คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

มรดกภาพยนตร์ของชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Remove ads

มรดกภาพยนตร์ของชาติ เป็นโครงการของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เพื่อขึ้นทะเบียนภาพยนตร์ที่มีคุณค่าของชาติและเสี่ยงต่อการสูญเสีย โดยโครงการจะจัดขึ้นในวันที่ 4 ตุลาคม ของทุกปี ซึ่งได้กำหนดให้เป็นวันอนุรักษ์ภาพยนตร์ไทย และมีการประกาศรายชื่อภาพยนตร์ไทยปีละครั้ง

ข้อมูลเบื้องต้น มรดกภาพยนตร์ของชาติ, รางวัลสำหรับ ...
Remove ads

ประวัติ

สรุป
มุมมอง

หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ได้กำหนดให้วันที่ 4 ตุลาคม เป็นวันอนุรักษ์ภาพยนตร์ไทย เพื่อรำลึกถึงวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2509 วันที่คณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารมวลชน ในคณะกรรมการชาติว่าด้วยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งองค์การสหประชาชาติ ซึ่งมี พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร ทรงเป็นประธาน จัดประชุมกันที่สถานีไทยโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม ที่ประชุมมีมติเสนอให้หอสมุดแห่งชาติเปิดแผนกเก็บรักษาฟิล์มภาพยนตร์ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมของชาติเพื่อให้ยุวชนรุ่นหลังได้เข้าศึกษาค้นคว้า แต่ข้อเสนอนี้ไม่มีการปฏิบัติอย่างแท้จริงแผนกเก็บรักษาฟิล์มภาพยนตร์จึงไม่เกิดขึ้น [1][2]

หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ได้จัดทำโครงการขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติซึ่งเป็นเสมือนการทำบัญชีภาพยนตร์ไทยที่สำคัญและที่เสี่ยงต่อการสูญเสียของชาติ เพื่อดำเนินการอนุรักษ์ได้ทันการ โครงการนี้จะทำต่อเนื่องไปทุกปี โดยกำหนดให้มีการประกาศในวันที่ 4 ตุลาคม ของทุกปี เพื่อเป็นการรำลึกถึงวันประวัติศาสตร์และเป็นการสืบทอดและเชิดชูเจตนารมณ์ของที่ประชุมครั้งนั้น โดยได้จัดทำโครงการขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติขึ้นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา และมีการประกาศรายชื่อภาพยนตร์ไทยในทุกปี ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ได้รับคัดเลือกจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขาอาชีพ โดยนำรายชื่อจากที่ได้รับการเสนอจากประชาชนรวมกับรายชื่อในคลังอนุรักษ์ของหอภาพยนตร์ มาคัดเลือกเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติ และเป็นหลักประกันว่าภาพยนตร์เหล่านี้จะได้รับการอนุรักษ์อย่างดีเพื่อส่งต่อให้ชนรุ่นหลังต่อไป [3]

Remove ads

หลักเกณฑ์ในการพิจารณา

สรุป
มุมมอง

หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาคัดเลือกภาพยนตร์ขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติ มีหลักเกณฑ์ทั้งหมด 6 หลักเกณฑ์ ดังนี้

  • เป็นภาพยนตร์ที่ถ่ายทอดเรื่องราวของ สถานที่ กาลสมัย บุคคล เหตุการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับคนไทยและสังคมไทย ในมิติต่างๆ เช่น มานุษยวิทยา สังคมวิทยา เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ทั้งในฐานะปัจเจกและกลุ่มหรือมวลชน สามารถทำให้ผู้ชมเข้าถึงและเข้าใจมิติเหล่านั้นในเชิงประวัติศาสตร์หรือความทรงจำ
  • เป็นผลงานภาพยนตร์ที่สร้างสรรค์ อันแสดงถึงศิลปะวิทยาทางด้านภาพยนตร์
  • เป็นภาพยนตร์ที่มีความโดดเด่นเป็นพิเศษ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น การนำเสนอภาพยนตร์นั้นไม่ว่าการถ่ายทำ การแสดง การตัดต่อ ฯลฯ มีความคิดริเริ่ม ไม่เคยมีแบบอย่างมาก่อนในภาพยนตร์อื่นๆ
  • บูรณภาพ คือความสมบูรณ์ครบถ้วนของผลงานภาพยนตร์ตรงตามต้นฉบับของผู้สร้างสรรค์ ภาพยนตร์ที่ออกฉายแล้วอาจถูกตัดทอน ถูกเสริมเติมแต่งเพิ่มเติม ถูกดัดแปลงไปด้วยเหตุต่าง ๆ
  • เป็นภาพยนตร์ที่ยังมีฟิล์มต้นฉบับหรือสำเนาในรูปแบบอื่นใดอยู่ แต่ตกอยู่ในภาวะความเสี่ยงที่จะสูญเสียภาพยนตร์นั้นไป ด้วยเหตุปัจจัยต่าง ๆ เช่น มีต้นฉบับหรือสำเนาอยู่เพียงชุดเดียว หรือภาพยนตร์นั้นกำลังเสื่อมสภาพ หรือสภาพการจัดเก็บไม่ปลอดภัย ไม่ได้มาตรฐาน เป็นต้น
  • ภาพยนตร์ที่สามารถส่งผลกระทบโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อปัจเจกชนและหรือต่อสังคม ไม่ว่าทางด้านพฤติกรรม ความคิด ความเชื่อ อารมณ์ ฯลฯ อาจก่อให้เกิดกระแสสมัยนิยมเกิดการเปลี่ยนแปลง ค่านิยม ขนบธรรมเนียม ไม่ว่าชั่วระยะเวลาสั้นหรือยั่งยืนนาน [4]
Remove ads

ลำดับงานพิธีประกาศรายชื่อภาพยนตร์

ข้อมูลเพิ่มเติม ครั้งที่ (ปีที่จัด), สถานที่ประกาศรายชื่อภาพยนตร์ ...

รายชื่อภาพยนตร์

ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2554)

ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2555)

ครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2556)

Thumb
โหมโรง (พ.ศ. 2547)

ครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2557)

Thumb
แฟนฉัน (พ.ศ. 2546)

ครั้งที่ 5 (พ.ศ. 2558)

Thumb
รักแห่งสยาม (พ.ศ. 2550)

ครั้งที่ 6 (พ.ศ. 2559)

Thumb
Mary is happy, Mary is happy (พ.ศ. 2556)

ครั้งที่ 7 (พ.ศ. 2560)

ครั้งที่ 8 (พ.ศ. 2561)

ครั้งที่ 9 (พ.ศ. 2562)

ครั้งที่ 10 (พ.ศ. 2563)

ครั้งที่ 11 (พ.ศ. 2564)

ครั้งที่ 12 (พ.ศ. 2565)

ครั้งที่ 13 (พ.ศ. 2566)

ครั้งที่ 14 (พ.ศ. 2567)

Thumb
กระเบนราหู (พ.ศ. 2562)
Remove ads

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Loading content...
Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Remove ads