พระราชวังเดิม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระราชวังเดิมmap

พระราชวังกรุงธนบุรี หรือ พระราชวังเดิม เป็นพระราชวังหลวงในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ ภายในกองบัญชาการกองทัพเรือ ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ในเขตที่เคยเป็นที่ตั้งของป้อมวิไชยประสิทธิ์ ที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตำแหน่งของพระราชวังเดิมเป็นจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์ สามารถสังเกตการณ์ได้ในระยะไกล อีกทั้งยังใกล้กับเส้นทางคมนาคม และเส้นทางการเดินทัพที่สำคัญ

ข้อมูลเบื้องต้น พระราชวังเดิม, ชื่อเดิม ...
พระราชวังเดิม
Thumb
ท้องพระโรง พระราชวังเดิม
Thumb
ชื่อเดิมพระราชวังหลวง
ชื่ออื่นพระราชวังกรุงธนบุรี
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเปลี่ยนสภาพ
ประเภทพระราชวัง
สถาปัตยกรรมไทย, อื่น ๆ
ที่ตั้งแขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่
เมือง กรุงเทพมหานคร
ประเทศ ไทย
เริ่มสร้างพ.ศ. 2310
เจ้าของกองทัพเรือไทย
เว็บไซต์
wangdermpalace.org
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกองบัญชาการกองทัพเรือ
ปิด

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงโปรดให้สร้างพระราชวังนี้ขึ้นในปี พ.ศ. 2310 ภายหลังจากที่ทรงกอบกู้เอกราชให้ชาติไทย เพื่อใช้เป็นที่ประทับและว่าราชการ เมื่อทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี พร้อมกับปรับปรุงป้อมวิไชยเยนทร์ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นป้อมวิไชยประสิทธิ์

เดิมพระราชวังแห่งนี้มีอาณาเขต ตั้งแต่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ขึ้นมาจนถึงคลองเหนือวัดอรุณราชวราราม (คลองนครบาล) และวัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยาราม) เข้าไปในเขตพระราชวังเดิม ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ ได้ทรงย้ายราชธานีมาอยู่ฝั่งพระนคร โดยสร้างพระบรมมหาราชวังขึ้นเป็นที่ประทับ พระราชวังกรุงธนบุรีจึงได้ชื่อว่า "พระราชวังเดิม" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา[1]

พระราชวังเดิมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

สรุป
มุมมอง

ครั้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงกำหนดเขตวังให้แคบกว่าเดิม โดยให้วัดทั้งสองที่กล่าวแล้วคือ วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) และวัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) อยู่ภายนอกพระราชวัง นอกจากนี้ทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์ชั้นสูงที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยมาประทับที่นี่ อันเนื่องจากเห็นว่าพระราชวังนี้มีความสำคัญทางด้านทำเลที่ตั้ง ได้แก่[2]

มาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ สิ้นพระชนม์ ได้พระราชทานพระราชวังเดิมให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ ตามคำกราบบังคมทูลขอพระราชทานจากนายพลเรือตรี พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เมื่อ พ.ศ. 2449 หลังจากโรงเรียนนายเรือย้ายออกไปอยู่สัตหีบ และย้ายมาอยู่ที่สมุทรปราการ กองทัพเรือจึงได้ใช้ พระราชวังเดิมแห่งนี้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการกองทัพเรือ[3]

สถานที่สำคัญบริเวณพระราชวังกรุงธนบุรี

Thumb
ตำหนักเก๋งสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ตำหนักที่ประทับของพระบรมวงศานุวงค์ชั้นสูงที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบตะวันตกหลังแรกๆ ที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์[4]
  • อาคารท้องพระโรง
  • อาคารตำหนักเก๋งคู่หลังใหญ่
  • อาคารเก๋งคู่หลังเล็ก
  • อาคารตำหนักเก๋งสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • ป้อมวิไชยประสิทธิ์
  • อาคารเรือนเขียว
  • ศาลพระเจ้าตากสินมหาราช
  • ศาลศีรษะปลาวาฬ
  • พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
  • ประตูโรงเรียนนายเรือ หรือ ประตูสามสมอ

ศาลพระเจ้าตากสิน พระราชวังเดิม

Thumb
พระบรมรูปขนาดเท่าพระองค์จริงภายในศาล

ศาลพระเจ้าตากสินในพระราชวังเดิม มีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี สมัยแรกเป็นแต่เพียงศาลพระภูมิสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการสร้างบูรณะพระราชวังเดิมของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมัยรัชกาลที่ 5 เรียกว่า "ศาลพระเจ้าตาก" ภายในศาลพระเจ้าตาก ประดิษฐานเป็นพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ลักษณะประทับยืนทรงพระแสดงดาบ ขนาดเท่าองค์จริง พระบรมรูปประทับนั่งขนาดสูงประมาณ 1 ฟุต 1 องค์ และเทวรูปจีนแกะสลักด้วยไม้ปิดทองอีก 1 องค์ มีปืนโบราณพร้อมฐาน 2 กระบอกประดับเชิงบันไดชั้นล่าง

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.