Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาอำมาตย์ตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าเสรฐวงษ์วราวัตร จักรพันธุ์ (6 กันยายน พ.ศ. 2421 - 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475) พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ กับหม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์ ทรงเป็นจางวางพิเศษพระราชวังบางปะอิน องคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ | |
---|---|
พระเจ้าวรวงศ์เธอ ชั้น 4 พระองค์เจ้าชั้นโท | |
ประสูติ | 6 กันยายน พ.ศ. 2421 |
สิ้นพระชนม์ | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 (53 ปี) |
หม่อม | หม่อมราชวงศ์สุข จักรพันธุ์ หม่อมลิ้นจี่ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา หม่อมลำใย จักรพันธุ์ ณ อยุธยา หม่อมเชื้อ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา หม่อมกิมไหล จักรพันธุ์ ณ อยุธยา หม่อมโป๊ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา |
พระบุตร | 28 องค์ |
ราชสกุล | จักรพันธุ์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ |
พระมารดา | หม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์ |
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ ประสูติเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2421 เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์ มีพระอิสริยยศเมื่อแรกประสูติเป็นหม่อมเจ้า ทรงเข้าพิธีโสกันต์เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2434 วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2441 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ หม่อมเจ้าพร้อม ลดาวัลย์และพระสาสนโสภณ (อ่อน อหึสโก) เป็นพระกรรมวาจาจารย์[1] หลังลาสิกขาได้เข้ารับราชการ ทรงดำรงตำแหน่งผู้รักษาพระราชวังบางปะอิน ต่อมาในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2447 ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้ว่าราชการอำเภอพระราชวัง[2]
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า"[3] และเลื่อนขึ้นเป็น "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" เมื่อ พ.ศ. 2443[4] ต่อมาวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามว่า พระเจ้าวรวงษ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ ทรงศักดินา 11000[5] ได้รับพระราชทานเครื่องยศ ได้แก่ กากระบอกทองคำพร้อมถาดรองตามมงกุฎ พระมาลาเสร้าสเทิน ฉลองพระองค์จีบแลเจียรบาตพร้อมสำรับ หีบหมากไม้แดงหุ้มทองคำลงยาตรามงกุฎ และพระแสงญี่ปุ่นฝักก้าไหล่ทอง[6]
วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2451 ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นปลัดมณฑลกรุงเก่า[7]
วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานตราตั้งเป็นองคมนตรี ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย[8][9]
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ สิ้นพระชนม์ ณ วังถนนดำรงรักษ์ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 เวลา 01:35 น.[10] สิริพระชันษา 53 ปี พระราชทานเพลิง ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2476[11]
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ เสกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สุข จักรพันธุ์ (ราชสกุลเดิม ไพฑูรย์) หม่อมลิ้นจี่ หม่อมลำไย หม่อมเชื้อ หม่อมกิมไหล และหม่อมโป๊ มีบุตรธิดา ได้แก่
หม่อมราชวงศ์สุข จักรพันธุ์ (ไม่มีข้อมูล - พ.ศ. 2448) (ราชสกุลเดิม : ไพฑูรย์) ธิดาในหม่อมเจ้าจุ้ย ไพฑูรย์
หม่อมลิ้นจี่ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา (17 กันยายน พ.ศ. 2425 - 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515) พี่สาวของหม่อมลำไย
หม่อมลำไย จักรพันธุ์ ณ อยุธยา (พ.ศ. 2429 - พ.ศ. 2523) น้องสาวของหม่อมลิ้นจี่
หม่อมโป๊ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา (8 กรกฎาคม พ.ศ. 2432 - 15 เมษายน พ.ศ. 2512)
หม่อมเชื้อ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
หม่อมไหล จักรพันธุ์ ณ อยุธยา
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ |
พระชนก: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ |
พระอัยกาฝ่ายพระชนก: พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระปัยกาฝ่ายพระชนก: พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย |
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี |
พระปัยกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก: หม่อมน้อย ศิริวงศ์ ณ อยุธยา | |||
พระชนนี: หม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์ |
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี: พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามงคลเลิศ |
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี: สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ | |
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี: หม่อมน้อย ศิริวงศ์ ณ อยุธยา | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี: หม่อมพลบ ศิริวงศ์ ณ อยุธยา |
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี: ไมมีข้อมูล | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี: ไม่มีข้อมูล |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.