คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

ธนาคารกสิกรไทย

สถาบันการเงินในประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธนาคารกสิกรไทย
Remove ads

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Kasikornbank Public Company Limited; SET:KBANK) เป็นธนาคารในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2488 โดยตระกูลล่ำซำ มีสาขา 800 สาขา และตู้เอทีเอ็ม 8,000 เครื่อง

ข้อมูลเบื้องต้น ประเภท, การซื้อขาย ...
Remove ads

ธนาคารกสิกรไทยมีสำนักงานใหญ่แห่งแรกตั้งอยู่ที่ถนนเสือป่า ต่อมาเมื่อกิจการมีความก้าวหน้ามากขึ้น จึงได้ขยายการบริหารงานและย้ายสำนักงานใหญ่ไปยังสำนักสีลมใน พ.ศ. 2510 สำนักพหลโยธินใน พ.ศ. 2526 และสำนักราษฎร์บูรณะ ใน พ.ศ. 2538 ก่อนจะย้ายสำนักงานใหญ่จากอาคารราษฎร์บูรณะ กลับมายังถนนพหลโยธินใน พ.ศ. 2564 ถึงปัจจุบัน

Remove ads

ประวัติ

สรุป
มุมมอง
Thumb
เครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติของธนาคารกสิกรไทย

ธนาคารกสิกรไทย (Thai Farmers Bank; TFB) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2488 โดยตระกูลล่ำซำ ทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 5 ล้านบาท โดยมีพนักงานชุดแรก จำนวน 21 คน มีอาคารที่ทำการ ซึ่งปัจจุบันเป็นสาขาสำนักถนนเสือป่า ทั้งนี้ งวดบัญชีแรกของธนาคารฯ นับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม สิ้นปีเดียวกัน มียอดเงินฝากจำนวน 12 ล้านบาท และธนาคารฯ มีสินทรัพย์รวม 15 ล้านบาท ต่อมาธนาคารฯได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 และธนาคารฯได้จดทะเบียนแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 จนถึงปัจจุบัน[3]

ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557 มีทุนจดทะเบียน 30,486 ล้านบาท มีสินทรัพย์จำนวน 2,339,798 ล้านบาท เงินรับฝากจำนวน 1,567,499 ล้านบาท เงินให้สินเชื่อจำนวน 1,471,922 ล้านบาท มีสาขาและสำนักงานย่อยในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 315 สาขา และส่วนภูมิภาคจำนวน 739 สาขา มีสาขาและสำนักงานตัวแทนต่างประเทศจำนวน 11 แห่ง ได้แก่ สาขาลอสแอนเจลิส สาขาฮ่องกง สาขาหมู่เกาะเคย์แมน สาขาเซินเจิ้น สาขาเฉิงตู สาขาย่อยหลงกั่ง สำนักงานผู้แทนกรุงปักกิ่ง สำนักงานผู้แทนนครเซี่ยงไฮ้ สำนักงานผู้แทนเมืองคุนหมิง สำนักผู้แทนงานกรุงโตเกียว และสำนักงานผู้แทนย่างกุ้ง สาขาและสำนักงานผู้แทนในต่างประเทศเหล่านี้ ให้บริการและส่งเสริมความสะดวกต่าง ๆ ด้านการค้า การเงินระหว่างประเทศไทยและประเทศคู่ค้าทั่วโลก[4]

ต่อมาในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2561 ธนาคารกสิกรไทยร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดตัวบัตรเครดิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - กสิกรไทย เป็นบัตรเครดิตที่เจาะกลุ่มคณาจารย์นักศึกษา ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นครั้งแรกในประเทศไทย[5]

ณ วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ธนาคารกสิกรไทย มีจำนวนสาขาทั้งสิ้น 808 สาขา มากเป็นอันดับที่ 3 รองจากธนาคารกรุงไทย และธนาคารกรุงเทพตามลำดับ[6] และมีตู้เอทีเอ็มกว่า 8,000 เครื่องทั่วประเทศ มากเป็นอันดับที่ 3 รองจากธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงเทพตามลำดับ

วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ธนาคารออก บัตรเครดิตกสิกรไทย ร่วมกับ ดูโฮม

วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2568 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด แต่งตั้งนายวจนะ วงศ์ศุภสวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ

Remove ads

วิวัฒนาการ

  • พ.ศ. 2516 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตอเนกประสงค์" ที่ให้บริการถอนเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งเป็นต้นแบบของระบบเอทีเอ็ม อันเป็นที่นิยมอย่างสูงในปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2523 - ธนาคารฯ เริ่มออกใบรับฝากเงิน ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Certificate of Deposits) ในตลาดการเงินของกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นมูลค่า 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของไทย ที่ดำเนินการดังกล่าว
  • พ.ศ. 2536 - ธนาคารฯ เริ่มนำระบบ "รีเอ็นจิเนียริ่ง" (Reengineering) มาใช้เป็นแห่งแรก ซึ่งส่งผลให้วงการธนาคารพาณิชย์ไทยตื่นตัว กับการปรับปรุงรูปแบบสาขาและการให้บริการ และธนาคารฯ ได้จดทะเบียนแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน ใช้ชื่อว่า "ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)" เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ปีเดียวกัน
  • พ.ศ. 2540 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตสำหรับนิติบุคคล" (Corporate Card) เป็นแห่งแรกในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2541 - ธนาคารฯ เริ่มเสนอขาย "หุ้นบุริมสิทธิ" ควบ "หุ้นกู้ด้อยสิทธิ์" (SLIPs) ซึ่งเป็นการระดมทุนรูปแบบใหม่ ขึ้นเป็นรายแรกของประเทศไทย จนกระทั่งต่อมาจึงกลายเป็นแนวทางให้ธนาคารอื่นใช้เป็นวิธีระดมทุน
  • พ.ศ. 2542 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตวีซ่าแพลทินัม" เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2544 - สำนักงานกสิกรไทยในนิวยอร์ก ถล่มเนื่องจากสาขาอยู่ในอาคารเวลิด์เทรดเช็นเตอร์ที่ถล่ม
  • พ.ศ. 2546 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "ร้านกาแฟภายในสาขา" (Coffee Banking) เป็นแห่งแรกของทวีปเอเชีย โดยความร่วมมือกับสตาร์บัคส์ โดยเริ่มต้นที่สาขาอาคารสมัชชาวานิช 2 (สุขุมวิท 33) เป็นแห่งแรก[7]
  • พ.ศ. 2546 - ธนาคารฯ เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษจาก Thai Farmers Bank (TFB) เป็น Kasikornbank (KBank) โดยมีชื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อย่างเป็นทางการว่า Kasikornbank Public Company Limited
  • พ.ศ. 2548 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรเครดิตติดชิพอัจฉริยะ" ซึ่งเป็นมาตรฐานของบัตรเครดิตยุคใหม่ และเริ่มดำเนินธุรกิจ ภายใต้ระบบ "เครือธนาคารกสิกรไทย" ซึ่งประกอบด้วย ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), บริษัท แฟคเตอริ่งกสิกรไทย จำกัด, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด, บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด, บริษัท หลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ลีสซิ่งกสิกรไทย จำกัด รวมทั้งสิ้น 6 บริษัท
  • พ.ศ. 2549 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "บัตรชิพเครดิตมาสเตอร์การ์ด" (Master Credit Chip Card) เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2550 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "K Now" เพื่อให้คำปรึกษา และสร้างองค์ความรู้ต่าง ๆ แก่ลูกค้าทุกระดับ อันเป็นการเพิ่มความสะดวก สบาย และสมบูรณ์ แก่กลุ่มลูกค้าส่วนบุคคล และกลุ่มลูกค้าธุรกิจ ให้สามารถมีธุรกิจที่เติบโต แข็งแกร่ง ก้าวหน้า อย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน
  • พ.ศ. 2551 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "KBank Extra Hour" โดยขยายเวลาทำการ ในสาขาที่มีสัญลักษณ์ของบริการฯ ในวันจันทร์-วันพฤหัสบดี ระหว่างเวลา 08.30 - 16.30 น. และ วันศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30-18.00 น. จึงนับเป็นธนาคารพาณิชย์ของไทย ที่เปิดทำการจนถึงเวลา 18.00 น. เป็นแห่งแรกของประเทศไทย (ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552)
  • พ.ศ. 2552 - ธนาคารฯ เริ่มให้บริการ "K-My Debit Card" บัตรเดบิตที่ออกแบบเองได้ เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2553 - ธนาคารฯ ขยายเวลาทำการ แผนกซื้อขายเงินตราต่างประเทศ จนถึงเวลา 23.00 น. เป็นแห่งแรกของประเทศไทย (จากเดิมเปิดทำการถึงเวลา 17.00 น.) และเริ่มให้บริการ "ฝากได้ทุกเรื่องกับ KBank" เพื่อรับดูแลทางการเงิน, จัดการปัญหาการเงิน, ดูแลธุรกิจตั้งแต่เริ่มต้นกิจการ, แนะนำวิธีประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ, ช่วยค้นหาข้อมูลผ่านเครือข่ายทางธุรกิจ, ช่วยวางแผนการท่องเที่ยว, ช่วยดูแลทุกเรื่องภายในบ้าน ตลอดจนช่วยจัดการสารพัดเรื่องราวให้แก่ลูกค้า
  • พ.ศ. 2554 - ธนาคารฯ ร่วมกับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ให้บริการโอนเงินรับปลายทางที่ไปรษณีย์จากกสิกรไทย หรือ K-Bank to Post เป็นช่องทางใหม่ที่จะทำให้ลูกค้าสามารถโอนเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็มของธนาคารกสิกรไทย โดยผู้รับเงินสามารถรับเงินได้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วประเทศ เป็นธนาคารเดียวในประเทศที่ประกาศโอนเงินไปต่างประเทศได้ภายในวันเดียว
  • พ.ศ. 2555 - ธนาคารฯ ออกบัตรเดบิต Limited Edition การ์ตูนคาแรคเตอร์ ทั้ง Paul Frank, Angry Birds, Hello Kitty และการ์ตูนแอนนิเมชั่นไทย "ยักษ์" และเป็นธนาคารฯ แรกที่ให้บริการโอนเงินสำหรับชาวพม่า
  • พ.ศ. 2555 ธนาคารฯ เปลี่ยนชื่อภาษาจีน เป็น 開泰銀行
  • พ.ศ. 2556 - เปิดสาขาที่สองในจีนที่เมืองเฉิงตู
  • พ.ศ. 2557 - เปิดตัวธนาคารท้องถิ่นจดทะเบียนใน สปป.ลาว ถือเป็นธนาคารไทยเต็มรูปแบบแห่งแรกที่ได้รับการจดทะเบียนใน สปป.ลาว
  • พ.ศ. 2558 - ธนาคารมีการปิดปรับปรุงระบบครั้งใหญ่ในช่วงวันที่ 17-19 กรกฎาคม[8] ซึ่งส่งผลให้ลูกค้าที่เปิดบัญชีหลังวันที่ 18 กรกฎาคม จะได้รับเลขที่บัญชีแบบใหม่ ซึ่งเลขจะเรียงต่อเนื่องกันทั้งประเทศ ตามลำดับการเปิดบัญชีก่อน-หลัง โดยไม่คำนึงถึงสาขาที่เปิดบัญชีและประเภทบัญชี
  • พ.ศ. 2559 - เปิดตัวระบบพร้อมเพย์[9][10][11]
  • พ.ศ. 2561 - เปิดตัวแอปพลิเคชัน K PLUS โฉมใหม่ เปิดตัวระบบถอนเงินไม่ใช้บัตร[12]
  • พ.ศ. 2562 - ธนาคารฯ ออกบัตรเดบิต BLACKPINK กสิกรไทย โดยการร่วมมือกับวงแบล็กพิงก์ ศิลปิน K-Pop ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดแห่งยุค และได้รับการตอบรับจากลูกค้าอย่างถล่มทลาย[13]
  • พ.ศ. 2563 - ธนาคารฯ แต่งตั้งคุณขัตติยา อินทรวิชัย เป็น CEO หญิงคนแรกของธนาคาร[14]
  • พ.ศ. 2564 - ธนาคารฯ ย้ายที่ทำการสำนักงานใหญ่จากอาคารราษฎร์บูรณะกลับมายังอาคารพหลโยธิน[15]
Remove ads

คณะกรรมการธนาคาร

ข้อมูลเพิ่มเติม ลำดับที่, รายชื่อ ...

รายพระนามและชื่อประธานกรรมการ

  1. พลตำรวจตรี พระยาคทาธรบดีสีหราชบาลเมือง (เทียบ อัศวรักษ์) (พ.ศ. 2488-2493)
  2. หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ กิติยากร (พ.ศ. 2494-2499)
  3. พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ (พ.ศ. 2499-2506)
  4. พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ (สิทธิ จุณณานนท์) (พ.ศ. 2506-2512)
  5. พลเรือตรี ชลี สินธุโสภณ (พ.ศ. 2512-2515)
  6. ท่านผู้หญิงไสว จารุเสถียร (พ.ศ. 2515-2519)
  7. นายบัญชา ล่ำซำ (พ.ศ. 2519-2534)
  8. คุณหญิงชัชนี จาติกวณิช (พ.ศ. 2534-2538)
  9. พลอากาศเอก เกรียงไกร สินธวานนท์ (พ.ศ. 2538-2542)
  10. พลเอก ฉลองชัย แย้มสระโส (พ.ศ. 2542-2547)
  11. ท่านผู้หญิงถวิกา สารสิน (พ.ศ. 2547-2552)
  12. นายอดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจ (พ.ศ. 2552-2556)
  13. นายบัณฑูร ล่ำซำ (พ.ศ. 2556-2563)
  14. นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร (พ.ศ. 2563-ปัจจุบัน)
Remove ads

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

ข้อมูล ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2568[16]
ข้อมูลเพิ่มเติม ลำดับที่, รายชื่อผู้ถือหุ้น ...
Remove ads

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

Loading content...

แหล่งข้อมูลอื่น

Loading content...
Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Remove ads