Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประเทศไทยเป็นที่ตั้งของภาษาพื้นเมือง 51 ภาษาและภาษาต่างด้าว 24 ภาษา[1] โดยประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาในกลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ และภาษาประจำชาติคือภาษาไทยกลาง ภาษาลาวมีผู้พูดริมชายแดนประเทศลาว ภาษากะเหรี่ยงมีผู้พูดริมชายแดนประเทศพม่า ภาษาเขมรมีผู้พูดใกล้ประเทศกัมพูชา และภาษามลายูมีผู้พูดทางใต้ใกล้ประเทศมาเลเซีย ภาษา 'ในประเทศ' 62 ภาษาได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ และภาษาต่างชาติที่แรงงานต่างชาติ ชาวต่างชาติ และนักธุรกิจส่วนใหญ่พูดกันในประเทศไทย ได้แก่ ภาษาพม่า กะเหรี่ยง อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม เป็นต้น[2]
ภาษาในประเทศไทย | |
---|---|
ป้ายที่สถานีรถไฟหัวหินในภาษาไทยกลาง อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี | |
ภาษาราชการ | ไทยกลาง (ภาษาแม่ + ภาษาที่สอง 96%) |
ภาษาพื้นถิ่น | ไทยกลาง (ภาษาแม่ 40%), อีสาน (ภาษาแม่ 33%), ไทยถิ่นเหนือ (ภาษาแม่ 11%), ไทยถิ่นใต้ (ภาษาแม่ 9%) |
ภาษาชนกลุ่มน้อย |
|
ภาษาผู้อพยพ | |
ภาษาต่างประเทศ | |
ภาษามือ | ภาษามือบ้านค้อ, ภาษามือเชียงใหม่, ภาษามือกรุงเทพเก่า, ภาษามือไทย |
รูปแบบแป้นพิมพ์ |
ตารางข้างล่างประกอบด้วยกลุ่มภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์ทั้ง 62 กลุ่มที่รัฐบาลไทยให้การรับรองในรายงานประเทศต่อคณะกรรมการสหประชาชาติที่รับผิดชอบในอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบเมื่อปี 2554 สืบค้นได้จากกรมส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม[3]:3
ขร้า-ไท | ออสโตรเอเชียติก | จีน-ทิเบต | ออสโตรนีเชียน | ม้ง-เมี่ยน |
---|---|---|---|---|
24 กลุ่ม | 22 กลุ่ม | 11 กลุ่ม | 3 กลุ่ม | 2 กลุ่ม |
กะเลิง | กะซอง | กฺ๋อง | มลายู (นายู / ยาวี) | ม้ง |
ไทยถิ่นเหนือ | กูย | กะเหรี่ยง (7 ภาษาย่อย) | มอแกน/มอแกลน | เมี่ยน |
ไทดำ | ขมุ | - กะเหรี่ยงสะกอ | อูรักลาโวยจ | |
ญ้อ | เขมรถิ่นไทย, เขมรเหนือ | - กะเหรี่ยงโป | ||
เขิน | ชอง | - กะเหรี่ยงกะยา | ||
ไทยกลาง | สะโอจ | - กะเหรี่ยงบะเว | ||
ไทยโคราช | กันซิว | - กะเหรี่ยงปะโอ | ||
ตากใบ | ซำเร | - กะเหรี่ยงกะยัน | ||
ไทเลย | โซ่ (ทะวืง) | - กะเหรี่ยงกะญอ | ||
ไทลื้อ | โส้ | จิ่งเผาะ / กะชีน | ||
ไทหย่า | ญัฮกุร (ชาวบน) | จีน | ||
ไทใหญ่ | เยอ | จีนยูนนาน | ||
ไทยถิ่นใต้ | บรู (ข่า) | บีซู | ||
ผู้ไท | ปลัง (สามเตา) | พม่า | ||
พวน | ปะหล่อง (Dala-ang) | ล่าหู่ (มูเซอ) | ||
ยอง | มอญ | ลีสู่ | ||
โย้ย | เลอเวือะ | อาข่า | ||
ลาวครั่ง | มลาบรี (ตองเหลือง) | อึมปี้ | ||
ลาวแง้ว | ละเม็ต (Lua) | |||
ลาวตี้ | ละว้า (เลอเวือะ / Lua) | |||
ลาวเวียง/ลาวกลาง | ว้า | |||
ลาวหล่ม | เวียดนาม | |||
อีสาน | ||||
แสก |
ข้อมูลภาษาระดับภาษามีจำกัด ตารางข้างล่างแสดงตระกูลภาษาทั้งหมดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยตามที่รับรองในรายงานที่เป็นแหล่งข้อมูลของประเทศ
กลุ่มภาษาไท | จำนวน | ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก | จำนวน |
---|---|---|---|
ลาวอีสาน / ไทยถิ่นอีสาน | 13,000,000 | เขมรถิ่นไทย / เขมรเหนือ | 1,400,000 |
ไทยกลาง | 800,000 | กูย / กวย (ส่วย) | 400,000 |
ไทยโคราช / ไทเบิ้ง / Tai Deung | 600,000 | โส้ | 70,000 |
ไทยเลย | 500,000 | บรู | รวม |
ผู้ไท | 500,000 | เวียดนาม | 20,000 |
Ngaw | 500,000 | เยอ | 10,000 |
กะเลิง | 200,000 สำหรับ | ญัฮกุร / ชาวบน / คนดง | 7,000 |
โย้ย | กะเลิง โย้ย และพวน | โซ่ (ทะวืง) | 1,500 |
พวน | รวม | มอญ | 1,000 |
ไทดำ (โซ่ง) | (ไม่ระบุ) | ||
รวม: | 16,103,000 | รวม: | 1,909,000 |
ไม่สามารถระบุเชื้อชาติและจำนวนได้: | 3,288,000 | ||
21,300,000 | |||
จำนวนผู้พูดนับเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาษาในนี้อาจมีผู้พูดเพิ่มเติมนอกพื้นที่นี้
ข้อมูลระดับจังหวัดมีจำกัด ผู้ที่สนใจสามารถสืบค้นเพิ่มเติมในแหล่งข้อมูล Ethnolinguistic Maps of Thailand[4] หรือ รายงานประเทศไทย ของ Ethnologue
จังหวัด | ร้อยละเขมรใน พ.ศ. 2533 | ร้อยละเขมรใน พ.ศ. 2543 |
---|---|---|
สุรินทร์[5] | 0.3% |
27.6% |
จันทบุรี[6] | 0.6% |
1.6% |
มหาสารคาม[7] | 0.2% |
0.3% |
ร้อยเอ็ด[8] | 0.4% |
0.5% |
สระแก้ว[9] | — | 1.9% |
ศรีสะเกษ[10] | 30.2% |
26.2% |
สุรินทร์[11] | 63.4% |
47.2% |
ตราด[12] | 0.4% |
2.1% |
อุบลราชธานี[13] | 0.8% |
0.3% |
สถานะภาษาชนกลุ่มน้อยทั้งหมด ซึ่งรวมถึงภาษาที่มีผู้พูดมากอย่างอีสานทางตะวันออกเฉียงเหนือและคำเมืองทางเหนือ มีความเสี่ยง เนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างดีในนโยบายการศึกษาด้านภาษาของประเทศไทย[14] ภาษามลายูปัตตานีทางใต้เป็นภาษาหลักของชุมชนมุสลิมเชื้อสายมลายู ภาษาเขมรพูดโดยชาวเขมรเหนือวัยชรา วิธภาษาจีนพูดโดยประชากรไทยเชื้อสายจีนวัยชรา โดยมีสำเนียงแต้จิ๋วเป็นภาษาหลัก อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนและเขมรเหนือวัยหนุ่มสาวเปลี่ยนไปพูดภาษาไทยกลาง เปอรานากันในภาคใต้ของไทยพูดภาษาไทยถิ่นใต้ในบ้าน
รายงานประเทศไทยของ Ethnologue ใน พ.ศ. 2557 ที่ใช้ระดับการประเมินความเสี่ยงด้านภาษาของ EGIDS[15] จัดให้ประเทศไทยมีภาษาประจำชาติภาษาเดียว (ไทยกลาง), ภาษาในระดับการศึกษาภาษาเดียว (อีสาน), ภาษาที่กำลังพัฒนา 27 ภาษา, ภาษาคงที่ 18 ภาษา, ภาษาที่อยู่ในความเสี่ยง 17 ภาษา และภาษาที่กำลังสูญหาย 7 ภาษา[16]
ตารางต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงภาษาราชการของไทยและภาษาอื่น ๆ ที่มีผู้ใช้มากกว่า 400,000 คน ที่รัฐบาลไทยรายงานต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination) เมื่อปี 2554[3]:99 ที่ส่วนใหญ่จะใช้แผนที่ภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์ (Ethnolinguistic) ของประเทศไทย[4]
ภาษาราชการของไทยและภาษาอื่น ๆ ที่มีผู้ใช้มากกว่า 400,000 คน[3]
ภาษา | จำนวนผู้ใช้ | ตระกูลภาษา |
---|---|---|
ไทยกลาง | 20.0 ล้านคน | ขร้า-ไท |
ไทยถิ่นอีสาน | 15.2 ล้านคน | ขร้า-ไท |
ไทยถิ่นเหนือ | 6.0 ล้านคน | ขร้า-ไท |
ไทยถิ่นใต้ | 4.5 ล้านคน | ขร้า-ไท |
เขมรถิ่นไทย | 1.4 ล้านคน | ออสโตรเอเชียติก |
มลายูปัตตานี | 1.4 ล้านคน | ออสโตรนีเซียน |
ญ้อ | 0.5 ล้านคน | ขร้า-ไท |
ผู้ไท | 0.5 ล้านคน | ขร้า-ไท |
กะเหรี่ยง | 0.4 ล้านคน | จีน-ทิเบต |
กูย | 0.4 ล้านคน | ออสโตรเอเชียติก |
จำนวนในตารางข้างล่างเป็นจำนวนผู้พูดภาษาแม่ตามข้อมูลจาก Ethnologue[16] สังเกตว่า Ethnologue ระบุ 'อีสาน' เป็น 'ไทยถิ่นอีสาน' ตามรัฐบาลไทย จนกระทั่งรายงานประเทศใน พ.ศ. 2554
ภาษาในไทยที่มีผู้พูดมากกว่า 400,000 คน จากข้อมูลของ Ethnologue
ตระกูลภาษา | ภาษา | ISO | ผู้พูด | สถานะ (EGIDS) | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
ขร้า-ไท | ไทยกลาง | th | 20.2 ล้านคน | 1 (ชาติ) | |
ไทยถิ่นอีสาน | tts | 15.0 ล้านคน | 3 (สื่อสารแพร่หลาย) | ||
ไทยถิ่นเหนือ | nod | 6.0 ล้านคน | 4 (การศึกษา) | ||
ไทยถิ่นใต้ | sou | 4.5 ล้านคน | 5 (กำลังพัฒนา) | ||
ผู้ไท | pht | 0.5 ล้านคน | 6a (คงที่) | ||
ออสโตรเอเชียติก | เขมรถิ่นไทย | kmx | 1.4 ล้านคน | 5 (กำลังพัฒนา) | |
ออสโตรนีเซียน | มลายูปัตตานี | mfa | 1.1 ล้านคน | 5 (กำลังพัฒนา) | |
จีน-ทิเบต | พม่า | my | 0.8 ล้านคน | ไม่ใช่ภาษาท้องถิ่น |
จากการสำรวจสำมะโนครัวประชากรเมื่อปี พ.ศ. 2543 พบว่าสี่ภาษาที่มีผู้ใช้มากที่สุดมาจากตระกูลภาษาขร้า-ไทอันได้แก่ ภาษาไทยมาตรฐาน ไทยถิ่นอีสาน (ส่วนใหญ่คือลาว)[17] คำเมือง และปักษ์ใต้ และไม่มีตัวเลือกสำหรับภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ แม้แต่ภาษาลาวก็ยังถูกจัดให้เป็น 'ไทย'[18] นอกจากนี้การแสดงออกทางเชื้อชาติของชาติพันธุ์ว่าเป็นลาวถือเป็นสิ่งต้องห้าม และชนกลุ่มนี้ได้ถือสัญชาติไทยมาราวร้อยปีแล้ว[19][20] สาเหตุก็เป็นเพราะสยามอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีวัฒนธรรมร่วมกับลาว เนื่องจากสงครามระหว่างสยามกับฝรั่งเศสในปี 2429 ที่คุกคามเอาดินแดนลาวซึ่งเป็นประเทศราชของสยามไปเป็นอาณานิคม หลังจากนั้นสยามจึงมีการสร้างเอกลักษณ์เป็นรัฐชาติสมัยใหม่โดยการเปลี่ยนคนเชื้อสายลาวในไทยให้เป็นคนไทยลุ่มเจ้าพระยาหรือไทยสยามตามแนวคิดมหาอาณาจักรไทย (Greater Thai Empire) อย่างน้อยก็ช่วงปี 2445[21]
ภาษา | ตระกูลภาษา | จำนวนผู้ใช้ (2543)* | จำนวนผู้ใช้ (2553) |
---|---|---|---|
ไทย | ขร้า-ไท | 52,325,037 | 59,866,190 |
เขมร | ออสโตรเอเชียติก | 1,291,024 | 180,533 |
มลายู | ออสโตรนีเซียน | 1,202,911 | 1,467,369 |
กะเหรี่ยง | จีน-ทิเบต | 317,968 | 441,114 |
จีน | จีน-ทิเบต | 231,350 | 111,866 |
ม้ง | ม้ง-เมี่ยน | 112,686 | 149,090 |
ล่าหู่ | จีน-ทิเบต | 70,058 | - |
พม่า | จีน-ทิเบต | 67,061 | 827,713 |
อาข่า | จีน-ทิเบต | 54,241 | - |
อังกฤษ | อินโด-ยูโรเปียน | 48,202 | 323,779 |
ไต | ขร้า-ไท | 44,004 | 787,696 |
ญี่ปุ่น | ญี่ปุ่น | 38,565 | 70,667 |
ละว้า | ออสโตรเอเชียติก | 31,583 | - |
ลีสู่ | จีน-ทิเบต | 25,037 | - |
เวียดนาม | ออสโตรเอเชียติก | 24,476 | 8,281 |
เย้า | ม้ง-เมี่ยน | 21,238 | - |
ขมุ | ออสโตรเอเชียติก | 6,246 | - |
อินเดีย | อินโด-ยูโรเปียน | 5,598 | 22,938 |
จีนฮ่อ | จีน-ทิเบต | 3,247 | - |
ถิ่น | ออสโตรเอเชียติก | 2,317 | - |
ภาษาท้องถิ่น | - | 958,251 | |
ภาษาถิ่นและอื่น ๆ ในประเทศไทย | 33,481 | 318,012 | |
อื่น ๆ | 33,481 | 448,160 | |
ไม่ทราบ | 325,134 | - | |
รวม: | 56,281,538 | 65,981,659 |
* อายุตั้งแต่ 5 ขวบขึ้นไป
ภาษาไทยเป็นภาษาในการศึกษา หลักสูตรที่ออกตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542[22] ซึ่งกำหนดระยะเวลาการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 12 ปี เน้นให้ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551[23] จัดลำดับความสำคัญต่อภาษาไทย แม้ว่าจะกล่าวถึง 'ภาษาถิ่น' และ 'ภาษาท้องถิ่น' ด้วย เช่น ภาษาชนกลุ่มน้อย ระบบการศึกษาภาษาเดียวโดยทั่วไปถูกมองว่าไม่มีประสิทธิภาพ ด้วยวัยรุ่นหนึ่งในสามไม่ได้รับการศึกษาตามหน้าที่[24] ความไม่รู้หนังสือในภาษาไทยพบได้แพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสามจังหวัดทางใต้สุดของประเทศไทย เนื่องจากภาษามลายูถิ่นปัตตานีเป็นภาษาแม่สำหรับชุมชนชาวมลายูส่วนใหญ่ นอกจากนี้ ยังมีโครงการและโรงเรียนนานาชาติที่สอนภาษาอังกฤษหรือจีนควบคู่ไปกับภาษาไทย เช่นเดียวกับโครงการนำร่องจำนวนไม่มากที่สอนภาษาชนกลุ่มน้อยควบคู่ไปกับภาษาไทยในโรงเรียนไทย[14]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.