้ประกาศสงครามกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ที่เคลื่อนไหวผ่านเว็บไซด์เฟซบุ๊กและยูทูบ รวมถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยกลุ่มดังกล่าวพำนักอยู่ต่างประเทศ[17] ในวันที่ 14 ตุลาคม 2559 เขาได้ออกคำสั่งให้กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยทุกกองทัพภาคทั่วประเทศ เพิ่มระดับการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงสุด [18] ในวันที่ 20 ตุลาคม 2559 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่งตั้งเขาเป็นผู้อำนวยการกองอำนวยการร่วมรักษาความสงบเรียบร้อย ในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2561 พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ได้ตำแหน่งเป็นองคมนตรี
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์, โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 16 และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 27 รุ่นเดียวกับ พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรี อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก , พลเอก ธวัช สุกปลั่ง อดีตแม่ทัพภาคที่ 2 และพลโท ภัทรพล รักษนคร อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก[19]
พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.