Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จำนงค์ โพธิสาโร เป็นอดีต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์สมัยรัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ[2] ซึ่งเป็นคณะรัฐมนตรีคณะที่ 46 ของไทย และเป็น อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ[3] กับ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ รวม 7 สมัย และได้รับโปรดเกล้าให้ก่อนเข้าสู่อาชีพนักการเมือง นายจำนงค์ โพธิสาโร เป็นอธิบดีกรมป่าไม้[4] ที่สามารถอยู่ในตำแหน่งอธิบดีกรมป่าไม้จนกระทั่งเกษียณอายุราชการ ซึ่งมีอธิบดีกรมป่าไม้น้อยคนที่จะได้เกษียณในตำแหน่งนี้ และเคยเป็นกรรมการบริหารพรรคสามัคคีธรรม[5]
จำนงค์ โพธิสาโร | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467 จังหวัดสงขลา ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 3 เมษายน พ.ศ. 2558 (91 ปี) โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร[1] |
นายจำนงค์ โพธิสาโร เกิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467[6] ที่ตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นบุตรคนที่ 3 ของนายบำรุงและนางชิบ โพธิสาโร ภรรยาชื่อนางนวลนารถ โพธิสาโร มีบุตร 5 คน คือ รศ.ดร.บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์ นางนงนารถ โพธิสาโร นางนงน้อย โพธิสาโร นายณัฏฐวุฒิ โพธิสาโร (ถึงแก่อนิจกรรม) และนายธนโรจน์ โพธิสาโร และในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558 เวลา 13.26 น.ได้ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา ด้วยวัย 91 ปี ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า[7] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2558 ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร
จากพื้นเพที่เป็นคนจังหวัดสงขลา บ้านควนหิน ตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ในวัยเยาว์ นายจำนงค์ โพธิสาโร จึงได้ศึกษาที่โรงเรียนใกล้บ้านจนสำเร็จประโยคประถมศึกษา ต่อจากนั้นจึงไปศึกษาต่อที่โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา จนสำเร็จประโยคมัธยมศึกษาโดยมารดา นางชิบ โพธิสาโร ได้นำไปฝากไว้กับพระเดชพระคุณ พระราชรัตนโมลี อดีตเจ้าคณะจังหวัดสงขลา และอดีตเจ้าอาวาสวัดแหลมทราย ต่อมาได้ไปศึกษาในระดับเตรียมอุดมศึกษาเกษตรศาสตร์แม่โจ้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำเร็จเตรียมอุดมศึกษาเกษตรศาสตร์
เมื่อจบระดับเตรียมอุดมศึกษาได้เข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยวนศาสตร์ แพร่ หรือโรงเรียนการป่าไม้แพร่ เมื่อได้ระดับอนุปริญญาบัตรวนศาสตร์ ได้แต่งงานมีครอบครัว มีโอกาสเรียนต่อในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงจนจบ และศึกษาต่อจนจบระดับปริญญาโท ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำหรับระดับปริญญาเอกนั้น ได้รับปริญญาเทคโนโลยีการเกษตร ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาพืชศาสตร์) สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้
เมื่อจบการศึกษาในระดับอนุปริญญาวนศาสตร์ ได้เป็นลูกจ้างของกรมป่าไม้ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อมาได้สอบบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ชั้นตรี ดำรงตำแหน่งพนักงานป่าไม้ตรี ประจำป่าไม้เขตสุราษฎร์ กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตราธิการ เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2494
ในช่วงเป็นข้าราชการชั้นตรี ได้รับมอบหมายให้ไปประจำปฏิบัติงานที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งป่าไม้เขตนครศรีธรรมราช และรักษาการในตำแหน่งป่าไม้จังหวัดสุราษฎร์ธานีในเวลาต่อมา
ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้เลื่อนเป็นข้าราชการชั้นเอก ตำแหน่งหน้าที่เป็นป่าไม้จังหวัดเอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี และย้ายไปเป็นป่าไม้จังหวัดเอก จังหวัดชลบุรี และจังหวัดหนองคายในเวลาต่อมา
ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2517 ได้ดำรงตำแหน่งป่าไม้เขตเอก สำนักงานป่าไม้แพร่ และในปี พ.ศ. 2518 ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากระบบชั้น (ตรี โท เอก) มาเป็นระดับ (ซี) จึงได้ดำรงตำแหน่งเป็นป่าไม้เขต พนักงานป่าไม้ 6 เขตแพร่
จำนงค์ โพธิสาโร ได้รับการแต่งตั้งเป็นป่าไม้เขต (พนักงานป่าไม้ 7) สำนักงานป่าไม้เขตแพร่ ระดับ 7 ในปี พ.ศ. 2519 เป็นผู้อำนวยการกอง กองจัดการที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ (พนักงานป่าไม้ 7) และเป็นผู้อำนวยการกองจัดการที่ดิน (เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 7) และเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2522 จึงได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการกองจัดการที่ดิน (เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 8)
จำนงค์ โพธิสาโร ได้รับการแต่งตั้งในปี พ.ศ. 2524 เป็นรองอธิบดี (นักบริหาร 9)กรมป่าไม้ และเป็นอธิบดีกรมป่าไม้ ในปี พ.ศ. 2526 จนเกษียณอายุราชการ ในปี พ.ศ. 2528
เมื่อเกษียณจากอายุราชการ นายจำนงค์ โพธิสาโร ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งที่จังหวัดศรีสะเกษ และดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ 7 สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดศรีสะเกษ เขต 3 (อำเภอกันทรลักษ์ ขุนหาญ และกิ่งอำเภอศรีรัตนะ) สังกัดพรรครวมไทย (ต่อมาพรรครวมไทยได้รวมเข้าเป็นพรรคเอกภาพ) ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ สมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี[8]
ในการเลือกตั้งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 จึงได้ย้ายมาสังกัดพรรคสามัคคีธรรม และสมัยสุดท้ายเป็น ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อพรรคไทยรักไทย[9]
นายจำนงค์ โพธิสาโร เป็นผู้ที่มีจิตสาธารณะ ชอบช่วยเหลือสังคม และทำงานบุญงานกุศลเป็นประจำ ดังจะเห็นได้จากการได้รับความไว้วางใจในการทำหน้าที่สำคัญในสังคมในอดีต อาทิเช่น
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.