Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ (1 มีนาคม พ.ศ. 2453 — 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503) เป็นข้าราชการตำรวจและนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[6] อีกทั้งเคยดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีที่ไม่ได้ประจำกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เผ่าเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจ (ปัจจุบันตำแหน่งนี้ถูกเปลี่ยนเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ) ซึ่งเป็นเจ้าของคำขวัญ "ภายใต้ดวงอาทิตย์นี้ ไม่มีสิ่งใดที่ตำรวจไทยทำไม่ได้" นอกจากนี้ยังได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาความสงบภายในทั่วราชอาณาจักร ในเหตุการณ์การรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2494 โดย คณะบริหารประเทศชั่วคราว[7] เผ่ายังเป็นบุคคลหนึ่งที่มีบทบาททางการเมืองสูงมากในช่วงก่อนการรัฐประหาร พ.ศ. 2500
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
เผ่า ศรียานนท์ | |
---|---|
เผ่า สวมชุดเต็มยศทหารบก ในยศพลจัตวา | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 31 มีนาคม พ.ศ. 2500 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500 (0 ปี 169 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
รัฐมนตรีช่วย | ประภาส จารุเสถียร หลวงบุรกรรมโกวิท |
ก่อนหน้า | แปลก พิบูลสงคราม |
ถัดไป | ประภาส จารุเสถียร |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 11 ธันวาคม พ.ศ. 2494 28 มีนาคม พ.ศ. 2495 – 23 มีนาคม พ.ศ. 2495 (4 ปี 358 วัน) ดำรงตำแหน่งร่วมกับ เดช เดชประดิยุทธ | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
รัฐมนตรีว่าการ | บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา แปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | สงกรานต์ อุดมสิทธิ์ |
ถัดไป | ประภาส จารุเสถียร หลวงบุรกรรมโกวิท |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 [1] – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2498 [2] (1 ปี 176 วัน) ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ประยูร ภมรมนตรี | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
รัฐมนตรีว่าการ | เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ |
ก่อนหน้า | ประยูร ภมรมนตรี |
ถัดไป | เสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ |
รัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 8 ธันวาคม พ.ศ. 2494 – 11 ธันวาคม พ.ศ. 2494 [3] (0 ปี 3 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | แปลก พิบูลสงคราม |
อธิบดีกรมตำรวจ | |
ดำรงตำแหน่ง 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2494[4] – 14 กันยายน พ.ศ. 2500 [5] (6 ปี 74 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลตำรวจเอก หลวงชาติตระการโกศล |
ถัดไป | พลตำรวจเอก ไสว ไสวแสนยากร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 มีนาคม พ.ศ. 2453 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 (50 ปี) เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ |
พรรคการเมือง | เสรีมนังคศิลา |
คู่สมรส | คุณหญิงอุดมลักษณ์ ศรียานนท์ |
บุตร | ผ่องลักษณ์ ประศาสน์วินิจฉัย / วิชัย จักรกฤษณ์ |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
ประจำการ | 2494 – 2500 |
ยศ | พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก พลตำรวจเอก |
พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2452 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2453) ณ ตำบลบางขุนพรหม อำเภอบางขุนพรหม จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของ พ.ต.ท. พระพลาพิรักษ์เสนีย์ (พลุ้ย ศรียานนท์) และนางพงษ์ พลาพิรักษ์เสนีย์ ครอบครัวมีเชื้อสายพม่า[8] สมรสกับ คุณหญิงอุดมลักษณ์ ศรียานนท์ (สกุลเดิม ชุณหะวัณ) บุตรสาวของจอมพล ผิน ชุณหะวัณ[9] มีบุตรีด้วยกัน นามว่าผ่องลักษณ์ ประศาสน์วินิจฉัย (สกุลเดิม ศรียานนท์) รองประธานบริษัท ไผทอุดม จำกัด
สอบไล่ได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนเบญจมบพิตร หรือโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรในปัจจุบัน ต่อมาสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2469[10]
ประวัติการรับราชการของพลตำรวจเอกเผ่า มีดังนี้
พล.ต.อ. เผ่า เป็นนายตำรวจที่ประชาชนชาวไทยในยุคสมัยนั้นรู้จักเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นเสมือนมือขวาของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น นายกรัฐมนตรีเผด็จการทหารในสมัยนั้น เริ่มแรก พล.ต.อ. เผ่า นั้นรับราชการเป็นทหารมาก่อน ก่อนจะย้ายตัวเองมาเป็นตำรวจ
ยุคของ พล.ต.อ. เผ่า นั้น ถูกเรียกว่ายุค "รัฐตำรวจ" หรือ "อัศวินผยอง" เนื่องจาก พล.ต.อ. เผ่า ได้เสริมสร้างขุมกำลังตำรวจจนสามารถเทียบเท่ากับกองทัพ ๆ หนึ่งเหมือนทหารได้ โดยเริ่มให้มี ตำรวจน้ำ, ตำรวจพลร่ม, ตำรวจม้า, ตำรวจรถถัง ตลอดจนให้มีธงไชยเฉลิมพลเหมือนทหาร จนมีการกล่าวในเชิงประชดว่า อาจจะมีถึงตำรวจเรือดำน้ำ เป็นต้น[32]
โดยประโยคที่สะท้อนให้เห็นถึงตัวตนของตำรวจในสมัยนั้น ซึ่งเป็นประโยคของ พล.ต.อ. เผ่า เองคือ "ภายใต้ดวงอาทิตย์นี้ ไม่มีสิ่งใดที่ตำรวจไทยทำไม่ได้ ในทางที่ไม่ขัดต่อศีลธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามและกฎหมายบ้านเมือง" จนได้รับฉายาจากสื่อต่างประเทศว่า"บุรุษเหล็กแห่งเอเซีย"[33]
ในทางการเมือง พล.ต.อ. เผ่า มีฐานะเป็นเลขาธิการพรรคเสรีมนังคศิลาของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งที่ถูกกล่าวว่าสกปรกที่สุดในประวัติศาสตร์[33]เพราะมีตั้งแต่การข่มขู่ผู้ลงคะแนนให้เลือกแต่พรรคเสรีมนังคศิลา มีการเวียนเทียนลงคะแนนกันหลายรอบ ที่เรียกว่า พลร่ม หรือ ไพ่ไฟ และนับคะแนนกันถึง 7 วัน 7 คืน[34] โดยในยุคนั้นประชาชนทุกคนต่างรู้ดีว่า ไม่ควรจะกระทำการใดที่เป็นการต่อต้านอำนาจรัฐเพราะอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เช่น กรณีสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรีที่ถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 14 เมื่อปี พ.ศ. 2492 หลังเหตุการณ์กบฏวังหลวง หรือการจับถ่วงน้ำ นายหะยีสุหรง อับดุลกาเดร์ อิหม่ามชาวจังหวัดปัตตานี ที่ทะเลสาบสงขลา เป็นต้น ล้วนแต่เป็นฝีมือตำรวจ[33]โดย พล.ต.อ. เผ่า และเป็นที่รับรู้กันว่าตำรวจเป็นผู้เลี้ยงบรรดานักเลง อันธพาลในยุคนั้นเป็นลูกน้องด้วย ซึ่งเรียกกันว่า "นักเลงเก้ายอด" อันมาจากการที่นักเลงอันธพาลเหล่านั้นสามารถเข้าออกกองบัญชาการตำรวจกองปราบที่สามยอดได้โดยสบาย[35] ซึ่งทำให้เหล่านักเลงอันธพาลเกลื่อนเมือง
จากเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ ส่งผลให้กลุ่มนายทหารที่นำโดย พล.อ. สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (ยศในสมัยในนั้น) ไม่พอใจ โดยเริ่มทำการปราศรัยโจมตีตำรวจที่ท้องสนามหลวงบนลังสบู่ ที่เริ่มกันว่า "ไฮปาร์ค"[33] และทางตำรวจก็ตอบโต้ด้วยการไฮปาร์คบ้าง จนในที่สุดนำไปสู่การรัฐประหารเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 ซึ่งเหตุการณ์ในวันนั้น พล.ต.อ. เผ่า ยังไม่ได้หลบหนีไปต่างประเทศเหมือนจอมพล ป. แต่ยอมเข้ามอบตัวแต่โดยดี โดยกล่าวว่า "อั๊วมาแล้ว จะเอายังไงก็ว่ามา"[36]
วันรุ่งขึ้น พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ ได้ลี้ภัยการเมืองไปอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์[36] พล.ต.อ. เผ่า มีทรัพย์สินอยู่มากมาย มีคฤหาสน์หลังใหญ่ติดทะเลสาบที่นครเจนีวา จนครั้งหนึ่งเมื่อนิตยสารต่างประเทศฉบับหนึ่งจัดอันดับมหาเศรษฐี 10 อันดับของโลก ก็มีชื่อของ พล.ต.อ. เผ่า ติดอยู่ในอันดับด้วย[36]
พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยอาการหัวใจวายเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สิริอายุ 50 ปี[37]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.