คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
สายการบินสกู๊ต
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
สายการบินสกู๊ต (อังกฤษ: Scoot) เป็นสายการบินราคาประหยัดในเครือสิงคโปร์แอร์ไลน์ โดยมีฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานชางงีสิงคโปร์ โดยวางตัวเป็นสายการบินต้นทุนต่ำระยะไกล และมีเส้นทางบินระยะกลางถึงระยะไกลจาก ท่าอากาศยานนานาชาติจางี สาธารณรัฐสิงคโปร์ โดยมีแผนการบินที่จะเปิดเส้นทางบินไปยัง ประเทศออสเตรเลีย และ ประเทศจีน ใดยใช้เครื่องบินแบบโบอิง 777 สายการบินสกู๊ตเป็นอีกหนึ่งความพยายามของบริษัทแม่อย่างสิงคโปร์แอร์ไลน์ส ที่จะจับกลุ่มลูกค้าซึ่งต้องการบินในราคาประหยัด โดยสามารถบรรเทาปัญหาค่าเชื้อเพลิงที่พุ่งสูงลิบไปพร้อมๆ กัน โดยเริ่มให้บริการเที่ยวบินแรกจากสิงคโปร์ไปยังนครซิดนีย์ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2555
Remove ads
Remove ads
ประวัติ
สรุป
มุมมอง
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 สายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ส ประกาศความตั้งใจที่จะสร้างสายการบินใหม่ในเครือ โดยจะเป็นสายการบินต้นทุนต่ำระยะไกล [4][5] เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางในเส้นทางปกติ แต่จ่ายน้อยกว่าสายการบินทั่วไปสูงสุดถึง 40%
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 สายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ส ประกาศให้นาย Campbell Wilson เป็นผู้บริหารของสายการบินที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่[6]
วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ได้ประกาศชื่อสายการบินใหม่นั้น คือชื่อ "สกู๊ต" [7]
วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555 สายการบินสกู๊ตเปิดตัวชุดยูนิฟอร์มของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน, ออกแบบโดย ESTA เก็บถาวร 2013-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โทนสีเหลือง-ดำ ซึ่งออกมาในแนวเดียวกันกับสีของโลโก้ ของสายการบินที่เน้นความสดใส ร่าเริง[8][9]
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 สายการบินได้รับเครื่องลำแรก โดยรับจากสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ส เป็นเครื่องบินแบบ โบอิง 777-200ER โดยทาสีกราฟิกเหลืองขาวข้อความ FlyScoot.com[10] และเปลี่ยน IATA code (ตัวอักษรที่สายการบินใช้นำหน้ารหัสเที่ยวบิน) จาก OQ เป็น TZ ด้วย
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2555 เริ่มให้บริการเที่ยวบินแรก จากสิงคโปร์สู่นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ต่อมาในวันที่ 12 มิถุนายน 2555 เริ่มให้บริการเที่ยวบิน จากสิงคโปร์สู่โกลด์โคสต์ ประเทศออสเตรเลีย และเป็นเส้นทางบินที่ 2 สู่ประเทศออสเตรเลีย
ในปี พ.ศ. 2557 สายการบินสกู๊ตร่วมทุนกับนกแอร์ ก่อตั้งสายการบินนกสกู๊ต
ในปี พ.ศ. 2559 สายการบินสกู๊ตได้เข้าร่วมเป็นสายการบินสมาชิกของพันธมิตรสายการบิน แวลูอัลไลแอนซ์ (Value Alliance)
สายการบินสกู๊ตได้ควบรวมกิจการเข้ากับไทเกอร์แอร์ และไทเกอร์แอร์ถูกเปลี่ยนเป็นสกู๊ตทั้งหมด โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2560[11] โดยในช่วงแรกนั้นเครื่องบินของไทเกอร์แอร์บางลำจะยังคงมีโลโก้เดิมติดอยู่ และจะทยอยเปลี่ยนเป็นสกู๊ตจนครบทุกลำ พร้อมกันนี้สกู๊ตได้เปลี่ยน IATA code อีกครั้ง จาก TZ เป็น TR ซึ่งก่อนหน้านี้ TR เป็นตัวอักษรนำหน้ารหัสเที่ยวบินของไทเกอร์แอร์นั่นเอง สำหรับการบินในประเทศไทยนั้น ส่วนของไทเกอร์แอร์เดิมที่เปลี่ยนชื่อไปเป็นสกู๊ตแล้วยังคงเปิดทำการที่ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิตามเดิม และส่วนของสกู๊ตดั้งเดิมยังคงเปิดทำการที่ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมืองตามเดิม ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้บริการเกิดความสับสนได้เนื่องจากสกู๊ตยังคงใช้งานทั้งสองสนามบินดังกล่าว
Remove ads
เส้นทางการบิน
สรุป
มุมมอง
สายการบินสกู๊ต เริ่มเปิดเส้นทางบินจาก อาคารผู้โดยสาร อาคาร 2 ท่าอากาศยานจางีสิงคโปร์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ไปยัง ประเทศออสเตรเลีย และ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีเส้นทางบินดังนี้
สาธารณรัฐสิงคโปร์
- สิงคโปร์ - ท่าอากาศยานจางีสิงคโปร์ ฐานการบินหลัก
เครือรัฐออสเตรเลีย
- โกลด์โคสต์ - ท่าอากาศยานโกลด์โคสต์
- ซิดนีย์ - ท่าอากาศยานนานาชาติคิงส์ฟอร์ดสมิธ
- เพิร์ท - ท่าอากาศยานเพิร์ท
- เมลเบิร์น - ท่าอากาศยานเมลเบิร์น
สาธารณรัฐประชาชนจีน
- ชิงเต่า - ท่าอากาศยานนานาชาติชิงเต่า-ลิวติง
- เฉิ่นหยาง - ท่าอากาศยานนานาชาติเฉิ่นหยางเถาเซียน
- เทียนจิน - ท่าอากาศยานนานาชาติเทียนจินปินไห่
- ต้าเหลียน - ท่าอากาศยานนานาชาติต้าเหลียน-โจวซุยจือ
- กว่างโจว - ท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป๋-ยฺหวิน
- กุ้ยหลิน - ท่าอากาศยานนานาชาติกุ้ยหลินเหลียงเจียง
- ไหโข่ว - ท่าอากาศยานนานาชาติไหโข่ว-เหม่ยหลาน
- หางโจว - ท่าอากาศยานนานาชาติหางโจว-เสี่ยวชาน
- ฮาร์บิน - ท่าอากาศยานนานาชาติฮาร์บิน-ไทปิง
- จี่หนาน - ท่าอากาศยานนานาชาติจี่หนาน-เหยาเฉียง
- หนานฉาง - ท่าอากาศยานนานาชาติหนานฉาง-ชางเป่ย
- นานกิง - ท่าอากาศยานนานาชาติหนานจิง-ลู่กวั๋ว
- หนานหนิง - ท่าอากาศยานนานาชาติหนานหนิงวูสู
- หนิงปัว - ท่าอากาศยานนานาชาติหนิงปัวลี่หชี
- เฉวียนโจว - ท่าอากาศยานนานาชาติเฉวียนโจวจินเจียง
- เชินเจิ้น - ท่าอากาศยานนานาชาติเชินเจิ้น-เป่าอาน
- อู๋ซี - ท่าอากาศยานนานาชาติซูนานเฉาฟาง
- ซีอาน - ท่าอากาศยานนานาชาติซีอานเสียนหยาง
- เจิ้งโจว - ท่าอากาศยานนานาชาติเจิ้งโจวซินเจิ้ง
สาธารณรัฐอินเดีย
- อมฤตสาร์ - ท่าอากาศยานนานาชาติศรีคุรุรัมดัสชี
- บังคาลอร์ - ท่าอากาศยานนานาชาติคัมเพโกดะ
- เจนไน - ท่าอากาศยานนานาชาติเจนไน
- ไฮเดอราบาด - ท่าอากาศยานนานาชาติราชีพ คานธี
- ลัคเนา - ท่าอากาศยานนานาชาติชัดหารี ชาราล สิงห์
- โกชิ - ท่าอากาศยานนานาชาติโกชิน
- ตริรุชชิรัปปัลลิ - ท่าอากาศยานนานาชาติตริรุชชิรัปปัลลิ
ประเทศไทย
มาเลเซีย
- กัวลาลัมเปอร์ - ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์
- กวนตัน - ท่าอากาศยานนานาชาติสุลต่านอาห์หมัด ชาห์
- กูชิง - ท่าอากาศยานนานาชาติกูชิง
- ลังกาวี - ท่าอากาศยานนานาชาติลังกาวี
- ปีนัง - ท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง
- อีโปะฮ์ - ท่าอากาศยานนานาชาติสุลต่านอัซลัน ชาห์
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
- มะนิลา - ท่าอากาศยานนานาชาตินินอย อากีโน
- เซบู - ท่าอากาศยานนานาชาติมักตัน-เซบู
- แองเจอเลส - ท่าอากาศยานนานาชาติคลาร์ก
- ดาเบา - ท่าอากาศยานนานาชาติฟรานซิสโก-บังกอย
- คาลีโบ - ท่าอากาศยานนานาชาติคาลีโบ
สาธารณรัฐจีน
- ไทเป - ท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถา-ยฺเหวียน
- เกาสฺยง - ท่าอากาศยานนานาชาติเกาสฺยง
เขตบริหารพิเศษฮ่องกง
เขตบริหารพิเศษมาเก๊า
ประเทศญี่ปุ่น
สาธารณรัฐเกาหลี
สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ
- ธากา - ท่าอากาศยานนานาชาติชาร์-จาลัล
สาธารณรัฐมัลดีฟส์
ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
- เจดดาห์ - ท่าอากาศยานนานาชาติคิงอับดุลลาซิส
สาธารณรัฐเฮลเลนิก
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
สหรัฐอเมริกา
Remove ads
ฝูงบิน



ฝูงบินปัจจุบัน
ณ เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2024 สายการบินสกู๊ตมีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[12][13]
สายการบินสกู๊ตมีอายุฝูงบินเฉลี่ย 7.3 ปี
ฝูงบินในอดีต
สายการบินสกู๊ตเคยให้บริการเครื่องบินดังต่อไปนี้:
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads