Loading AI tools
สายการบินแห่งชาติของประเทศสิงคโปร์ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สิงคโปร์แอร์ไลน์ (อังกฤษ: Singapore Airlines (ย่อ: SIA); มลายู: Syarikat Penerbangan Singapura; จีน: 新加坡航空公司; พินอิน: Xīnjiāpō Hángkōng Gōngsī, ย่อว่า 新航; ทมิฬ: சிங்கப்பூர் ஏர்லைன்சு) เป็นสายการบินประจำชาติและสายการบินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศสิงคโปร์ โดยมีฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานชางงีสิงคโปร์ สายการบินให้บริเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทางกว่า 75 แห่งทั่วโลก โดยจัดว่ามีความแข็งแกร่งในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และเส้นทางจิงโจ้ (เส้นทางบินระหว่างประเทศในทวีปออสเตรเลียกับสหราชอาณาจักรโดยผ่านซีกโลกตะวันออก) นอกจากนี้ยังมีเที่ยวบินข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งรวมถึงเที่ยวบินตรงเชิงพาณิชย์ที่ใช้เวลาบินนานที่สุดในโลกสองเส้นทาง คือ จากสิงคโปร์ไปนูวร์ก และนครนิวยอร์ก ด้วยเครื่องบินแอร์บัส เอ350-900ULR[2][3]
| |||||||
ก่อตั้ง | 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 (79 ปี) (ในชื่อมาลายันแอร์เวย์) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มดำเนินงาน | 1 ตุลาคม ค.ศ. 1972 (52 ปี) (ในชื่อสิงคโปร์แอร์ไลน์) | ||||||
ท่าหลัก | สิงคโปร์ | ||||||
สะสมไมล์ |
| ||||||
พันธมิตรการบิน | สตาร์อัลไลแอนซ์ | ||||||
บริษัทลูก |
| ||||||
ขนาดฝูงบิน | 154 | ||||||
จุดหมาย | 75 | ||||||
บริษัทแม่ | เทมาเส็กโฮลดิงส์ (55%)[1] | ||||||
การซื้อขาย | SGX: C6L | ||||||
สำนักงานใหญ่ | สิงคโปร์ | ||||||
บุคลากรหลัก |
| ||||||
รายได้ | 17.77 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ค.ศ. 2023) | ||||||
รายได้จากการดำเนินงาน | 2.69 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ค.ศ. 2023) | ||||||
รายได้สุทธิ | 2.16 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ค.ศ. 2023) | ||||||
สินทรัพย์ | 49.10 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ค.ศ. 2023) | ||||||
ส่วนของผู้ถือหุ้น | 19.86 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ค.ศ. 2023) | ||||||
พนักงาน | 14,803 คน (ค.ศ. 2023) | ||||||
เว็บไซต์ | singaporeair.com |
สิงคโปร์แอร์ไลน์เป็นสายบินแรกที่สั่งซื้อเครื่องบินแอร์บัส เอ380 และนอกจากกิจการสายการบินแล้ว ยังขยายกิจการไปยังธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับสายการบิน เช่น การจัดการและวิศวกรรมอากาศยาน มีสายการบินซิลค์แอร์เป็นบริษัทสาขาที่สิงคโปร์แอร์ไลน์เป็นเจ้าของทั้งหมด ให้บริการเที่ยวบินภายในภูมิภาคไปยังเมืองที่มีความสำคัญระดับรองและมีผู้โดยสารน้อยกว่า และยังมีสิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โกเป็นบริษัทสาขาที่ดำเนินการบินฝูงบินขนส่งสินค้าและจัดการขนส่งและจัดเก็บสัมภาระบนเครื่องบินโดยสาร สิงคโปร์แอร์ไลน์ถือหุ้นในสายการบินเวอร์จินแอตแลนติกอยู่ 49% และลงทุนในสายการบินไทเกอร์แอร์ไลน์เป็นส่วนปันผล 49% เพื่อรับมือการแข่งขันจากสายการบินต้นทุนต่ำ สิงคโปร์แอร์ไลน์จัดว่าเป็นสายการบินที่มีจำนวนผู้โดยสารมากเป็นอันดับที่ 11 ในเอเชีย และมีผู้โดยสารระหว่างประเทศมากเป็นอันดับ 6 ของโลก[4]
สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารฟอร์จูนให้อยู่ในอันดับที่ 27 ในหมวดหมู่บริษัทที่เป็นที่ยกย่องชมเชยมากที่สุดในโลกประจำ พ.ศ. 2553[5][6] และได้สร้างตราบริษัทที่แข็งแกร่ง[7]ในฐานะผู้สร้างปรากฏการณ์[8]ในอุตสาหกรรมการบิน โดยเฉพาะความเป็นเลิศในด้านนวัตกรรม ความปลอดภัย และบริการ[9] ที่เชื่อมโยงเข้ากับความได้เปรียบทางธุรกิจอย่างมั่นคง[10] นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลมากมาย[11]และเป็นผู้นำทางอุตสาหกรรมในด้านการจัดซื้ออากาศยาน[12] มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ Airport House ใกล้กับท่าอากาศยานจางีในย่านจางีในสิงคโปร์[13]
สิงคโปร์แอร์ไลน์เริ่มต้นด้วยการก่อตั้งสายการบินมาลายันแอร์เวย์ (MAL) เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2480 ซึ่งเกิดจากการรวมตัวระหว่าง Ocean Steamship Company of Liverpool, the Straits Steamship Company of Singapore และอิมพีเรียลแอร์เวย์ เที่ยวบินแรกของสายการบินเป็นเที่ยวบินเช่าเหมาลำจากนิคมช่องแคบในสิงคโปร์ไปยังกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2490 ด้วยเครื่องบิน Airspeed Consul สองเครื่องยนต์[14] ต่อมาในวันที่ 1 พฤษภาคม ปีเดียวกัน ได้เริ่มให้บริการเที่ยวบินปกติตามตารางเวลาจากสิงคโปร์ไปกัวลาลัมเปอร์ อิโปห์ และปีนัง สัปดาห์ละครั้ง ด้วยเครื่องบินแบบเดียวกับเที่ยวบินแรก[15] ต่อมาใน พ.ศ. 2498 มลายาแอร์เวย์ได้เริ่มนำเครื่องบิน ดักลาส ดีซี 3 หลายลำเข้ามาเพิ่มในฝูงบิน และนำมาให้บริการใน พ.ศ. 2500 อากาศยานอื่นๆ ที่ใช้งานในช่วงสองทศวรรษแรกได้แก่ ดักลาส ดีซี 4 สกายมาสเตอร์, Vickers Viscount, Lockheed L-1049 Super Constellation, Bristol Britannia, de Havilland Comet 4 และ Fokker F27
เมื่อ พ.ศ. 2506 มลายา สิงคโปร์ ซาบะฮ์ และซาราวัก ได้รวมตัวกันเป็นสหพันธรัฐมาเลเซีย ทำให้ชื่อของสายการบินถูกเปลี่ยนจาก "มลายันแอร์เวย์" เป็น "มาเลเซียแอร์เวย์" แล้วได้ควบกิจการของสายการบินบอร์เนียวแอร์เวย์เข้ามา ต่อมาใน พ.ศ. 2509 สิงคโปร์ได้แยกตัวออกจากสหพันธรัฐ ชื่อของสายการบินจึงถูกเปลี่ยนอีกครั้งเป็นมาเลเซีย-สิงคโปร์แอร์ไลน์ (MSA) ปีต่อมาสายการบินได้ขยายตัวมากขึ้นทั้งในด้านฝูงบินและเส้นทางบิน รวมถึงการสั่งซื้อเครื่องบินโบอิง 707 ซึ่งเป็นอากาศยานของโบอิงลำแรกของสายการบิน และการเปิดสำนักงานแห่งใหม่ในสิงคโปร์ หลังจากนั้นไม่นานก็ได้สั่งซื้อเครื่องบินโบอิง 737 เข้ามาเพิ่มในฝูงบินอีก
ใน พ.ศ. 2515 สายการบินมาเลเซีย-สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้ยกเลิกการบินเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างสิงคโปร์และมาเลเซีย ส่งผลให้สายการบินแยกออกเป็นสองบริษัท คือ สิงคโปร์แอร์ไลน์ และมาเลเซียแอร์ไลน์[16][17][18] ซึ่งสิงคโปร์แอร์ไลน์ยังคงใช้และให้บริการสิ่งต่างๆ ที่เคยเป็นของมาเลเซีย-สิงคโปร์แอร์ไลน์ ได้แก่ เครื่องบินโบอิง 707 และ 737 รวม 10 ลำ เส้นทางระหว่างประเทศที่ออกจากสิงคโปร์ รวมถึงสำนักงานในสิงคโปร์ ซึ่งมี เจ. วาย. ปิลไล อดีตผู้บริหารร่วมของมาเลเซีย-สิงคโปร์แอร์ไลน์ เป็นประธานคนแรกของสิงคโปร์แอร์ไลน์ พนักงานต้อนรับหญิงยังคงสวมเครื่องแบบ โสร่ง เกอบายา ที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2511
ในช่วงทศวรรษที่ 1970s สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เห็นได้จากการเพิ่มเส้นทางบินไปยังเมืองในอนุทวีปอินเดียและเอเชีย และการสั่งซื้อเครื่องบินโบอิง 747 เพิ่มเข้ามาในฝูงบิน Mr Yong Nyuk Lin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสารในขณะนั้น ได้กล่าวในพิธีต้อนรับเครื่องบินโบอิง 747 สองลำแรกของสายการบิน ที่ท่าอากาศยานปายาเลบาร์ เมื่อวันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2516 เวลา 16.00 น. ไว้ว่า
“ | May I emphasise that SIA as an organisation will continue to succeed only so long as the men and women behind it will not relax but continue to work diligently, plan boldly, and strive for excellence in performance.[19] | ” |
ในช่วงทศวรรษที่ 1980s สิงคโปร์แอร์ไลน์เริ่มเปิดเส้นทางบินไปยังเมืองในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และยุโรป โดยมีมาดริดเป็นเมืองแรกในลาตินอเมริกา-สเปนที่สายการบินเปิดเส้นทางบิน ต่อมาใน พ.ศ. 2532 สายการบินได้สั่งซื้อเครื่องบินโบอิง 747-400 เพิ่มเติม และตั้งชื่อว่า Megatops ตามมาด้วยเครื่องบินโบอิง 777 แอร์บัส เอ 310 และแอร์บัส เอ 340 และในทศวรรษที่ 1990s ได้เปิดเส้นทางบินไปยังแอฟริกาตอนใต้ โดยมีโยฮันเนสเบิร์กในแอฟริกาใต้เป็นเมืองแรก ตามมาด้วยเคปทาวน์และเดอร์บัน
เมื่อ พ.ศ. 2547 สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้เปิดเส้นทางบินตรงข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกจากสิงคโปร์ไปยังลอสแอนเจลิสและนูอาร์ก โดยใช้เครื่องบินแอร์บัส เอ 340-500 ซึ่งเป็นการบินตรงระหว่างสิงคโปร์กับสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก และเส้นทางระหว่างสิงคโปร์กับนูอาร์กยังได้รับการบันทึกไว้ว่าใช้เวลาบินมากที่สุดในบรรดาเส้นทางบินเชิงพาณิชย์ทั่วโลก โดยใช้เวลาประมาณ 18 ชั่วโมง นอกจากนี้สายการบินยังได้ปรับเปลี่ยนผังที่นั่งบนเครื่องบินแอร์บัส เอ 340-500 จำนวนห้าลำที่ใช้บินไปยังลอสแอนเจลิสและนูอาร์ก จากเดิมที่เป็นชั้นธุรกิจ 64 ที่นั่งและชั้นประหยัดพิเศษ 117 ที่นั่ง ให้เป็นชั้นธุรกิจทั้งสิ้น 100 ที่นั่ง[20]
เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 รัฐบาลออสเตรเลียได้ตัดสินใจไม่อนุญาตให้สิงคโปร์แอร์ไลน์ทำการบินระหว่างออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกาก่อนบินกลับหรือหลังบินออกจากสิงคโปร์[21] ซึ่งทางสายการบินได้โต้กลับว่าการตัดสินใจครั้งนี้สืบเนื่องจากเที่ยวบินข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกจากออสเตรเลียประสบปัญหาผู้โดยสารน้อย ทำให้รัฐบาลพยายามจำกัดการแข่งขันและตั้งค่าโดยสารไว้ค่อนข้างสูง[21] โดยอ้างว่าเป็นมาตรการคุ้มครองสายการบินแคนตัสจากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น[22] ทั้งนี้สิงคโปร์แอร์ไลน์เคยเผชิญกับมาตรการคุ้มครองลักษณะนี้มาก่อนเมื่อครั้งมีการร้องทุกข์จากสายการบินแอร์แคนาดา จนทำให้สิงคโปร์แอร์ไลน์ถูกระงับเส้นทางบินไปยังโตรอนโต และเคยถูกเพิกถอนสิทธิการใช้เครื่องบินโบอิง 747-400 บินไปยังจาการ์ตาอันเนื่องมาจากการประท้วงของสายการบินการูดาอินโดนีเซียที่ไม่สามารถแข่งขันด้วยเครื่องบินรุ่นเดียวกันนี้ได้[23]
เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2543 สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้สั่งซื้อเครื่องบินแอร์บัส เอ 3XX (ชื่อเรียกของ เอ 380 ในขณะนั้น) จำนวน 25 ลำ มูลค่ารวม 8.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วยเครื่องบินที่สั่งซื้อขาด 10 ลำ และสั่งจองล่วงหน้า 15 ลำ[24] สายการบินได้ยืนยันคำสั่งซื้อในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2548 สายการบินได้เปิดตัวคำขวัญ "First to Fly the A380 - Experience the Difference in 2006" เพื่อประชาสัมพันธ์ในการเป็นสายการบินแรกที่สั่งซื้อเครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ซึ่งคาดว่าจะส่งมอบเครื่องบินภายในไตรมาสที่สองใน พ.ศ. 2549[25] แต่ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548 แอร์บัสได้ประกาศว่าเกิดปัญหาทางเทคนิคโดยไม่คาดคิด ทำให้การส่งมอบเบื้องต้นต้องถูกเลื่อนออกไปอีกหกเดือน[26]เป็นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ทำให้ Chew Choon Seng ประธานบริหารของสิงคโปร์แอร์ไลน์แถลงว่าอาจฟ้องร้องแอร์บัส โดยกล่าวว่า
“ | Airbus took some time to acknowledge the delay in the timetable for the A380's entry into service...I would have expected more sincerity.[27] | ” |
Chew Choon Seng ยังได้กล่าวอีกว่า สิงคโปร์แอร์ไลน์จะหันไปให้ความสำคัญต่อโบอิงแทน เนื่องจากได้รับส่งมอบเครื่องบินโบอิง 777-300ER ก่อนเอ 380 แต่อย่างไรก็ตาม สายการบินได้ส่งสัญญาณว่าเหตุการณ์นี้จะไม่ส่งผลต่อนโยบายส่งเสริมการตลาด
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เครื่องบินแอร์บัสเอ 380 ลำแรกที่ลงลวดลายของสิงคโปร์แอร์ไลน์เรียบร้อยแล้วได้มาถึงสิงคโปร์ แล้วถูกนำไปแสดงในงาน Asian Aerospace 2006 ต่อมาเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ในปีเดียวกัน สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้สั่งซื้อเครื่องบินโบอิง 787 เพื่อการขยายตัวของฝูงบินในอนาคต คำสั่งซื้อประกอบด้วยโบอิง 787-9 จำนวน 20 ลำ และสั่งจองอีก 20 ลำ คำสั่งซื้อนี้ออกหนึ่งวันหลังจากแอร์บัสประกาศเลื่อนการส่งมอบเอ 380 ออกไปอีก 6 เดือน
วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2549 แอร์บัสประกาศเลื่อนการส่งมอบเป็นครั้งที่สาม ทำให้กำหนดส่งมอบเอ 380 ลำแรกเลื่อนออกไปเป็นเดือนตุลาคมในปีถัดไป[28]
วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2550 เที่ยวบินพาณิชย์เที่ยวแรกที่ใช้เครื่องบินแอร์บัส เอ 380 เที่ยวบิน SQ 380[29] พาผู้โดยสาร 455 คนออกจากสิงคโปร์ไปยังซิดนีย์ ถึงท่าอากาศยานซิดนีย์เวลา 15:24 น. ตามเวลาท้องถิ่น มีสื่อมากมายไปทำข่าวเกี่ยวกับเที่ยวบินแรกนี้[30] วันต่อมาสายการบินมอบรายได้ทั้งหมดจากเที่ยวบินนี้ให้แก่องค์กรการกุศลสามแห่ง สิงคโปร์แอร์ไลน์เริ่มใช้งานเครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ตามตารางเที่ยวบินจริงในวันที่ 28 ตุลาคม ปีเดียวกัน
ปัจจุบันเครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ใช้ในเส้นทางบินไปยังซิดนีย์ โตเกียว ปารีส ฮ่องกง เมลเบิร์น และซูริก วันละหนึ่งเที่ยวบิน และไปลอนดอนวันละสองเที่ยวบิน
สิงคโปร์แอร์ไลน์เปิดเที่ยวบินด้วยเครื่องบินแอร์บัส เอ 380 วันละสามเที่ยวบินเป็นการชั่วคราวระหว่างสิงคโปร์และลอนดอน ตั้งแต่วันที่ 23-28 เมษายน พ.ศ. 2553 เพื่อระบายผู้โดยสารที่ตกค้างก่อนหน้าไม่กี่วันเนื่องจากเหตุภูเขาไฟ เอย์ยาฟิยัตลาเยอคึตซ์ ปะทุ
เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 สายการบินได้ประกาศระงับการใช้งานอากาศยาน 17 ลำในระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 เพื่อลดค่าใช้จ่ายเพื่อรับมือกับปัญหาจำนวนผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าลดลง โดยแรกเริ่มนั้นได้วางแผนว่าจะระงับการใช้งานเพียงสี่ลำ และสายการบินได้แถลงว่าจำเป็นต้องเลื่อนการส่งมอบอากาศยานที่จัดซื้อแล้วออกไปก่อน[31][32]
เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2018 สิงคโปร์แอร์ไลน์ประกาศว่าฝูงบินซิลค์แอร์จะได้รับการอัพเกรดผลิตภัณฑ์ห้องโดยสารครั้งใหญ่จากปี 2020 ก่อนที่จะรวมเข้ากับบริษัทแม่โดยสมบูรณ์[33][34][35] ส่วนหนึ่งของการควบรวมกิจการ เว็บไซต์ของซิลค์แอร์ถูกยกเลิกและรวมเข้ากับเว็บไซต์ของสิงคโปร์แอร์ไลน์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2019[36] การอัพเกรดห้องโดยสารคาดว่าจะเริ่มในปีค.ศ. 2020[37][38]
โครงสร้างของสิงคโปร์แอร์ไลน์แบ่งออกเป็นอุตสาหกรรมและภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งรวมถึง Aircraft ground handling การเช่าอากาศยาน Air catering และ Tour operating และยังปรับโครงสร้างโดยแยกหน่วยปฏิบัติการออกเป็นบริษัทสาขาต่างๆ ที่สายการบินเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวเพื่อรักษาความเป็นสายการบินสำหรับผู้โดยสารอันเป็นธุรกิจหลักไว้ ตามข้อมูลปีการเงินเมื่อสิ้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 กลุ่มบริษัทสิงคโปร์แอร์ไลน์ประกอบด้วยบริษัทสาขา 25 แห่ง บริษัทในเครือ 32 แห่ง และบริษัทร่วมทุนสองแห่ง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2549 สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้ขายหุ้นทั้งหมดที่มีอยู่ในร้อยละ 35.5 ในบริษัทร่วมทุน Singapore Aircraft Leasing Enterprise ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศจีนในราคา 980 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[39]
บริษัทหลักในกลุ่มบรรษัทสิงคโปร์แอร์ไลน์ได้แก่
บริษัท | ประเภท | กิจกรรมหลัก | สถานที่ก่อตั้ง | การถือหุ้นของกลุ่มบรรษัท (31 มีนาคม พ.ศ. 2550) |
---|---|---|---|---|
International Engine Component Overhaul Private Limited | ร่วมทุน | Aircraft overhaul | สิงคโปร์ | 41% |
SIA Engineering Company Limited | สาขา | วิศวกรรม | สิงคโปร์ | 81.9% |
SilkAir (Singapore) Private Limited | สาขา | สายการบิน | สิงคโปร์ | 100% |
Singapore Aero Engine Services Private Limited | ร่วมทุน | Engine overhaul | สิงคโปร์ | 41% |
Singapore Airlines Cargo Private Limited | สาขา | สายการบินขนส่งสินค้า | สิงคโปร์ | 100% |
Singapore Airport Terminal Services Limited | สาขา | บริษัทถือหุ้นใหญ่ | สิงคโปร์ | 81.9% |
Singapore Flying College Private Limited | สาขา | สถาบันฝึกอบรมการบิน | สิงคโปร์ | 100% |
TajSATS Air Catering | ร่วมทุน | Catering | อินเดีย | 50% |
Tiger Airways Holdings Limited | ในเครือ | บริษัทถือหุ้นใหญ่ | สิงคโปร์ | 34.4% |
เวอร์จินแอตแลนติกแอร์เวย์จำกัด | ในเครือ | บริษัทถือหุ้นใหญ่ | สหราชอาณาจักร | 49% |
สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้ลงทุนในสายการบินอื่นๆ เพื่อขยายตลาดออกไปนอกสิงคโปร์ แม้ว่าผลทางการเงินมักจะเป็นไปในทางลบ เมื่อ พ.ศ. 2532 ได้ร่วมมือกับเดลต้าแอร์ไลน์และสวิสแอร์เป็นพันธมิตรไตรภาคี[40] แต่ก็ยุติความร่วมมือใน พ.ศ. 2542 หลังจากแต่ละสายการบินถอนหุ้นร้อยละ 5 ที่ลงทุนในอีกสองสายการบินออกไป ปีถัดมาสิงคโปร์แอร์ไลน์ได้ซื้อหุ้นร้อยละ 25 ในสายการบินแอร์นิวซีแลนด์ แต่ต่อมารัฐบาลนิวซีแลนด์ได้ซื้อหุ้นในแอร์นิวซีแลนด์เพื่อช่วยเหลือให้รอดพ้นจากการล้มละลาย ทำให้หุ้นที่สิงคโปร์แอร์ไลน์ถือลดลงเหลือร้อยละ 4.5 ซึ่งต่อมาหุ้นจำนวนนี้ถูกขายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2547
เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2543 สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้ซื้อหุ้นร้อยละ 49 ในสายการบินเวอร์จินแอตแลนติกแอร์เวย์ด้วยเงินสด มูลค่า 600 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง[41] โดยหวังจะได้รับผลประโยชน์จากเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกที่มีผลกำไรดี แต่ใน พ.ศ. 2550 ก็มีรายงานเกี่ยวกับความล้มเหลวในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวและมีความเป็นไปได้ที่จะถอนหุ้น[42] จนกระทั่งวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้ประกาศเสนอขายหุ้นในเวอร์จินแอตแลนติกอย่างเป็นทางการ และยอมรับอย่างเปิดเผยว่าหุ้นที่ถืออยู่ในสายการบินดังกล่าวนั้นให้ตอบแทนน้อยกว่าที่คาดไว้[43] ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2547 สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้เข้าสู่ตลาดสายการบินต้นทุนต่ำโดยก่อตั้งสายการบินไทเกอร์แอร์เวย์ ซึ่งสิงคโปร์แอร์ไลน์ถือหุ้นร้อยละ 49 และมีผู้ถือหุ้นอื่นๆ ได้แก่
ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ไทเกอร์แอร์เวย์ได้จดทะเบียนใน Singapore Exchange ทำให้หุ้นที่สิงคโปร์แอร์ไลน์ถืออยู่ลดลงเหลือร้อยละ 34.4
เมื่อสิ้นปีงบประมาณในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2550 กลุ่มบรรษัทสิงคโปร์แอร์ไลน์ว่าจ้างพนักงานทั้งหมด 29,457 คน[44] โดยสายการบินแม่ว่าจ้าง 13,942 คน (ร้อยละ 47.3) แบ่งออกเป็นนักบิน 2,174 คน และลูกเรือ 6,914 คน มีสหภาพแรงงานห้าองค์กรเป็นตัวแทนลูกจ้างของกลุ่มบรรษัท ได้แก่
สหภาพแรงงานและผู้บริหารขัดแย้งกันเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะหลังการลดค่าจ้าง การยุบตำแหน่ง และการเกษียณก่อนอายุอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาและหลังสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจที่ยากลำบาก อย่างเช่นการระบาดของโรคซาร์สเมื่อ พ.ศ. 2546[45] ซึ่งส่งผลต่อกำลังใจของพนักงาน เฉพาะเพียง ALPA-S ก็ขัดแย้งกับกับผู้บริหารไม่น้อยกว่า 24 ครั้งนับตั้งแต่เริ่มจดทะเบียนเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2524 (ก่อตั้งหลังจากที่ Singapore Airlines Pilots Association ที่เป็นสหภาพก่อนหน้า มีสมาชิก 15 คนถูกกล่าวหาและตัดสินว่ามีความผิดฐานริเริ่มกิจกรรมทางอุตสาหกรรมที่ผิดกฎหมายใน พ.ศ. 2523 ซึ่งเริ่มเกิดความขัดแย้งกับผู้บริหาร และ SIAPA ถูกถอนทะเบียนในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524) จนกระทั่งวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 กระทรวงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (สิงคโปร์) ได้แก้ไข Trade Unions Act เพื่อลบล้างข้อกำหนดในธรรมนูญของ ALPA-S ที่กำหนดให้สมาชิกทั่วไปต้องให้สัตยาบันอย่างเป็นทางการก่อนตกลงในการเจรจาที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการบริหาร[46] ใน พ.ศ. 2550 สายการบินเป็นข่าวดังอีกครั้งเมื่อ ALPA-S ไม่ยอมรับอัตราเงินเดือนที่ผู้บริหารเสนอให้นักบินเครื่องบินแอร์บัส เอ 380[47] ข้อพิพาทถูกนำขึ้นให้อนุญาโตตุลาการตัดสิน[48] ขอบเขตเงินเดือนของนักบินของสิงคโปร์แอร์ไลน์ถูกเปิดเผยต่อสาธารณชนตั้งแต่วันแรกที่นั่งพิจารณาข้อพิพาท และสื่อได้ตั้งข้อสังเกตว่านักบินของสายการบินจำนวน 935 คนที่ขับเครื่องบินโบอิง 777 ได้รับเงินเดือน (มากกว่า S$270,000) ที่จุดกึ่งกลางของขั้นเงินเดือนสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับรองประธานบริษัท (S$233,270)[49]
ความขัดแย้งต่างๆ ส่งผลกระทบต่อสหภาพเช่นกัน โดยรัฐบาลจะเข้าแทรกแซงเมื่อเกิดความขัดแย้งที่รุนแรง ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เกิดความขัดแย้งภายใน ALPA-S จนนำไปสู่การขับไล่สมาชิกระดับกรรมการบริหารทั้งคณะจำนวน 22 คน เหตุการณ์ดังกล่าวถูกสันนิษฐานว่าเป็น "การเมืองภายใน" ที่เกี่ยวข้องกับอดีตนักบิน รวมถึงผู้ที่เคยเกี่ยวข้องกับกรณีการถอนทะเบียน SIAPA[50] และในเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 Lim Swee Say เลขาธิการ NTUC ได้แถลงคัดค้านการฟ้องร้องทางกฎหมายโดยสมาชิกที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งภายใน SIASU[51]
ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2550 กลุ่มบรรษัทและสหภาพได้ร่วมกันเปิดตัว "Singapore Airlines Group Union-Management Partnership" และ Labour Movement 2011 (LM2011) เพื่อกระชับความสัมพันธ์ โดยข้อสัญญาทั้งสองนั้นเป็นไปเพื่อสร้าง "pro-worker" และ "pro-business"[52] ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2551 Stephen Lee ประธานสายการบิน ได้อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารและสหภาพว่า "มั่นคงและอบอุ่น" ในช่วงสองปีหลัง โดยมีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันที่ดีขึ้น Lee ได้กล่าวเป็นนัยว่า บุคคลในรัฐบาลหลายคน ซึ่งรวมถึง Minister Mentor Lee Kuan Yew ได้เข้าแทรกแซงเพื่อช่วยบรรเทาความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารและสหภาพ และทั้งสองฝ่ายได้ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันบ่อยมากขึ้น[53]
สิ้นปีงบประมาณ | รายได้ (S$m) | รายจ่าย (S$m) | Operating profit (S$m) | Profit before taxation (S$m) | Profit attributable to equity holders (S$m) | EPS after tax – diluted (cents) |
---|---|---|---|---|---|---|
31 มีนาคม 2542 | 7,795.9 | 6,941.5 | 854.4 | 1,116.8 | 1,033.2 | 80.6 |
31 มีนาคม 2543 | 9,018.8 | 7,850.0 | 1,168.8 | 1,463.9 | 1,163.8 | 91.4 |
31 มีนาคม 2544 | 9,951.3 | 8,604.6 | 1,346.7 | 1,904.7 | 1,549.3 | 126.5 |
31 มีนาคม 2545 | 9,382.8 | 8,458.2 | 924.6 | 925.6 | 631.7 | 51.9 |
31 มีนาคม 2546 | 10,515.0 | 9,797.9 | 717.1 | 976.8 | 1,064.8 | 87.4 |
31 มีนาคม 2547 | 9,761.9 | 9,081.5 | 680.4 | 820.9 | 849.3 | 69.7 |
31 มีนาคม 2548 | 12,012.9 | 10,657.4 | 1,355.5 | 1,829.4 | 1,389.3 | 113.9 |
31 มีนาคม 2549 | 13,341.1 | 12,127.8 | 1,213.3 | 1,662.1 | 1,240.7 | 101.3 |
31 มีนาคม 2550 | 14,494.4 | 13,180.0 | 1,314.4 | 2,284.6 | 2,128.8 | 170.8 |
31 มีนาคม 2551 | 15,972.5 | 13,848.0 | 2,124.5 | 2,547.2 | 2,049.4 | 166.1 |
31 มีนาคม 2552 | 15,996.3 | 15,092.7 | 903.6 | 1,198.6 | 1,061.5 | 89.1 |
31 มีนาคม 2553[56] | 12,707.3 | 12,644.1 | 63.2 | 285.5 | 215.8 | 18.0 |
31 มีนาคม 2554[57] | 14,524.8 | 13,253.5 | 1,271.3 | 1,419.0 | 1,092.0 | 90.2 |
สิ้นปีงบประมาณ | จำนวนผู้โดยสาร (พันคน) | RPK (million) | ASK (million) | Load factor (%) | ผลตอบแทน (S¢/km) | Unit cost (cents/ASK) | Breakeven load factor (%) |
---|---|---|---|---|---|---|---|
31 มีนาคม 1993 | 8,640 | 37,860.6 | 53,100.4 | 71.3 | 10.5 | - | - |
31 มีนาคม 1994 | 9,468 | 42,328.3 | 59,283.3 | 71.4 | 10.1 | - | - |
31 มีนาคม 1995 | 10,082 | 45,412.2 | 64,053.9 | 70.9 | 9.9 | - | - |
31 มีนาคม 1996 | 11,057 | 50,045.4 | 68,555.3 | 73.0 | 9.4 | - | - |
31 มีนาคม 1997 | 12,022 | 54,692.5 | 73,511.4 | 74.4 | 9.0 | - | - |
31 มีนาคม 1998 | 11,957 | 54,441.2 | 77,221.6 | 70.5 | 9.5 | - | - |
31 มีนาคม 1999 | 12,777 | 60,299.9 | 83,191.7 | 72.5 | 8.6 | - | - |
31 มีนาคม 2000 | 13,782 | 65,718.4 | 87,728.3 | 74.9 | 9.1 | - | - |
31 มีนาคม 2001 | 15,002 | 71,118.4 | 92,648.0 | 76.8 | 9.4 | 7.5 | 70.2 |
31 มีนาคม 2002 | 14,765 | 69,994.5 | 94,558.5 | 74.0 | 9.0 | 6.4 | 71.1 |
31 มีนาคม 2003 | 15,326 | 74,183.2 | 99,565.9 | 74.5 | 9.1 | 6.7 | 73.6 |
31 มีนาคม 2004 | 13,278 | 64,685.2 | 88,252.7 | 73.3 | 9.2 | 6.7 | 72.8 |
31 มีนาคม 2005 | 15,944 | 77,593.7 | 104,662.3 | 74.1 | 10.1 | 7.0 | 69.3 |
31 มีนาคม 2006 | 16,995 | 82,741.7 | 109,483.7 | 75.6 | 10.6 | 7.5 | 70.8 |
31 มีนาคม 2007 | 18,346 | 89,148.8 | 112,543.8 | 79.2 | 10.9 | 7.9 | 72.5 |
31 มีนาคม 2008 | 19,120 | 91,485.2 | 113,919.1 | 80.3 | 12.1 | 8.4 | 69.4 |
31 มีนาคม 2009 | 18,293 | 90,128.1 | 117,788.7 | 76.5 | 12.5 | 9.2 | 73.6 |
31 มีนาคม 2010[58] | 16,480 | 82,882.5 | 105,673.7 | 78.4 | 10.4 | 8.6 | 82.7 |
31 มีนาคม 2011[57] | 16,647 | 84,801.3 | 108,060.2 | 78.5 | 11.9 | 8.9 | 74.8 |
การส่งเสริมภาพลักษณ์และโฆษณาของสิงคโปร์แอร์ไลน์จะเกี่ยวข้องกับลูกเรือเป็นหลัก[59] ซึ่งแตกต่างจากสายการบินส่วนใหญ่ที่มุ่งเน้นอากาศยานและบริการ โดยเฉพาะการเผยแพร่ภาพลักษณ์ของพนักงานต้อนรับหญิงที่รู้จักกันในชื่อว่า สิงคโปร์เกิร์ล ที่ประสบความสำเร็จอย่างกว้างขวาง และกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญในโฆษณาและสิ่งพิมพ์เผยแพร่ของสายการบิน กลยุทธ์ส่งเสริมภาพลักษณ์นี้มุ่งหมายเพื่อสร้างพลังให้แก่สิงคโปร์เกิร์ลให้เป็นตัวแทนของไมตรีจิตและความสง่างามแบบเอเชีย โดยมีรายการฝึกหัดลูกเรือทั้งส่วนห้องโดยสารและส่วนเทคนิคตอบสนองจุดมุ่งหมายนี้
เครื่องแบบของสิงคโปร์เกิร์ลดัดแปลงมาจากโสร่งเกบาหยา ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายแบบมลายู ออกแบบโดย Pierre Balmain เมื่อ พ.ศ. 2511[60] และแทบไม่เคยถูกปรับเปลี่ยนมาจนถึงปัจจุบัน เครื่องแบบของพนักงานต้อนรับชายจะเป็นเสื้อนอกสีน้ำเงินอ่อนและกางเกงขายาวสีเทา จนกระทั่งเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 Christophe Galibert ผู้จัดการฝ่ายศิลป์แห่ง Balmain Uniformes ได้ออกแบบเครื่องแบบของพนักงานชายใหม่ ให้เป็นชุด (เสื้อนอกและกางเกง) สีกรมท่า เสื้อเชิ้ตสีมอคราม และเนคไทลายทางสีต่างๆ โดยสีของเนคไทบ่งบอกถึงระดับชั้นของลูกเรือ
แม้ว่าสิงคโปร์เกิร์ลเป็นแผนการตลาดและสร้างภาพลักษณ์ที่ประสบความสำเร็จสำหรับสายการบิน แต่ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการสร้างภาพให้ผู้หญิงอยู่ในฐานะด้อยกว่าผู้ชาย กลุ่มสนับสนุนสิทธิสตรีกล่าวว่า การอ้างอิงทางวัฒนธรรมสำหรับสิงคโปร์เกิร์ลนั้นล้าสมัยแล้ว และผู้หญิงชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันก็ทันสมัยและมีเสรี[61]
สิงคโปร์แอร์ไลน์มีเส้นทางบินจากท่าอากาศยานหลักในสิงคโปร์ไปยังจุดหมายปลายทาง 61 แห่งใน 35 ประเทศจากห้าทวีป มีฐานการบินที่มั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมกับซิลค์แอร์ซึ่งเป็นสายการบินสาขา โดยมีเส้นทางบินระหว่างประเทศในภูมิภาคมากกว่าสายการบินอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สายการบินมีบทบาทสำคัญในเส้นทางจิงโจ้ โดยตามข้อมูลเมื่อสิ้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 สายการบินมีเที่ยวบินร้อยละ 11 ของเที่ยวบินระหว่างประเทศทั้งหมดที่บินเข้าและออกจากออสเตรเลีย[62]
สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้ประโยชน์จากข้อตกลงการบินเสรีระดับทวิภาคีระหว่างสิงคโปร์กับไทย และกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทำให้สามารถทำการบินจากกรุงเทพมหานครและดูไบไปยังจุดหมายปลายทางอื่นๆ ได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น ตามข้อมูลวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2548 มีเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพมหานครและโตเกียวสัปดาห์ละหกเที่ยวบิน
ความแข็งแกร่งของสิงคโปร์แอร์ไลน์ทำให้เกิดมาตรการป้องกันจากตลาดใหญ่ในต่างประเทศ โดยเฉพาะกรณีที่ไม่ประสบความสำเร็จในการได้สิทธิในเส้นทางบินข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกจากออสเตรเลียไปยังสหรัฐอเมริกา โดยทางการออสเตรเลียได้พยายามยืดเวลาการตัดสินใจอนุญาตให้ทางสายการบินสามารถบินในเส้นทางนี้ออกไป[63] หรือกรณีที่สิงคโปร์แอร์ไลน์ประกาศว่าต้องการขยายเส้นทางบินไปยังแคนาดาโดยเร็วและสร้างศูนย์กลางในอเมริกาเหนือที่แวนคูเวอร์ แต่ไม่พอใจที่ถูกกีดกันโดยนโยบายป้องกันของแคนาดา[64]
สายการบินแอร์เอเชีย ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำที่มีฐานอยู่ในมาเลเซีย ได้กล่าวหาสิงคโปร์แอร์ไลน์ถึงการเลือกปฏิบัติ โดยอ้างว่าถูกรัฐบาลสิงคโปร์กีดกันออกจากตลาดในสิงคโปร์[65] แม้ว่าจะไม่มีคำกล่าวอย่างเป็นทางการว่าสิงคโปร์แอร์ไลน์คัดค้านการเข้ามาของแอร์เอเชียก็ตาม ขณะเดียวกันสิงคโปร์แอร์ไลน์ก็ยินดี[66][67]ต่อการเปิดเสรีเส้นทางบินสิงคโปร์-กัวลาลัมเปอร์ที่ผูกขาดร่วมกับมาเลเซียแอร์ไลน์[68]มานานกว่าสามทศวรรษ[69] ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 85 ของเที่ยวบินกว่า 200 เที่ยวบนเส้นทางนี้ในขณะนั้น[70]
ณ เดือนธันวาคม ค.ศ. 2023 สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้มีข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้[71]
ณ เดือนธันวาคม ค.ศ. 2023 สิงคโปร์แอร์ไลน์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[86][87]
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
R | F | J | P | Y | รวม | อ้างอิง | ||||
แอร์บัส เอ350-900 | 56 | 4 | — | — | 42 | 24 | 187 | 253 | [88] | ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุด |
— | — | 40 | — | 263 | 303 | [89] | ||||
แอร์บัส เอ350-900ยูแอลอาร์ | 7 | — | — | — | 67 | 94 | — | 161 | [90] | ผู้ให้บริการรายเดียวในโลก |
แอร์บัส เอ380-800 | 12 | — | 6 | — | 78 | 44 | 343 | 471 | [91] | ลูกค้าเปิดตัว |
โบอิง 737-800 | 7 | — | — | — | 12 | — | 150 | 162 | [92] | |
โบอิง 737 แมกซ์ 8 | 16 | 21 | — | — | 10 | — | 144 | 154 | [93] | |
โบอิง 777-300อีอาร์ | 23 | — | — | 4 | 48 | 28 | 184 | 264 | [94] | เครื่องบิน 3 ลำจะถูกปลดประจำการ[95] |
โบอิง 777-9 | — | 31[96] | รอประกาศ | เริ่มส่งมอบในปี 2025[97] 11 คำสั่งซื้อถูกเปลี่ยนมาจากโบอิง 787-10[98] | ||||||
โบอิง 787-10 | 21 | 7 | — | — | 36 | — | 301 | 337 | [99] | ผู้เริ่มให้บริการ คำสั่งซื้อ 2 ลำโอนย้ายมาจากสกู๊ต[100] |
ฝูงบินของสิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โก | ||||||||||
แอร์บัส เอ350F | — | 7[101] | สินค้า | ลูกค้าเปิดตัว[102] เริ่มส่งมอบในปี 2025[101] สั่งซื้อพร้อม 5 ตัวเลือก[103]ทดแทนโบอิง 747-400F[104] | ||||||
โบอิง 747-400F | 7 | — | สินค้า | จะถูกปลดประจำการและทดแทนด้วยแอร์บัส เอ350F[104] | ||||||
โบอิง 777F | 5[105] | — | สินค้า | ดำเนินการสำหรับ ดีเอชแอล[106] | ||||||
รวม | 154 | 70 |
สิงคโปร์แอร์ไลน์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 7.2 ปี
สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้รับรางวัลมากมายในด้านมาตรฐานบริการ และได้ประกาศว่าจะเป็น "สายการบินที่ได้รับรางวัลมากที่สุดในโลก"[107] ในการสำรวจ Zagat ประจำปีครั้งที่ 29 โดย US pollsters[108] เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้อันดับหนึ่งทั้งในชั้นประหยัดและชั้นสูง นอกจากนี้ยังเป็นอันดับหนึ่งในด้านเว็บไซต์ ความสะดวกสบาย บริการ และอาหารสำหรับผู้โดยสารทุกชั้น[109]
เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 2006 สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้ประกาศการปรับปรุงห้องโดยสารและบริการในระหว่างการบินครั้งใหญ่[110] แรกเริ่มนั้นได้วางแผนว่าจะเริ่มนำเครื่องบินแอร์บัส เอ 380-800 มาให้บริการเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2549 แล้วตามด้วยโบอิง 777-300อีอาร์ แต่การส่งมอบ เอ380-800 ลำแรกถูกเลื่อนออกไป จึงต้องนำโบอิง 777-300อีอาร์ มาเปิดตัวเป็นลำดับแรกแทนเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 2006 ในเส้นทางบินระหว่างสิงคโปร์และปารีส[111]
เครื่องบิน | ชั้นหนึ่ง/ห้องชุด | ชั้นธุรกิจ | ชั้นประหยัด | ชนิดของ คริสเวิลด์ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ห้องชุด | ชั้นหนึ่ง (ใหม่) | ชั้นหนึ่ง (สกายสวีท) | ชั้นหนึ่ง (ภูมิภาค) | ชั้นธุรกิจ (ใหม่) | ชั้นธุรกิจ (ภูมิภาค) | สเปซเบด | อัลติโม | ชั้นประหยัด (ใหม่) | ชั้นประหยัด | ||
A330-300 | ไม่ | ไม่ | ไม่ | ไม่ | ไม่ | ใช่ | ไม่ | ไม่ | ใช่ | ไม่ | eX2 |
A340-500 | ไม่ | ไม่ | ไม่ | ไม่ | ใช่ | ไม่ | ไม่ | ไม่ | ไม่ | ไม่ | eX2 |
A380-800 | ใช่ | ไม่ | ไม่ | ไม่ | ใช่ | ไม่ | ไม่ | ไม่ | ใช่ | ไม่ | eX2 |
B747-400 | ไม่ | ไม่ | ใช่ | ไม่ | ไม่ | ไม่ | ใช่ | ไม่ | ไม่ | ใช่ | Wisemen |
B777-200 (1) | ไม่ | ไม่ | ไม่ | ไม่ | ไม่ | ใช่ | ไม่ | ไม่ | ไม่ | ใช่ | Wisemen (some) |
B777-200 (2) | ไม่ | ไม่ | ไม่ | ไม่ | ไม่ | ไม่ | ไม่ | ใช่ | ไม่ | ใช่ | Wisemen (some) |
B777-200ER | ไม่ | ไม่ | ไม่ | ไม่ | ไม่ | ไม่ | ใช่ | ไม่ | ไม่ | ใช่ | Wisemen |
B777-300 (1) | ไม่ | ไม่ | ไม่ | ใช่ | ไม่ | ไม่ | ไม่ | ใช่ | ไม่ | ใช่ | Wisemen |
B777-300 (2) | ไม่ | ใช่ | ไม่ | ไม่ | ไม่ | ใช่ | ไม่ | ไม่ | ไม่ | ใช่ | Wisemen |
B777-300ER | ไม่ | ใช่ | ไม่ | ไม่ | ใช่ | ไม่ | ไม่ | ไม่ | ใช่ | ไม่ | eX2บทเพลงประจำสายการบิน สิงค์โปรแอร์ไลน์ |
บทเพลงประจำสายการบินสิงค์โปรแอร์ไลน์ คือ
1. กากีนังนัง กากากีนัง ตอนเล็กๆไปเรียนหนังสือ โตขึ้นมาชอบขัดรองเท้า
2. อยู่บางโพก็จะกลับบางโพ เคยอยู่บางโพก็จะกลับบางโพ แตเด็ตแต็ดแต๊~ แต็ดแคแดเด็ต
ห้องชุดสิงคโปร์แอร์ไลน์สวิท เป็นชั้นโดยสารที่มีเฉพาะบนเครื่องบินแอร์บัส เอ 380 เท่านั้น ซึ่งบินไปยังฮ่องกง ลอนดอน เมลเบิร์น ปารีส ซิดนีย์ โตเกียว และซูริค
ห้องชุดออกแบบโดยณอง-ณาคส์ กอสต์ นักออกแบบภายในเรือท่องเที่ยวระดับหรูหราชาวฝรั่งเศส ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่กั้นด้วยผนังและประตูสูง 1.5 เมตร ที่นั่งหุ้มหนังกว้าง 88.9 เซนติเมตรเมื่อเอาที่วางแขนขึ้น และเมื่อเอาที่วางแขนลงจะกว้าง 58.42 เซนติเมตร หุ้มเบาะโดย Poltrona Frau จากอิตาลี ผนังด้านหน้าติดจอภาพผลึกเหลวกว้าง 23 นิ้ว (58.42 เมตร) มีเตียงขนาด 198.12 เซนติเมตรพับอยู่กับผนังด้านหลังและเบาะที่นอนที่พับเก็บไว้ ที่ประตูมีกระจกหน้าต่างที่มีม่านบังตาเพื่อความเป็นส่วนตัว ห้องชุด สองห้องที่ตั้งคู่กันอยู่ตรงส่วนกลาง เมื่อนำม่านบังตาระหว่างห้องขึ้นเก็บบนเพดานแล้ว จะสามารถกางเตียงออกมาเป็นเตียงคู่หนึ่งหลังได้
ชั้นธุรกิจของสิงคโปร์แอร์ไลน์เคยมีชื่อว่า ชั้นราฟเฟิลส์ (Raffles Class) จนถึง พ.ศ. 2549
ที่นั่งแบบ SpaceBed มีอยู่บนเครื่องบินโบอิง 777-200ER จัดเรียงแบบ 2-2-2 และบนเครื่องบินโบอิง 747-400 จัดเรียงแบบ 2-3-2 ที่นั่งกว้าง 69 เซนติเมตร ยาว 183 เซนติเมตร สามารถปรับเป็นเตียงพับแบบทำมุมได้ มีจอโทรทัศน์ส่วนตัวแบบหดเก็บได้ขนาด 10.4 นิ้ว
ที่นั่งชั้นประหยัดทุกตำแหน่งบนเครื่องบินโบอิง 747 และโบอิง 777 (ยกเว้นโบอิง 777-300) จะมีจอโทรทัศน์ส่วนตัว ที่พักขา ที่พิงศีรษะแบบปรับได้ และสามารถปรับระดับการเอนของที่นั่งได้ ผนังกั้นบางจุดในห้องโดยสารจะมีเปลสำหรับทารก[112]
ที่นั่งชั้นประหยัดแบบใหม่บนเครื่องบินโบอิง 777-300ER แอร์บัส เอ 380 และแอร์บัส เอ 330-300 มีความกว้าง 49.53 เซนติเมตร มีช่องเสียบสายไฟและจอโทรทัศน์ส่วนตัวขนาด 10.6 นิ้วที่ใช้เป็นแสงไฟอ่านหนังสือได้[113] ที่นั่งบนเครื่องบินแอร์บัส เอ 330-300 จะสามารถกางออกได้ ซึ่งเครื่องบินนี้จะใช้ในเส้นทางบินไป-กลับเพิร์ธ บริสเบน แอดิเลด นะโงะยะ โอะซะกะ และเส้นทางอื่นๆในระดับภูมิภาคหรือระยะทางระดับกลาง การจัดที่นั่งบนเครื่องบินแอร์บัส เอ 330-300 จะเป็นแบบ 2-4-2 และสามารถเชื่อมต่อไอพ็อดได้[114] ส่วนประกอบอื่นๆที่มีให้บริการได้แก่ ช่องจับวางถ้วยเครื่องดื่มที่แยกจากโต๊ะพับ และช่องเสียบยูเอสบี สิงคโปร์แอร์ไลน์จะเริ่มนำรูปแบบและส่วนประกอบดังกล่าวไปใช้กับเครื่องบินโบอิง 777 หลังจากปรับปรุงห้องโดยสารใหม่แล้ว เครื่องบินโบอิง 777-300 เป็นรุ่นแรกที่ได้รับการปรับปรุงใหม่และจะให้บริการในรูปแบบใหม่เป็นครั้งแรกบนเส้นทางสิงคโปร์-ซิดนีย์ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552[115]
คริสเวิลด์ (KrisWorld) เป็นระบบความบันเทิงในระหว่างการบินของสิงคโปร์แอร์ไลน์ เริ่มนำมาให้บริการครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2540 บนเครื่องบินโบอิง 747-400 และโบอิง 777-200ER ทุกชั้นโดยสารจะใช้ระบบ ไวส์แมน 3000 ที่มีภาพยนตร์ เพลง และเกมจากนินเทนโดให้เลือกได้ตามความต้องการ ผู้โดยสารในชั้น ห้องชุดสิงคโปร์แอร์ไลน์ ชั้นหนึ่ง และ ชั้นธุรกิจ จะได้รับหูฟัง Active noise-cancelling อีกด้วย
เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2548 สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้นำบริการ Connexion by Boeing สำหรับอินเทอร์เน็ตในระหว่างการบินมาให้บริการ และต่อมาในเดือนมิถุนายนได้เพิ่ม live TV เข้าไป[116] บริการนี้ยกเลิกไปเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 หลังจากโบอิงยกเลิกให้บริการนี้แก่สายการบิน
ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้บรรจุโปรแกรมบทเรียนสอนภาษา 22 ภาษาแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายลงในระบบ[117] และต่อมาในเดือนธันวาคมในปีเดียวกัน ได้เพิ่มระบบข้อความข่าวสั้นแบบทันปัจจุบันเข้าไปด้วย[118]
สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้ประกาศเลือก Panasonic Avionics Corporation ให้เป็นผู้สร้างระบบคริสเวิลด์แบบใหม่ โดยใช้ระบบ eX2 ที่คิดค้นขึ้นใหม่[119][120] คริสเวิลด์แบบใหม่นี้มีให้บริการบนเครื่องบินแอร์บัส เอ 380 แอร์บัส เอ 330-300 แอร์บัส เอ 340-500 (เฉพาะชั้นธุรกิจเท่านั้น) และโบอิง 777-300ER ประกอบด้วย
ผู้โดยสารสามารถลงทะเบียนเดินทางได้ก่อนเที่ยวบินออก 2-48 ชั่วโมง ทั้งที่โต๊ะรับลงทะเบียนและที่ห้องรับรองในท่าอากาศยาน (สำหรับผู้โดยสารชั้นหนึ่งและชั้นประหยัด) ท่าอากาศยานจางีสิงคโปร์ยังมีมุมสำหรับลงทะเบียนด้วยตนเอง และทางเดินพิเศษสำหรับผู้โดยสารชั้นหนึ่งที่จะมีพนักงานคอยต้อนรับและเดินตามไปสง
นอกจากนี้ ผู้โดยสารยังสามารถลงทะเบียนทางอินเทอร์เน็ตหรือบริการข้อความสั้นได้ ผู้โดยสารที่ลงทะเบียนทางอินเทอร์เน็ตจะสามารถพิมพ์บัตรโดยสารออนไลน์ได้ และผู้โดยสารที่เดินทางระยะสั้นยังสามารถลงทะเบียนเที่ยวบินขากลับได้พร้อมกับเที่ยวบินขาไปอีกด้วย
ห้องรับรองซิลเวอร์คริสเลาจน์ของสายการบินเปิดให้บริการสำหรับผู้โดยสารห้องชุด ชั้นหนึ่ง และชั้นธุรกิจ รวมทั้งสมาชิกของโซลิแทร์พีพีเอสคลับ พีพีเอสคลับ และคริสฟลายเออร์เอไลท์โกลด์ สมาชิกเหล่านี้สามารถเข้าห้องรับรองของผู้ร่วมธุรกิจกับสายการบินได้เช่นกัน ห้องรับรองเหล่านี้ตั้งอยู่ที่[121]
สิงคโปร์แอร์ไลน์มีรายการสะสมแต้มสองรายการ[122][123] ได้แก่
ในรายการนี้ผู้โดยสารจะสะสมแต้มเพื่อนำไปเพิ่มระดับชั้นโดยสารในการเดินทาง ได้จากบริการของสิงคโปร์แอร์ไลน์และองค์กรผู้ร่วมรายการ ซึ่งได้แก่ สายการบินที่เป็นสมาชิกของสตาร์อัลไลแอนซ์ ซิลค์แอร์ เวอร์จินแอตแลนติก เดลตาแอร์ไลน์ และกลุ่มธุรกิจโรงแรมและบริการเช่ารถยนต์อีกหลายแห่ง[124] คริสฟลายเออร์แบ่งออกเป็นระดับต่างๆ ได้แก่ คริสฟลายเออร์ (KrisFlyer) คริสฟลายเออร์เอไลท์ซิลเวอร์ (KrisFlyer Elite Silver) และคริสฟลายเออร์เอไลท์โกลด์ (KrisFlyer Elite Gold) ซึ่งสัมพันธ์กับสถานะสตาร์อัลไลแอนซ์ซิลเวอร์และโกลด์ตามลำดับ ระดับเอไลท์ซิลเวอร์[125]และเอไลท์โกลด์[126]จะมอบให้ผู้โดยสารที่สะสมแต้มได้ 25,000 และ 50,000 ไมล์ขึ้นไปตามลำดับ ภายในระยะเวลา 12 เดือน โดยเริ่มนับจากวันที่สมัครเป็นสมาชิกของรายการคริสฟลายเออร์ เที่ยวบินของสิงคโปร์แอร์ไลน์ที่มี Booking class V, Q, G, N และ T (เดินทางเป็นกลุ่มหรือรายการส่งเสริมการตลาด) และเที่ยวบินของซิลค์แอร์ที่มี Booking class W และ L จะไม่ได้รับแต้มในรายการนี้[127]
Priority Passenger Service (PPS : พีพีเอส)[128] เป็นรายการสำหรับผู้โดยสารที่สะสมมูลค่าของแต้มพีพีเอสได้ 25,000 เหรียญสิงคโปร์ภายในหนึ่งปี[129] โดยแต้มพีพีเอสจะเพิ่มขึ้นเมื่อโดยสารบน ห้องชุดสิงคโปร์แอร์ไลน์ ชั้นหนึ่ง ชั้นธุรกิจ ของสิงคโปร์แอร์ไลน์ หรือชั้นธุรกิจของซิลค์แอร์ รายการพีพีเอสแบ่งออกเป็นพีพีเอสคลับ โซลิแทร์พีพีเอสคลับ และโซลิแทร์พีพีเอสคลับไลฟ์[130]
สมาชิกของพีพีเอสคลับจะได้สถานะเป็นโซลิแทร์พีพีเอสคลับโดยสะสมแต้มให้ได้ 250,000 เหรียญสิงคโปร์ภายในห้าปี[130] ส่วนสถานะโซลิแทร์พีพีเอสคลับไลฟ์จะมอบให้สมาชิกที่เดินทางได้ระยะทาง 1,875,000 ไมล์ (3,018,000 กิโลเมตร) ขึ้นไป โดยมีสิทธิพิเศษเท่ากับโซลิแทร์พีพีเอสคลับ[130] แต่ปัจจุบันสิงคโปร์แอร์ไลน์ไม่เปิดรับสมาชิกโซลิแทร์พีพีเอสคลับไลฟ์เพิ่มอีกแล้ว[131]
สมาชิกพีพีเอสจะได้รับสิทธิลงทะเบียนโดยสารและขนกระเป๋าสัมภาระก่อน และสำรองที่นั่งชั้นประหยัดไว้ในกรณีที่อยู่ในรายการรอของชั้นธุรกิจหรือชั้นหนึ่ง นอกจากนี้ยังสามารถเข้าซิลเวอร์คริสเลานจ์ส่วนของชั้นธุรกิจได้ ส่วนสมาชิกโซลิแทร์พีพีเอสและคู่สมรสจะสามารถลงทะเบียนโดยสารในส่วนชั้นหนึ่ง และเข้าซิลเวอร์คริสเลานจ์ส่วนของชั้นหนึ่งได้
ข้อมูลด้านล่างนี้กล่าวถึงเฉพาะสิงคโปร์แอร์ไลน์ ส่วนที่เป็นของซิลค์แอร์อยู่ที่บทความของสายการบินดังกล่าว
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.