Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เป็นบริษัทธุรกิจค้าปลีกและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ปัจจุบันเป็นเจ้าของและบริหารกิจการศูนย์การค้า ได้แก่ สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ สยามพารากอน ไอคอนสยาม และสยาม พรีเมียม เอาท์เล็ต[1][2]
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
SIAM PIWAT | |
อุตสาหกรรม | ธุรกิจค้าปลีก อสังหาริมทรัพย์ |
---|---|
ก่อตั้ง | 10 มกราคม พ.ศ. 2502 (ในชื่อ "บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอล โฮเต็ลส") 28 มกราคม พ.ศ. 2546 (เปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบัน) |
ผู้ก่อตั้ง | พลเอกเฉลิมชัย จารุวัสตร์ |
สำนักงานใหญ่ | 989 อาคารสำนักงานสยามพิวรรธน์ทาวเวอร์ ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน, , |
บุคลากรหลัก | ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ (ประธาน ชฎาทิพ จูตระกูล (CEO กลุ่ม) |
บริษัทแม่ | เอ็ม บี เค กรุ๊ป |
เว็บไซต์ | www |
บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ก่อตั้งโดย พลเอก เฉลิมชัย จารุวัสตร์ ในชื่อ บริษัท บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอล โฮเต็ลส จำกัด เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2502 เพื่อบริหารและพัฒนาที่ดินจำนวน 50 ไร่ บริเวณพื้นที่ฝั่งเหนือของย่านสยาม ริมถนนพระรามที่ 1 ฝั่งขาออก เพื่อก่อสร้างโรงแรมห้าดาวระดับนานาชาติแห่งแรกของไทย คือ โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล[3] โดยเริ่มแรกจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นมองเห็นถึงประโยชน์ทางการท่องเที่ยวจากการเข้ามาสร้างโรงแรมของกลุ่มทุนต่างชาติ จึงอนุมัติเงินทุนจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รวมถึงทุนจากสถาบันการเงินขนาดใหญ่ในประเทศ เพื่อลงทุนในบริษัทดังกล่าว[4] ต่อมา ชฎาทิพ จูตระกูล บุตรสาวของพลเอกเฉลิมชัย ได้รับช่วงต่อจากบิดาในการบริหารบริษัท
เมื่อโรงแรมดังกล่าวดำเนินการมาครบ 30 ปี บริษัทได้ดำริที่จะสร้างศูนย์การค้าใหม่ในพื้นที่ดังกล่าว จึงได้ยุติการดำเนินกิจการโรงแรมเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2545 หลังจากนั้นจึงดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเดิมทั้งหมด และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น "บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด" ซึ่งเป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2546 โดยพื้นที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของศูนย์การค้าสยามพารากอน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 สยามพิวรรธน์ได้รวมตัวกับกลุ่มธุรกิจสยามสแควร์ และบริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งสมาคมการค้าพลังสยามขึ้น เพื่อพัฒนาศูนย์การค้าในย่านสยามให้เป็นย่านค้าปลีกระดับโลก[5][6] โดยสยามพิวรรธน์ได้รับงบประมาณจากสมาคมฯ จำนวน 4,300 ล้านบาท สำหรับการปรับปรุงศูนย์การค้ากลุ่มวันสยาม เช่น ปรับปรุงสยามดิสคัฟเวอรี[7][8] ปรับปรุงร้านอาหารในสยามพารากอน[9]
ตามข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ผู้ถือหุ้นของสยามพิวรรธน์ ประกอบด้วย บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นใหญ่สุด 47.9771% กลุ่มบุคคลไม่เปิดเผยนาม 24.8523% ธนาคารกรุงเทพ 5.1943% ธนาคารกสิกรไทย 5.0969% นอกนั้นเป็นผู้ถือหุ้นรายอื่น ๆ[10] และยังมีงานวิจัยบางชิ้นที่ระบุว่า สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นของบริษัท[11]
เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2567 สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า สยามพิวรรธน์เตรียมทำการระดมทุนสาธารณะในรูปแบบการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน (IPO) ในช่วงปลายปีเดียวกัน ซึ่งบริษัทมีเป้าหมายระดมทุนให้ได้ 500–750 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1.8–2.7 พันล้านบาท เพื่อขยายธุรกิจในประเทศไทยและทวีปเอเชีย ซึ่งอาจรวมถึงการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ หากการระดมทุนเป็นไปตามเป้าหมาย จะเป็นการทำ IPO ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่การทำ IPO ของไทยประกันชีวิต ที่สามารถทำ IPO ได้ด้วยมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อสองปีก่อนหน้า[12][13]
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
ในปี พ.ศ. 2561 สยามพิวรรธน์ได้เปิดตัวเครื่องหมายการค้า "วันสยาม" สำหรับเรียกกลุ่มธุรกิจศูนย์การค้าและอาคารสำนักงานของบริษัทที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของพื้นที่ย่านสยาม ถนนพระรามที่ 1 เขตปทุมวัน ซึ่งได้ทำการเช่าที่ดินจากวังสระปทุม โดยประกอบด้วยศูนย์การค้าดังนี้
อาคารสำนักงานสยามพิวรรธน์ทาวเวอร์ เป็นอาคารสำนักงานสูง 30 ชั้น เชื่อมต่อกับอาคารสยามดิสคัฟเวอรี และอาคารจอดรถสยาม นอกจากเป็นที่ตั้งสำนักงานบริษัทแล้ว ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) อีกด้วย
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.