คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

กลุ่มเดอะมอลล์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กลุ่มเดอะมอลล์
Remove ads

บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด (อังกฤษ: The Mall Group Company Limited) หรือ กลุ่มเดอะมอลล์ เป็นกลุ่มบริษัทธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย ผู้ดำเนินกิจการห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์, ย่านการค้าดิ เอ็ม ดิสทริค, ศูนย์การค้าสยามพารากอน

ข้อมูลเบื้องต้น อุตสาหกรรม, ก่อตั้ง ...
Remove ads

ประวัติ

สรุป
มุมมอง

บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ได้เริ่มดำเนินการศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าจากเดิมที่ครอบครัวทำธุรกิจอาบอบนวด โดยเปิดสาขาแรกเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2524 คือ เดอะมอลล์ สาขาราชดำริ แต่ก็ต้องปิดตัวไปในปี พ.ศ. 2531 เนื่องจากขาดทุน ไม่มีค่าเช่าห้าง ศุภลักษณ์ อัมพุช วิเคราะห์ปัญหาว่า ปัญหาของเดอะมอลล์ ราชดำริ เกิดจาก มีที่จอดรถไม่ดีและสถานที่ห้างเล็กไป บันไดเลื่อนวางไม่ดี ทางเข้าแคบไป แม้ทางเข้าจะมีคนเข้าออกมากมาย มีโฆษณาที่ดี คอนเซปต์ที่ดี ออกแบบร้านที่ดูดี มีสินค้าดี แต่ก็ขาดทุน ประกอบกับเกิดเหตุไฟไหม้อาคาร ภายหลังได้ให้ บริษัท นารายณ์ภัณฑ์พาวิลเลี่ยน จำกัด เช่าพื้นที่เป็นศูนย์ศิลปหัตถกรรมไทย กรกระทั่งหมดสัญญา ปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าว คือเกสรทาวเวอร์ จากนั้นอีกสองปีต่อมา บริษัทฯ ได้เปิดบริการสาขารามคำแหง 2 และในอีกสองปีหลังจากนั้นได้เปิดบริการเดอะมอลล์ 3 และเดอะมอลล์ 4 ปัจจุบันเดอะมอลล์ 4 ได้ปิดตัวลง

ต่อมาใน พ.ศ. 2532 เดอะมอลล์ได้เปิดสาขาท่าพระ ซึ่งมีสวนน้ำภายในศูนย์การค้าเป็นแห่งแรกของไทย โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากธนาคารกรุงเทพ[1] แต่ปิดปรับปรุงครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2550 เพราะเจอเสาร้าวและทรุดตัว 5 ต้น และยกเลิกสวนน้ำ มาเป็นโรงหนังและฟิตเนสแทน และใน พ.ศ. 2534 ก็ได้เปิดสาขางามวงศ์วาน และได้เปิดสาขาบางแค และบางกะปิพร้อมกันในวันเดียวกันเป็นครั้งแรกของประเทศใน พ.ศ. 2537 ซึ่งทั้งสองสาขาเป็นสาขาขนาดใหญ่ มีสวนน้ำแฟนตาเซียลากูน และเดอะมอลล์ คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ หรือเอ็มซีซี ฮอลล์ ตั้งอยู่ภายในด้วย

จากนั้นในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 กลุ่มเดอะมอลล์ได้เปิดตัวโครงการ ดิ เอ็มโพเรียม ศูนย์การค้าระดับสูงแห่งแรกของบริษัท บริเวณถนนสุขุมวิท[2] ท่ามกลางวิกฤตต้มยำกุ้งในขณะนั้น และในปี พ.ศ. 2543 เดอะมอลล์ได้เปิดตัวสาขานครราชสีมา ซึ่งก็ได้รับผลจากพิษเศรษฐกิจเช่นกัน ทำให้นับตั้งแต่นั้น เดอะมอลล์ต้องหยุดขยายโครงการไปนานถึง 6 ปี

ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้เปิดให้เอกชนเข้าร่วมประมูลพื้นที่ และอาคารศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ (เซ็นทรัลเวิลด์ในปัจจุบัน) ซึ่งปรากฏว่ากลุ่มเดอะมอลล์และกลุ่มเซ็นทรัลต่างเข้าร่วมประมูล โดยกลุ่มเซ็นทรัลได้เสนอผลตอบแทนที่สูงกว่า จึงทำให้บริษัทหันไปร่วมลงทุนกับสยามพิวรรธน์ในการก่อสร้าง สยามพารากอน ศูนย์การค้าระดับบนขนาดใหญ่ ซึ่งเปิดดำเนินการในปี พ.ศ. 2548 หลังจากนั้นกลุ่มเดอะมอลล์ก็ได้หยุดการขยายโครงการเป็นระยะเวลานาน

ในปี พ.ศ. 2556 กลุ่มเดอะมอลล์ได้จัดงาน "The Overture to the New Era of The Mall Group" เพื่อแถลงข่าวประกาศโครงการสำคัญ ได้แก่ การปรับปรุงใหญ่ของศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรียม รวมถึงโครงการส่วนต่อขยายศูนย์การค้าดิ เอ็มโพเรียม ได้แก่ ดิ เอ็มควอเทียร์ และดิ เอ็มสเฟียร์ ภายใต้ชื่อ ดิ เอ็มดิสทริค บนถนนสุขุมวิทตอนกลาง การเปิดตัวศูนย์การค้าบลูพอร์ต ศูนย์การค้าจังหวัดภูมิภาคแห่งที่สองของกลุ่ม รวมถึงศูนย์การค้า แบงค็อก มอลล์ บนพื้นที่ 100 ไร่ติดแยกบางนา กับถนนบางนา-ตราด และศูนย์การค้าบลูเพิร์ล บนพื้นที่ 150 ไร่ในจังหวัดภูเก็ตอีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2557 กลุ่มเดอะมอลล์ได้ดำเนินการปรับปรุงเอ็มโพเรียมครั้งใหญ่ เพื่อรับการเปิดให้บริการของเอ็มควอเทียร์ ต่อมาในวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 กลุ่มเดอะมอลล์ได้เปิดตัวโครงการ ดิ เอ็มควอเทียร์

ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 กลุ่มเดอะมอลล์ได้เปิดตัวโครงการ บลูพอร์ต

ในปี พ.ศ. 2563 ได้มีการปรับปรุงเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน เป็นเอ็ม ไลฟ์สโตร์ ต่อมาสาขาท่าพระ ก็ได้มีการปรับปรุงเช่นกันในปีถัดไป

ในปี พ.ศ. 2565 กลุ่มเดอะมอลล์ได้ดำเนินการปรับปรุงเอ็มโพเรียมครั้งใหญ่พร้อมกับเอ็มควอเทียร์ เพื่อรับการเปิดให้บริการของเอ็มสเฟียร์ ต่อมาในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566 กลุ่มเดอะมอลล์ได้เปิดตัวโครงการ ดิ เอ็มสเฟียร์

ในปี พ.ศ. 2566 ได้มีการปรับปรุงเดอะมอลล์ บางกะปิ เป็นเอ็ม ไลฟ์สโตร์ ต่อมาสาขาบางแค ก็ได้มีการปรับปรุงเช่นกันในปีถัดไป ทั้งนี้ กลุ่มเดอะมอลล์มีกำหนดปรับปรุงสาขาโคราชและก่อสร้างใหม่ที่สาขารามคำแหง 2 พร้อมกันในลำดับถัดไป

Remove ads

กลุ่มธุรกิจของบริษัท

สรุป
มุมมอง

ธุรกิจศูนย์การค้า

ศูนย์การค้าในปัจจุบัน

ข้อมูลเพิ่มเติม สาขา, วันที่เริ่มเปิดบริการ ...
  • สกายพอร์ต - เปิดทำการเมื่อ พ.ศ. 2548 ตั้งอยู่ภายในอาคารผู้โดยสาร 2 (ในประเทศ) ท่าอากาศยานดอนเมือง เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร พื้นที่ทั้งหมด 2,700 ตร.ม. โดยได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ประกอบการโครงการบริหารกิจกรรมเชิงพาณิชย์ประเภทสินค้า บริการ และประเภทอาหาร เครื่องดื่ม จากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) อายุสัญญา 17 ปี

ศูนย์การค้าที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง

ข้อมูลเพิ่มเติม สาขา, วันที่เริ่มเปิดบริการ ...

ธุรกิจห้างสรรพสินค้า

ข้อมูลเพิ่มเติม สาขา, วันที่เริ่มเปิดบริการ ...

ธุรกิจร้านสินค้าจำเพาะ

  • บิวตี้ ฮอลล์
  • สปอร์ตสมอลล์
  • บีเทรนด์
  • เพาเวอร์มอลล์
  • เอ็ม คิวเรเต็ด เอาท์เล็ต
    • สยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต แบงค็อก

ธุรกิจนำเข้าสินค้าแฟชัน

ดำเนินการในนามหน่วยธุรกิจ เอ็ม คิวเรเต็ด

  • สไตล์นันดา
  • บีมส์
  • อนาเธอร์ สตอรี
  • อนาเธอร์ แมน สตอรี
Remove ads

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Loading content...
Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Remove ads