บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา

พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีไม่ได้ประจำกระทรวง

ข้อมูลเบื้องต้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, ก่อนหน้า ...
บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
Thumb
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494  12 ธันวาคม พ.ศ. 2496
ก่อนหน้าพลเอก มังกร พรหมโยธี
ถัดไปพลเรือโท หลวงสุนาวินวิวัฒน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
12 ธันวาคม พ.ศ. 2496  26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500
ก่อนหน้าพลอากาศตรี มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์
ถัดไปพลตรี ประมาณ อดิเรกสาร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
21 มีนาคม พ.ศ. 2500  16 กันยายน พ.ศ. 2500
ก่อนหน้าพลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์
ถัดไปสพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 มิถุนายน พ.ศ. 2448
เสียชีวิต9 มิถุนายน พ.ศ. 2519 (70 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสคุณหญิงเลื่อน เทพหัสดิน ณ อยุธยา
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพบกไทย
ยศ พลโท
ปิด

ประวัติ

พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เกิดในราชสกุลเทพหัสดิน สืบเชื้อสายมาจากพระยาราชภักดี (หม่อมราชวงศ์ช้าง เทพหัสดิน) มารดาชื่ออนงค์ สกุลเดิม ยมาภัย เป็นบุตรีพระยาอภัยรณฤทธิ์ (เวก) บิดาชื่อบรรยง เป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตำแหน่งรองหุ้มแพร บิดาถึงแก่กรรมเมื่อยังเยาว์ เมื่อโตขึ้นได้เข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยทหารบก แล้วรับราชการในกองทัพบก มียศสูงสุดที่ พลโท ชีวิตส่วนตัวสมรสกับคุณหญิงเลื่อน เทพหัสดิน ณ อยุธยา

งานการเมือง

สรุป
มุมมอง

พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 2[1] ได้รับการแต่งตั้งเป็น รัฐมนตรีครั้งแรกขณะยังมียศเป็น พันเอก เมื่อ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2492[2] เป็นรัฐมนตรีสั่งราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ต่อมาวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2493 ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[3][4]

เมื่อคณะบริหารประเทศชั่วคราวของจอมพล ป. พิบูลสงครามได้ทำรัฐประหาร พลโท บัญญัติ ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2[5] ในปี พ.ศ. 2494 และแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[6]

เมื่อ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้จัดตั้งรัฐบาลอีกครั้ง ใน พ.ศ. 2495 พลโท บัญญัติ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[7][8]เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2496 ได้รับการแต่งตั้งให้ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[9] เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2499 ได้รับการแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2499 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่ากระทรวงคมนาคม 2 สมัย[10]

พลโท บัญญัติ ได้รับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จังหวัดพระนคร สังกัด พรรคเสรีมนังคศิลา[11][12] และสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 เนื่องจากรัฐบาลของจอมพล ป. ไม่ได้รับการไว้วางใจจากประชาชนและไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยได้จอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์ จึงได้ทำการรัฐประหาร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

สรุป
มุมมอง

พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

อ้างอิง

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.