Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ (13 มกราคม พ.ศ. 2400 - 11 เมษายน พ.ศ. 2443) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระองค์ที่ 3 ใน สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เป็นพระโสทรานุชาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสเรียกว่า "ท่านกลาง"
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี | |
---|---|
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 เจ้าฟ้าชั้นโท กรมพระจักรพรรดิพงษ์ | |
องคมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง | 17 สิงหาคม พ.ศ. 2417 |
รัฐมนตรีสภา | |
ดำรงตำแหน่ง | 24 มกราคม พ.ศ. 2437 |
เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ[1] | |
ดำรงตำแหน่ง | พ.ศ. 2429 - พ.ศ. 2435[2] |
ประสูติ | 13 มกราคม พ.ศ. 2400 พระบรมมหาราชวัง จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
สิ้นพระชนม์ | 11 เมษายน พ.ศ. 2443 (43 ปี) พระราชวังเดิม จังหวัดธนบุรี ประเทศสยาม |
หม่อม | หม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์ หม่อมทับทิม จักรพันธุ์ ณ อยุธยา หม่อมจีบ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา หม่อมเอม จักรพันธุ์ ณ อยุธยา หม่อมพลัด จักรพันธุ์ ณ อยุธยา หม่อมเลื่อม จักรพันธุ์ ณ อยุธยา หม่อมเผื่อน จักรพันธุ์ ณ อยุธยา หม่อมหลวงผาด จักรพันธุ์ หม่อมราชวงศ์หญิงปุ้ย จักรพันธุ์ |
พระบุตร | 17 พระองค์ |
ราชสกุล | จักรพันธุ์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี |
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 2 แรม 3 ค่ำ ปีมะโรง นพศก จุลศักราช 1219 ตรงกับวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2400 (นับแบบใหม่) เล่ากันมาว่ามีพระอุปนิสัยสงบเสงี่ยมและจริงจังเอาการเอางานเป็นอย่างยิ่ง ในคำกลอนสังเกตพระอัชฌาสัยเจ้านายเมื่อยังทรงพระเยาว์ ซึ่งคงจะแต่งกันล้อเล่นในหมู่เจ้านายโดยไม่ปรากฏนามคนแต่งเอ่ยถึงพระองค์ขณะพระชันษา 12 ว่า "พูดอะไรไม่เท็จ ท่านกลาง"
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก พ.ศ. 2439 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งพระอัครราชเทวี เป็นสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พร้อมกันนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งผู้ปรึกษาของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ 4 พระองค์และ 1 คน คือ
ระหว่างที่ทรงเป็นที่ปรึกษาผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อยู่นั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์จะเสด็จตรวจราชการตามท้องถนนดูแลทุกข์สุขและความเป็นไปของราษฎรอยู่เสมอ ๆ จากบันทึกของนักข่าวสยามไมตรีสิริ ออบเซิร์ฟเวอร์ หนังสือพิมพ์ในสมัยนั้นรายงานข่าวลงในคอลัมน์ข่าวทั่วไปว่า
ได้พบร่างของใครคนหนึ่งออกมาเดินท่อม ๆ อยู่ตามลำพัง ในลักษณะสอดส่ายสายตามองเหตุการณ์ท้องถนนอย่างขะมักเขม้น ขณะนั้นเป็นเวลาราวสองยามของคืนวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2439 ท่ามกลางความมืดมิดของราตรีกาลในตอนค่อนคืนนี้ปรากฏว่าผู้นั้นได้เดินอยู่ตามลำพังโดยปราศจากความหวั่นเกรงต่ออันตรายจากเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้ การปรากฏว่าท่านผู้นั้นคือสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระจักพรรดิพงศ์ เสด็จพระราชดำเนินอยู่ตรงสะพานหก มุมวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ เป็นพระราชวงศ์พระองค์หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปการปกครองในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีพระองค์แรกของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ[3] ทรงวางรากฐานการดำเนินงานของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และทรงกำหนดระเบียบวิธีการจัดเก็บภาษีอากรอย่างเป็นระบบ ทรงดำรงตำแหน่งเป็น ปรีวีเคาน์ซิล หรือ สภาที่ปฤกษาในพระองค์ (อังกฤษ: privy council) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2417 ซึ่งต่อมาเรียกว่าองคมนตรี และ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสภา[4] เมื่อปี พ.ศ. 2437
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ประทับอยู่ ณ พระราชวังเดิม ซึ่งเป็นพระราชวังตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. 2424 จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 12 ปีชวด โทศก จุลศักราช 1262 ตรงกับวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2443 สิริพระชันษา 44 ปี
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ทรงเป็นต้นราชสกุลจักรพันธุ์ ทรงอภิเษกสมรสกับ หม่อมราชวงศ์หญิงสว่าง จักรพันธุ์ พระธิดาในพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามงคลเลิศ และมีหม่อมอีก 8 คน ได้แก่
โดยมีพระโอรสธิดารวมทั้งหมด 17 พระองค์ เป็นชาย 7 พระองค์ หญิง 9 พระองค์ และไม่ทราบว่าเป็นชายหรือหญิง 1 พระองค์
พระรูป | พระนาม | หม่อมมารดา | ประสูติ | สิ้นพระชนม์/สิ้นชีพิตักษัย | คู่สมรส |
---|---|---|---|---|---|
1. หม่อมเจ้านิพัทธ์พิสิฐพงษ์ (พ.ศ. 2428: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิพัทธ์พิสิฐพงษ์) | ที่ 1 ในหม่อมทับทิม | ธันวาคม พ.ศ. 2420 | 27 สิงหาคม พ.ศ. 2435 | ||
2. หม่อมเจ้า (ไม่ปรากฏพระนาม) (ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นหญิงหรือชาย) | ไม่ทราบปี | ไม่ทราบปี | |||
3. หม่อมเจ้าหญิงสุพัฒน์ประไภย (พ.ศ. 2470: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงสุพัฒน์ประไภย) | ตุลาคม พ.ศ. 2420 | 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2421 | |||
4. หม่อมเจ้าเสรฐวงศ์วราวัตร (พ.ศ. 2428: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสรฐวงศ์วราวัตร พ.ศ. 2443: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสรฐวงศ์วราวัตร พ.ศ. 2451: กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์) | ที่ 1 ในหม่อมราชวงศ์หญิงสว่าง | 6 กันยายน พ.ศ. 2421 | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 | หม่อมราชวงศ์หญิงสุข (ไพฑูรย์) หม่อมลิ้นจี่ หม่อมลำใย หม่อมโป๊ หม่อมเชื้อ หม่อมกิมไหล | |
5. หม่อมเจ้าหญิงทรงศะศิคุณ (พ.ศ. 2470: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงทรงศะศิคุณ) | ที่ 2 ในหม่อมทับทิม | พ.ศ. 2422 | 13 มิถุนายน พ.ศ. 2438 | ||
6. หม่อมเจ้าดนัยวรนุช (พ.ศ. 2470: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดนัยวรนุช) | หม่อมเอม | พฤศจิกายน พ.ศ. 2423 | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2455 | หม่อมจี่ (สารสิน) | |
7. หม่อมเจ้าดรุณไวยวัฒน์ (พ.ศ. 2466: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดรุณวัยวัฒน์) | หม่อมจีบ | 22 เมษายน พ.ศ. 2423 | 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 | หม่อมสุด หม่อมขาบ หม่อมสำปั้น หม่อมแหน หม่อมสาย หม่อมเล็ก | |
8. หม่อมเจ้าหญิงอรพัทธ์ประไพ (พ.ศ. 2436: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอรพัทธ์ประไพ พ.ศ. 2443: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอรพัทธ์ประไพ) | ที่ 2 ในหม่อมราชวงศ์หญิงสว่าง | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2423 | 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2473 | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ | |
9. หม่อมเจ้าหญิงสุทธวิไลยลักษณา (พ.ศ. 2436: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงสุทธวิไลยลักษณา พ.ศ. 2443: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงสุทธวิไลยลักษณา) (มีพระนามลำลองว่าพระองค์หญิงกลาง) | ที่ 3 ในหม่อมราชวงศ์หญิงสว่าง | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2425 | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2467 | ||
10. หม่อมเจ้าออศคาร์นุทิศ (พ.ศ. 2436: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศ พ.ศ. 2443: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศ พ.ศ. 2463 กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์) | ที่ 4 ในหม่อมราชวงศ์หญิงสว่าง | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2426 | 12 สิงหาคม พ.ศ. 2478 | หม่อมจำรัส (ปิยะวัตร) หม่อมหวน (บุนนาค) | |
11. หม่อมเจ้าหญิงมาลิศเสาวรส (พ.ศ. 2470: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงมาลิศเสาวรส) | หม่อมพลัด | 18 ธันวาคม พ.ศ. 2426 | 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 | ||
12. หม่อมเจ้าทศศิริวงศ์ (พ.ศ. 2470: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์) | หม่อมหลวงผาด | 23 ตุลาคม พ.ศ. 2427 | 20 มีนาคม พ.ศ. 2493 | หม่อมหลวงหญิงเลื่อน (สุทัศน์) | |
13. หม่อมเจ้าหญิงบรรจงมารยาตร (พ.ศ. 2470: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงบรรจงมารยาตร | หม่อมเลื่อม | พ.ศ. 2427 | 7 สิงหาคม พ.ศ. 2461 | ||
14. หม่อมเจ้าหญิงบุบผชาติชลา (พ.ศ. 2470: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงบุบผชาติชลา) | หม่อมเผื่อน | พ.ศ. 2428 | 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2448 | ||
15. หม่อมเจ้าหญิงประภาวสิทธิ์นฤมล (พ.ศ. 2436: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงประภาวสิทธิ์นฤมล พ.ศ. 2443: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงประภาวสิทธิ์นฤมล) (มีพระนามลำลองว่าพระองค์หญิงเล็ก) | ที่ 5 ในหม่อมราชวงศ์หญิงสว่าง | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2428 | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน | |
16. หม่อมเจ้าปิยบุตร์ (พ.ศ. 2470: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปิยบุตร) | หม่อมราชวงศ์หญิงปุ้ย | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2433 | 6 มกราคม พ.ศ. 2464 | หม่อมสุวรรณ หม่อมสนม (ณ มหาชัย) | |
17. หม่อมเจ้าหญิงศศิพงศ์ (พ.ศ. 2470: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงศศิพงศ์) | ไม่ปรากฏ[5] | 2520 [5] | |||
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ มีพระนัดดามากกว่า 79 พระองค์/องค์/คน ดังนี้
ตั้งอยู่ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร โดยเริ่มตัดจากถนนบำรุงเมือง แยกแม้นศรี ไปจนบรรจบกับถนนราชดำเนิน โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น และพระราชทานนามว่า "ถนนจักรพรรดิพงษ์" เพื่อเป็นเกียรติยศแก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์
ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระรูปสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงศ์ ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบผู้บังคับการทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ทรงสายสะพายและประดับดาราเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ และสายสร้อยจุลจอมเกล้าภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงศ์" เบื้องล่างมีข้อความว่า "ประเทศไทย" โดยมีจุดกลมคั่นระหว่างข้อความเบื้องบนกับเบื้องล่างทั้งสองข้าง
ด้านหลัง กลางเหรียญมีตราพระนามสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงศ์ ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "150 ปี แห่งวันประสูติองค์เสนาบดี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ 13 มกราคม 2549" เบื้องล่างมีข้อความบอกราคาว่า "10 บาท" โดยมีจุดกลมคั่นระหว่างข้อความเบื้องบนกับเบื้องล่างทั้งสองข้าง
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.