คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
ศาสตราจารย์พิเศษ หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล (20 ธันวาคม พ.ศ. 2457 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527) อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นโอรสของพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศวโรทัย และหม่อมเพี้ยน เทวกุล ณ อยุธยา (บุนนาค) เกิดที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
Remove ads
Remove ads
ประวัติการศึกษา
ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เข้าเรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ปี พ.ศ. 2468 จบการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ได้เดินทางไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา ด้วยทุนส่วนพระองค์ของสมเด็จพระราชบิดา กรมหลวงสงขลานครินทร์ จนจบมัธยมศึกษาตอนปลาย (High school) ที่โรงเรียนเบลมองต์ฮิล โดยจบใน พ.ศ. 2472
ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ได้รับการดูแลจาก พระยากัลยาณไมตรี (ฟรานซิส บี. แซร์) ซึ่งท่านได้รับการดูแลเป็นอย่างดี และได้รับการส่งเสริมให้ศึกษามุ่งหนักไปทางด้านวิศวกรรมการเกษตร ท่านได้เรียนจนจบปริญญาตรีทางด้านวิศวกรรมการเกษตรจากมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ (University of Maryland) ในปี พ.ศ. 2481
ในขณะที่ท่านเรียนอยู่ที่อเมริกาท่านได้มีโอกาสไปฝึกงานเกี่ยวกับการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรตามฟาร์มต่าง ๆ และดูงานด้านการเกษตรอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมายทำให้ท่านได้รับประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพที่ท่านสนใจ
Remove ads
ผลงาน
สรุป
มุมมอง
ผลงานด้านการประดิษฐ์วิจัยส่วนหนึ่ง
- รถแทรคเตอร์(ควายเหล็ก)
- เครื่องนวดข้าว
- เครื่องสีข้าว
- เครื่องเกี่ยวข้าวและนวดข้าวพร้อมกัน
- รถแทรคเตอร์สำหรับนาดำ
- เครื่องมือดำนาขนาดเล็ก
- เครื่องมือปลูกข้าว
- เครื่องมือพ่นยาฆ่าแมลงแบบลอยตัว
- เครื่องมือเก็บเกี่ยวอย่างอัตโนมัติ
- เครื่องมือลดความชื้นโดยวิธีเยือกแข็ง
- เครื่องสีข้าวกล้องแบบแรงเหวี่ยงสำหรับใช้ในหมู่บ้าน
- เครื่องบินโปรยยาฆ่าแมลง
- เครื่องมือกระเทาะเม็ดละหุ่ง และเม็ดถั่วลิสง
- เครื่องอบข้าวโพด
- เครื่องขูดมันสำปะหลัง
- เครื่องอบซังข้าวโพดให้เป็นแผ่นใช้แทนไม้
- เครื่องหีบฝ้าย
- เครื่องกะเทาะครั่ง
- เครื่องอบมันสำปะหลังเส้น
- ฉางเก็บเม็ดพืชแบบต่าง ๆ
- โรงงานทำมันสำปะหลังอันทันสมัยโรงแรกในเมืองไทย
- น้ำปลาผง
- โรงงานอบข้าวโพด
- ห้องเย็นออกแบบพิเศษสำหรับใส่ปลาทะเลส่งไปสู่ภาคเหนือ
- โรงงานผลิตนมผง
- ผลิตสำลี
- ผลิตไข่ผง
- โรงงานนมผงสวนดุสิต
- โรงงานนมผงหนองโพ
- การทำฝนเทียมในประเทศไทย (โครงการฝนหลวง)
ท่านเป็นคนที่มีอุปนิสัยอ่อนโยน และมีจิตใจที่เข้มแข็ง ทำงานด้วยความอดทนหมั่นเพียร ท่านต้องเสียนิ้วมือซ้ายเพราะถูกเครื่องยนต์ตัดในการทดลองเครื่องเรือหางกุด ต้องหูพิการในการทดลองทำฝนเทียม ต้องตัดม้ามทิ้งตอนปราบตั๊กแตนปาทังก้า นายแพทย์ได้ทำนายว่าท่านน่าจะมีอายุไม่เกิน 5 ปีแต่ท่านก็อยู่เกิน 5 ปี เกินคำทำนายของหมอมาหลายปี
เคล็ดลับแห่งความสำเร็จในการทำงานของท่าน คือ Work ท่านได้บันทึกพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้ในสมุดส่วนตัวเพื่อยึดถือและเตือนใจดังนี้ "ทำด้วยความสุจริตใจ พยายามทำความดีเพื่อส่วนรวม รักษาตัวเองไว้เป็นกลาง ไม่กลัวคำวิจารณ์ ในไม่ช้าความดีจะมาถึงตัว"
ในปี พ.ศ. 2518 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์พิเศษ ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์[1]
Remove ads
ชีวิตครอบครัว
หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล สมรสกับ คุณหญิงเทียงทอง เทวกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ทองเจือ) มีบุตรธิดา 5 คนคือ
- หม่อมหลวงตรีทศยุทธ เทวกุล
- หม่อมหลวงท้าวเทวา เทวกุล
- หม่อมหลวงธิดาเทพ เทวกุล
- หม่อมหลวงเทพนุดี เทวกุล
- หม่อมหลวงจิตติเทวัญ เทวกุล
หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 สิริรวมอายุได้ 70 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2517 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2515 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2516 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[4]
- พ.ศ. 2520 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[5]
- พ.ศ. 2503 –
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขาการเกษตร[6]
- พ.ศ. 2511 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[7]
- พ.ศ. 2512 –
เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[8]
Remove ads
ลำดับสาแหรก
Remove ads
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads