Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ หรือ พระเวชยันตรังสฤษฏ์ (นามเดิม: มุนี มหาสันทนะ; 29 มีนาคม พ.ศ. 2436 - 10 กันยายน พ.ศ. 2527) ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์[1] ผู้บัญชาการทหารอากาศคนแรกของกองทัพอากาศไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการสำนักนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์, กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงอุตสาหกรรม และอดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 25 ธันวาคม พ.ศ. 2496 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2498 | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | พลตรี สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ |
ถัดไป | จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี จอมพลเรือ ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 – 20 สิงหาคม พ.ศ. 2484 | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | พระยาฤทธิอัคเนย์ |
ถัดไป | หลวงเดชสหกรณ์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | พลเรือตรี ผัน นาวาวิจิต |
ดำรงตำแหน่ง 12 มิถุนายน พ.ศ. 2495 – 12 ธันวาคม พ.ศ. 2496 | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | สุกิจ นิมมานเหมินท์ |
ถัดไป | พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา |
ดำรงตำแหน่ง 22 สิงหาคม พ.ศ. 2507 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2512 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ถนอม กิตติขจร |
ก่อนหน้า | บุณย์ เจริญไชย |
ถัดไป | พลโท พงษ์ ปุณณกันต์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพานิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 มกราคม พ.ศ. 2489 – 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 | |
นายกรัฐมนตรี | ควง อภัยวงศ์ |
ก่อนหน้า | หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ |
ถัดไป | หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ |
ดำรงตำแหน่ง 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 – 8 เมษายน พ.ศ. 2491 | |
นายกรัฐมนตรี | ควง อภัยวงศ์ |
ก่อนหน้า | หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ |
ถัดไป | พระยามไหสวรรย์ |
ดำรงตำแหน่ง 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494 | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | พลตรี เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ |
ถัดไป | พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 | |
นายกรัฐมนตรี | ควง อภัยวงศ์ |
ก่อนหน้า | พระยาประกิตกลศาสตร์ |
ถัดไป | หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ |
ดำรงตำแหน่ง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2498 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2500 | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | พลอากาศเอก ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี |
ถัดไป | พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 มีนาคม – 16 กันยายน พ.ศ. 2500 | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | พลเอก มังกร พรหมโยธี |
ถัดไป | หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล |
ผู้บัญชาการทหารอากาศ | |
ดำรงตำแหน่ง 27 เมษายน พ.ศ. 2480 – 18 มีนาคม พ.ศ. 2484 | |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | พลอากาศโท หลวงอธึกเทวเดช |
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
ดำรงตำแหน่ง 17 สิงหาคม พ.ศ. 2493 – 6 กันยายน พ.ศ. 2504 (11 ปี 20 วัน) | |
ก่อนหน้า | ศ.หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก โสณกุล |
ถัดไป | จอมพล ประภาส จารุเสถียร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 มีนาคม พ.ศ. 2436 อำเภอบางพลัด จังหวัดธนบุรี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 10 กันยายน พ.ศ. 2527 (91 ปี) โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พรรคเสรีมนังคศิลา |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิง ดาระกา เวชยันตรังสฤษฏ์ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพอากาศไทย |
ยศ | พลอากาศโท |
พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ มีนามเดิมว่า มุนี มหาสันทนะ ศึกษาที่โรงเรียนราชวิทยาลัย สมัยสายสวลี จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2454 จากนั้นไปศึกษาต่อด้านวิศวกรรมที่มหาวิทยาลัยวิคตอเรีย ประเทศอังกฤษ [2] หลังจากจบการศึกษาแล้วเริ่มรับราชการกองทัพบกไทย พร้อมกับรับพระราชทานยศร้อยตรีเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2462[3] สังกัดกรมอากาศยานทหารบก
วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 ร้อยเอก มุนี มหาสันทนะ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงเวชยันต์รังสฤต ถือศักดินา 800[4]
ในปี พ.ศ. 2472 ขณะดำรงตำแหน่ง พันโท หลวงเวชยันต์รังสฤษฏ์ รั้งตำแหน่งผู้บังคับฝูงกองโรงงาน กรมอากาศยาน ท่านเป็นผู้ออกแบบเครื่องบินทิ้งระเบิด ปีก 2 ชั้น 2 ที่นั่งลำแรกของไทย ใช้ชื่อว่า "เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ 2" หรือ "เครื่องบินบริพัตร" ใช้ประจำการในกองทัพตั้งแต่ พ.ศ. 2472 - 2483 [5]
ต่อมากำลังทางอากาศของไทยเติบโตขึ้น และได้รับการยกฐานะเป็น "กองทัพอากาศ" เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2480 ขณะนั้นท่านมียศเป็น นาวาอากาศเอก พระเวชยันต์รังสฤษฏ์ ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศคนแรกเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2480 [6] ดำรงตำแหน่งนี้จนถึงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2484 ก่อนจะย้ายไปดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาการป้องกันพระราชอาณาจักร โดยมีนายนาวาอากาศเอก หลวงอธึกเทวเดช ดำรงตำแหน่งแทน [7] และได้รับยศทางทหารสูงสุดเป็น พลอากาศโท เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 [8]
ในเวลาต่อมาเมื่อรัฐบาลจะยกเลิกบรรดาศักดิ์ไทย พระเวชยันตรังสฤษฏ์ในฐานะรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีชุดที่ 9 จึงลาออกจากบรรดาศักดิ์ โดยเลือกใช้ราชทินนามเป็นนามสกุล และนามสกุลเดิมเป็นชื่อรองว่า มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์[10]
ท่านดำรงตำแหน่งในรัฐบาล ตั้งแต่ พ.ศ. 2480 ตำแหน่งรัฐมนตรี ในรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ (พ.ศ. 2481-2484) ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (พ.ศ. 2489[11], 2491, 2494[12]) กระทรวงคมนาคม (พ.ศ. 2490) ในรัฐบาลควง อภัยวงศ์ สำนักนายกรัฐมนตรี ใน พ.ศ. 2494[13]
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2500) ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม[14] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (พ.ศ. 2507-2513) ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร [15] นอกจากนี้แล้วยังได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.จังหวัดพระนคร สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ด้วย[16]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.