เอทโนล็อก: แลงกวิจส์ออฟเดอะเวิล์ด (อังกฤษ: Ethnologue: Languages of the World, เขียนตามสไตล์เป็น Ethnoloɠue) เป็นเอกสารอ้างอิงประจำปีในรูปแบบพิมพ์และออนไลน์ ที่ให้ข้อมูลสถิติและข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับภาษาที่มีการใช้กันบนโลก ถือเป็นรายการภาษาที่ครอบคลุมมากที่สุดในโลก[2] โดยเริ่มตีพิมพ์เป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1951 และปัจจุบันเผนแพร่โดยเอสไอแอล อินเทอร์เนชันนัล องค์กรที่ไม่แสวงผลกำไรคริสเตียนสัญชาติอเมริกัน

ข้อมูลเบื้องต้น ประเภทของธุรกิจ, ประเภท ...
เอทโนล็อก
Thumb
ประเภทของธุรกิจองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
ประเภทฐานข้อมูลภาษา
ภาษาที่ใช้ได้อังกฤษ
ก่อขึ้นค.ศ. 1951
สำนักงานใหญ่,
เจ้าของเอสไอแอล อินเทอร์เนชันนัล สหรัฐ
ผู้ก่อตั้งRichard S. Pittman
บรรณาธิกรณ์Eberhard, David M., Gary F. Simons และ Charles D. Fennig
ยูอาร์แอลwww.ethnologue.com แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
เชิงพาณิชย์ใช่
ลงทะเบียนจำเป็นเพื่อเข้าถึงเนื้อหาส่วนใหญ่ตั้งแต่ ค.ศ. 2019[1]
ISSN1946-9675
หมายเลข OCLC43349556
ปิด

ภาพรวมและเนื้อหา

เอทโนล็อก ได้รับการเผยแพร่จากเอสไอแอล อินเทอร์เนชันนัล (อดีตรู้จักกันในชื่อ Summer Institute of Linguistics) องค์กรบริการภาษาศาสตร์คริสเตียนที่มีสำนักงานระหว่างประเทศที่แดลลัส รัฐเท็กซัส องค์นี้ศึกษาภาษาชนกลุ่มน้อยหลายภาษาเพื่ออำนวยความสะดวกในการพัฒนาภาษา และทำงานร่วมกับผู้พูดในชุมชนภาษาดังกล่าวเพื่อการแปลพระคัมภีร์บางส่วนเป็นภาษาของพวกเขา[3] แม้จะมีความสอดคล้องกับศาสนาคริสต์ของผู้จัดพิมพ์ก็ตาม เอทโนล็อก ไม่มีอคติทางอุดมการณ์หรือทางเทววิทยา[4]

ในปี 2018, Ethnologue แบบเว็บไซต์ประกอบด้วยภาษา 7,097 ภาษาในฉบับที่ 21 รวมทั้งจำนวนผู้พูด, สถานที่, ภาษาถิ่น, ภาษาศาสตร์, คำพ้องเสียง, ความพร้อมของพระคัมภีร์ในแต่ละภาษา, และภาษาอธิบายคร่าว ๆ ของภาษา

ฉบับ

นับตั้งแต่ฉบับที่ 17 เอทโนล็อก จึงเริ่มตีพิมพ์ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ของทุกปี[5] ซึ่งตรงกับวันภาษาแม่สากล[6]

ข้อมูลเพิ่มเติม ฉบับ, วันที่ ...
ฉบับวันที่บรรณาธิการหมายเหตุ
1[7]1951Richard S. Pittman10 หน้าอัดสำเนา; 40 ภาษา[3]
2[8]1951Pittman
3[9]1952Pittman
4[10]1953Pittmanฉบับแรกที่มีแผนที่[11]
5[12]1958Pittmanฉบับแรกในรูปแบบหนังสือ
6[13]1965Pittman
7[14]1969Pittman4,493 ภาษา
8[15]1974Barbara Grimes[16]
9[17]1978Grimes
10[18]1984Grimesฉบับแรกที่ใช้รหัสเอสไอแอล
11[19]1988Grimes6,253 ภาษา[20]
12[21]1992Grimes6,662 ภาษา
13[22][23]1996Grimes6,883 ภาษา
14[24]2000Grimes6,809 ภาษา
15[25]2005Raymond G. Gordon Jr.[26]6,912 ภาษา; ร่างมาตรฐาน ISO; ฉบับแรกที่มีแผนที่สี[11]
16[27]2009M. Paul Lewis6,909 ภาษา
172013, อัปเดตในปี 2014[28]M. Paul Lewis, Gary F. Simons and Charles D. Fennig7,106 ภาษาที่มีผู้ใช้งาน
182015Lewis, Simons & Fennig7,102 ภาษาที่มีผู้ใช้งาน; รวม 7,472 ภาษา
192016Lewis, Simons & Fennig7,097 ภาษาที่มีผู้ใช้งาน
202017Simons & Fennig7,099 ภาษาที่มีผู้ใช้งาน
21[29]2018Simons & Fennig7,097 ภาษาที่มีผู้ใช้งาน
22[30]2019Eberhard, David M., Simons & Fennig7,111 ภาษาที่มีผู้ใช้งาน
23[31] 2020 Eberhard, Simons & Fennig 7,117 ภาษาที่มีผู้ใช้งาน
24[32] 2021 Eberhard, Simons & Fennig 7,139 ภาษาที่มีผู้ใช้งาน
25[33] 2022 Eberhard, Simons & Fennig 7,151 ภาษาที่มีผู้ใช้งาน
26[34] 2023 Eberhard, Simons & Fennig 7,168 ภาษาที่มีผู้ใช้งาน
ปิด

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.