Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาผู้ไท (เขียน ภูไท ก็มี) เป็นภาษาในตระกูลภาษาขร้า-ไท มีผู้พูดจำนวนไม่น้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ตอนกลางของประเทศลาว และแถบตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม เข้าใจว่า ผู้พูดภาษาผู้ไทมีถิ่นที่อยู่ดั้งเดิมในเมือง นาน้อยอ้อยหนู ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า เมืองนาน้อยอ้อยหนู อันเป็นถิ่นฐานดั้งเดิมของผู้ไทนั้นอยู่ทีไหน เพราะมีเมืองนาน้อยอ้อยหนูอยู่ถึงสามแห่ง สองแห่งอยู่ในเขตจังหวัดเดียนเบียน อีกแห่งอยู่ห่างจากเมืองลอหรือจังหวัดเอียนบ๋ายของเวียดนามประมาณ 10 กิโลเมตร
ภาษาผู้ไท | |
---|---|
ภาษาภูไท | |
ประเทศที่มีการพูด | ประเทศไทย, ประเทศลาว และประเทศเวียดนาม |
ชาติพันธุ์ | ชาวผู้ไท |
จำนวนผู้พูด | 866,000 คน (2545–2549)[1] |
ตระกูลภาษา | ขร้า-ไท
|
ระบบการเขียน | อักษรไทย, อักษรลาว |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | ไทย ลาว |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | pht |
ผู้ไทกับไทดำเป็นคนละชาติพันธุ์กัน สันนิษฐานว่า อพยพแยกจากกันนานกว่า 1,500 ปีมาแล้ว บรรพบุรุษของผู้ไทเป็นพวกจ้วงจากตอนใต้ของประเทศจีนแถบมลฑลกวางสี อพยพมาสร้างบ้านเมืองบริเวณทุ่งนาน้อยอ้อยหนู จากนั้นได้ย้ายมา สร้างเมืองใหม่ในบริเวณที่เรียกว่า "เวียงสามหมื่น" และตั้งชื่อเมืองบริเวณเวียงสามหมื่นว่า "เมืองแถน" คนละเมืองกับ "เมืองแถง" ซึ่งเป็นเมืองของไทดำ (ภายหลังไทดำได้บุกยึดเอาเมืองแถนที่เวียงสามหมื่นไปจากผู้ไท) ผลของสงครามบ้านเมืองไม่สงบสุขทำให้ชาวผู้ไทส่วนใหญ่เคลื่อนย้ายไปอยู่ตามเมืองต่างๆ รวมทั้งอพยพเข้าสู่ตอนเหนือของ อาณาจักรล้านช้าง (ประเทศลาวในปัจจุบัน) บางส่วนอพยพลงมาถึงตอนกลางแถบแขวงคำม่วนและแขวงสะหวันนะเขต เช่นเมืองวังอ่างคำ ซึ่งต่อมาคือเมืองวีระบุรีในแขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาว และอีกหลายๆเมืองในบริเวณใกล้เคียง เช่น เมืองพิน เมืองนอง เมืองเซโปน บางส่วนถูกกวาดต้อนเข้ามาอยู่ในดินแดนประเทศไทยเมื่อไม่ถึง 200 ปีมานี้ (บางพวกอพยพมาเอง เช่น ผู้ไทเรณูนคร ผู้ไทยหนองสูง) ผู้ไทที่อยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขงมีจำนวนไม่น้อยและผู้ไทอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแถบแขวงสะหวันนะเขตและแขวงคำม่วนในลาวก็ยังมีประปราย มักจะเรียกผู้ไททั้งสองกลุ่มนี้รวมกันว่า "ผู้ไทสองฝั่งโขง" และในเวียดนามก็ยังมีผู้ไทอาศัยอยู่โดยพบอาศัยปะปนอยู่กับชาติพันธุ์อื่นๆทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือแถบจังหวัดไลโจว เดียนเบียนและเซินลา
เมื่อ พ.ศ. 2369 (ก่อนสงครามเจ้าอนุวงศ์) ตรงกับในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่เมืองวังมีความวุ่นวาย เกิดขัดแย้งภายในของกลุ่มผู้ไท ที่มีเมืองวังเป็นเมืองหลัก ได้มีไทครัวผู้ไทกลุ่มหนึ่งอพยพมาตั้งบ้านเรือนในฝั่งขวาแม่น้ำโขง มีนายไพร่ รวม 2,648 คน ต่อมาได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านบุ่งหวาย ในปี พ.ศ. 2373 พระสุนทรราชวงษา เจ้าเมืองยโสธร ว่าราชการอยู่เมืองนครพนมได้มีใบบอกขอตั้งบ้านดงหวายเป็นเมือง "เรณูนคร" ต่อมา ร.3 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกบ้านบุ่งหวาย ขึ้นเป็นเมืองเรณูนคร และตั้งให้ ท้าวสาย หัวหน้าไทครัวผู้ไทเป็น "พระแก้วโกมล" เจ้าเมืองเรณูนคร คนแรก ขึ้นเมืองนครพนม(ในปี พ.ศ. 2387) ซึ่งคือท้องที่ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนมในปัจจุบันนั่นเอง (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ) ชาวผู้ไทเรณูนคร จึงเป็นชาวผู้ไทกลุ่มแรกที่อพยพมาอยู่ในเขตฝั่งขวาแม่น้ำโขง (หมายถึงผู้ไทที่เป็นบรรพบุรุษของคนผู้ไทในอิสานปัจจุบัน) นอกจากนี้พระสุนทรราชวงษายังมีการกวาดต้อนชาวเผ่าอื่นๆนอกจากเผ่าภูไท เช่น ไทยย้อ ไทข่า ไทกะเลิง ไทแสก ไทพวน ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะถูกบีบบังคับให้พลัดพรากจากบ้านเกิดเมืองนอนและญาติพี่น้องให้ไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่อีสานตอนบน เช่น ในพื้นที่จังหวัด นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสินธุ์ เนื่องด้วยเจ้านายเชื้อสายพระวอพระตามีความต้องการในอำนาจมาก ต้องการได้ความดีความชอบจากพระมหากษัตริย์กรุงสยาม ซึ่งเป็นเหตุให้ชนเผ่ากลุ่มน้อยหลายกลุ่มที่ถูกกวาดต้อนหรือถูกกดขี่ข่มเหงโดยเจ้านายอีสานสายดังกล่าวจึงไม่ค่อยมีความพอใจและยังมีความเคียดแค้นเป็นอย่างมาก อีกทั้งเจ้านายกลุ่มเดียวกันนี้เองที่เป็นผู้ริเริ่มและมักนิยมตีข่าหรือจับชาวไทข่า จนส่งกลายเป็นวัฒนธรรมตีข่าอันโหดร้าย ท่ารุณที่เป็นที่นิยมแพร่หลายไปในกลุ่มเจ้านายลาวอีสานที่จับนำตัวไปส่งส่วนกลางไปเป็นแรงงานทาส
หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2387 ผู้ไทจากเมืองวังอ่างคำและเมืองใกล้เคียง ก็อพยพตามมา เป็นกลุ่มที่ 2 แล้วไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองพรรณานิคม (จังหวัดสกลนคร) เมืองหนองสูง (จังหวัดมุกดาหาร) เมืองกุดสิมพระนารายณ์ (อำเภอเขาวงและอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์)ตามลำดับ โดยผู้ไทกลุ่มจากเมืองกะป๋องได้อพยพมาตั้งที่เมืองวาริชภูมิเป็นกลุ่มผู้ไทที่ข้ามมาฝั่งขวาแม่น้ำโขงกลุ่มล่าสุด (ในปี พ.ศ. 2420 ในสมัยรัชกาลที่ 5)
ผู้พูดภาษาผู้ไทในประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณจังหวัดภาคอีสานตอนบน ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ (มีอำเภอกุฉินารายณ์,อำเภอเขาวง และอำเภอคำม่วง) นครพนม(มีอำเภอนาแกและอำเภอเรณูนคร)มุกดาหาร(อำเภอหนองสูง)และสกลนคร(อำเภอภูพาน)นอกจากนี้ยังมีอีกเล็กน้อยในจังหวัดร้อยเอ็ด(ตำบลบุ่งเลิศ อำเภอเมยวดี)
โดยในแต่ละท้องถิ่นจะมีสำเนียงและคำศัพท์ที่แตกต่างกันไป เป็นที่น่าสังเกตว่า ภาษาผู้ไทแม้จะกระจายอยู่ในแถบอีสาน แต่สำเนียงและคำศัพท์นั้นแตกต่างกับภาษาไทยถิ่นอีสานโดยทั่วไปอย่างมาก อย่างไรก็ตามยังมีคำยืมจากภาษาถิ่นอีสานอยู่ในภาษาผู้ไทบ้างเป็นธรรมดา แต่ก็ไม่นับว่ามาก ด้วยเหตุนี้ ชาวไทยที่พูดภาษาอีสานจึงไม่สามารถพูดหรือฟังภาษาผู้ไทอย่างเข้าใจโดยตลอด แต่ชาวผู้ไทส่วนใหญ่มักจะพูดภาษาอีสานได้
ด้วยภาษาผู้ไทเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท จึงมีลักษณะเด่นร่วมกับภาษาไทยด้วย นั่นคือ
ข้อมูลข้างล่างเป็นสำเนียงอำเภอวาริชภูมิ:
ในที่นี้ขออธิบายเฉพาะเสียงที่แตกต่างจากภาษาไทยมาตรฐาน ดังนี้
ภาษาผู้ไทมีสระเดี่ยว 9 ตัว หรือ 18 ตัวหากนับสระเสียงยาวด้วย โดยทั่วไปมีลักษณะของเสียงคล้ายกับสระในภาษาไทยถิ่นอื่น
หน้า | หลัง | ||
---|---|---|---|
ไม่ห่อ | ห่อ | ||
ปิด | i | ɯ | u |
กลาง | e | ɤ | o |
เปิด | ɛ | a | ɔ |
อนึ่ง ในภาษาผู้ไทไม่ใช้สระประสม จะใช้แต่สระเดี่ยวข้างบนนี้
ตัวอย่างคำที่ภาษาไทยกลางเป็นสระประสม แต่ภาษาผู้ไทใช้สระเดี่ยว
ภาษาไทยกลาง | ภาษาผู้ไท |
---|---|
/หัว/ | /โห/ |
/สวน/ | /โสน/ |
/เสีย/ | /เส/ |
/เขียน/ | /เขน/ |
/เสือ/ | /เสอ/ |
/มะเขือ/ | /มะเขอ/ |
หน่วยเสียงวรรณยุกต์ในภาษาผู้ไท มีด้วยกัน 5 หน่วย
พยางค์ในภาษาผู้ไทมักจะเป็นพยางค์อย่างง่าย ดังนี้
ภาษาผู้ไทมีลักษณะเด่นดังนี้ 1. พยัญชนะ "ข,ฆ" /k/ ในภาษาไทยและลาว-อีสานบางคำ ออกเสียงเป็น ห, ฮ /h/ เช่น
ภาษาไทย | ภาษาภูไท | ภาษาไทย | ภาษาภูไท | ภาษาไทย | ภาษาภูไท | ภาษาไทย | ภาษาภูไท | ภาษาไทย | ภาษาภูไท |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
แขน | แหน | เข็ม | เห็ม | ขัน (ขันน๊อต) | หัน | ขา | หา | ของ | หอง |
ขน | หน | เข้า | เห้า | ขอด | ฮอด | ขอน (ขอนไม้) | หอน | ขึ้น | หึ้น |
ฆ่า | ฮ่า | ขาด | หาด | เขี้ยว (ฟัน) | แห้ว | ขัดข้อง (ยุ่งเหยิง) | ห้อง | ข้อ | ห้อ |
ขาย | หาย | เขา (สัตว์) | เหา | เขียว | แหว | ขาว | หาว |
2. เสียงสระ "ใ" ออกเสียงเป็น "เออ" และสระ "ไ" บางคำก็ออกเสียงเป็น "เออ" เช่น
ภาษาไทย | ภาษาภูไท | ภาษาไทย | ภาษาภูไท | ภาษาไทย | ภาษาภูไท | ภาษาไทย | ภาษาภูไท | ภาษาไทย | ภาษาภูไท |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ใกล้ | เค่อ | ไหน (ไส "ลาว") | เซอ, ซิเลอ, เนอเฮอ, ตะเลอ | ใต้ | เต้อ | ใช้ | เซ้อ | ใน | เนอ, เด้อ |
ใจ | เจ๋อ | ใหม่ | เมอ | ไต | เต๋อ | ใส่ | เส่อ | ให้ | เห้อ |
ใคร (ไผ "ลาว") | เพอ | ใหญ่ | เญอ | บวม (ไค่ "ลาว") | เค้อ | ใบ | เบ๋อ |
3. ภาษาผู้ไทไม่มีสระผสม เอือ อัว เอีย ใช้แต่เพียงสระเดี่ยว เช่นเดียวกับภาษาไทลื้อ ไทขืน เช่น
ภาษาไทย | ภาษาภูไท | ภาษาไทย | ภาษาภูไท | ภาษาไทย | ภาษาภูไท | ภาษาไทย | ภาษาภูไท | ภาษาไทย | ภาษาภูไท |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เขียด | เขด | เรือ | เฮอ | เรียน | เฮน, สอน | บ่วง (ช้อน) | โบ่ง | ม้วน | โม้น |
เกวียน | เก๋น | สวน | โสน | เขี่ย | เข่ | เลี้ยว | เล้ว | เมีย | เม |
เหยียบ | เหย่บ | เงื่อน | เงิ้น | เปลื้อน | เปิ้น | หนวด | โนด | ผัว | โผ |
4. คำที่ใช้สระเสียงยาวและสะกดด้วย "ก" จะเปลี่ยนเป็นสระเสียงสั้น ไม่ออกเสียง "ก" เช่นเดียวกับภาษาไทถิ่นใต้ฝั่งตะวันตก และภาษาไทดำ ไทขาว พวน เช่น
*ลูก = ลุ *บอก = เบ๊าะ *แตก = แต๊ะ *ตอก = เต๊าะ *ลอก = เลาะ, ลู่น *ลวก = โหละ *หนอก = เนาะ *ยาก = ญ๊ะ *ฟาก,ฝั่ง = ฟ๊ะ *หลีก = ลิ *ปีก = ปิ๊ *ราก =ฮะ *กาก=ก๊ะ *อยาก = เยอะ *เลือก = เลอะ *น้ำเมือก = น้ำเมอะ *น้ำมูก = ขี้มุ *ผูก = พุ *หยอก = เยาะ *หมอก = เมาะ *ดอกไม้ = เด๊าะไม้ *ศอก = เซาะ *หนวก = โนะ *ถูก(ถืก ในภาษาลาว) = ทึ *ปลูก = ปุ *ปลวก = โปะ *หูก(ทอผ้า) = หุ
5. ภาษาผู้ไทใช้คำที่แสดงถึงการปฏิเสธว่า มี,หมี่ หรือเมื่อพูดเร็วก็จะออกเสียงเป็น มิ เช่นเดียวกับภาษาไทยโบราณ ภาษาจ้วง (bou,mi) และภาษาลื้อบางแห่ง เช่น
*ไม่ได้ = มีได้ *ไม่บอก = มีเบ๊าะ *ไม่รู้ = มีฮู้, มีฮู้จัก,มีจัก *ไม่เห็น = มีเห็น *ไม่พูดไม่จา = มีเว้ามีจา *ไม่ไป = มีไป *ไม่เข้าใจ = มีเฮ่าเจ๋อ
6. คำถามจะใช้แตกต่างจากภาษาไทยดังนี้
*อะไร = เผอ,ผะเหลอ,ผิเหลอ *เป็นอะไร = เป๋นเผอ,เป๋นผะเหลอ *ทำไม = เอ็ดเผอ *ไหน = เซอ,ซิเลอ,เน้อเฮอ *อันไหน = อันเลอ *ใคร = เผ่อ,ผู้เลอ *เท่าไหร่,แค่ไหน = ท้อเลอ,ฮาวเลอ,ค้าเลอ *อย่างไร = แนวเลอ,สะเลอ *ทำยังไง = เอ็ดสะเลอ *เมื่อไหร่ = บาดเลอ,ญามเลอ,มื่อเลอ *ไหม,หรือปล่าว = เบาะ,ยูเบาะ,ยูติ๊ *ล่ะ = เด๋
7. คำว่า จัก หรือ จะ ในภาษาไทย ภาษาผู้ไท
จะใช้คำว่า หละ เช่น *เธอจะไปไหน = เจ้าหละไปซิเลอ *ฉันกำลังจะพูด = ข้อยทมหละเว้า *คุณจะกลับกี่โมง = เจ้าหละเมอจักโมง *เขาจะคุยกันเรื่องอะไร = เขาหละแอ่นเด๋วเลิ้งเผอ
___(ข้อ 8 เป็นต้นไปเป็นเพียงปลีกย่อย)___
8. บางคำมีการออกเสียงต่างจากภาษาไทย ดังนี้
1) ค เป็น ซ เช่น คง = ซง, ครก = ซก 2) ด เป็น ล เช่น = สะดุ้ง (เครื่องมือ หาปลาชนิดหนึ่ง) = จะลุ่ง 3) อะ เป็น เอะ เช่น มัน (หัวมัน) = เม็น, มันแกว = เม็นเพา-โหเอ็น, มันเทศ = เม็นแกว 4) เอะ เป็น อิ เช่น เล่น = ดิ้น, เด็กน้อย=ดิกน้อย, เหล็กไล (ตะปู) = ลิ๊กไล 5) เอีย เป็น แอ,เอ เช่น เหี่ยว = แห่ว, เขี้ยว = แห้ว, เหยี่ยว = แหลว,เตี้ย = เต้,เลีย = เล,เรียง = เรง,เฮง, เขียง = เขง,เหง, เที่ยว = เท้ว, เหลียว = เหลว 6) สระเสียงสั้นในภาษาไทยบางคำกลายเป็นสระเสียงยาวในภาษาผู้ไท เช่น ลิง = ลีง, ก้อนหิน = มะขี้หีน, กลิ้ง = กะลี้ง, ผิงไฟ = ฝีงไฟ,หลุด = หลูด,ปิ้ง = ปี้ง 7) อิ เป็น อึ เช่น กลิ่น = กึ่น คิด = คึด/ฮึด
9. คำเฉพาะถิ่น เป็นคำที่มีใช้เฉพาะในภาษาผู้ไท และอาจมีใช้ร่วมกับภาษาอื่นที่เคยมีวัฒนธรรมร่วมกัน เช่น
*ดวงตะวัน = ตะเง็น, ขี้โก๊ *ดวงเดือน = โต๊ต่าน, เดิ๋น, ต๊อ *ประตูหน้าต่าง = ตู่บอง,ปะตู่บอง, ป่องเย่ม *ขี้โม้ = ขี้จะหาว *ขึ้นรา = ตึกเหนา *น้ำหม่าข้าว = น้ำโม๊ะ *สวย = ซับ,งาม *ตระหนี่,ขี้เหนียว = อีด, ขี้อีด, ขี้ถี่ *ประหยัด = ติ้กไต้, ตั๊กไต้ *หัวเข่า = โหโค้ย *ลูกอัณฑะ = มะขะหลำ *หัวใจ = เจ๋อ,โหเจ๋อ *หน้าอก = เอิ๊ก,อ๋าง *เหงือก = เฮ๊อะ *ตาตุ่ม = ปอเผอะ,ปอมเผอะ *ท้ายทอย = ง้อนด้น,กะด้น *หน้าผาก = หน้าแก่น,หน้าผะ *เอว = โซ่ง,กะโท้ย,แอ๋ว *ถ่านก่อไฟ = ก่อมี่,ขี้ก่อมี่ *พูดคุย,สนทนา = แอ่น,เว้าจ๋า *เกลี้ยกล่อม = โญะ, เญ๊า *หัน = ปิ่น,(ภาษาลาวว่า งวก) *ย้ายข้าง = อวาย, ว้าย (ภาษาลาวว่า อ่วย) *ขอร้อง,วิงวอน = แอ่ว,แอบ *กันนักกันหนา = กะดักกะด้อ *มาก,ยิ่ง = แฮง,กะดักกะด้อ-กะด้อ,หลาย *ไม่ใช่ = มิแม้น *จริง = เพิ้ง,แท้ *นึกว่า = ตื่อหวะ, กะเด๋วหวะ, เด๋วหวะ *พะวงใจ = ง้อ,คึดง้อ *อุทานไม่พอใจ = เยอ! เยอะ! *ไปโดยไม่หันกลับมา = ไปกิ่นๆ, ไปกี่ดี่ๆ *สั้น = สั้น, กิ๊ด, ขิ้น *ยาว = ญ๊าว, สาง *ปิด = ปิด, อัด, ฮี, กึด, งับ *เปิด = เปิด, ไข, อ้า *อวด = โอด,เอ้ *ขวด = โขด *ถั่ว = โถ่ *ถั่วฝักยาว = โถ่ฟั้กญ๊าว *กระดุม = มะติ่ง *ตุ้มหู = ด๊อก *ถุงย่าม = ถง *ก่อไฟ = ดังไฟ *เกลือ = เก๋อ *มะเขือ = มะเขอ *โรงเรียน = โรงเรน,โฮงเฮน *เรือน = เฮิน *กล้วย = โก้ย *ใบไม้ = เบ๋อไม้ *ใบตองกล้วย = เบ๋อต๋องโก้ย *กุ้ง = จุ้ง *มุ้ง = สุ้ด *วิ่ง = แล่น,เต้น *ทับ = เต็ง *กดไว้ = เญ๊นไว้ *เทน้ำ = เถาะน้ำ,เหญ้นน้ำ *คว่ำ = ว่ำ *กลับบ้าน = เมอบ้าน,เมอเฮิน *รอคอย = คอง,ถ้า *ล้างหน้า = โส่ยหน้า *ปวดหัว = เจ๊บโห *ปลาไหล = เหย่น, ป๋าเหย่น *ไส้เดือน = ไส้เดิ๋น,ขี้เดิ๋น *ผีเสื้อ = แมงกะเบ้อ *เหนือ(ทิศ) = เหนอ *เสื้อ = เส้อ *โกหก = ขี้โตะ *มองไม่เห็น(มืด) = มิเห็นฮุ้ง *ค้างคาว = บิ้ง *สั่น(หนาว)= เส่น *ข้าวโพด = ซะลี *ผด,ผื่น = หมืน *เหนียว = เน๋ว *ข้าวเหนียว = เข้าเน๋ว *ลื่น = มื้น *ลื่นล้ม = ผะหลาด *ขึ้นต้นไม้ = หึ้นก๊กไม้,บื๋นก๊กไม้ *ไม้กวาด = ไม้ฟอย *สะพาน = โข *สงสาร = เยอะดู๋ *ซื่อบื้อ,โง่ = เบ้อ,ขี้เบ้อ *นาน = เหิง *หมวก = โหมก *สุกงอม (ผลไม้) = อิ้ม *โกรธ,โมโห = ฮ้าย
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.