คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

ประเทศเลบานอน

สาธารณรัฐในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประเทศเลบานอนmap
Remove ads

33°50′N 35°50′E

ข้อมูลเบื้องต้น สาธารณรัฐเลบานอน ٱلْجُمْهُورِيَّةُ ٱللُّبْنَانِيَّةُ (อาหรับ) République libanaise (ฝรั่งเศส), เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด ...
Remove ads

เลบานอน (อังกฤษ: Lebanon; อาหรับ: لُبْنَان; ฝรั่งเศส: Liban) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐเลบานอน (อังกฤษ: Republic of Lebanon, Lebanese Republic; อาหรับ: ٱلْجُمْهُورِيَّةُ ٱللُّبْنَانِيَّةُ; ฝรั่งเศส: République libanaise) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และถือเป็นหนึ่งใน 15 ดินแดนที่ประกอบเป็น "แหล่งกำเนิดแห่งมนุษยชาติ" (Cradle of Humanity) เลบานอนมีพรมแดนติดกับประเทศซีเรียและประเทศอิสราเอล พรมแดนที่ติดกับประเทศอิสราเอลได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติแล้ว แต่พื้นที่บางส่วน เรียกว่า "ชีบาฟามส์" (Shebaa Farms) ตั้งอยู่ในที่ราบสูงโกลันยังคงครอบครองโดยอิสราเอล ซึ่งอ้างว่าเป็นพื้นที่ของซีเรีย กองทัพต่อต้านอ้างว่า "ชีบาฟามส์" เป็นพื้นที่ของเลบานอน และในบางโอกาสก็โจมตีที่มั่นของอิสราเอลภายในพื้นที่ดังกล่าว นอกจากนี้ ซีเรียบำรุงรักษากองทัพที่มีทหารประมาณ 14,000 นายในเลบานอน ชาวเลบานอนที่สนับสนุนเลบานอนอ้างว่าเป็นการอยู่อย่างถูกต้องเนืองจากรัฐบาลเลบานอนได้ขอไว้ ตอนเริ่มสงครามกลางเมืองเมื่อ พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ผู้ที่ไม่เห็นด้วยอ้างว่า การอยู่ของซีเรียเป็นประหนึ่งการยึดครองโดยอำนาจต่างชาติ

Remove ads

ประวัติศาสตร์

Thumb

เลบานอนอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส และได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 1943 หลังจากนั้น เลบานอนได้พัฒนาประเทศจนสามารถรักษาความเป็นศูนย์กลางด้านการค้า การเงินศิลปะและวัฒนธรรมของภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้นับตั้งแต่อดีตไว้ได้ อย่างไรก็ดี ในช่วง ค.ศ. 1975 – 1991 เลบานอนตกอยู่ภายใต้ภาวะสงครามกลางเมือง มีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอาหรับและกลุ่มคริสเตียนในเลบานอน ในที่สุด ทุกฝ่ายสามารถหาข้อยุติและร่วมกันพัฒนาฟื้นฟูประเทศหลังจากภาวะสงครามกลางเมืองอีกครั้ง

ซีเรียเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อเลบานอนมากที่สุด โดยเฉพาะด้านความมั่นคงและการต่างประเทศ โดยซีเรียได้ส่งกองกำลังรักษาความสงบอยู่ในเลบานอนประมาณ 30,000 คน และจากความสัมพันธ์ที่แนบแน่นดังกล่าว ทำให้กรณีพิพาทเรื่องดินแดนระหว่างซีเรีย เลบานอนกับอิสราเอลไม่มีความคืบหน้า

Remove ads

การเมืองการปกครอง

เลบานอนมีระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข

บริหาร

ฝ่ายบริหารประกอบด้วยคณะรัฐมนตรี 16 นาย มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร

นิติบัญญัติ

รัฐสภาแห่งชาติ (National Assembly) มีสมาชิก 128 คน มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี (ประธานรัฐสภาแห่งชาติควรเป็นมุสลิมนิกาย Shi’a)

ตุลาการ

ฝ่ายตุลาการมี 4 ศาล ได้แก่ ศาลที่พิจารณาคดีเกี่ยวกับพลเรือนและการพาณิชย์ 3 ศาล และศาลที่พิจารณาคดีเกี่ยวกับคดีอาญาอีก 1 ศาล

Remove ads

การแบ่งเขตการปกครอง

สรุป
มุมมอง
Thumb

เลบานอนแบ่งเป็น 6 เขตผู้ว่า หรือ มุฮาฟาซอต (mohafazat, เอกพจน์ มุฮาฟาเซาะห์ - mohafazah) ซึ่งแบ่งเป็นเขตย่อยลงไปอีก 25 เขต หรือ อักฎิยะห์ (Aqdya, เอกพจน์ - กอฎออ์ [qadaa]) , และแบ่งเป็นเทศบาลต่าง ๆ ที่รวมหลายเมืองหรือหมู่บ้าน (เมืองหลวงของเขตผู้ว่าจะเป็นตัวเอน)

เขตผู้ว่าเบรุต (Beirut Governorate) :

เขตผู้ว่าภูเขาเลบานอน (Governorate of Mount Lebanon) :

  • บาบดา (Baabda) (บาบดา [Baabda])
  • อเลย์ (Aley) (อเลย์ [Aley])
  • เมตน์ (Metn) (จเดเดห์ [Jdeideh])
  • เคเซอร์วัน (Keserwan) (จูนิเยะห์ [Jounieh])
  • ชูฟ (Chouf) (เบเตดดีน [Beiteddine])
  • จเบล (Jbeil) (บิบลอส [Byblos])

เขตผู้ว่าเลบานอนเหนือ (Governorate of North Lebanon) :

  • ตรีโปลี (Tripoli) (ตรีโปลี [Tripoli])
  • อัคคาร์ (Akkar) (ฮัลบา [Halba])
  • ซการ์ตา (Zgharta) (ซการ์ตา [Zgharta] / เอห์เดน [Ehden])
  • บชาร์ริ (Bsharri) (บชาร์ริ [Bsharri])
  • บาตรูน (Batroun) (บาตรูน [Batroun])
  • คูรา (Koura) (อัมยูน [Amyoun])
  • มานเยห์-ดานน์เยห์ (Manyeh-Dannyeh) (มานเยห์ [Manyeh] / เซร์ดดานน์เยห์ [Seirddanyeh])

เขตผู้ว่าเบกา (Governorate of Beqaa) :

  • ซาห์เลห์ (Zahleh) (ซาห์เลห์ [Zahleh])
  • บะอัลเบค (Baalbek) (บะอัลเบค [Baalbek])
  • เฮอร์เมล (Hermel) (เฮอร์เมล [Hermel])
  • ราชายา (Rashaya) (ราชายา [Rashaya])
  • เบกาตะวันตก (Western Beqaa) (เจบเจนนีน [Jebjennine]/ ซากบีน [Saghbine])

เขตผู้ว่าเลบานอนใต้ (Governorate of South Lebanon) :

  • ซีดอนหรือไซดา (Sidon, Saida) (ซีดอน [Sidon])
  • เจซซีน (Jezzine) (เจซซีน [Jezzine])
  • ไทร์ (Tyre) (ไทร์ [Tyre])

เขตผู้ว่านาบาตีเยะห์ (Governorate of Nabatyeh) :

  • นาบาตีเยะห์ (Nabatyeh) (นาบาตเยห์ [Nabatyeh])
  • มาร์เจยูน (Marjeyoun) (มาร์เจยูน [Marjeyoun])
  • ฮัสบายา (Hasbaya) (ฮัสบายา [Hasbaya])
  • เบนต์จเบล (Beintjbeil) (เบนต์จเบล [Beintjbeil])

ประชากร

ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับ

ศาสนา

ศาสนาอิสลามร้อยละ 10 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 90[15]

หมายเหตุ

    1. มาตราที่ 11 ของรัฐธรรมนูญเลบานอนระบุว่า: "ภาษาอาหรับเป็นภาษาทางการ กฎหมายจะกำหนดกรณีที่สามารถใช้ภาษาฝรั่งเศสได้" ดู: ภาษาฝรั่งเศสในประเทศเลบานอน
    2. หมายเหตุ: ชาวเลบานอนหลายคนไม่ระบุตนเองเป็น "ชาวอาหรับ" แต่ระบุว่าเป็นลูกหลานของชาวคานาอันโบราณและพอใจที่จะเรียกตนเองว่าเป็น "ชาวฟินีเชีย" มากกว่า
    3. เนื่องจากเรื่องศาสนาและลัทธิเป็นประเด็นอ่อนไหว ทำให้ไม่มีสำมะโนระดับชาติตั้งแต่ ค.ศ. 1932 ปัจจุบันมีลัทธิศาสนาที่ได้รับการยอมรับในระดับรัฐ 18 ลัทธิ ได้แก่ มุสลิม 4 ลัทธิ, คริสต์ 12 ลัทธิ, ดรูซ 1 ลัทธิ และยิว 1 ลัทธิ
    4. หมายเหตุ: ชาวดรูซส่วนใหญ่ไม่ระบุตนเองเป็นมุสลิม แต่รัฐบาลเลบานอนจัดให้ชาวดรูซเป็นหนึ่งในกลุ่มมุสลิมทั้ง 5 ในเลบานอน (ซุนนี, ชีอะฮ์, ดรูซ, อะละวี และอิสมาอีลียะฮ์)
    Remove ads

    อ้างอิง

    แหล่งข้อมูลอื่น

    Loading content...
    Loading related searches...

    Wikiwand - on

    Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

    Remove ads