เหรียญพิทักษ์เสรีชน ใช้อักษรย่อว่า ส.ช. เป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์ ประเภทเหรียญบำเหน็จกล้าหาญ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร การพระราชทานกรรมสิทธิ์ และการเรียกคืน เช่นเดียวกับเหรียญกล้าหาญ ผู้ได้รับจะประกาศนามในราชกิจจานุเบกษา
เหรียญพิทักษ์เสรีชน | |
---|---|
มอบโดย พระมหากษัตริย์ไทย | |
อักษรย่อ | ส.ช. |
ประเภท | เหรียญราชอิสริยาภรณ์ (เหรียญบำเหน็จกล้าหาญ) |
วันสถาปนา | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 |
ประเทศ | ราชอาณาจักรไทย |
ภาษิต | พิทักษ์เสรีชน |
จำนวนสำรับ | ไม่จำกัดจำนวน |
ผู้สมควรได้รับ | ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และราษฎร |
มอบเพื่อ | ผู้ที่กระทำการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ผู้ที่ทางราชการมีคำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ การป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงภายใน การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และการปฏิบัติการเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติในต่างประเทศหรือปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ อันเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงของประเทศ |
สถานะ | ยังพระราชทานอยู่ |
ผู้สถาปนา | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ประธาน | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
สถิติการมอบ | |
รายแรก | สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 25 กันยายน พ.ศ. 2512[1] |
รายล่าสุด | 3 มกราคม พ.ศ. 2567 |
ลำดับเกียรติ | |
สูงกว่า | เหรียญชัยสมรภูมิ |
รองมา | |
หมายเหตุ | พระราชทานเป็นกรรมสิทธิ์ หากผู้สมควรได้รับพระราชทานวายชนม์ไปก่อน ให้ทายาทโดยธรรมรับพระราชทานแทน |
ลักษณะ
ตัวเหรียญ
เหรียญนี้ทำด้วยทองแดงรมดำรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 23 มิลลิเมตร ย่อกลางทั้งสี่ด้าน มุมบนห้อยกับแพรแถบ ด้านหน้าเหรียญมีรูปดังนี้
- ตรงกลางมีจักร หมายถึง ทหารบก
- ตรงกลางหลังจักรมีรูปสมอเรือ หมายถึง ทหารเรือ
- ซ้ายและขวามีปีกนก หมายถึง ทหารอากาศ
- พับอยู่บนแสงดาบเขนและโล่ห์ซึ่ง หมายถึง ตำรวจ
- ตอนบนเป็นรูปครุฑพ่าห์
ด้านหลังมีอักษรจารึกว่า อสาธุ สาธุนา ชิเน แพรแถบกว้าง 34 มิลลิเมตร ลายริ้วจากบนลงล่างเป็นสีแดงขาวสลับกัน ขอบทั้งสองข้างมีริ้วแดง รวม 17 ริ้ว ข้างบนมีเข็มโลหะจารึกอักษรว่า พิทักษ์เสรีชน
ลำดับชั้น
ชั้นที่ 1 มีเครื่องหมายทำด้วยโลหะสีทอง เป็นรูป"ช่อชัยพฤกษ์"ช่อเดียวติดกลางแพรแถบ ถ้าผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 ปฏิบัติการถึงขั้นที่จะได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 อีก ก็จะได้รับพระราชทานเครื่องหมายเป็นรูปช่อ"ชัยพฤกษ์"ช่อเดียวติดเพิ่มกลางแพรแถบในทางดิ่งกับช่อชัยพฤกษ์เดิมทุกครั้ง
ชั้นที่ 2 มี 2 ประเภท คือ
- ประเภทที่ 1 มีเครื่องหมายทำด้วยโลหะสีทอง เป็นรูปขีดประกอบด้วย"เปลวระเบิด"ติดกลางแพรแถบ
- ประเภทที่ 2 ไม่มีเครื่องหมายติดแพรแถบ[5]
การขอพระราชทาน
- ชั้นที่ 1 จะพระราชทานแก่บุคคลผู้ซึ่งได้ปฏิบัติการสู้รบด้วยความกล้าหาญ หรือได้รับบาดเจ็บสาหัส หรือเสียชีวิตในการสู้รบ และการสู้รบนั้นได้ก่อให้เกิดผลดีอย่างยิ่งแก่ประเทศ
- ชั้นที่ 2 มีหลักเกณฑ์การขอพระราชทาน ดังนี้
- ประเภทที่ 1 จะพระราชทานแก่บุคคลผู้ซึ่งได้ปฏิบัติการสู้รบจนได้รับคำชมเชยจากทางราชการ หรือปฏิบัติการเสี่ยงอันตรายจนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต แต่ยังไม่ถึงขั้นที่จะได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1
- ประเภทที่ 2 จะพระราชทานแก่บุคคลซึ่งปฏิบัติการสู้รบเป็นผลดีแก่ประเทศ
ผู้ที่ได้รับพระราชทาน
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1
- พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
- สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
- สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
- สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
- จอมพล ถนอม กิตติขจร
- จอมพล ประภาส จารุเสถียร
- พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์
- พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
- พล.อ. กฤษณ์ สีวะรา
- พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ
- พล.อ. ชัชชม กันหลง
- พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ
- พล.อ. ธีรชัย นาควานิช
- พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ
- พล.อ. บุญชัย บำรุงพงศ์
- พล.อ. ประจวบ สุนทรางกูร
- พล.อ. ปราโมชช์ ถาวรฉันท์
- พล.อ. พิจิตร กุลละวณิชย์
- พล.อ. มานะ รัตนโกเศศ
- พล.อ. ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
- พล.อ. สายหยุด เกิดผล
- พล.อ. สำราญ แพทยกุล
- พล.อ. สุจินดา คราประยูร
- พล.อ. สุนทร คงสมพงษ์
- พล.อ. สุรยุทธ จุลานนท์
- พล.อ. เสริม ณ นคร
- พล.อ. เล็ก แนวมาลี
- พล.อ. อาทิตย์ กำลังเอก
- พล.อ. เทียนชัย สิริสัมพันธ์
- พล.อ. อิสระพงษ์ หนุนภักดี
- พล.อ. หาญ ลีนานนท์
- พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่
- พล.ร.อ. ประพัฒน์ กฤษณจันทร์
- พล.อ.อ. สิทธิ เศวตศิลา
- พล.อ.อ. ทวี จุลละทรัพย์
- พล.อ.อ. ประพันธ์ ธูปะเตมีย์
- พล.อ.อ. เกษตร โรจนิล
- พล.อ.อ. พะเพียง กานตรัตน์
- พล.อ.อ. กมล เดชะตุงคะ
- พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียเวช
- พล.ต.อ. เภา สารสิน
- พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก
- พล.ต.อ. ประมาณ อดิเรกสาร
- ศ. สัญญา ธรรมศักดิ์
- กมล วรรณประภา
- จรูญพันธ์ อิศรากูร ณ อยุธยา
- ชูสง่า ฤทธิประศาสน์
- บุญเท่ง ทองสวัสดิ์
- พิศาล มูลศาสตรสาทร
- พ่วง สุวรรณรัฐ
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1
- พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
- พล.อ. พัลลภ ปิ่นมณี
- พล.อ. ฤทธี อินทราวุธ
- พล.อ. วิทวัส รชตะนนทน์
- พล.อ. เทพพงศ์ ทิพยจันทร์
- พล.อ. อุดมเดช สีตบุตร
- พล.อ. วิวรรธน์ ปฐมภาคย์
- พล.อ.อ. จอม รุ่งสว่าง
- พล.ต.อ. อดุลย์ แสงสิงแก้ว
- พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร
- พ.ต.ต. สงกรานต์ อุดมสิทธิ์
- บุญช่วย ศรีสารคาม
- ประมวล รุจนเสรี
- วีระชัย แนวบุญเนียร
- ร.ศ.(พิเศษ) อดิศร เพียงเกษ
- บุญทรง เตริยาภิรมย์
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2
- จอมพล เกรียงไกร อัตตะนันทน์
- พล.อ. ทรงกิตติ จักกาบาตร์
- พล.อ. บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์
- พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน
- พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา
- พล.อ. เลิศรัตน์ รัตนวานิช
- พล.ร.อ. กำธร พุ่มหิรัญ
- พล.อ.อ. กำธน สินธวานนท์
- พล.อ.อ. อิทธพร ศุภวงศ์
- พล.ต.อ. ปทีป ตันประเสริฐ
- พล.ต.อ. ประเสริฐ รุจิรวงศ์
- พล.ต.อ. พงศพัศ พงษ์เจริญ
- พล.ต.อ. สมเพียร เอกสมญา
- พล.ต.อ. เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์
- พล.ต.อ. วัชรพล ประสารราชกิจ
- พล.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร
- พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง
- พล.ท. สรรเสริญ แก้วกำเนิด
- พล.ต. ขัตติยะ สวัสดิผล
- พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์
- พล.ต. ม.จ.จุลเจิม ยุคล
- พล.อ.ต. เจ้าวัฒนัน ณ ลำพูน
- พ.อ.(พิเศษ) ประจักษ์ สว่างจิต
- พ.อ.(พิเศษ) การุณ เก่งระดมยิง
- น.ต. ประสงค์ สุนศิริ
- น.ต. สุธรรม ระหงษ์
- ร.ท. ม.จ.ภูริพันธ์ ยุคล
- ศ. พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์
- ศ. วิจิตร ศรีสอร้าน
- ศ.(พิเศษ) ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล
- ศ.(เกียรติคุณ) เกริกเกียรติ พิพัฒนเสรีธรรม
- ปลอดประสพ สุรัสวดี
- ม.จ.ทองคำเปลว ทองใหญ่
- จำนงค์ โพธิสาโร
- จุลนภ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
- ชลอ ธรรมศิริ
- ถาวร เสนเนียม
- บัญญัติ บรรทัดฐาน
- ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
- ศักดา โมกขมรรคกุล
- ศักดิ์สยาม ชิดชอบ
- สวัสดิ์ วัฒนายากร
- สุเมธ ตันติเวชกุล
- อรรถ วิสูตรโยธาภิบาล
- อาณัติ บุนนาค
- เสรี หวังในธรรม
- แก้วขวัญ วัชโรทัย
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.