ดรูซ (อาหรับ: درزي darzī or durzī, พหูพจน์ دروز durūz) เป็นสมาชิกกลุ่มศาสนาชาติพันธุ์คุยหลัทธิที่พูดภาษาอาหรับ[1][2] ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันตก ชาวดรูซนับถือศาสนาดรูซที่พัฒนามาจากอิสมาอีลียะฮ์อันเป็นศาสนาอิสลามนิกายชีอะฮ์สายหนึ่ง แต่กระนั้นพวกเขาไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มมุสลิม[3][4][5][6] ศาสนาดรูซเป็นศาสนาชาติพันธุ์กลุ่มอับราฮัมที่มีความเชื่อเอกเทวนิยมและการผสานความเชื่อ โดยอิงจากคำสอนของฮัมซะฮ์ อิบน์ อะลีและอัลฮากิม บิอัมรุลลอฮ์ รวมถึงนักปรัชญากรีกโบราณ เช่น เพลโต แอริสตอเติล พีทาโกรัสและซีโนแห่งซีเทียม[7][8][9][10] ศาสนิกชนเรียกตนเองว่า "ชนผู้นับถือเทพองค์เดียว" (Al-Muwaḥḥidūn)[11]
สาส์นแห่งปัญญา (Rasa'il al-Hikmah) เป็นคัมภีร์ที่เป็นรากฐานและหัวใจสำคัญของศาสนาดรูซ[12] ศาสนาดรูซผสานแนวคิดอิสมาอีลียะฮ์[13] ศาสนาคริสต์ ไญยนิยม ลัทธิเพลโตใหม่[14][15] ศาสนาโซโรอัสเตอร์[16][17] ศาสนาพุทธ[18][19] ศาสนาฮินดู ลัทธิพีทาโกรัส[20][21] และปรัชญาอื่น ๆ จนเกิดเป็นความเชื่อเฉพาะตัวที่อิงอยู่บนการตีความคัมภีร์ที่เน้นย้ำบทบาทของจิตและความสัตย์จริง[11][21] ชาวดรูซเชื่อในประสบการณ์พบปะกับเทพและการกลับชาติมาเกิด รวมถึงเชื่อว่าเมื่อสิ้นสุดวัฏจักรการเกิดใหม่ จิตจะไปรวมกับอนุตรจิต (al-ʻaql al-kullī)[23]
ชาวดรูซเชื่อว่ามีผู้เผยพระวจนะเจ็ดคนในแต่ละช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ได้แก่ อาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส พระเยซู มุฮัมมัดและมุฮัมมัด อิบน์ อิสมาอีล อัดดะรอซี[24][25][26] ธรรมเนียมดรูซยังนับถือซัลมาน อัลฟาริซี[27] อัล-คิฎิร (ถูกระบุเป็นเอลียาห์ผู้เกิดใหม่เป็นยอห์นผู้ให้บัพติศมาและนักบุญจอร์จ)[28] โยบ ลูกาผู้นิพนธ์พระวรสารและคนอื่น ๆ ในฐานะผู้ชี้แนะและผู้เผยพระวจนะ[29] นอกจากนี้ดรูซยังมีความเกี่ยวข้องกับชุอัยบ์หรือเยโธร[30]
แม้ว่าดรูซจะพัฒนามาจากอิสมาอีลียะฮ์ แต่ชาวดรูซไม่ใช่มุสลิม[31] ดรูซเป็นหนึ่งในกลุ่มศาสนาหลักในลิแวนต์ มีศาสนิกชนประมาณ 800,000–1,000,000 คน ชาวดรูซส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเลบานอน ซีเรียและอิสราเอล คิดเป็น 5.5% ของประชากรเลบานอน 3% ของซีเรียและ 1.6% ของอิสราเอล ชุมชนดรูซที่เก่าแก่และมีชาวดรูซอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดอยู่ที่ภูเขาเลบานอนและทางใต้ของซีเรียรอบญะบัล อัล-ดรูซ (ภูเขาแห่งดรูซ)[32]
ชุมชนดรูซมีส่วนสำคัญในการก่อร่างประวัติศาสตร์ลิแวนต์และยังมีส่วนสำคัญในทางการเมืองภูมิภาคนั้น[33] อย่างไรก็ตามเนื่องจากเป็นชนกลุ่มน้อยในหลายประเทศ ชาวดรูซจึงมักประสบกับการเบียดเบียนทางศาสนาบ่อยครั้งจากกลุ่มอิสลามหัวรุนแรง[34][35][36]
Chatty, Dawn (2010-03-15). Displacement and Dispossession in the Modern Middle East. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-81792-9.
Léo-Paul Dana (1 January 2010). Entrepreneurship and Religion. Edward Elgar Publishing. p. 314. ISBN 978-1-84980-632-9.
De McLaurin, Ronald (1979). The Political Role of Minority Groups in the Middle East. Michigan University Press. p. 114. ISBN 9780030525964. Theologically, one would have to conclude that the Druze are not Muslims. They do not accept the five pillars of Islam. In place of these principles the Druze have instituted the seven precepts noted above..
Léo-Paul Dana (1 January 2010). Entrepreneurship and Religion. Edward Elgar Publishing. p. 314. ISBN 978-1-84980-632-9.
Quilliam, Neil (1999). Syria and the New World Order. Michigan University press. p. 42. ISBN 9780863722493.
The New Encyclopaedia Britannica. Encyclopaedia Britannica. 1992. p. 237. ISBN 9780852295533. Druze religious beliefs developed out of Isma'ill teachings. Various Jewish, Christian, Gnostic, Neoplatonic, and Iranian elements, however, are combined under a doctrine of strict monotheism.
Al-Rāfidān. Kokushikan Daigaku, Iraku Kodai Bunka Kenkyūjo. 1989. pp. 2–.
"Druze". druze.org.au. 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 February 2016.
Seddon, David (2013). A Political and Economic Dictionary of the Middle East. Routledge. p. 74. ISBN 9781135355616. Druze believe in seven prophets: Adam, Noah, Abraham, Moses, Jesus, Muhammad, and Muhammad ibn Ismail ad-Darazi. They also have a special affinity with Shueib, or Jethro, the father-in-law of Moses.
N. Stearns, Peter (2008). The Oxford Encyclopedia of the Modern World. Oxford University Press. p. 574. ISBN 9780195176322. Druze venerate seven prophets: Adam, Noah, Abraham, Moses, Jesus, Muhammad, and Muhammad ibn Ismai'il ad - Darazi.
A Political and Economic Dictionary of the Middle East. Routledge. 2013. ISBN 9781135355616. ...Druze believe in seven prophets: Adam, Noah, Abraham, Moses, Jesus, Muhammad, and Muhammad ibn Ismail ad-Darazi..
D Nisan, Mordechai (2015). Minorities in the Middle East: A History of Struggle and Self-Expression, 2d ed. McFarland. p. 94. ISBN 9780786451333.
Swayd, Samy (2015). Historical Dictionary of the Druzes. Rowman & Littlefield. p. 77. ISBN 978-1442246171.
S. Swayd, Samy (2009). The A to Z of the Druzes. Rowman & Littlefield. p. 109. ISBN 9780810868366. They also cover the lives and teachings of some biblical personages, such as Job, Jethro, Jesus, John, Luke, and others
A Political and Economic Dictionary of the Middle East. Routledge. 2013. ISBN 9781135355616.
De McLaurin, Ronald (1979). The Political Role of Minority Groups in the Middle East. Michigan University Press. p. 114. ISBN 9780030525964. Theologically, one would have to conclude that the Druze are not Muslims. They do not accept the five pillars of Islam. In place of these principles the Druze have instituted the seven precepts noted above..
Zabad, Ibrahim (2017). Middle Eastern Minorities: The Impact of the Arab Spring. Taylor & Francis. p. 125. ISBN 9781317096733. Although the Druze are a tiny community, they have played a vital role in the politics of the Levant
J. Stewart, Dona (2008). The Middle East Today: Political, Geographical and Cultural Perspectives. Routledge. p. 33. ISBN 9781135980795.