Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟ้าทะลายโจร (อังกฤษ: Tears of the Black Tiger) เป็นผลงานกำกับภาพยนตร์เรื่องแรกของวิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง เมื่อ พ.ศ. 2543 อำนวยการผลิตโดยฟิล์มบางกอก บีอีซีเทโร ร่วมกับ ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น[ต้องการอ้างอิง] เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความรัก ที่ผู้สร้างใช้คำอธิบายว่า "รักซ้อน ซ่อนเงื่อน เพื่อนทรยศ"[ต้องการอ้างอิง] โดยสร้างในรูปแบบภาพยนตร์คาวบอยย้อนยุค เหมือนหนังคาวบอยไทยในอดีต ผู้กำกับจงใจเขียนบทให้ใช้คำพูดเชย ๆ และใช้เทคนิคพิเศษย้อมสีภาพยนตร์ให้ฉูดฉาด สีจัดเกินจริง[ต้องการอ้างอิง]
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
ฟ้าทะลายโจร | |
---|---|
ไฟล์:Tearsblacktiger2.jpg ใบปิดภาพยนตร์ แบบที่ใช้ในประเทศไทย | |
กำกับ | วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง |
เขียนบท | วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง |
อำนวยการสร้าง | นนทรีย์ นิมิบุตร |
นักแสดงนำ | ชาติชาย งามสรรพ์ สเตลล่า มาลูกี้ ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ พศิน เรืองวุฒิ สมบัติ เมทะนี ไพโรจน์ ใจสิงห์ นัยนา ชีวานันท์ ครรชิต ขวัญประชา สุวินิจ ปัญจมะวัต |
กำกับภาพ | ณัฐวุฒิ กิตติคุณ |
ตัดต่อ | ดุษณีย์ ผุยหนองโพธิ์ |
ดนตรีประกอบ | อมรพงศ์ เมธาคุณาวุฒิ |
ผู้จัดจำหน่าย | ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น |
วันฉาย | 29 กันยายน พ.ศ. 2543 |
ความยาว | 110 นาที |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ข้อมูลจาก All Movie Guide | |
ข้อมูลจาก IMDb | |
ข้อมูลจากสยามโซน |
ภาพยนตร์เรื่องนี้ล้มเหลวด้านรายได้ในประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] แต่เมื่อนำไปฉายในต่างประเทศ กลับประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี[ใคร?] และเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ได้รับเลือกให้ไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานน์ส เมื่อปี พ.ศ. 2544[1]
ภาพยนตร์เรื่องได้รับการซื้อไปขายในสหรัฐอเมริกาโดย มิราแม็กซ์ แต่ถูกเก็บดองไว้หลายปีไม่ถูกนำไปเผยแพร่ เนื่องจากมิราแม็กซ์ต้องการให้เปลี่ยนฉากจบของหนัง [2] จนกระทั่ง แมกโนเลีย พิคเจอร์ เปลี่ยนมือเข้ามา จึงได้ฉายในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2550 [3]
เรื่องราวความรักของรำเพย ลูกสาวพระยาประสิทธิ์ ราชเสนา และ ดำ ลูกชายกำนันเดื่อ ที่รู้จักกันมาตั้งแต่เด็ก เมื่อครอบครัวของรำเพยต้องหนีภัยสงครามในกรุงมาอยู่บ้านกำนันเดื่อ ที่สุพรรณบุรี หลังสงครามทั้งคู่แยกจากกัน
สิบปีต่อมา ทั้งคู่ได้พบกันอีกครั้งเมื่อเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ทั้งสองรักกัน เปิดเผยความรู้สึกที่แท้จริงต่อกันและสัญญาว่าจะแต่งงานกัน ตกลงกันว่าหากพ่อรำเพยไม่อนุญาตก็จะหนีตามกัน โดยนัดพบกันที่ศาลารอนาง ศาลากลางน้ำที่เป็นสถานที่แห่งความทรงจำมาแต่ก่อน
กำนันเดื่อถูกโจรปล้นไร่และฆ่าตาย ดำออกตามหาฆาตกร และจับพลัดจับผลูกลายเป็นลูกน้องอยู่ในรังของ เสือฝ้าย สหายเก่าของกำนันเดื่อ ด้วยความสามารถในการยิงปืนแม่นราวกับจับวาง ดำจึงกลายเป็น เสือดำ สมุนมือขวาคนโปรดของเสือฝ้าย คู่กับ เสือมเหศวร
รำเพยถูกบังคับให้แต่งงานกับ ร.ต.อ.กำจร ตำรวจมือปราบหนุ่ม แต่เธอไม่ยินยอม เธอตัดสินใจจะหนีตามดำ แต่เมื่อถึงวันเวลานัด ปรากฏว่าดำติดภารกิจกับมเหศวร และมาไม่ทัน รำเพยเข้าใจว่าดำไม่มา เธอจึงตัดสินใจรับหมั้นกับ ร.ต.อ.กำจร ด้วยหัวใจที่แตกสลาย
ร.ต.อ.กำจร ได้รับมอบหมายให้ไปทลายรังเสือฝ้าย แต่พลาดท่าถูกจับได้ เสือฝ้ายสั่งให้ดำประหารนายตำรวจ แต่แล้วก่อนจะลงมือลั่นไกสังหาร กำจรได้ขอร้องให้ดำส่งข่าวการตายของเขาถึงคู่หมั้นของเขา เมื่อดำรู้ว่ากำจรเป็นคู่หมั้นของรำเพย ดำตัดสินใจเสียสละ ปล่อยกำจรให้หนีไป ท่ามกลางความคลางแคลงใจของเสือฝ้าย และเสือมเหศวร ว่าดำทรยศ รับสินบนจากตำรวจ
เสือฝ้ายวางแผนบุกถล่มงานแต่งงานของกำจร ถึงจวนผู้ว่าเมืองสุพรรณ เพื่อแก้แค้นที่ถูกกำจรหยามน้ำหน้าบุกมาถล่มถึงรัง เมื่อดำทราบข่าว เขาจึงตัดสินใจเอาชีวิตเข้าแลก เพื่อปกป้องคนที่เขารัก ให้พ้นจากอันตรายอีกครั้งหนึ่ง
ได้รับเชิญอย่างเป็นทางการในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ [4]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.