Loading AI tools
อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อรรถ วิสูตรโยธาภิบาล (31 พฤษภาคม 2458 - 22 พฤษภาคม 2547) อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 2 และอดีตอธิบดีกรมที่ดิน คนที่ 19 รวมถึงอดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นผู้คิดวิธีออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก.) โดยใช้รูปถ่ายทางอากาศเป็นระวาง และยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการร่างกฎหมาย คณะกรรมการกฤษฎีกาถึง 5 ครั้ง
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
อรรถ วิสูตรโยธาภิบาล | |
---|---|
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 – 4 มิถุนายน พ.ศ. 2517 | |
ก่อนหน้า | ชำนาญ ยุวบูรณ์ |
ถัดไป | สิริ สันตะบุตร |
ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2495 – พ.ศ. 2497 | |
ก่อนหน้า | ชุณห์ นกแก้ว |
ถัดไป | กำจัด ผาติสุวัณณ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 (88 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | ศาสนาพุทธ |
พรรคการเมือง | พรรคประชาธิปัตย์ (2522 — 2547) |
คู่สมรส | นางยุพิน วิสูตรโยธาภิบาล (เปรมโยธิน) |
บุตร | 4 คน |
นายอรรถ วิสูตรโยธาภิบาล (ชื่อเดิม บุญรอด โพธิวสุ) เกิดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 ที่แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรนาย พันตรีหลวงวิสูตรโยธาภิบาล (บุญมา โพธิวสุ) และนางพิศ เป็นบุตรชายคนเดียว แต่มีน้องต่างมารดา 3 คน คือ ร.ต.อ.จำลอง วิสูตรโยธาภิบาล นายเล็ก วิสูตรโยธาภิบาล และนายวิลาศ วิสูตรโยธาภิบาล นายอรรถได้สมรสกับ นางยุพิน วิสูตรโยธาภิบาล (เปรมโยธิน) และมีบุตรธิดาทั้งหมด 4 คนคือ นายพงศ์อาจ วิสูตรโยธาภิบาล นางพิมพ์ใจ ติปปวงศ์ (สมรสกับ นายสุรพล ติปปวงศ์) นางสาวพนิต วิสูตรโยธาภิบาล และนางกัลยพรรณ วิสูตรโยธาภิบาล (สมรสกับ นายโสตถิกุล คงสวัสดิ์) มีหลานทั้งหมด 5 คน คือ น.ส.อลิสา วิสูตรโยธาภิบาล (สมรสกับ นายนพพร นุชนิยม) น.ส.อณุดา วิสูตรโยธาภิบาล นายอรรถพงศ์ วิสูตรโยธาภิบาล ทั้ง 3 เป็นบุตรธิดานายพงศ์อาจ น.ส.พิรอร ติปปวงศ์ บุตรีนายสุรพลและนางพิมพ์ใจ และนายณุกร วิสูตรโยธาภิบาล บุตรนางกัลยพรรณ นายวิลาศ วิสูตรโยธาภิบาล ได้สมรสกับ นางสำราญ แก้วเปี้ย มีบุตรชาย ชื่อนาย วิชชุราช วิสูตรโยธาภิบาล
นายอรรถ วิสูตรโยธาภิบาล เริ่มรับราชการวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2477 เป็น อักษรเลข (เลขานุการผู้ว่าราชการจังหวัด) จังหวัดลำพูน จากนั้นก็ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น ปลัดอำเภอเมืองจังหวัดลำพูน ในปี พ.ศ. 2479 ปลัดอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2480 และเป็น นายอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2484 พอถึงปลายปี พ.ศ. 2489 นายอรรถ ได้ย้ายกลับมากรุงเทพฯและรับตำแหน่ง หัวหน้าแผนกทะเบียน กองการปกครอง กรมมหาดไทย ในอีก 5 ปีต่อมา นายอรรถ ได้เลื่อนเป็น ข้าหลวงตรวจการกรมมหาดไทย ถัดมาในปี พ.ศ. 2495 รับราชการเป็นข้าหลวงประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รับตำแหน่งอยู่แค่ 6 เดือน ก็ถูกย้ายให้ไปรับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคายแทน ตำรงตำแหน่งครบ 2 ปี ก็กลับกรุงเทพฯ รับตำแหน่งเป็น หัวหน้ากองทะเบียน กรมมหาดไทยเหมือนเดิม
จากนั้น นายอรรถ ได้รับเลื่อนตำแหน่งเรื่อยมา จนกระทั่งเป็น รองอธิบดีกรมการปกครอง ในปี พ.ศ. 2505 และรับตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2511 ทำอยู่ได้ 1 ปีเต็ม ก็ได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นอธิบดีกรมที่ดินเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2512 จาก จอมพลประภาส จารุเสถียร ซื่งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในตอนนั้น
นายอรรถ วิสูตรโยธาภิบาล ได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 รักษาการจนถึงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2517 และได้กลับไปรับตำแหน่งอธิบดีกรมที่ดินเหมือนเดิม จนกระทั่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ 1 ปี เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2517 อย่างไรก็ตาม นายอรรถ ก็ยังทำงานอยู่ โดยได้รับตำแหน่งหน้าที่ต่างๆทางรัฐสภาและราชการพิเศษอื่นๆ เขาเคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[1]
ในขณะที่ นายอรรถ รับราชการประจำอยู่นั้น ก็มีตำแหน่งหน้าที่ทางรัฐสภาเช่นกัน
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.