Remove ads
สายการบินแห่งชาติของสหราชอาณาจักร จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริติชแอร์เวย์ (อังกฤษ: British Airways) เป็นสายการบินประจำชาติของสหราชอาณาจักร ที่มีฐานการบินที่ท่าอากาศยานฮีทโธรว์และท่าอากาศยานแกตวิกในลอนดอน[2][3] บริติชแอร์เวย์ถือเป็นเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่สองของประเทศ ตามหลังอีซี่ย์เจ็ต และเป็นลำดับที่สามของทวีปยุโรปตามหลังแอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็มและลุฟต์ฮันซ่า สายการบินให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทางกว่า 200 แห่งทั่วโลก
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
| |||||||
ก่อตั้ง |
| ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
AOC # | 441 | ||||||
ท่าหลัก | ลอนดอน–แกตวิค ลอนดอน–ฮีทโธรว์ | ||||||
สะสมไมล์ | เอ็กเซ็กคิวทีฟคลับ/เอวิออส | ||||||
พันธมิตรการบิน | วันเวิลด์ | ||||||
บริษัทลูก | บีเอซิตีฟลายเออร์ บีเอยูโรฟลายเออร์ | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 257 | ||||||
จุดหมาย | 183 | ||||||
บริษัทแม่ | อินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์กรุ๊ป | ||||||
สำนักงานใหญ่ | วอเตอร์ไซด์ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร | ||||||
บุคลากรหลัก | ฌอน ดอยล์ (ประธานและซีอีโอ) สตีเฟน วิลเลียม ลอว์เรนซ์ กันนิง (ซีเอฟโอและผู้อำนวยการ) | ||||||
รายได้ | 14.3 พันล้านปอนด์ (ค.ศ. 2023)[1] | ||||||
กำไร | 1,161 ล้านปอนด์ (ค.ศ. 2023)[1] | ||||||
พนักงาน | 37,401 คน (ค.ศ. 2023) | ||||||
เว็บไซต์ | www |
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1919 บริษัทแอร์ทรานสปอร์ทแอนด์เทรเวล (Aircraft Transport and Travel; AT&T) เริ่มเปิดบริการเที่ยวบินระหว่างประเทศระหว่างลอนดอนกับปารีส จนกระทั่งในวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1974 สายการบินสัญชาติอังกฤษ 4 ราย ประกอบด้วย Instone, Handley Page, Daimler Airways [เดิมคือ AT&T] และ British Air Marine Navigation ได้ควบรวมกิจการเข้าด้วยกันเป็นอิมพีเรียลแอร์เวย์ (Imperial Airways)[4] ให้บริการเส้นทางจากอังกฤษไปยัง ออสเตรเลีย และแอฟริกา
ในระหว่างนั้นสายการบินขนาดเล็กอื่นๆ ของอังกฤษ ก็เริ่มเปิดให้บริการเช่นกัน ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1935 ก็ได้ควบรวมกิจการเข้าเป็น บริติช แอร์เวย์ จำกัด (British Airways Ltd.) และหลังจากนั้นไม่นานรัฐบาลอังกฤษจึงได้แปรรูปกิจการ อิมพีเรียล แอร์เวย์ และ บริติช แอร์เวย์ จำกัด เข้ามาเป็นรัฐวิสาหกิจบริติชโอเวอร์ซีส์แอร์เวย์สคอร์ปอเรชัน (British Overseas Airways Corporation: BOAC) ในปีค.ศ. 1939 และยังคงให้บริการเส้นทางบินระยะไกลอยู่ในช่วงหลังสงครามโลก ยกเว้นเพียงเส้นทางไปอเมริกาใต้ ที่ให้บริการโดย บริติชเซาท์อเมริกันแอร์เวย์ (British South American Airways) ซึ่งต่อมาในปีค.ศ. 1949 ก็ได้ยุบรวมเข้ากับ BOAC ส่วนในเส้นทางภายประเทศและเส้นทางระหว่างประเทศในทวีปยุโรป ให้บริการโดยสายการบินแห่งใหม่ บริติชยูโรเปียนแอร์เวย์ (British European Airways: BEA)
ในปีค.ศ. 1952 BOAC ให้บริการด้วยเครื่อง De Havilland Comet ไปยังโจฮันเนสเบิร์ก ซึ่งช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางได้ และมีบริการจัดเที่ยวบินพิเศษทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการบิน ในปีค.ศ. 1970 BEA จึงต้องสู้ด้วยการตั้ง BEA Airtours จนกระทั่งปีค.ศ. 1972 BOAC และ BEA ก็ควบรวมการบริหารโดยตั้งกรรมการบริติช แอร์เวย์ (British Airways Board) เข้ามาดูแลแต่ยังแยกกันดำเนินกิจการ ก่อนที่จะยุบรวมเข้าเป็นสายการบินเดียวกันคือ บริติช แอร์เวย์ ในปีค.ศ. 1974 ภายใต้การดูแลของเดวิด นิโคลสัน ประธานกรรมการในขณะนั้น
บริติช แอร์เวย์ เริ่มให้บริการเครื่องบินความเร็วเหนือเสียงครั้งแรกของโลก คองคอร์ด ไปพร้อมๆกับสายการบินแอร์ฟรานซ์ ในปีค.ศ. 1976
เซอร์จอห์น คิง ถูกแต่งตั้งให้เป็นประธานในการเตรียมพร้อมการแปรรูปกิจการไปเป็นบริษัทเอกชน ในปีค.ศ. 1981 คิงได้ว่าจ้าง โคลิน มาร์แชล มาเป็นประธานบริหาร ในปีค.ศ. 1983 คิงเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงด้านการปรับเปลี่ยนสายการบินที่ขาดทุนมหาศาลให้เป็นสายการบินที่สามารถทำกำไรได้มากที่สุดของโลกได้ ในขณะที่สายการขนาดใหญ่อื่นๆยังคงประสบปัญหาอยู่ ทั้งฝูงบินและเส้นทางบินได้ถูกปรับเปลี่ยนตั้งช่วงแรกที่คิงเข้ามาบริหาร ด้วยการทำการตลาดและระดมนักโฆษณามาสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับสายการบิน มีการปลดพนักงานกว่า 23,000 ตำแหน่งในช่วงปี 1980 แต่คิงก็มีวิธีการสร้างขวัญกำลังให้พนักกงานที่เหลือและได้ปรับเปลี่ยนขั้นตอนการดำเนินงานให้ทันสมัยมากขึ้นไปพร้อมๆกัน
สายการบินแห่งชาติอังกฤษก็ได้แปรรูปกิจการและเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน (London Stock Exchange) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1987 ในสมัยรัฐบาลพรรคอนุรักษนิยม ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1988 ผลของบริติช แอร์เวย์ ส่งไปถึงการเข้าครอบครองกิจการสายการบินอันดับสองของอังกฤษ บริติชแคลิโดเนียแอร์เวย์ (British Caledonian) และในปีค.ศ. 1992 ได้ซื้อสายการบินแดนแอร์ (Dan-Air) ซึ่งมีฐานอยู่ที่แกตวิค
ในช่วงทศวรรษ 1990 บริติชแอร์เวย์ได้เป็นสายการบินที่มีผลกำไรมากที่สุดในโลก และได้เปิดสายการบินลูกดอยท์ช บีเอ ในปีค.ศ. 1992 เพื่อให้บริการในเยอรมนี จนกระทั่งเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2003 ก็ได้ขายกิจการออกไป ในขณะนั้นดอยท์ช บีเอ เป็นสายการบินให้บริการเส้นทางภายในประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเยอรมนี เป็นรองเพียงลุฟต์ฮันซา ขนาดของฝูงบินประกอบด้วยเครื่องบินโบอิง 737 ถึง 16 ลำ
ในปีค.ศ. 1993 โคลิน มาร์แชล ได้เข้ามาบริหารงานแทนที่ลอร์ดคิง ส่วนลอร์ดคิงก็ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกิตติมศักดิ์อาวุโสในปีค.ศ. 1995 เป็นตำแหน่งพิเศษที่ตั้งให้ท่านลอร์ดโดยเฉพาะ
เนื่องจากปัญหาทางการเมืองระหว่างจีนและไต้หวัน บริติช แอร์เวย์ จึงได้เปิดสายการบินลูกบริติชเอเชียแอร์เวย์ ขึ้นในปีค.ศ. 1995 มีฐานการบริการอยู่ที่ไต้หวัน สำหรับเส้นทางบินจากลอนดอนไปไทเป และได้เปลี่ยนเครื่องแบบให้เครื่องบินใหม่ โดยไม่ใช่ธงสหราชอาณาจักร แต่เปลี่ยนเป็นอักษรจีนแทน ซึ่งหลายสายการบินก็นำเอาวิธีการนี้ไปใช้ตามกัน เช่น แควนตัส ให้บริการในชื่อ ออสเตรเลีย เอเชีย แอร์เวย์ และเคแอลเอ็ม ให้บริการในชื่อ เคแอลเอ็ม เอเชีย จนกระทั่งปีค.ศ. 2001 บริติช เอเชีย แอร์เวย์ ก็หยุดกิจการเนื่องจากผลกำไรลดลง
สำนักงานใหญ่ของสายการบินตั้งอยู่ในฮาร์มอนด์สเวิร์ธซึ่งเป็นหมู่บ้านที่อยู่ใกล้กับท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์[5] วอเตอร์ไซด์สร้างเสร็จในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1998 เพื่อแทนที่สำนักงานใหญ่เดิม, สปีดเบิร์ดเฮาส์[6][7] ซึ่งตั้งอยู่ในเทคนิคอลบล็อก ซี ของท่าอากาศยานฮีทโธรว์[8]
บริติชแอร์เวย์ มีหุ้นอยู่ในสายการบินสัญชาติสเปน ไอบีเรีย อยู่ 10% โดยสัดส่วนหุ้นจาก 9 % เป็น 10% จากการซื้อหุ้นที่ถือโดยอเมริกันแอร์ไลน์ ทำให้บริติช แอร์เวย์สามารถแต่งตั้งกรรมการบอร์ดบริหารได้ 2 คน
บริติชแอร์เวย์ มีหุ้นในฟลายบี อยู่ 15% เนื่องจากขายบีเอคอนเนคให้กับฟลายบีเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550
บริติชแอร์เวย์ เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งเครือข่ายพันธมิตรสายการบินวันเวิลด์
บริติชแอร์เวย์มีข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้:[9]
ณ เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2024 บริติชแอร์เวย์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[16][17][18]
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร[19] | หมายเหตุ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
F | J | W | Y | รวม | ||||
แอร์บัส เอ319-100 | 29 | — | — | — | 40 | 83 | 123 | หนึ่งลำสวมลวดลายย้อนยุคบีอีเอ |
แอร์บัส เอ320-200 | 53 | — | — | — | 48 | 108 | 156 | สามลำ (G-EUYP/R/S) สวมลวดลายวันเวิลด์[20] |
แอร์บัส เอ320นีโอ | 25 | 8[21] | — | — | 48 | 108 | 156 | สั่งซื้อเพิ่มเติม 28 ลำโดยไอเอจี ซึ่งยังไม่ได้มีการระบุผู้ให้บริการในกล่มสายการบิน[1]หนึ่งลำสวมลวดลาย บีเอเบ็ตเทอร์เวิลด์ |
แอร์บัส เอ321นีโอ | 15 | 5[21] | — | — | 56 | 136 | 192 | สั่งซื้อเพิ่มเติม 23 ลำโดยไอเอจี ซึ่งยังไม่ได้มีการระบุผู้ให้บริการในกล่มสายการบิน[1] |
แอร์บัส เอ350-1000 | 18 | — | — | 56 | 56 | 219 | 331 | ส่งมอบพร้อมที่นั่งคลับสวีท ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดของรุ่นในยุโรป[21] |
แอร์บัส เอ380-800 | 12 | — | 14 | 97 | 55 | 303 | 469 | |
โบอิง 777-200อีอาร์ | 43 | — | 8 | 49 | 40 | 138 | 235 | การจัดเรียงแบบฮีทโธรว์ โดยใช้การจัดเรียงห้องโดยสารใหม่ มาพร้อมกับที่นั่งคลับสวีท[22] G-YMML สวมลวดลาย เกรตเฟสติวัลออฟครีเอทิวิตี สามลำ (G-YMMR/T/U) สวมลวดลายวันเวิลด์ |
— | 48 | 40 | 184 | 272 | ||||
14 | 48 | 40 | 134 | 236 | การจัดเรียงแบบแกตวิก โดยใช้ที่นั่งคลับเลิด์ที่เก่ากว่า[ต้องการอ้างอิง] | |||
— | 32 | 52 | 252 | 336 | ||||
48 | 332 | |||||||
โบอิง 777-300อีอาร์ | 16 | — | 8 | 76 | 40 | 130 | 254 | ทั้งหมดติดตั้งที่นั่งคลับสวีท (จากการปรับห้องโดยสาร 12 ลำ รับมอบใหม่ 4 ลำ) |
โบอิง 777-9 | — | 18[23] | 8 | 65 | 46 | 206 | 325 | สั่งซื้อพร้อม 24 ตัวเลือก[23] |
โบอิง 787-8 | 12 | — | — | 31 | 37 | 136 | 204 | ปรับห้องโดยสารโดยติดตั้งที่นั่งคลับสวีท |
— | 35 | 25 | 154 | 214 | ที่นั่งคลับเลิด์ที่เก่ากว่า | |||
โบอิง 787-9 | 18 | — | 8 | 42 | 39 | 127 | 216 | |
โบอิง 787-10 | 9 | 9[24] | 8 | 48 | 35 | 165 | 256 | ส่งมอบพร้อมที่นั่งคลับสวีท สั่งซื้อพร้อม 6 ตัวเลือก |
รวม | 250 | 42 |
บริติชแอร์เวย์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 14.1 ปี
นับเรื่อยมาจนกระทั่งปลายทศวรรษ 1990 บริติชแอร์เวย์ป็นลูกค้าหลักของโบอิง ซึ่งเป็นข้อถกเถียงกันว่า สายการบินประจำชาติอังกฤษเองควรจะสนับสนุนกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบินของอังกฤษ หรือซื้อเครื่องบินจากแอร์บัส (ชิ้นส่วนปีกของแอร์บัสและชิ้นส่วนอีกหลายส่วน มีฐานการผลิตอยู่ในอังกฤษ) ทางบริษัทเองก็ออกแถลงการปกป้องตัวเองว่า นอกจากเครื่องบินโบอิง 777 28 ลำจากทั้งหมดแล้ว เครื่องบินโบอิงลำอื่นๆก็ใช้เครื่องยนต์ของโรลส์รอยซ์ ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติอังกฤษ ซึ่งคำสั่งซื้อแบบนี้ก็สามารถนับย้อนไปจนถึงการซื้อเครื่องบินโบอิง 707 ที่ให้ใช้เครื่องยนต์ของโรลส์รอยซ์ เมื่อช่วงปี 1960 (พ.ศ. 2503)
การเปลี่ยนแปลงฝูงบินที่มีเครื่องบินที่ไม่ใช่ของโบอิงมากขึ้น โดยส่วนใหญ่จะมาจากการควบรวมกิจการกับสายการบินอื่นๆ ตัวอย่างเช่น การซื้อสายการบินบริติช ดาลโดเนียน แอร์เวย์ในช่วงปี พ.ศ. 2520 ซึ่งให้บริการเครื่องบินแมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10 และแอร์บัส เอ320 ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 (พ.ศ. 2533) บริติช แอร์เวย์ จึงได้เริ่มสั่งเครื่องแอร์บัส เอ320/เอ319เป็นจำนวนกว่า 100 ลำ เพื่อแทนที่เครื่องบินโบอิง 737
บริติช แอร์เวย์ ยังเคยเป็นให้บริการเครื่องบินคองคอร์ด มีเที่ยวบินทุกวันระหว่างฮีทโธรว์และนิวยอร์ก (จากเดิมที่ให้บริการไปบาห์เรน) โดยแรกเริ่มนั้นคอนคอร์ดมีต้นทุนในการให้บริการสูงเกินควร และได้รับคำวิจารณ์เชิงลบว่าเป็นการลงทุนที่เปล่าประโยชน์ แต่บริติช แอร์เวย์ ก็สามารถดึงความสนใจจากผู้โดยสารได้
หลังจากอุบัติเหตุของเครื่องบินคอนคอร์ดของแอร์ฟรานซ์ และวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ทำให้ต้นทุนการดำเนินงานพุ่งสูงขึ้น ยิ่งทำให้อนาคตของคองคอร์ดริบหรี่ลงไปอีก จึงได้มีแถลงการณ์ (ในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2546) ว่าหลังจาก 24 ตุลาคม พ.ศ. 2546 จะเริ่มกระบวนการลดเที่ยวบินคองคอร์ดลง เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารที่ลดลง เที่ยวบินคองคอร์ดสุดท้ายของบริติช แอร์เวย์ ออกจากฮีทโธรว์ไปบาร์บาดอส ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2546 บริติช แอร์เวย์ ยังเป็นเจ้าของเครื่องคองคอร์ดอยู่ทั้งหมด 8 ลำ โดยทำสัญญาเช่ายืมระยะยาวกับพิพธภัณฑ์ต่างๆในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และบาร์เบดอส
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.