ภาษาเขมรถิ่นไทย[3] บ้างเรียก ภาษาเขมรเหนือ หรือ ภาษาเขมรสุรินทร์ เป็นภาษาย่อยของภาษาเขมร พูดโดยชาวไทยเชื้อสายเขมรในประเทศไทยที่อยู่ในจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และร้อยเอ็ด รวมทั้งที่อพยพไปสู่ประเทศกัมพูชา โดยจังหวัดสุรินทร์มีผู้พูดภาษาเขมรถิ่นไทยมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 60 ของประชากรทั้งหมดในจังหวัด หรือประมาณ 8 แสนคน
ข้อมูลเบื้องต้น ภาษาเขมรถิ่นไทย, ออกเสียง ...
ปิด
ภาษาเขมรถิ่นไทยต่างจากภาษาเขมรสำเนียงพนมเปญซึ่งเป็นสำเนียงมาตรฐาน ในด้านจำนวนและความต่างของหน่วยเสียงสระ การใช้พยัญชนะ รากศัพท์ และไวยากรณ์ ทำให้แยกสำเนียงเขมรถิ่นไทยออกจากสำเนียงอื่น ๆ ได้ง่าย ผู้พูดภาษาเขมรถิ่นไทยจะเข้าใจภาษาเขมรทุกสำเนียง แต่ผู้พูดสำเนียงพนมเปญจะมีปัญหาในการทำความเข้าใจภาษาเขมรถิ่นไทย ทำให้นักภาษาศาสตร์บางคนแยกภาษาเขมรถิ่นไทยออกเป็นภาษาใหม่ต่างหากจากภาษาเขมร โดยถือเป็นภาษาใกล้เคียงกัน[4]
ผู้พูดภาษาเขมรถิ่นไทยส่วนใหญ่สามารถพูดได้สองภาษา ทั้งภาษาไทยในฐานะภาษาทางการศึกษาและสื่อสารมวลชนภาษาเดียว และภาษาเขมรในเขตหมู่บ้านและบ้านของตน ในอดีต ภาษานี้เคยถูกห้ามใช้ (เช่นห้ามพูดภาษาเขมรถิ่นไทยในห้องเรียน) เพื่อส่งเสริมความชำนาญในภาษาประจำชาติ[5] นั่นทำให้มีผู้พูดภาษาเขมรถิ่นไทยไม่กี่คน (ประมาณ 1,000 คน) ที่สามารถอ่านหรือเขียนภาษาเขมรได้[6]
ข้อมูลเพิ่มเติม จังหวัด, ร้อยละของจำนวนผู้พูดภาษาเขมรใน พ.ศ. 2533 ...
ปิด
พยัญชนะ
ข้อมูลเพิ่มเติม ลักษณะการออกเสียง, ตำแหน่งเกิดเสียง ...
หน่วยเสียงพยัญชนะภาษาเขมรถิ่นไทย[16]
ลักษณะการออกเสียง |
ตำแหน่งเกิดเสียง |
ริมฝีปาก |
ริมฝีปาก กับฟัน |
ปุ่มเหงือก |
เพดานแข็ง |
เพดานอ่อน |
เส้นเสียง |
เสียงนาสิก |
m |
|
n |
ɲ |
ŋ |
|
เสียงหยุด |
ก้อง |
b |
|
d |
|
|
|
ไม่ก้อง |
ไม่พ่นลม |
p |
|
t |
c |
k |
ʔ |
พ่นลม |
pʰ |
|
tʰ |
cʰ |
kʰ |
|
เสียงเสียดแทรก |
|
f |
s |
|
|
h |
เสียงรัว |
|
|
r |
|
|
|
เสียงข้างลิ้น |
|
|
l |
|
|
|
เสียงกึ่งสระ |
w |
|
|
j |
|
|
ปิด
- หน่วยเสียงที่เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้ายมี 14 หน่วยเสียง ได้แก่ /m/, /n/, /ɲ/, /ŋ/, /p/, /t/, /c/, /k/, /ʔ/, /h/, /r/, /l/, /w/ และ /j/
- หน่วยเสียง /k/ ในตำแหน่งท้ายพยางค์มีหน่วยเสียงย่อย 2 เสียง คือ [k] และ [ʔ] เช่น /tɨk/ 'น้ำ' อาจออกเสียงเป็น [tɨk] หรือ [tɨʔ]
- หน่วยเสียง /c/ และ /cʰ/ ในบางตำรากล่าวว่าเป็นหน่วยเสียง /t͡ɕ/ และ /t͡ɕʰ/
- หน่วยเสียง /f/ เป็นหน่วยเสียงที่ยืมมาจากภาษาไทยมาตรฐาน
- กลุ่มพยัญชนะที่มีตัวแรกเป็นเสียงนาสิกและตัวถัดมาเป็นพยัญชนะที่เกิดจากฐานเดียวกัน พยัญชนะตัวแรกนั้นอาจกลายเป็นพยัญชนะท้ายของ /ʔa/ หรืออาจกลายเป็นพยางค์นาสิก /m̩/, /n̩/, /ɲ̍/, /ŋ̍/
สระ
สระเดี่ยว
ข้อมูลเพิ่มเติม ระดับลิ้น, ตำแหน่งลิ้น ...
หน่วยเสียงสระเดี่ยวภาษาเขมรถิ่นไทย[17]
ระดับลิ้น |
ตำแหน่งลิ้น |
หน้า |
กลาง |
หลัง |
สูง |
i, iː | ɨ, ɨː | u, uː |
กึ่งสูง |
ɪ, ɪː | ɤ, ɤː | ʊ, ʊː |
กลาง |
e, eː | ə, əː | o, oː |
กึ่งต่ำ |
ɛ, ɛː | ʌ, ʌː | ɔ, ɔː |
ต่ำ |
| a, aː | ɒ, ɒː |
ปิด
สระประสม
หน่วยเสียงสระประสมภาษาเขมรถิ่นไทยมี 6 หน่วยเสียง[17] ได้แก่ /iə/, /iːə/, /ɨə/, /ɨːə/, /uə/ และ /uːə/ โดยหน่วยเสียง /ɨːə/ จะปรากฏเฉพาะในคำยืมภาษาไทย เช่น /kɨːək/ 'รองเท้า'
ลำดับคำในภาษาเขมรถิ่นไทยมักจะเป็นแบบประธาน–กริยา–กรรม ประกอบด้วยคำเดี่ยวเป็นหลัก แต่อาจจะมีสลับกันบ้างเป็นแบบประธาน–กรรม–กริยาและแบบกรรม–กริยา
นักภาษาศาสตร์ได้คิดค้นระบบการเขียนภาษาเขมรถิ่นไทยด้วยตัวอักษรไทยหลายระบบ โดยมีทั้งระบบของมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ท้ายที่สุดมีระบบราชบัณฑิตยสถาน[18] ซึ่งดัดแปลงจากระบบก่อน ๆ เป็นมาตรฐานโดยปริยาย
ตัวเขียนภาษาเขมรถิ่นไทยอักษรไทยตามที่คณะกรรมการจัดทำระบบเขียนภาษาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยอักษรไทย ราชบัณฑิตยสถาน (ปัจจุบันคือสำนักงานราชบัณฑิตยสภา) ได้กำหนดไว้ มีดังนี้
ข้อมูลเพิ่มเติม อักษรไทย, เสียง ...
พยัญชนะ
อักษรไทย | เสียง | ตัวอย่างคำ | ความหมาย |
ก | /k/ | กฺู | วัว |
จรูก | หมู |
ค | /kʰ/ | ค | กางเกง |
ง | /ŋ/ | ทไง | พระอาทิตย์ |
ชนัง | หม้อ |
จ | /c/ | เจจ | กล้วย |
กโรจ | ส้ม |
ช | /cʰ/ | เชอ | ไม้ |
ซ | /s/ | แซ็ฮ | ม้า |
ญ | /ɲ/ | เญียด | ญาติ |
พลฺีญ | ฝน |
ด | /d/ | โดง | มะพร้าว |
/t/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย) | ตฺีด | อีก |
ต | /t/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น) | เตีย | เป็ด |
ท | /tʰ/ | ท็อฺง | ถุง |
น | /n/ | เนฺิก | เต่า |
จเรฺิน | มาก |
บ | /b/ | บาย | ข้าวสุก |
/p/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย) | โฮบ | รับประทาน |
ป | /p/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น) | ป็วฮ | งู |
พ | /pʰ/ | เพอฺะ | ดื่ม |
ฟ | /f/ | ไฟฟา | ไฟฟ้า |
ม | /m/ | เมื็อน | ไก่ |
กมม | หญิงสาว |
ย | /j/ | เยียะ | ยักษ์ |
คเนฺิย | หมอน |
ร | /r/ | รเต็ฮ | เกวียน |
ซกวร | กลอง |
ล | /l/ | ลฺูก | พระสงฆ์ |
กบาล | หัว |
ว | /w/ | เวื็อด | วัด (นาม) |
เลว | กระดุม |
อ | /ʔ/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น) | อาว | เสื้อ |
ฮ | /h/ | ฮีญ | อึ่งอ่าง |
จแร็ฮ | สนิม |
ไม่มีรูป | /ʔ/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย) | บะ | หัก |
|
สระ
อักษรไทย | เสียง | ตัวอย่างคำ | ความหมาย |
–ะ | /a/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย และอยู่ในคำหลายพยางค์ หรือเมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) | ปะปเริ็ฮ | เถายั้งดง |
มะกะ | มะกอกบก |
–ั | /a/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย ที่ไม่ใช่ /ʔ/, /m/, /j/, /w/) | อังกัญ | ขี้เหล็ก |
–า | /aː/ | อันซาย | กระต่าย |
–ิ | /i/ | ติญ | ซื้อ |
–ี | /iː/ | ปีร | สอง |
–ฺิ | /ɪ/ | ปฺิญ | เต็ม |
–ฺี | /ɪː/ | มฺีว | แมว |
–ึ | /ɨ/ | ปรึก | เช้า |
–ือ | /ɨː/ | ซปือ | มะเฟือง |
–ฺึ | /ɤ/ | รฺึย | จักจั่น |
–ฺือ | /ɤː/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) | กปฺือ | จระเข้ |
–ฺื | /ɤː/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย) | กำพลฺืง | ปืน |
–ุ | /u/ | มุน | ก่อน, สิว |
–ู | /uː/ | ปู | อา, น้า (ชาย) |
–ฺุ | /ʊ/ | ยฺุบ | กลางคืน |
–ฺู | /ʊː/ | ซฺูนกรฺู | สวนครัว |
เ–ะ | /e/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) | เตะ | ติ |
เ–็ | /e/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) | อำเม็ล | เกลือ |
เ– | /eː/ | ชเวง | ซ้าย |
แ–ะ | /ɛ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) | รแระ | สนุกสนาน |
แ–็ | /ɛ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) | ตแร็ย | ปลา |
แ– | /ɛː/ | แค | พระจันทร์ |
โ–ะ | /o/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) | โปะ | เกราะ (เครื่องตี) |
โ–็ | /o/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /h/) | ลโล็ฮ | บวมเป่ง |
โ–ะ (ลดรูป) | /o/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) | คลย | ขลุ่ย |
โ– | /oː/ | โจล | เข้า |
|
สระ
อักษรไทย | เสียง | ตัวอย่างคำ | ความหมาย |
เ–าะ | /ɔ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) | ซเราะ | หมู่บ้าน |
–็อ | /ɔ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) | คน็อร | ขนุน |
–อ | /ɔː/ | บรอ | ขี้เหร่ |
เ–ฺาะ | /ɒ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) | เตฺาะแก | ตุ๊กแก |
–็อฺ | /ɒ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) | ตร็อฺบ | มะเขือ |
–อฺ | /ɒː/ | ซันลอฺ | แกง |
เ–อะ | /ə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) | ลเปอะ | บ้า ๆ บอ ๆ |
เ–ิ็ | /ə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) | เซิ็ม | คุ้นเคย |
เ–อ | /əː/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) | เชอ | ไม้ |
เ–ิ | /əː/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย) | เคิญ | เห็น |
เ–อฺะ | /ʌ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) | อเลอฺะ | แตงโม |
เ–ฺิ็ | /ʌ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) | ซเรฺิ็ว | ข้าวเปลือก |
เ–อฺ | /ʌː/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) | กเลอฺ | เพื่อนเกลอ |
เ–ฺิ | /ʌː/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย) | เฮฺิร | บิน |
เ–ียะ | /iə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) | ทเลียะ | ตก |
เ–ี็ย | /iə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) | เรี็ยง | แล้ง |
เ–ีย | /iːə/ | ลเลียย | ละลาย |
เ–ื็อ | /ɨə/ | เมื็อด | ปาก |
เ–ือ | /ɨːə/ | ซำเปือร | มะหาด |
–ัวะ | /uə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/) | ติญกัวะ | คางคก |
–็ว– | /uə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายอื่น) | ปะกร็วฮ | พิจารณา |
–ัว | /uːə/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย) | ปันรัว | ตะคร้อ |
–ว– | /uːə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย) | ปวง | ไข่ |
–ำ | /am/ | อันจรำ | สับ |
ไ– | /aj/ | ได | มือ |
เ–า | /aw/ | ตเวา | กาเหว่า |
|
ปิด
- ภาษาเขมรถิ่นไทยไม่มีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ ในการเขียนเป็นอักษรไทยจึงเลือกใช้พยัญชนะไทยที่เป็นอักษรกลางและอักษรต่ำเท่านั้น ไม่ใช้อักษรสูงเพราะจะมีเสียงวรรณยุกต์จัตวาเข้ามาเกี่ยวข้อง
- หน่วยเสียง /t/ และ /p/ มีรูปพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้ายแตกต่างกันดังที่แสดงในตาราง โดยการใช้พยัญชนะเสียงก้องมาแทนพยัญชนะท้ายเสียงไม่ก้องนั้นนำแบบอย่างมาจากภาษาไทย
- หน่วยเสียง /ʔ/ เมื่อเป็นพยัญชนะท้ายจะไม่มีรูปเขียน แต่ให้แสดงด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด (สระยาวที่ลงท้ายด้วยเสียงนี้ไม่ได้กำหนดไว้ในมาตรฐาน อาจใช้ อ์ แทน)
- คำบางคำที่มีพยัญชนะต้น 2 ตัวเรียงกัน บางครั้งอาจออกเสียงสระแทรกกลาง (แสดงด้วย /ᵊ/ หรือ /a/) และบางครั้งอาจออกเสียงคล้ายพยัญชนะควบ ให้เขียนตามแบบคำที่มีพยัญชนะต้นควบ เช่น ซดํา, ซอ็อฺบ, รเต็ฮ
- เสียงสระที่ไม่มีในภาษาไทยจะเขียนแทนด้วยรูปสระไทยที่ออกเสียงใกล้เคียงกันและใช้เครื่องหมายพินทุ (ฺ) กำกับ เพื่อแสดงเสียงที่ต่างออกไป หากเป็นรูปสระที่ไม่มี อ ประกอบ ให้ใส่พินทุกำกับใต้พยัญชนะต้น เช่น เบฺิก หากเป็นรูปสระที่มี อ ประกอบ ให้ใส่พินทุกำกับใต้ อ เช่น ซอฺ ยกเว้นสระ –ือ ให้ใส่พินทุกำกับใต้พยัญชนะต้น เช่น ลฺือ เพราะ อ ในกรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรูปสระอย่างแท้จริง
- รูปสระที่ซ้อนกันหลายตัวตามแนวดิ่ง ในการพิมพ์ทางคอมพิวเตอร์ให้พิมพ์จากล่างขึ้นบน เช่น สระ /ʌ/ ที่มีพยัญชนะท้าย กดพยัญชนะต้น กดพินทุ ตามด้วย –ิ แล้วตามด้วยไม้ไต่คู้
William J. Frawley, บ.ก. (2003). International Encyclopedia of Linguistics. Vol. 1 (2nd ed.). Oxford University Press. p. 488.
องค์ บรรจุน. (2553). สยาม หลากเผ่าหลายพันธุ์. กรุงเทพฯ: มติชน, หน้า 63.
Thomas, David. 1990. "On the 'language' status of Northern Khmer." JLC 9.1:98–106
Vail, Peter (2007). "Thailand's Khmer as 'invisible minority': Language, ethnicity and cultural politics in north-eastern Thailand". Asian Ethnicity. 8 (2): 111–130. doi:10.1080/14631360701406247. S2CID 144401165.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). คู่มือระบบเขียนภาษาเขมรถิ่นไทยอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, หน้า 41.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). คู่มือระบบเขียนภาษาเขมรถิ่นไทยอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, หน้า 45.
- Thanan Čhanthrupant, and Chātchāi Phromčhakkarin. Photčhanānukrom Khamen (Surin)-Thai-Angkrit = Khmer (Surin)-Thai-English Dictionary. [Bangkok, Thailand]: Indigenous Languages of Thailand Research project, Chulalongkorn University Language Institute, 1978.
- Suwilai Prēmsīrat, and Sōphanā Sīčhampā. Kānphatthanā rabop kānkhīan Phāsā Khamēn Thin Thai Khrōngkān Phatthanā Phāsā Phư̄nbān phư̄a ʻAnurak Sinlapawatthanatham Phư̄nbān læ Phalit Sư̄ Tāng Tāng = Formulating Thai-based northern Khmer orthography : for the recording and preservation of local culture and for the producing of educational materials. [Bangkok]: Sathāban Wičhai Phāsā læ Watthanatham phư̄a Phatthanā Chonnabot, Mahāwitthayālai Mahidon, 1990. ISBN 9745868302