เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 2023 กลุ่มติดอาวุธชาวปาเลสไตน์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มฮะมาส และญิฮาดอิสลามปาเลสไตน์ ร่วมกับกลุ่มอื่น ๆ เช่น กลุ่มแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ ได้เปิดฉากการโจมตีครั้งใหญ่ต่ออิสราเอลจากฉนวนกาซา ในรูปแบบของจรวดโจมตีและการโจมตีต่าง ๆ การรุกรานข้ามพรมแดนเข้าสู่อิสราเอล โดยกลุ่มฮะมาสได้เรียกปฏิบัติการนี้ว่า "ปฏิบัติการน้ำท่วมอัล-อักศอ" ถือเป็นความขัดแย้งที่มีการเผชิญหน้ากันตรง ๆ ภายในดินแดนของประเทศอิสราเอลนับตั้งแต่สงครามอาหรับ–อิสราเอล พ.ศ. 2491
บทความนี้มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ข้อมูลอาจเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วตามสถานการณ์ การแก้ไขล่าสุดบนหน้านี้อาจไม่ได้แสดงข้อมูลที่เป็นปัจจุบันที่สุด (พฤศจิกายน 2023) |
สงครามอิสราเอล–ฮะมาส ค.ศ. 2023 | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล | |||||||
สถานการณ์โดยรอบฉนวนกาซา: สีแดงหมายถึงฉนวนกาซา ในขณะที่สีน้ำเงินหมายถึงดินแดนของอิสราเอลซึ่งมีการรายงานการมีอยู่ของกลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ฮะมาส PIJ PFLP[1] DFLP[2] ฮิซบุลลอฮ์[3] ถ้ำสิงห์[4] เยเมน[5] อิหร่าน |
อิสราเอล สนับสนุน สหรัฐ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
มุฮัมมัด อัล-ดาอิฟ อาบู โอไบดา |
เบนจามิน เนทันยาฮู ไอแซก เฮอร์ซอก โยอาฟ กัลแลนต์ เฮอร์ชี ฮาเลวี โคบิ ชาบไต นิมโรด อาโลนี โจนาธาน สเตนเบิร์ก †[6] | ||||||
หน่วยที่เกี่ยวข้อง | |||||||
กองพลน้อยอัลกอสซัม กองพลน้อยอัลกุดส์ กองพลอาบู อาลี มุสตาฟา กองพลต่อต้านแห่งชาติ กองทัพเยเมน |
กองทัพอิสราเอล ตำรวจอิสราเอล | ||||||
กำลัง | |||||||
25,000[7] ถึง 40,000+ คน[8] | 529,500 คน[a] | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ฉนวนกาซา ในอิสราเอล |
อิสราเอล |
มีรายงานการยิงจรวดไม่ต่ำกว่า 3,000 ลูกเข้าไปในประเทศอิสราเอลจากฉนวนกาซาในระหว่างที่กลุ่มติดอาวุธได้แทรกซึมเข้าไปในดินแดนของอิสราเอล ส่งผลให้มีชาวอิสราเอลเสียชีวิตประมาณ 700 คน[21] โดยรัฐบาลอิสราเอลได้ตอบโต้โดยการประกาศสถานะสงครามและเปิดปฏิบัติการดาบเหล็ก (Operation Iron Swords) ต่อกลุ่มฮะมาส[22]
กลุ่มติดอาวุธฮะมาสได้ประกาศว่าประเทศอิหร่านสนับสนุนการโจมตีในครั้งนี้[23] และต่อมาอิหร่านก็ได้ออกมาแถลงสนับสนุนและช่วยวางแผนการโจมตี[24] และเพื่อเป็นการตอบโต้ต่อเหตุการณ์ความรุนแรงในครั้งนี้ รัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประกาศว่าได้ทำการเคลื่อนเรือรบ เครื่องบินรบ และอุปกรณ์ทางทหารต่าง ๆ ไปยังเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก อีกทั้งยังประกาศว่าจะสนับสนุนอิสราเอลในเรื่องของอุปกรณ์ทางการทหาร[25] ในขณะที่ผู้นำชาติตะวันตก อินเดีย ไต้หวันและชาติอื่น ๆ ได้ออกมาประณามการโจมตีของกลุ่มฮะมาสต่ออิสราเอล[26][27][28]
วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2567 ประเทศอิหร่านได้ยิงขีปนาวุธเข้าไปยังประเทศอิสราเอลนับเป็นการขยายวงกว้างของสงคราม
ชื่อ
กลุ่มติดอาวุธชาวปาเลสไตน์ขนานนามการโจมตีของพวกเขาว่า ปฏิบัติการน้ำท่วมอัล-อักศอ (อาหรับ: عملية طوفان الأقصى, อักษรโรมัน: ʿamaliyyat ṭūfān al-ʾAqṣā), [29] [30] ขณะที่อิสราเอลประกาศการเริ่มต้นความพยายามตอบโต้ที่เรียกว่า ปฏิบัติการดาบเหล็ก (ฮีบรู: מבצע חרבות ברזל, อักษรโรมัน: Mivtsa charvot barzel). [31] สำนักข่าวและผู้สังเกตการณ์หลายแห่งได้กล่าวถึงความขัดแย้งที่กำลังดำเนินอยู่ว่าเป็น อินติฟาดาครั้งที่ 3 [32] [33] [34] The Sunday Telegraph เรียกความขัดแย้งครั้งนี้ว่าเป็น "เหตุการณ์ 9/11 ของอิสราเอล" [35]
เส้นเวลา
ผู้สูญเสีย
มีการเสนอว่า บทความนี้หรือส่วนนี้ควรแยกเป็นบทความใหม่ชื่อ ผู้สูญเสียในสงครามอิสราเอล–ฮะมาส พ.ศ. 2566 (อภิปราย) |
ผู้สูญเสียต่างชาติและสองสัญชาติ
เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม หนังสือพิมพ์เดอะวอชิงตันโพสต์รายงานว่า บุคคลจาก 24 ประเทศถูกสังหารหรือสูญหายระหว่างความขัดแย้งดังกล่าว[36]
ประเทศ | เสียชีวิต | ถูกลักพาตัว | สูญหาย | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
ฝรั่งเศส | 35 | ไม่ทราบ | 9[37] | [38] |
ไทย | 33 | 18 | 0 | [39] |
สหรัฐ | 32[40] | ไม่ทราบ | 13 | [38] |
ยูเครน | 24 | ไม่ทราบ | 8 | [41][42][43] |
รัสเซีย | 19 | 2 | 7 | [44] |
เนปาล | 10 | 17 | 1 | [45] |
อาร์เจนตินา | 9 | ไม่ทราบ | 20 | [46] |
โปรตุเกส | 9 | 0 | 3 | [47] |
เอธิโอเปีย | 7 | 0 | 0 | [48] |
แคนาดา | 6 | ไม่ทราบ | 2 | [38] |
สหราชอาณาจักร | 6 | ไม่ทราบ | 10 | [49] |
โรมาเนีย | 5 | 1 | 2 | [50][51] |
ออสเตรีย | 4 | ไม่ทราบ | 1 | [52][53] |
ชิลี | 4 | 1 | 0 | [54] |
จีน | 4 | 0 | 2 | [38] |
ฟิลิปปินส์ | 4 | ไม่ทราบ | 2 | [55] |
เบลารุส | 3 | ไม่ทราบ | 1 | [56] |
บราซิล | 3 | ไม่ทราบ | 0 | [57] |
เลบานอน | 3 | 0 | 0 | [58] |
ตุรกี | 3 | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | [59] |
โคลอมเบีย | 2 | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | [60] |
ปารากวัย | 2 | ไม่ทราบ | 2 | [61] |
เปรู | 2 | ไม่ทราบ | 5 | [38] |
แอฟริกาใต้ | 2 | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | [62] |
ซีเรีย | 2 | 0 | 0 | [63] |
ออสเตรเลีย | 1 | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | [64] |
อาเซอร์ไบจาน | 1 | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | [38] |
กัมพูชา | 1 | 0 | 0 | [65] |
เอสโตเนีย | 1 | 0 | 0 | [66] |
เยอรมนี | 1 | 5 | ไม่ทราบ | [67] |
ฮอนดูรัส | 1 | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | [68] |
ไอร์แลนด์ | 1 | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | [61][69] |
อิตาลี | 1 | ไม่ทราบ | 2 | [70][71] |
คาซัคสถาน | 1 | 0 | 0 | [72] |
ลัตเวีย | 1 | 0 | 0 | [73] |
ลิทัวเนีย | 1 | 0 | 0 | [74] |
สเปน | 1 | 1 | 0 | [75][76] |
ศรีลังกา | 1 | 2 | 2 | [77][78] |
สวิตเซอร์แลนด์ | 1 | ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | [79] |
เดนมาร์ก | 0 | 1 | 0 | [80][81] |
เม็กซิโก | 0 | 2 | 0 | [61] |
เซอร์เบีย | 0 | 1 | 0 | [82] |
แทนซาเนีย | 0 | 0 | 2 | [83] |
ปฏิกริยาของนานาชาติ
บทความหลัก : ปฏิกิริยาของนานาชาติต่อสงครามอิสราเอล–ฮะมาส พ.ศ. 2566
หมายเหตุ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.