พิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2024
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 จัดขึ้นในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ที่ ปารีส เริ่มเวลา 19:30 น. CEST (17:30 UTC) ตามที่กำหนดในกฎบัตรโอลิมปิก การดำเนินพิธีการจะรวมถึงการแสดงศิลปวัฒนธรรมของประเทศและเมืองเจ้าภาพ ขบวนพาเหรดของนักกีฬา และการจุดไฟในกระถางคบเพลิงโอลิมปิก โดยแอมานุแอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เป็นผู้กล่าวเปิดการแข่งขันอย่างเป็นทางการ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
อาสนวิหารน็อทร์-ดามและอิลเดอลาซิติระหว่างขบวนพาเหรดแห่งชาติที่ล่องไปตามแม่น้ำแซน | |
วันที่ | 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 |
---|---|
เวลา | 19:30 – 23:15 CEST (UTC+2)[1] |
สถานที่ | ฌาร์แด็งดูว์ทรอกาเดโร แม่น้ำแซน |
ที่ตั้ง | ปารีส, ฝรั่งเศส |
พิกัด | 48°51′24″N 2°21′8″E |
ถ่ายทำโดย | หน่วยบริการกระจายเสียงแพร่ภาพโอลิมปิก (โอบีเอส) |
พิธีนี้นับเป็นโอลิมปิกครั้งแรกตั้งแต่โอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2018 ที่จัดนอกสนามกีฬา ทั้งนี้ การเดินขบวนพาเหรดนักกีฬา พิธีการ รวมถึงการแสดงส่วนใหญ่ จัดขึ้นในสถานที่สำคัญหลายแห่งในปารีส รวมถึงแม่น้ำแซน ขณะที่พิธีการหลักจัดขึ้นในสนามกีฬาชั่วคราวที่ฌาร์แด็งดูว์ทรอกาเดโร พิธีเปิดนี้ประกอบด้วยสิบสองช่วง อันเป็นการฉลอง 130 ปี คณะกรรมการโอลิมปิกสากล, ครบรอบ 100 ปี โอลิมปิกฤดูร้อน 1924 และครบรอบ 235 ปี การปฏิวัติฝรั่งเศส
การวางแผนพิธีเปิดมีขึ้นในปี 2566 โดยมีการฝึกซ้อมบางอย่างในสถานที่ไม่เปิดเผยก่อนงาน ในขณะที่การแสดงอื่น ๆ จะเกิดขึ้นในสถานที่จัดงาน การถ่ายทำชุดแรกเสร็จสิ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 และคาดว่ามีกล้อง 130 ตัวที่จะถ่ายทอดสดพิธี[2] งานนี้จะออกอากาศไปยังจอยักษ์ 80 จอตลอดเส้นทางแม่น้ำแซน [3] กำกับโดยนักแสดงละครเวทีและผู้กำกับ โทมัส จอลลี โดยเป็นพิธีเปิดครั้งแรกที่จัดขึ้นนอก สนามกีฬาโอลิมปิก [3] [4]
เดิมทีผู้เข้าร่วมโดยไม่ต้องซื้อบัตรคาดว่าจะมีจำนวนมากกว่า 500,000 คน [2] และ 100,000 คนสำหรับผู้ชมซื้อบัตรเข้าชมที่ท่าเรือตอนล่างของแม่น้ำ [5] รวมเป็น 600,000 คน [6] ตัวเลขดังกล่าวคิดเป็น "อัตราส่วนการเข้าชม 3 คนต่อ" 1 ตารางเมตร (11 ตารางฟุต)[5] อย่างไรก็ตาม หลังจากคำแนะนำในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 โดยรัฐมนตรีกระทรวงกีฬา โอลิมปิก และพาราลิมปิกของฝรั่งเศส ว่าควรจำกัดผู้ชมที่ไม่ต้องซื้อบัตรไว้ที่ระหว่าง 300,000 ถึง 400,000 คน อีกทั้งหลังจากมีข้อกังวลเพิ่มเติมด้านความปลอดภัยและการขนส่ง ตัวเลขดังกล่าวลดลงเหลือ 300,000 ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566 [5] ในช่วงปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 มีการลดจำนวนลงอีก เนื่องจากหน่วยรักษาความปลอดภัยต้องการให้จัดพิธีในสนามกีฬาเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินมาตรการรักษาความปลอดภัย [7] อัฒจันทร์จะทอดยาวจากห้องสมุดฟร็องซัว มีแตร็อง ไปยังหอไอเฟล[5]
ผู้ชมจะนั่งตามริมฝั่งแม่น้ำแซนเป็นระยะทาง 6 กิโลเมตร (3.7 ไมล์) ทอดยาวไปตามริมฝั่งแม่น้ำ[2] [3] ทีมงานทั้งหมดของพิธีมีประมาณ 6,000 ถึง 8,000 คน รวมถึงการรักษาความปลอดภัยในช่วงวันก่อนถึงพิธี ในจำนวนนี้รวมถึงนักแสดง 2,000 คน[2] บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการแสดงในแม่น้ำ ทางอากาศ และบนฝั่ง รวมทั้งหมด 45,000 คน โดยเฉลี่ย 3,750 คนต่อ 1 ตารางกิโลเมตร (0.39 ตารางไมล์) [7] ตัวเลขนี้ไม่รวมเจ้าหน้าที่ประมาณ 2,000 คนที่จำเป็นในการตรวจสอบเต็นท์ทางเข้าของผู้ถือตั๋วแบบชำระเงินและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายที่ตั้งอยู่บนท่าเทียบเรือยกระดับตลอดงาน [7] นักแสดงและนักกีฬาจะเดินทางในแม่น้ำจากปงเดาส์แตลิทซ์ไปยังปงดีเยนาหน้าหอไอเฟล เพื่อเดินทางต่อไปยังฌาร์แด็งดูว์ทรอกาเดโร ซึ่งเป็นสถานที่จัดพิธีการหลัก[6]
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 มีการเปิดจำหน่ายบัตรเข้าชมพิธี โดยมีราคาตั้งแต่ 90 ยูโร (80 ปอนด์/99 ดอลลาร์) ถึง 2,700 ยูโร (2,390 ปอนด์/2,960 ดอลลาร์) [8] โดยอย่างหลังมีราคาแพงที่สุดเมื่อนับรวมทุกอีเวนต์ในการแข่งขัน [9]
ในพิธีมีเรือ 160 ลำ[10] โดยมีประมาณ 58 ลำที่มีส่วนร่วมในการฝึกซ้อมย่อยซึ่งดำเนินการในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 โดยบรรทุกคณะนักกีฬา ทีมงานโทรทัศน์ และบริการฉุกเฉิน [4] ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 มีเรือจำนวน 116 ลำจากบริษัทขนส่ง 42 แห่งที่ได้รับการลงทะเบียน โดยคาดว่าร้อยละ 98 ของเรือทั้งหมดเป็นเรือจากปารีส และส่วนที่เหลือมาจากบริษัทเรือในภูมิภาค เช่น Highfield Boats ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนในท้องถิ่น[8]
เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 คณะกรรมการจัดการแข่งขันประกาศว่า จำนวนผู้เข้าชมลดลงครึ่งหนึ่งจากแผนเดิม 600,000 คน เป็น 300,000 คน โดยสองในสามเป็นผู้เข้าชมที่ได้รับบัตรอันไม่เสียค่าใช้จ่าย[11][12] ซึ่งเป็นที่นั่งริมฝั่งใกล้กับระดับถนน ส่วนบัตรที่เสียค่าใช้จ่ายนั้นจะได้นั่งริมฝั่งใกล้กับผืนน้ำ[13] บัตรเข้าชมที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายจะแจกให้กับครอบครัวที่มีรายได้น้อย, บุคคลในวงการกีฬา, เยาวชน, และผู้มีส่วนจัดการแข่งขันโอลิมปิก[14] ทั้งนี้ ตามแผนที่วางไว้ก่อนหน้า จะไม่มีการแจกบัตรเข้าชมฟรีให้กับนักท่องเที่ยว[15]
การซ้อมพิธีเปิดในวันที่ 24 มิถุนายน ต้องเลื่อนออกไปเนื่องจากกระแสแม่น้ำแซนที่ไหลเชี่ยว[16] และกลับมาซ้อมอีกครั้งในวันที่ 16 กรกฎาคม[17]
แผนแรกของคณะกรรมการจัดการแข่งขันคือให้ผู้แทนของแต่ละประเทศเดินทางด้วยบัลลูนอากาศร้อน ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ของฝรั่งเศส เข้าสู่สถานที่จัดพิธีการหลัก อีกทั้งมีฉากจำลองพระเศียรของอดีตพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิฝรั่งเศส โผล่พ้นเหนือผิวน้ำ เสมือนได้ทอดพระเนตรขบวนพาเหรดด้วย แต่ข้อเสนอดังกล่าวได้ตกไป[18] โทมัส จอลลี และนักเขียนอีกสี่คน ใช้เวลาเก้าเดือนในการเขียนบทการแสดงพิธีเปิด[19] โดยมีแก่นเรื่องหลักคือ "ความรัก" และ "ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่"[18]
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 หลังความกังวลด้านความปลอดภัยที่เกิดจาก การรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย สงครามอิสราเอล–ฮะมาส และการแทงคนในโรงเรียนอาร์ราส ทั้งรัฐบาลฝรั่งเศสและคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกแห่งปารีส 2024 (COJOP2024) ระบุว่าไม่มีแผนอย่างเป็นทางการที่จะย้ายสถานที่จัดพิธีเปิดโดยระบุว่า "แผน A คำนึงถึงภัยคุกคามทั้งหมด" Oudéa-Castréa ระบุใน BFM TV ว่าพวกเขาให้ความสนใจกับบริบท และรัฐบาลกำลังดำเนินการเกี่ยวกับ "ตัวแปรในการปรับเปลี่ยน" โดยต้องการรักษารูปแบบเดิมไว้ [5] ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 ประธานาธิบดีมาครงกล่าวว่าพิธีนี้มีหลายสถานการณ์ ในกรณีของเหตุการณ์ความมั่นคงที่สำคัญซึ่งอาจบังคับให้พิธีย้ายจากแม่น้ำแซน สำหรับสิ่งนี้ COJOP2024 ระบุว่าพวกเขามี "แผนฉุกเฉินสำหรับสถานการณ์ความเสี่ยงที่ระบุทั้งหมด เช่น คลื่นความร้อน การโจมตีทางไซเบอร์ และพิธีนี้ก็ไม่มีข้อยกเว้น" [6]
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 มีการประกาศว่าทุกอาคารในรัศมีริมฝั่งแม่น้ำแซนต้องเข้าร่วมมาตรการป้องกันการก่อการร้าย[20] มีการปิดสถานที่หลายแห่งใกล้แม่น้ำแซน ซึ่งรวมถึงพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ และพิพิธภัณฑ์ออร์แซ[20]
ฝ่ายจัดพิธีเปิดได้ปิดสะพานข้ามแม่น้ำแซนตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม และเริ่มเข้มงวดกฎระเบียบมากขึ้นในอีกสิบวันต่อมา[21][22] โดยการปิดถนนบางส่วนไม่ให้รถและประชาชนสัญจร[22] และปิดสนามบินในรัศมี 90 ไมล์ (140 กิโลเมตร) ระหว่างพิธีเปิด อีกทั้งยังมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอีก 45,000 คน ประจำการด้วย โดยในจำนวนนี้รวมถึงตำรวจต่างชาติ 2,000 คน[23]
ในวันงาน ผู้เข้าชมหลายคนต้องรอคิวยาว ทางเข้าบางจุดเปิดช้ากว่ากำหนดเดิมมากกว่าหนึ่งชั่วโมง เนื่องจากอุปกรณ์ตรวจบัตรเข้าชมมีไม่เพียงพอ[24]
ขบวนพาเหรดแห่งชาติ ซึ่งนักกีฬาที่เข้าร่วม 10,500 คนจะเดินขบวนแยกตามคณะผู้แทน[3] กำหนดจัดขึ้นที่ แม่น้ำแซน ส่วนพิธีการอื่น ๆ จะจัดขึ้นที่ฌาร์แด็งดูว์ทรอกาเดโร[1] [25] การแสดงในพิธีเปิดแบ่งเป็น 12 องก์ ตามประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส[18] ทั้งนี้ นับเป็นขบวนในแม่น้ำแซนขนาดใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่พระราชพิธีเสกสมรสระหว่างเจ้าหญิงเอลีซาเบ็ต–หลุยส์ พระราชธิดาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 กับเฟลีเป ดยุกแห่งปาร์มา ในปี ค.ศ. 1739[18] ประธานาธิบดีมาครงกล่าวว่านี่คือการแสดงที่สื่อให้เห็นถึง "การปลดปล่อยและความเป็นอิสระ" อันรวมถึงการเล่าเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการปฏิวัติฝรั่งเศสและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งปฏิญญาดังกล่าวลงนาม ณ ปาแลเดอชาโย ที่อยู่ด้านหลังฌาร์แด็งดูว์ทรอกาเดโร[19]
เจราลด์ ดาร์มาแนง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยฝรั่งเศส คาดการณ์ว่าจะต้องมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 25,000 นาย และเจ้าหน้าที่ตำรวจประมาณ 35,000 นายจะประจำการในสถานที่จัดพิธีเปิด [8][1]
การวิ่งคบเพลิงโอลิมปิก สำหรับเปลวไฟโอลิมปิก ใช้เวลาทั้งสิ้น 80 วัน โดยเริ่มจากกรีซ แล้วเดินทางด้วยเรือไปยังเมืองมาร์แซย์ จากนั้นจะเคลื่อนผ่านมง-แซ็ง-มีแชล พระราชวังแวร์ซาย และ แคริบเบียนฝรั่งเศส ก่อน จนถึงพิธีจุดคบเพลิง[4] พิธีจุดเพลิงโอลิมปิกจัดขึ้นที่ เมืองโอลิมเปีย ประเทศกรีซ เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2567 [26] จากนั้นเดินทางผ่านกรีซอีก 10 วัน และส่งมอบให้กับ COJOP2024 ในวันที่ 26 เมษายน ที่ สนามกีฬาพานาธิเนอิก ใน กรุงเอเธนส์ จากนั้นมีการนำไฟโอลิมปิกบรรทุกเรือใบเบเลม พร้อมกับขบวนเรืออีก 1,000 ลำ เดินทางออกจากไพรีอัสถึงเมืองมาร์แซย์ในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2567[27] [28]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พิธีการเริ่มต้นในเวลา 19.30 น. ตามเวลาออมแสงยุโรปกลาง ท่ามกลางสายฝนที่ตกลงมาตลอดพิธี ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่โอลิมปิกฤดูร้อน 1952 ที่เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์[29]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พิธีเปิดเริ่มต้นด้วยการวิ่งคบเพลิงโอลิมปิกช่วงสุดท้ายซึ่งมีการบันทึกวิดีโอไว้ล่วงหน้า โดยญาเมล เดอบุซ นักแสดงตลกได้วิ่งคบเพลิงมายังสตาดเดอฟร็องส์ ก่อนจะพบว่าสนามนั้นไม่มีผู้ชมและพิธีการมิได้จัดในสถานที่ดังกล่าว ซีเนดีน ซีดาน รับคบเพลิงต่อจากเขาและวิ่งผ่านย่านชุมชน ซีดานพบกับเด็กสามคน อันแสดงถึงโอลิมปิกครั้งที่สามของปารีส เขาวิ่งต่อไปยังปารีสเมโทร แต่พบว่ารถไฟฟ้าขัดข้องไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ จึงจำต้องส่งคบเพลิงไปให้เด็กทั้งสามนั้นเดินทางโดยเรือผ่านสุสานใต้ดินและใต้โรงอุปรากรปาแลการ์นีเย
เด็กทั้งสามพบกับคนสวมหน้ากากถือคบเพลิงซึ่งเป็นตัวแทนของอาร์แซน ลูแปง, ปีศาจแห่งโรงอุปรากร, จิตวิญญาณโอลิมปิก และรวมถึงเซกวานา เทพธิดาแห่งแม่น้ำแซน คนสวมหน้ากากนี้มียังลักษณะคล้ายกับตัวละครในเกมอัสแซสซินส์ครีด ยูนิตี อันมีฉากหลังอยู่ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งผลิตโดยยูบิซอฟต์ บริษัทสัญชาติฝรั่งเศส[30] เด็กทั้งสามขึ้นเรือเพื่อเดินทางสู่โลกภายนอก ภาพตัดไปยังบรรยากาศสดที่อัฒจันทร์ทรอกาเดโร ซึ่งโทมัส บัค ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล และแอมานุแอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส รออยู่ก่อนแล้ว ผู้ชมแสดงการปรบมือเพื่อต้อนรับทั้งสอง จากนั้นเรือของเด็กทั้งสามมาถึงแม่น้ำแซน ขณะที่ชายสวมหน้ากากเฝ้ามองพวกเขาจากหลังคาอาคารริมแม่น้ำนั้น อันเป็นการเชื่อมโยงการแสดงและพิธีการต่าง ๆ ตลอดงานนี้
เวลา 19.30 น. มีการแสดงไพโรเทคนิคสีธงชาติฝรั่งเศสและน้ำพุที่ปงเดาเตอลิทซ์ อันเป็นจุดเริ่มต้นของขบวนพาเหรดแห่งชาติทางเรือ โดยเริ่มจากกรีซ ตามด้วยนักกีฬาผู้ลี้ภัย และชาติอื่น ๆ เรียงตามอักษรภาษาฝรั่งเศส จนถึงบาห์เรน เป็นอันจบช่วงปฐมบท ทั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการผสมผสานขบวนพาเหรดกับการแสดงทั้งริมฝั่งและบนเรือ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เลดีกากาในชุดของดียอร์และนักเต้นแปดคนขึ้นแสดงในโชว์ที่ได้แรงบันดาลใจจากคาบาเรต์[31] ตามด้วยพาเหรดคณะผู้แทนจากบังคลาเทศจนถึงจีน โดยมีนักเต้นและนักกายกรรมแสดงบนเรือที่ตกแต่งคล้ายกับสวนลอยน้ำล่องขนานไปกับขบวนพาเหรด
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การแสดงในช่วงนี้สื่อให้เห็นถึงการบูรณะอาสนวิหารน็อทร์-ดามจากเหตุเพลิงไหม้เมื่อห้าปีก่อนหน้านั้น และการผลิตเหรียญรางวัลโอลิมปิก รวมถึงการบรรจุลงกล่องที่ทำขึ้นโดยหลุยส์ วิตตอง ทั้งนี้ ไมเคิล เฟ็ลปส์ ได้ร่วมแสดงในส่วนนี้ด้วย
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การแสดงส่วนที่สามมีชื่อว่า "เสรีภาพ" เริ่มต้นที่เปลือกอาคารกงซีแยร์เฌอรี เพื่อระลึกถึงการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งอ้างถึงการสำเร็จโทษมารี อ็องตัวแน็ต ด้วยการบั่นพระเศียรโดยใช้กิโยตีน และวรรณกรรมเลมีเซราบล์ ซึ่งมีการนำเพลง "ดูยูเฮียร์เดอะพีเพิลซิง?" ซึ่งประกอบละครเพลงจากนิยายดังกล่าว มาใช้เปิดช่วงนี้ ในส่วนต่อมาเป็นการเต้นซึ่งสื่อให้เห็นความรักที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงแอลจีบีที และการมีคนรักหลายคน ทั้งนี้ มีการนำกวีนิพนธ์จากนักเขียนชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียง เช่น กี เดอ โมปาซ็อง และมอลีแยร์ เป็นต้น มาใช้ประกอบการแสดงนี้ด้วย
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ในส่วนนี้เป็นการแสดงของวงดุริยางค์กองกำลังป้องกันสาธารณรัฐ และอายะ นากามุระ บนสะพานปงเดซาร์
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การแสดงในส่วนนี้เริ่มต้นด้วยการบรรเลง "ระบำมรณะ" ผลงานของ กามีย์ แซ็ง-ซ็องส์ ซึ่งอ้างอิงถึงการโจรกรรมโมนาลิซาจากลูฟวร์ ตามด้วยพาเหรดคณะผู้แทนจากไซปรัสจนถึงกาบอง คั่นด้วยการบรรเลงผลงานของมอริส ราแวล ด้วยเปียโน จากนั้นเป็นพาเหรดคณะผู้แทนจากแกมเบียจนถึงจาเมกา
ช่วงต่อมาผู้ถือคบเพลิงปริศนาได้เดินทางต่อไปยังพิพิธภัณฑ์ออร์แซ เพื่อรำลึกถึงพี่น้องลูมิแยร์และฌอร์ฌ เมเลียส รวมถึงวรรณกรรมเจ้าชายน้อย ประกอบการบรรเลงคีตกรรมลาพร็องตีซอร์ซีเย จากนั้นปรากฎภาพกล้องโทรทัศน์สีเหลืองของสถานีอวกาศนานาชาติ ส่องไปยังเรือดำน้ำของเหล่ามินเนี่ยนจากแฟรนไชส์ภาพยนตร์ "มิสเตอร์แสบ ร้ายเกินพิกัด" ซึ่งเป็นผลงานของอิลลูมิเนชันเอ็นเตอร์เทนเมนต์ พวกมันกำลังทำท่าทางคล้ายกีฬาที่แข่งในโอลิมปิก และมีการเผยว่าเป็นผู้ขโมยภาพโมนาลิซาจากลูฟวร์ หลังจากเรือดำน้ำระเบิดจากความวุ่นวายของเหล่ามินเนี่ยน วัตถุจำลองของภาพดังกล่าวได้ลอยขึ้นมาบนผิวแม่น้ำแซน จากนั้นบนหลังคากร็องปาแล Axelle Saint-Cirel นักร้องเสียงโซปราโน ผู้สวมชุดจากดียอร์ ซึ่งเป็นตัวแทนของมารียาน บุคลาธิษฐานแห่งฝรั่งเศส ได้ขับร้องเพลงชาติ "ลามาร์แซแยซ"
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ในส่วนนี้เป็นการยกย่องสตรีที่มีชื่อเสียงของฝรั่งเศส จากนั้น Saint-Cirel ได้ขับร้องท่อนที่หกของเพลงชาติพร้อมกับคณะประสานเสียง
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ส่วนนี้เริ่มต้นด้วยขบวนผู้แทนนักกีฬาจากญี่ปุ่นจนถึงนอร์เวย์ ประกอบดนตรีบารอก และการแสดงโดยแร็ปเปอร์
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การแสดงส่วนนี้จัดขึ้นที่สะพานแดร์บิลี เพื่ออุทิศแก่วงการแฟชั่นของฝรั่งเศส ขบวนพาเหรดทางเรือเริ่มต้นจากผู้แทนของนิวซีแลนด์จนถึงซิมบับเว ตามด้วยออสเตรเลีย เจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 2032 และสหรัฐ เจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 2028 จากนั้นผู้ถือคบเพลิงปริศนาข้ามสะพานแดร์บิลี และมีการตัดภาพไปยังตาฮีตี สถานที่จัดกีฬาโต้คลื่น
หลังจากนั้นมีการแสดงเรือดนตรี โดยเริ่มจากเพลง "เดอะไฟนอลเคาท์ดาวน์" ของวงยุโรป เพื่อสื่อถึงการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ตามด้วยการแสดงเพลงแนวยูโรแดนซ์ จากนั้นเป็นการปิดท้ายขบวนพาเหรดด้วยเรือของฝรั่งเศสเจ้าภาพ ทั้งนี้ มีการนำเพลงจากศิลปินและคีตกวีชาวฝรั่งเศส เช่น "ฌีมนอเปดี หมายเลขหนึ่ง" โดย เอริก ซาตี และ "เลิฟดอนต์เลตมีโก" โดย ดาวีด แกตา เป็นต้น มาใช้ประกอบการแสดงในช่วงนี้ด้วย
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ต่อเนื่องจากส่วนก่อนหน้า ดนตรีและการเต้นเปลี่ยนไปในโทนรุนแรงมากขึ้น พร้อมการฉายภาพภัยพิบัติต่าง ๆ และนักเต้นค่อย ๆ ทรุดลงกับพื้นจนครบทุกคน จากนั้นมีการบรรเลงและขับร้องเพลง "อิแมจิน"
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ในส่วนนี้เปิดด้วยผู้แสดงหญิงสวมเกราะเงิน มีธงโอลิมปิกคลุมหลัง ขี่ม้ากลสีโลหะในลักษณะเดียวกับฌาน ดาร์ก ล่องไปตามแม่น้ำแซน อันสื่อถึง ปีแยร์ เดอ กูแบร์แต็ง และประวัติศาสตร์โอลิมปิก ระหว่างการเดินทางดังกล่าวมีการฉายภาพการแข่งขันโอลิมปิกครั้งที่ผ่านมา พร้อมด้วยอาสาสมัครถือธงชาติที่เข้าร่วมการแข่งขันเข้าสู่สนามทรอกาเดโร จากนั้นหญิงสวมเกราะเงินขี่ม้าสีขาวมายังบริเวณพิธี นำธงโอลิมปิกอีกผืนเพื่อไปยังเสาใกล้กับอัฒจันทร์ประธาน ทหารกองทัพฝรั่งเศสเชิญธงดังกล่าวขึ้นสู่ยอดเสาพร้อมการบรรเลงและขับร้องเพลงสดุดีโอลิมปิกโดยวงดุริยางค์แห่งชาติและคณะนักร้องประสานเสียงวิทยุฝรั่งเศส
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
หลังจากการมอบรางวัลโอลิมปิกลอเรล และการกล่าวต้อนรับของประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันกับประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้กล่าวเปิดการแข่งขัน จบแล้วเป็นการปฏิญาณตนของนักกีฬา, ผู้ตัดสิน และผู้ฝึกสอน หลังจากนั้นเป็นการวิ่งคบเพลิงในช่วงสุดท้าย โดย ซีเนดีน ซีดาน รับคบเพลิงต่อจากชายสวมหน้ากากที่โผล่ขึ้นกลางสนามทรอกาเดโร จากนั้นส่งต่อไปยังราฟาเอล นาดัล ซึ่งเดินทางไปลงเรือที่ คาร์ล ลูวิส, เซเรนา วิลเลียมส์ และนาดียา กอเมอเนช รออยู่ก่อนแล้ว เพื่อล่องไปยังสถานที่จุดคบเพลิง ในระหว่างนี้มีการแสดงดนตรีและแสงสีที่หอไอเฟล เมื่อเรือมาถึงท่าใกล้ลูฟวร์ อเมลี โมเรสโม, โทนี ปาร์กเกอร์ และนักกีฬาพาราลิมปิกชาวฝรั่งเศสอีกสามคน ได้รับช่วงต่อการวิ่งคบเพลิงเพื่อนำไปสู่ช่วงสุดท้ายของพิธี
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
คบเพลิงเดินทางมาถึงฌาร์แด็งเดอตุยเลอรี เหล่านักกีฬาในตำนานของฝรั่งเศสได้ส่งต่อไปยัง เท็ดดี้ ไรเนอร์ และมารี-โฮเซ่ เปเรช เพื่อจุดในกระถางคบเพลิงวงแหวนใต้บัลลูนอากาศร้อน อันประกอบด้วยหลอดไฟแอลอีดี 40 ดวง และหัวฉีดละอองน้ำแรงดันสูง 200 ตัว คบเพลิงได้ลอยสูงจากพื้น 30 เมตร อันเป็นการระลึกถึงการขับเคลื่อนบัลลูนอากาศร้อนครั้งแรกของพี่น้องมงกอลฟีเยในสถานที่ดังกล่าวเมื่อ 241 ปีก่อน คบเพลิงนี้มีสายตรึงกับแท่นป้องกันการลอยออกจากที่ตั้ง และจะดึงกลับมาบนพื้นในช่วงกลางวัน คบเพลิงนี้เป็นครั้งแรกของโอลิมปิกที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์โดยตรง
หลังจากนั้น เซลีน ดิออน ได้ขับร้องเพลง "อีมนาลามูร์" ผลงานของเอดิต ปียัฟ จากชั้นหนึ่งของหอไอเฟล เป็นการเสร็จสิ้นพิธีเปิดในเวลา 23.29 น.
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เลดีกากา[32] และเซลีน ดิออน ร่วมแสดงในพิธีนี้ เฉพาะดิออนซึ่งขับร้องเพลง "อีมนาลามูร์" ของเอดิต ปียัฟ ที่หอไอเฟลนั้น นับเป็นการแสดงสดครั้งแรกตั้งแต่เธอประกาศว่าตนเองป่วยเป็นโรคคนแข็งเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565[33]
สมาชิกคณะกรรมการโอลิมปิกสากลและองค์กรอันเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการโอลิมปิก
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.