Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรือนแพ เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2504 ร่วมทุนสร้างระหว่าง บริษัทอัศวินภาพยนตร์ กับ บริษัทชอว์บราเดอร์สแห่งฮ่องกง ระบบถ่ายทำด้วย 35 มม.ซูเปอร์ซีเนสโคป สีอิสแมนต์ เสียงพากย์ในฟิล์ม กำกับโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล หรือพระนาม ภาณุพันธ์ และ เวตาล ร่วมกับ ครูเนรมิต นักแสดงนำประกอบด้วยนักแสดงไทย และนักแสดงฮ่องกง[1] เพลงประกอบภาพยนตร์ที่ยังมีชื่อเสียงอยู่จนถึงทุกวันนี้ คือเพลง เรือนแพ ประพันธ์คำร้องโดย ชาลี อินทรวิจิตร ทำนองโดย สง่า อารัมภีร ขับร้องโดย ชรินทร์ นันทนาคร ถือได้ว่าเป็นเพลงประจำตัวของชรินทร์ เลยทีเดียว
เรือนแพ | |
---|---|
กำกับ | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เนรมิต |
เขียนบท | พระนิพนธ์ : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล บทภาพยนตร์ : เวตาล |
อำนวยการสร้าง | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล จรี อมาตยกุล |
นักแสดงนำ | ไชยา สุริยัน ส. อาสนจินดา มาเรีย จาง จินฟง อดุลย์ ดุลยรัตน์ สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย เชาว์ แคล่วคล่อง สาหัส บุญ-หลง ทัต เอกทัต สถาพร มุกดาประกร ชาลี อินทรวิจิตร เมืองเริง ปัทมินทร์ จำรูญ หนวดจิ๋ม |
กำกับภาพ | พูนสวัสดิ์ ธีมากร |
ตัดต่อ | อำนวย กลัสนิมิ พร้อม รุ่งรังษี |
ดนตรีประกอบ | พระยาโกมารกุลมนตรี หม่อมหลวงพวงร้อย สนิทวงศ์ หม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ สง่า อารัมภีร ชาลี อินทรวิจิตร |
ผู้จัดจำหน่าย | อัศวินภาพยนตร์ |
วันฉาย | 23 ธันวาคม พ.ศ. 2504 ฉายที่ศาลาเฉลิมไทย |
ความยาว | 125 นาที |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย |
ฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2504 ที่ศาลาเฉลิมไทย ต้อนรับปีใหม่ปี พ.ศ. 2505 และได้นำกลับมาฉายอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2506[2] สร้างใหม่ครั้งที่สองเมื่อ พ.ศ. 2532 ผลิตโดย ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น กำกับโดย วิจิตร คุณาวุฒิ
ภาพยนตร์เรื่องนี้ ประสบความสำเร็จอย่างมากทั้งรายได้และรางวัล จากพิธีมอบรางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 5 ประจำปี พ.ศ. 2505 ประกาศผลอย่างเป็นทางการ ณ สวนอัมพร เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 คือรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้แสดงนำฝ่ายชายยอดเยี่ยม ผู้แสดงประกอบฝ่ายชายยอดเยี่ยม รางวัลออกแบบและสร้างฉากยอดเยี่ยม และรางวัลบันทึกเสียงยอดเยี่ยม[3]
ต่อมา เสด็จพระองค์ชายใหญ่ทรงประทานบทภาพยนตร์ให้นำมาเรียบเรียงดัดแปลงเป็นนวนิยายครั้งแรก ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม เมื่อปี พ.ศ. 2538 ในชื่อ "เรือนแพ" [4] ต่อมาทางค่ายเอ็กแซ็กท์ นำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ในปี พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2554 ถือว่าเป็นหนึ่งในบทประพันธ์อมตะของเมืองไทย
ในปี พ.ศ. 2551 หอภาพยนตร์แห่งชาติ มูลนิธิหนังไทย ได้รับฟิล์มฉบับบูรณะใหม่ เพื่อเก็บรักษาไว้จนถึงปัจจุบัน และเป็นหนึ่งใน 100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู ในปี พ.ศ. 2548 อีกด้วย[5] และในปีพ.ศ. 2555 ได้รับคัดเลือกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติ ประจำปี 2555 เนื่องในวันอนุรักษ์ภาพยนตร์ไทย (4 ต.ค.) ของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)[6]
เจน (ส. อาสนจินดา) แก้ว (ไชยา สุริยัน) และริน (จินฟง) เป็นสามคนเพื่อนรักซึ่งหลงรัก เพ็ญ (มาเรีย จาง) ผู้หญิงคนเดียวกัน ทั้งหมดอาศัยอยู่ด้วยกันที่เรือนแพริมน้ำ ซึ่งเช่ามาจากเตี่ยของเพ็ญ ซึ่งมั่นหมายจะให้เพ็ญแต่งงานกับเจน ต่อมาทั้งสามต่างต้องแยกย้ายจากกัน โดยเจน ซึ่งเรียนจบปริญญาด้วยคะแนนเกียรตินิยม ไปสมัครเป็นตำรวจ, ริน ไปเป็นนักร้อง ส่วนแก้ว ไปเป็นนักมวย
ในคืนฝนตกหนัก เพ็ญตกเป็นเมียของแก้ว ทั้งคู่สัญญาจะเป็นผัวเมียกันตลอดไป แก้วตกลงใจจะล้มมวยในการชกที่ลพบุรีเพื่อหาเงินมาแต่งงานกับเพ็ญ แต่เมื่อถึงเวลาชกจริงเขากลับชกอย่างสุดฝีมือเพื่อรักษาศักดิ์ศรีของตัวเอง ฝ่ายที่เสียพนันกลับจะมาเอาเรื่องกับแก้ว และถูกแก้วพลั้งมือฆ่าตาย แก้วกลายเป็นฆาตกรมีรางวัลนำจับ หลบหนีและไปเข้าร่วมกับแก๊งโจรจนได้เป็นหัวหน้าแก๊งแทนเสือหาญ
ทางการมีคำสั่งให้จับตายหัวหน้าแก๊งโจร เจน นายตำรวจใหม่ซึ่งได้รับคำสั่งให้ตามจับแก้ว ได้รับขอร้องจากเพ็ญให้ไว้ชีวิตแก้ว เจนพยายามเกลี้ยกล่อมให้แก้วยอมมอบตัวแต่ไม่สำเร็จ
ด้วยฝืมือการปราบปรามของนายเจน ทำให้แก๊งโจรของแก้วต้องหนีไปที่หาดใหญ่ เช่นเดียวกับรินซึ่งเป็นนักร้องประจำบาร์สตาร์ที่หาดใหญ่ เพื่อเก็บเงินเดินทางกลับกรุงเทพฯ แก้วตั้งชุมโจรกับเสือหาญที่หาดใหญ่ เขาคิดจะวางมือจากการเป็นโจร แต่เสือหาญไม่ยอมให้แก้ววางมือ เจนได้ติดตามแก๊งโจรจนถึงหาดใหญ่ ทำให้รู้ที่กบดานของแก้วและสมุน จึงเข้าจับกุม แก้วและสมุนหนีรอดไปได้ สร้างความแค้นเป็นอย่างยิ่ง โดยโจรระบุว่าสายลับของตำรวจคือนักร้องที่อยู่บาร์สตาร์ แก้วจึงสั่งฆ่าโดยหารู้ไม่ว่านักร้องคนนั้นคือ ริน
ขณะที่แก้วยืนอยู่ที่หน้าบาร์ แก้วได้ยินเสียงร้องของรินที่กำลังร้องเพลงเรือนแพอยู่ แก้วพยายามห้ามเสือหาญ ขณะที่รินร้องเพลงเรือนแพจนจบ เสือหาญก็ยิงรินเสียชีวิต เจนเข้ามาในขณะที่แก้วยืนถือปืนอยู่ จึงเข้าใจผิดคิดว่าแก้วเป็นคนฆ่าริน เจนจึงติดตามจับกุมจนแก้วและสมุนต้องเข้ามากรุงเทพอีกครั้ง เจนขอร้องให้เพ็ญนัดแก้วมาพบที่เรือนแพ เพ็ญจึงตัดสินใจนัดแก้วมาพบที่เรือนแพ ในตอนกลางคืน แก้วมาตามนัด เจนจึงปรากฏตัวพร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่เพ็ญขอร้องให้แก้วยอมมอบตัว แก้วจึงตัดสินใจยอมมอบตัว
แต่เสือหาญบุกเข้ายิงเจน แล้วยิงแก้วไปอีกคน สมุนโจรถูกสังหารและถูกจับทั้งหมด เสือหาญจึงจะฆ่าเจน แต่แก้วก็ตัดเชือกปล่อยเรือทิ่มตรงเสือหาญ เสือหาญจึงกระหน่ำยิงแก้วก่อนตาย ก่อนที่แก้วตายแก้วมอบแหวนให้กับเพ็ญ แล้วบอกว่าไม่ได้ฆ่าริน แล้วเรือนแพจึงล่มพังไป [7] [8]
ปี | พ.ศ. 2504 | พ.ศ. 2532 | พ.ศ. 2538 | พ.ศ. 2554 |
---|---|---|---|---|
รูปแบบการนำเสนอ | ภาพยนตร์ 35มม. | ภาพยนตร์ 35 มม. | ละคร ช่อง 5 | |
ผู้สร้าง | อัศวินภาพยนตร์ ชอว์บราเดอร์สแห่งฮ่องกง | ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น | เอ็กแซ็กท์ | |
ทีมผู้ผลิต | ||||
บทแสดง | เวตาล | |||
ผู้กำกับ | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เนรมิต | วิจิตร คุณาวุฒิ | สุพล วิเชียรฉาย | สันต์ ศรีแก้วหล่อ |
เจน | ส. อาสนจินดา | รอน บรรจงสร้าง | ศรัณยู วงษ์กระจ่าง | ยุกต์ ส่งไพศาล |
แก้ว | ไชยา สุริยัน | สันติสุข พรหมศิริ | พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง | ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ |
ริน | จินฟง | วิระ บำรุงศรี | จอนนี่ แอนโฟเน่ | นภัทร อินทร์ใจเอื้อ |
เพ็ญ | มาเรีย จาง | สมรัชนี เกสร | นุสบา วาณิชอังกูร | บุษกร ตันติภนา |
นกเอี้ยง | - | - | - | แอริณ ยุกตะทัต |
บรรเลงโดย จุลดุริยางค์ กองทัพเรือ และวงดนตรี 'อัศวิน' เพลงเด่นในเรื่อง ได้แก่
ได้รับรางวัลในพิธีมอบรางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 5 ประจำปี พ.ศ. 2505 ซึ่งประกาศผลอย่างเป็นทางการ ณ สวนอัมพร เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 รวม 5 สาขา ได้แก่
มูลนิธิหนังไทย ร่วมกับ เทคนิคคัลเลอร์ (ประเทศไทย) และหอภาพยนตร์แห่งชาติ ได้บูรณะฟิล์มพร้อมกับเรื่อง พระเจ้าช้างเผือก ปี 2484 ด้วยเทคโนโลยีดิจิตัล โดยการสนับสนุนของ บริษัท เทคนิคคัลเลอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2548 ใช้เวลาดำเนินงานกว่า 3 ปี งบประมาณ 10 ล้านบาท [10]
เมื่อการบูรณะสำเร็จและส่งมอบคืนแก่หอภาพยนตร์แห่งชาติแล้ว ได้จัดฉายรอบปฐมทัศน์เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เมื่อเวลา 17.30 น. ถึง 20.00 น. ที่โรงภาพยนตร์เมเจอร์ซีเนเพล็กซ์ รัชโยธิน[11]
ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่หอภาพยนตร์ มูลนิธิหนังไทย ส่วนฟิล์มก๊อบปี้เก่าที่เคยนำออกฉายทั่วไปสมัยก่อนซึ่งบางส่วนขาดหายไป ทริปเปิ้ลเอ๊กซ์ฟิล์มได้วางจำหน่ายในรูปแบบวีซีดีและดีวีดี เมื่อ พ.ศ. 2549
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.