คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
แฟชั่นไอส์แลนด์
ศูนย์การค้าในเขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
แฟชั่นไอส์แลนด์ (อังกฤษ: Fashion Island) และ เดอะพรอมานาด (อังกฤษ: The Promenade) เป็นโครงการพัฒนาศูนย์การค้าขนาดใหญ่ริมถนนรามอินทรากิโลเมตรที่ 10 ในพื้นที่เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร บริหารงานโดยบริษัท สยาม รีเทล ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
Remove ads
Remove ads
การจัดสรรพื้นที่
สรุป
มุมมอง

แฟชั่นไอส์แลนด์ ออกแบบอาคารในท้องเรื่อง "สถานีกลาง" (Grand Station) โดยแบ่งพื้นที่ภายในออกเป็นสถานีต่าง ๆ และเดอะพรอมานาด ออกแบบอาคารในท้องเรื่อง "หมู่บ้านอังกฤษ" (English Village) เน้นสถาปัตยกรรมแบบอังกฤษร่วมสมัย โดยมีพื้นที่สำคัญดังนี้
แฟชั่นไอส์แลนด์
- เซ็นทรัล เดอะสโตร์ แอท แฟชั่นไอส์แลนด์ และร้านค้าในกลุ่มเซ็นทรัล
- ท็อปส์
- บีทูเอส
- ซูเปอร์สปอร์ต
- ซูเปอร์สปอร์ต แฟคทอรี เอาท์เล็ต
- เพาเวอร์บาย
- ออฟฟิศเมท
- บิ๊กซี สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์
- ดอง ดอง ดองกิ
- โฮมโปร สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์ อาคารบี (ย้ายมาจากอาคารศูนย์การค้าเดิม)
- เดอะเพาเวอร์ บาย โฮมโปร
- ไบค์ เอ็กซ์เพรส
- สปอร์ตเวิลด์
- ศูนย์อาหารฟู้ด ไอส์แลนด์
- สวนสนุก ฮาร์เบอร์แลนด์
- เดอะริงก์ ไอซ์ สเก็ต
- โรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ จำนวน 7 โรงภาพยนตร์
- ศูนย์ประชุมไอส์แลนด์ ฮอลล์
เดอะพรอมานาด
- กูร์เมต์ มาร์เก็ต
- บีทูเอส
- พรอม การ์เดน
- พรอม มาร์เก็ต
- สถานออกกำลังกายฟิตเนส เฟิร์สท์
- คิดส์ซูนา
- โรงภาพยนตร์พรอมานาด ซีนีเพล็กซ์ ในเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป จำนวน 8 โรงภาพยนตร์ ในจำนวนนี้มีโรงภาพยนตร์ GLS (Giant Laser Screen) และคิดส์ซีนีมา อย่างละ 1 โรง
พื้นที่จัดสรรในอดีต
- ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์ (เดิมตั้งอยู่ฝั่งขวาของอาคาร ปิดกิจการเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2543 เพื่อปรับปรุงเป็น บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์) แต่กลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งแทนโรบินสันเดิม ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566
- โรงภาพยนตร์อีจีวี สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์ (ปรับปรุงเป็น เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ แฟชั่นไอส์แลนด์)
- ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์ (ปิดกิจการเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 เพื่อปรับปรุงเป็นห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล)
Remove ads
การคมนาคม

- รถไฟฟ้าสายสีชมพู: สถานีวงแหวนรามอินทรา
- รถโดยสารประจำทาง
- 26(1-36) มีนบุรี - บางเขน - หมอชิต 2
- 26A(1-77) มีนบุรี - คลองเตย
- 26E(1-35E) มีนบุรี - ทางด่วน - อนุสาวรีย์ชัย
- 60(1-36) สวนสยาม - MRT สนามไชย
- 71(1-39) สวนสยาม - คลองเตย
- 96(1-42) มีนบุรี - ลาดพร้าว - หมอชิต 2
- 150(1-15) ปากเกร็ด - มีนบุรี
- 197(1-52) (วงกลม) มีนบุรี - หทัยราษฎร์
- 520(1-68) มีนบุรี - รังสิต (- ตลาดไท)
- 559(S3) รังสิต - ทางด่วน - สนามบินสุวรรณภูมิ
- 1-62 มีนบุรี - กระทรวงพาณิชย์
- 1-64 (วงกลม) ซาฟารีเวิลด์ - นวลจันทร์
- 1-80E(60E) สวนสยาม - ทางด่วน - MRT สนามไชย
- 3-32 สำโรง - สวนสยาม
- รถตู้โดยสาร
- ต.15A มีนบุรี - เดอะมอลล์งามวงศ์วาน
- ต.15B มีนบุรี - แคราย
- ต.15C มีนบุรี - จตุจักร
- ต.22 มีนบุรี - ปากเกร็ด
- ต.39 มีนบุรี - เมเจอร์รังสิต
Remove ads
เหตุเพลิงไหม้รถลอยฟ้า พ.ศ. 2545
รถลอยฟ้าในสวนสนุกแฟชั่นไอส์แลนด์[1] หรือ รถไฟลอยฟ้า คือโมโนเรลแบบแขวนซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องเล่นภายในสวนสนุกภายในแฟชั่นไอส์แลนด์ซึ่งเคยเปิดให้บริการในอดีต[2][1][3] ดูแลโดยบริษัท เมจิคเวิลด์ จำกัด[1] ความยาว 1.4 กิโลเมตร และมี 4 สถานี[4] โดยขบวนรถจะเคลื่อนตัวไปตามรางที่คดเคี้ยวสำหรับนั่งชมภายในศูนย์การค้า ทั้งขบวนมีทั้งหมด 5 ตู้ แต่ละตู้สามารถบรรจุผู้โดยสารได้ 4 คน[2]
กระทั่งวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2545 ได้เกิดเหตุไฟไหม้เครื่องเล่นดังกล่าว[3] ตัวรถลอยฟ้าไม่มีระบบตัดไฟและภายในห้องโดยสารไม่ได้บุฉนวนกันไฟ[4] ทำให้มีผู้โดยสารซึ่งเป็นนักเรียนหญิงสองคนถูกไฟคลอกเสียชีวิต[2][1][3] และมีผู้บาดเจ็บสองคนเป็นเพศชายและหญิงอย่างละหนึ่งคนเพราะกระโดดมาจากรถลอยฟ้าด้วยอาการตกใจ[2]
หลังเกิดเหตุ หน่วยงานจากรัฐบาลได้เข้ามาตรวจสอบที่เกิดเหตุ แล้วสรุปได้ว่ารถลอยฟ้าไม่มีความปลอดภัย โครงสร้างทำจากวัสดุติดไฟง่ายทั้งหมด หากจะขออนุญาตเปิดทำการต่อต้องแก้ปัญหาอีกหลายจุด ทางแฟชั่นไอส์แลนด์จึงยุติการบริการรถลอยฟ้าทันที[2]
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads