Remove ads

ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย (บอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย: Kraljevina Jugoslavija / Краљевина Југославија;[8] สโลวีเนีย: Kraljevina Jugoslavija) เป็นราชอาณาจักรที่มีดินแดนครอบคลุมตั้งแต่ทางตะวันตกของคาบสมุทรบอลข่านไปจนถึงยุโรปกลาง ดำรงอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1918 จนถึง ค.ศ. 1941 โดยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1918 จนถึง ค.ศ. 1929 ราชอาณาจักรเรียกตนเองอย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน (บอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย: Kraljevina Srba, Hrvata i Slovenaca / Краљевина Срба, Хрвата и Словенаца; สโลวีเนีย: Kraljevina Srbov, Hrvatov in Slovencev) แต่คำว่า "ยูโกสลาเวีย" (หมายถึง "ดินแดนแห่งชาวสลาฟตอนใต้") เป็นชื่อเรียกกันอย่างง่าย ๆ มาตั้งแต่ต้น[9] ชื่ออย่างเป็นทางการของราชอาณาจักรได้เปลี่ยนมาเป็น "ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย" โดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1929[9]

ข้อมูลเบื้องต้น ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บโครแอต และสโลวีน(1918–1929)Kraljevina Srba, Hrvata i SlovenacaКраљевина Срба, Хрвата и СловенацаKraljevina Srbov, Hrvatov in Slovencevราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย(1929–1941)Kraljevina JugoslavijaКраљевина Југославија, เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด ...
ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ
โครแอต และสโลวีน
(1918–1929)
Kraljevina Srba, Hrvata i Slovenaca
Краљевина Срба, Хрвата и Словенаца
Kraljevina Srbov, Hrvatov in Slovencev

ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย
(1929–1941)
Kraljevina Jugoslavija
Краљевина Југославија

1918–1941
คำขวัญ: Jedan narod, jedan kralj, jedna država  
Један народ, један краљ, једна држава  
"หนึ่งชาติ หนึ่งกษัตริย์ หนึ่งประเทศ"
เพลงชาติ: Himna Kraljevine Jugoslavije
Химна Краљевине Југославије
"เพลงชาติราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย"
Thumb
ราชอาณาจักรยูโกสลาเวียใน ค.ศ. 1930
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
เบลเกรด
44°48′N 20°28′E
ภาษาราชการเซอร์เบีย-โครเอเชีย-สโลวีน[a][1][2]
ภาษาทั่วไป
เดมะนิมชาวยูโกสลาฟ
การปกครอง
พระมหากษัตริย์ 
 1918–1921
เปตาร์ที่ 1
 1921–1934
อาเล็กซานดาร์ที่ 1
 1934–1941
เปตาร์ที่ 2[b]
ผู้สำเร็จราชการ 
 1918–1921
เจ้าชายอาเล็กซานดาร์
 1934–1941
เจ้าชายปอล
นายกรัฐมนตรี 
 1918–1919
(คนแรก)
สตอจัน ปรอติช
 1941 (คนสุดท้าย)
ดูซัน ซีมอวิช
สภานิติบัญญัติสภาผู้แทนชั่วคราว
(1919–1920)
รัฐสภาแห่งชาติ[c]
(1920–1941)
วุฒิสภา
(since 1931)
สภาผู้แทนราษฎร
(since 1931)
ยุคประวัติศาสตร์ระหว่างสงคราม  สงครามโลกครั้งที่สอง
 ประกาศจัดตั้ง
1 ธันวาคม 1918
 รัฐธรรมนูญวีดอฟดัน
28 มิถุนายน 1921
 เผด็จการ 6 มกราคม
6 มกราคม 1929
 รัฐธรรมนูญออคโตรอิค
3 กันยายน 1931
9 ตุลาคม 1934
 สปอราซัมในโครเอเชีย
25 สิงหาคม 1939
 เข้าร่วมฝ่ายอักษะ
25 มีนาคม 1941
 รัฐประหาร
27 มีนาคม 1941
6 เมษายน 1941
 รัฐพลัดถิ่น
เมษายน 1941
29 พฤศจิกายน 1945
พื้นที่
1941[3]247,542 ตารางกิโลเมตร (95,577 ตารางไมล์)
ประชากร
 1918[4]
12,017,323
 1931[5]
13,934,000
สกุลเงิน
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชอาณาจักร
เซอร์เบีย
รัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ
ราชอาณาจักรฮังการี (บางส่วน)
ราชอาณาจักรอิตาลี (บางส่วน)
ราชอาณาจักรบัลแกเรีย
เซอร์เบียภายใต้การยึดครองของเยอรมนี
เขตผู้ว่าการมอนเตเนโกร
รัฐเอกราชโครเอเชีย
ราชอาณาจักรอิตาลี
ราชอาณาจักรบัลแกเรีย
ราชอาณาจักรฮังการี
รัฐในอารักขาแอลเบเนีย
นาซีเยอรมนี
รัฐบาลพลัดถิ่น
ยูโกสลาฟ
  1. ^ ภาษาเซอร์เบีย-โครเอเชีย และสโลวีน เป็นภาษาที่แยกขาดจากกัน แต่กลับไม่เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลในขณะนั้น และภาษา 'เซอร์เบีย-โครเอเชีย-สโลวีน' ได้รับการประกาศให้เป็นภาษาราชการเดียว (srbsko-hrvatsko-slovenački หรือ srbsko-hrvatsko-slovenski; แปลว่า "Serbocroatoslovenian") อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติแล้วก็คือภาษาเดียวกันกับภาษาเซอร์เบีย-โครเอเชีย[6][7]
  2. ^ กษัตริย์ปีเตอร์ที่ 2 ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ ได้รับการประกาศให้บรรลุนิติภาวะโดยคณะรัฐประหาร แต่หลังจากพระองค์ได้รับพระราชอำนาจเพียงระยะเวลาสั้น ๆ ยูโกสลาเวียจึงถูกยึดครองโดยฝ่ายอักษะและยุวกษัตริย์เสด็จลี้ภัยออกจากประเทศ และใน ค.ศ. 1944 พระองค์ทรงยอมรับการก่อตั้งสหพันธ์ประชาธิปไตยยูโกสลาเวียและถูกสภาถอดจากราชบัลลังก์ใน ค.ศ. 1945
  3. ^ ระบบสภาเดี่ยวจนถึง ค.ศ. 1931
ปิด

ราชอาณาจักรยูโกสลาเวียก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1918 โดยการรวมตัวของรัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ (ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของอดีตจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ครอบคลุมพื้นที่ของบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และพื้นที่ส่วนใหญ่ของโครเอเชียและสโลวีเนียในปัจจุบัน) พื้นที่ทางตอนล่างของราชอาณาจักรฮังการีภายในออสเตรีย-ฮังการี พร้อมด้วยราชอาณาจักรเซอร์เบียที่เป็นราชอาณาจักรอิสระ โดยในปีเดียวกันราชอาณาจักรมอนเตเนโกร ได้ประกาศรวมตัวกันกับเซอร์เบีย ขณะที่บริเวณคอซอวอ วอยวอดีนา และวาร์ดาร์มาซิโดเนียได้เป็นส่วนหนึ่งของเซอร์เบียไปก่อนหน้านั้นแล้ว[10]

ราชอาณาจักรอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์คาราจอร์เจวิคของเซอร์เบีย ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ปกครองราชอาณาจักรเซอร์เบียภายใต้กษัตริย์ปีเตอร์ที่ 1 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1903 (ภายหลังจากการรัฐประหารเดือนพฤษภาคม) กษัตริย์ปีเตอร์ที่ 1 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งยูโกสลาเวียจนถึงการสวรรคตของพระองค์ในปี ค.ศ. 1921 ราชบังลังก์จึงสืบทอดต่อมายังกษัตริย์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ในฐานะพระราชบุตรของกษัตริย์ปีเตอร์ ซึ่งเป็นมกุฏราชกุมารและผู้สำเร็จราชการแทนพระบิดา พระองค์เป็นที่รู้จักกันในนาม "อเล็กซานเดอร์ผู้รวมกันเป็นหนึ่งเดียว" และพระองค์ทรงเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นราชอาณาจักร "ยูโกสลาเวีย" ในปี ค.ศ. 1929 พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์ที่เมืองมาร์แซย์ โดยวาโด เชอนอเซมสกี ซึ่งเป็นสมาชิกในองค์การปฏิวัติภายในมาซิโดเนียน (Internal Macedonian Revolutionary Organization; IMRO) ในระหว่างที่พระองค์ทรงเสด็จเยือนประเทศฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1934 ราชมงกุฏจึงตกเป็นเจ้าชายปีเตอร์ ซึ่งเป็นพระราชบุตรของพระองค์ ซึ่งในขณะนั้นพระองค์มีพระชนมมายุเพียง 11 พรรษาเท่านั้น โดยอยู่ภายใต้การปกครองของพระญาติอย่าง เจ้าชายพอลแห่งยูโกสลาเวีย ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จนถึงปี ค.ศ. 1941 เมื่อกษัตริย์ปีเตอร์ที่ 2 ทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว[11] ต่อมาสมาชิกราชวงศ์ได้ลี้ภัยไปกรุงลอนดอน เนื่องจากในปีเดียวกันนั้น ได้เกิดเหตุการณ์การบุกครองยูโกสลาเวียโดยฝ่ายอักษะ

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1941 ประเทศตกอยู่ภายใต้การยึดครองของฝ่ายอักษะ กลุ่มราชวงศ์ได้จัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นยูโกสลาเวียขึ้น โดยได้รับการยอมรับจากสหราชอาณาจักร และต่อมาโดยพันธมิตรทั้งหมดที่ก่อตั้งขึ้นในลอนดอน ในวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944 หลังได้รับแรงกดดันจากนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร วินสตัน เชอร์ชิล พระมหากษัตริย์จึงทรงรับรองรัฐบาลของสหพันธรัฐประชาธิปไตยยูโกสลาเวียให้เป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากการลงนามในสนธิสัญญาวิส โดย Ivan Šubašić (ในนามของราชอาณาจักร) และยอซีป บรอซ ตีโต (ในนามของพลพรรคยูโกสลาเวีย)[12]

Remove ads

ประวัติศาสตร์

การก่อตั้ง

Thumb
การเฉลิมฉลองของชาวสลาฟใต้ในซาเกร็บ ระหว่างการก่อตั้ง สภาแห่งชาติ ของรัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1918
Thumb
กองทัพเซอร์เบีย ณ จัตุรัสบาน เจลาชิช ซาเกร็บ ในปี ค.ศ. 1918
Thumb
คณะผู้แทนจากสภาแห่งชาติสโลวีน โครแอต และเซิร์บ นำโดย อานเต ปาเวลิชกำลังอ่านคำปราศรัยต่อหน้าผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อเล็กซานเดอร์ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1918

ภายหลังจากจากการลอบปลงพระชนม์อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์แห่งออสเตรีย โดยชาวเซิร์บ-บอสเนีย กัฟรีโล ปรินซีป ก่อให้เกิดห่วงโซ่ของเหตุกาณ์ที่จะนำไปสู่การแพร่ระบาดของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เซอร์เบียถูกรุกรานและยึดครองโดยกองกำลังผสมของบัลแกเรีย ออสเตรีย และเยอรมัน เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1915 ด้วยเหตุการณ์นี้ ทำให้ชาตินิยมแห่งชาวสลาฟใต้ทวีความรุนแรงมากขึ้น และการเรียกร้องของชาตินิยมชาวสลาฟ เพื่อประกาศเอกราชและรวมชาติสลาฟใต้ของออสเตรีย-ฮังการี พร้อมกับเซอร์เบียและมอนเตเนโกรให้เป็นรัฐเดียวภายใต้ชื่อ "รัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ"[13]

นักการเมืองชาวโครแอตจากแดลเมเชีย อานเต ตรุมบิช เป็นผู้นำสลาฟใต้ที่โดดเด่นในช่วงสงครามและเป็นผู้นำคณะกรรมการยูโกสลาเวียที่เกลี้ยกล่อมให้ฝ่ายสัมพันธมิตรสนับสนุนการสถาปนายูโกสลาเวียให้เป็นอิสระ[14] ในช่วงแรกตรุมบิชต้องเผชิญกับความเกลียดชังจากนายกรัฐมนตรีเซอร์เบีย นิโคลา ปาซิช ซึ่งต้องการขยายอาณาเขตเซอร์เบียมากกว่าการรวมชาติยูโกสลาฟให้เป็นปึกแผ่น อย่างไรก็ตาม ทั้งปาซิชและตรุมบิชได้ตกลงที่จะประนีประนอมกัน ผ่านการทำปฏิญญาคอร์ฟู เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1917 ซึ่งสนับสนุนให้เกิดการสถาปนารัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ ที่นำโดยราชวงศ์คาราจอร์เจวิคแห่งเซอร์เบีย[14]

ในปี ค.ศ. 1916 คณะกรรมการยูโกสลาเวียได้เริ่มการเจรจากับรัฐบาลเซอร์เบียพลัดถิ่น ซึ่งพวกเขาได้ตัดสินใจที่จะสถาปนาราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย โดยการประกาศร่วมปฏิญญาคอร์ฟูในปี ค.ศ. 1917 ซึ่งจัดขึ้นที่โรงละครแห่งเมืองคอร์ฟู[15]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 สภาแห่งชาติของรัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บได้ประกาศแต่งตั้งสมาชิกของคณะผู้แทนทั้งหมด 28 คน เพื่อเริ่มการเจรจากับตัวแทนของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรเซอร์เบียและมอนเตเนโกรในการสถาปนารัฐยูโกสลาเวียใหม่ โดยคณะผู้แทนได้เจรจาโดยตรงกับผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ อเล็กซานเดอร์แห่งคาราจอร์เจวิค[16] การเจรจายุติลง โดยมีคณะผู้แทนจากสภาแห่งชาติสโลวีเนีย โครแอต และเซิร์บ นำโดยอานเต ปาเวลิช เป็นผู้อ่านคำปราศรัยต่อหน้าผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อเล็กซานเดอร์ ซึ่งเป็นตัวแทนของกษัตริย์ปีเตอร์ที่ 1 แห่งเซอร์เบีย พระราชบิดาของพระองค์ โดยพระองค์ทรงยอมรับที่จะสถาปนาราชอาณาจักร[17]

ชื่อใหม่อย่างเป็นทางการของรัฐยูโกสลาเวียคือ "ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน" (บอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย: Kraljevina Srba, Hrvata i Slovenaca / Краљевина Срба, Хрвата и Словенаца; สโลวีเนีย: Kraljevina Srbov, Hrvatov in Slovencev) หรือชื่อย่อแบบภาษาอังกฤษคือ "Kingdom of SCS" (Kraljevina SHS / Краљевина СХС)

ราชอาณาจักรแห่งใหม่เกิดจากการรวมราชอาณาจักรเซอร์เบียที่เป็นราชอาณาจักรอิสระ มอนเตเนโกร (โดยมอนเตเนโกรได้ประกาศรวมกับเซอร์เบียเมื่อก่อนหน้านี้แล้ว) อาณาเขตทางตอนใต้สุดของอดีตจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี (รัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บ) และวอยวอดีนา

การสถาปนาราชอาณาจักรได้รับสนับสนุนจากชาวแพน-สลาฟ และชาตินิยมยูโกสลาเวีย สำหรับขบวนการแพน-สลาฟกับชาวสลาฟใต้ (ยูโกสลาฟ) ทั้งหมดรวมกันเป็นรัฐเดียว การสถาปนายังได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายสัมพันธมิตรที่ต้องการโค้นล่มจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีนที่พึ่งก่อตั้งขึ้นได้เข้าร่วมการประชุมสันติภาพปารีส โดยมีตรุมบิชเป็นตัวแทนของประเทศ[14] เนื่องจากฝ่ายสัมพันธมิตรได้หว่านล้อมอิตาลีให้เข้าสู่สงคราม โดยให้คำมั่นสัญญาว่าจะได้รับดินแดนเป็นจำนวนมากเป็นการแลกเปลี่ยน ซึ่งได้แบ่งอาณาเขตหนึ่งในสี่ของสโลวีเนีย ออกจากส่วนที่เหลือโดยให้ไปอยู่กับราชอาณาจักรเซิร์บ โครแอต และสโลวีน ตรุมบิชประสบความสำเร็จในการรวมชาติสลาฟส่วนใหญ่ที่อยู่ในออสเตรีย-ฮังการี แต่ถึงกระนั้น ด้วยสนธิสัญญาราพัลโล[14] ทำให้ประชากรชาวสลาฟประมาณครึ่งล้าน[18] ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวสโลวีเนีย ถูกบังคับให้แปลงสัญชาติเป็นอิตาลี จนกระทั่งการล่มสลายของลัทธิฟาสซิสต์ในอิตาลี ในช่วงเวลาขณะนั้น เบนิโต มุสโสลินีมีความตั้งใจที่จะแก้ไขเขตแดนราพัลโลเพื่อผนวกรัฐอิสระรีเยกามาเป็นส่วนหนึ่งของอิตาลี ความพยายามของปาซิชในการแก้ไขพรมแดนที่โปสตอยนาและอิดริยาได้ถูกทำลายลงโดยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อเล็กซานเดอร์ที่ต้องการสร้าง "ความสัมพันธ์อันดี" กับอิตาลี[19]

Thumb
มิเฮลโล พูปิน นักฟิสิกส์และนักเคมีชาวเซอร์เบีย ผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจครั้งสุดท้ายของการประชุมสันติภาพปารีส เมื่อมีการแบ่งพรมแดนของราชอาณาจักร

ราชอาณาจักรแห่งชาวยูโกสลาฟมีอาณาเขตติดต่อกับอิตาลีและออสเตรียทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือตามพรมแดนราพัลโล ติดต่อกับฮังการีและโรมาเนียทางทิศเหนือ ติดต่อกับบัลแกเรียทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกรีซและแอลเบเนียทางทิศใต้ และติดต่อกับทะเลเอเดรียติกทางทิศตะวันตก แทบจะทันทีที่ราชอาณาจักรมีข้อพิพาทกับประเทศเพื่อนบ้านหลังจากก่อตั้งขึ้น อาทิ การมีข้อพิพาทในดินแดนสโลวีน เนื่องจากเคยเป็นส่วนหนึ่งของออสเตรียเป็นเวลาประมาณ 400 ปี การมีข้อพิพาทกับฮังการีในวอยวอดีนา, วาร์ดาร์มาซิโดเนียกับบัลแกเรีย และรีเยกากับอิตาลี[20]

จากการลงประชามติที่จัดขึ้นในจังหวัดคารินเทีย ผลปรากฏว่าคะแนนเสียงส่วนใหญ่ยังโหวตให้อยู่ในออสเตรีย และชาวสโลวีนส่วนใหญ่ได้โหวตให้คารินเทียเป็นส่วนหนึ่งของออสเตรียดังเดิม เมืองท่าของแดลเมเชียอย่างซาดาร์ และหมู่เกาะของแดลเมเชียบางส่วนถูกมอบให้กับอิตาลี เมืองรีเยกาได้รับการประกาศให้เป็นเสรีรัฐฟียูเม แต่ไม่นานก็ถูกยึดครอง และในปี ค.ศ. 1924 ก็ถูกผนวกโดยอิตาลี ซึ่งเคยได้ทำสัญญากับฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งว่าด้วยเรื่องชายฝั่งแดลเมเชีย และดินแดนอิสเตรีย ซึ่งยูโกสลาเวียอ้างว่าเคยส่วนหนึ่งของออสเตรีย โดยถูกผนวกเข้ารวมกับอิตาลี แต่มีประชากรชาวโครแอตและชาวสโลวีนอยู่เป็นจำนวนมาก

การประกาศใช้รัฐธรรมนูญวิโดฟดานในปี ค.ศ. 1921 ได้จุดประกายความตึงเครียดระหว่างเชื้อชาติยูโกสลาเวียที่แตกต่างกัน[14] แม้แต่ตรุมบิชยังต่อต้านรัฐธรรมนูญฉบับนี้ และเมื่อเวลาผ่านไปไม่นาน เขาก็เริ่มเป็นศัตรูต่อรัฐบาลยูโกสลาเวีย โดยเขาเล็งเห็นว่าชาวเซิร์บเริ่มมีอำนาจเหนือยูโกสลาเวียมากขึ้นเรื่อย ๆ[14]

การเมืองช่วงต้น

Thumb
ระหว่างปี ค.ศ. 1918 และ 1926 นิโคลา ปาซิช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรียูโกสลาเวียถึงสามสมัย

ทันทีหลังจากการประกาศจัดตั้งราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ได้มีการเจรจาระหว่างสภาแห่งชาติสโลวีน โครแอต และเซิร์บและรัฐบาลเซอร์เบีย ส่งผลทำให้เกิดข้อตกลงเกี่ยวกับรัฐบาลใหม่ซึ่งนำโดย นิโคลา ปาซิช อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อตกลงนี้ถูกส่งไปเพื่อรับการอนุมัติจากผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ อเล็กซานเดอร์ คาราจอร์เจวิค พระองค์กลับปฏิเสธข้อตกลงฉบับนี้ ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์รัฐบาลครั้งแรกของราชอาณาจักรใหม่ หลายคนมองว่าการปฏิเสธข้อตกลงนี้เป็นการละเมิดหลักการของรัฐสภา แต่เหตุการณ์นี้จบลงด้วยการที่เจ้าชายอเล็กซานเดอร์เสนอให้ สโตยาน โปรติช ดำรงตำแหน่งแทนปาชิซ โดยเขาเป็นสมาชิกชั้นนำจากพรรคหัวรุนแรงของปาชิซ ซึ่งสภาแห่งชาติและรัฐบาลเซอร์เบียต่างเห็นด้วย ทำให้มีการก่อตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1918[21][22]

ในช่วงเวลาก่อนการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้มีการจัดตั้งคณะผู้แทน โดยทำหน้าที่เป็นรัฐสภาซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยตัวแทนจากหน่วยงานที่มาจากการเลือกตั้งต่าง ๆ ที่มีอยู่ก่อนการสถาปนาราชอาณาจักร การปรับรูปแบบพรรคการเมืองที่รวมสมาชิกฝ่ายค้านของเซอร์เบียหลายคนกับพรรคการเมืองจากอดีตจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ได้นำไปสู่การก่อตั้งพรรคใหม่ นั่นคือ "พรรคประชาธิปไตย" โดยพรรคได้ครอบงำคณะผู้แทนชั่วคราวและรัฐบาล

เนื่องจากพรรคประชาธิปไตย ซึ่งนำโดย ลูโบเมียร์ ดาวิโดวิช ได้ผลักดันให้เกิดวาระการประชุมเพื่อการรวบอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง ทำให้ผู้แทนชาวโครเอเชียจำนวนหนึ่งกลายเป็นฝ่ายค้าน อย่างไรก็ตาม พวกหัวรุนแรงเองก็ไม่พอใจที่มีรัฐมนตรีเพียงสามคนในพรรคประชาธิปัตย์ 11 คน และเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 1919 โปรติชได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง หลังจากนั้นดาวิโดวิชได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรกับกลุ่มประชาธิปไตยสังคมนิยม ทำให้รัฐบาลได้รับคะแนนเสียงเป็นส่วนใหญ่ แต่องค์ประชุมแห่งคณะผู้แทนกลับมีการลงคะแนนเสียงเพียงแค่ครึ่งเดียว ทำให้ฝ่ายค้านเริ่มกันต่อต้านรัฐสภา เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถรับประกันได้ว่าฝ่ายสนับสนุนทั้งหมดจะปรากฏตัวตอนไหน จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะจัดวาระการประชุมในรัฐสภา ในไม่นานดาวิโดวิชจึงลาออก แต่เนื่องจากไม่มีใครสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ เขาจึงกลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง และยังคงถูกต่อต้านจากฝ่ายค้านอยู่ดังเดิม รัฐบาลจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากตัดสินใจปกครองประเทศด้วยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งถูกประณามโดยฝ่ายค้านที่เริ่มก่อตัวเป็นรัฐสภาประชาคม (Parliamentary Community) ดาวิโดวิชเล็งเห็นว่าสถานการณ์ในตอนนี้ รัฐบาลไม่สามารถควบคุมฝ่ายค้านได้ จึงร้องขอให้องค์กษัตริย์ทรงประกาศจัดการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญโดยทันที แต่พระองค์ทรงปฏิเสธ เขาจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการลาออกจากตำแหน่ง

รัฐสภาประชาคมได้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ นำโดย สโตยาน โปรติช ซึ่งมีความต้องการที่จะฟื้นฟูบรรทัดฐานของระบบรัฐสภา และบรรเทาการรวมศูนย์ของอำนาจจากรัฐบาลชุดที่แล้ว การคัดค้านโครงการปฏิรูปที่ดินอย่างสุดโต่งของรัฐบาลชุดก่อน ทำให้เกิดความสามัคคีกันระหว่างรัฐสภาและรัฐบาล แต่ละบุคคลแต่ละกลุ่มย่อยได้เปลี่ยนฝ่ายมาเข้าข้างรัฐบาล ทำให้ในช่วงเวลานี้โปรติชได้รับคะแนนเสียงเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม พรรคประชาธิปไตยและกลุ่มประชาธิปไตยสังคมนิยมได้ต่อต้านรัฐสภาอย่างเห็นได้ชัด และโปรติชไม่สามารถรวบรวมองค์ประชุมได้ ดังนั้นรัฐสภาประชาคมซึ่งตอนนี้อยู่ฝ่ายรัฐบาล จึงต้องจำยอมปกครองประเทศโดยพระราชกฤษฎีกาต่อไป

การที่รัฐสภาประชาคมละเมิดหลักการพื้นฐานที่พวกเขาตั้งขึ้นเสียเอง ทำให้พวกเขาตกอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบากเป็นอย่างยิ่ง ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1920 ได้เกิดการลุกฮือจากกรรมกรและการประท้วงหยุดงานของคนงานรถไฟ ทำให้ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลต้องร่วมมือกันยุติปัญหาขัดแย้งที่เกิดขึ้น เนื่องจากทั้งสองฝ่ายต่างก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน หลังจากการเจรจากับผู้ประท้วงเป็นผลสำเร็จ โปรติชจึงได้ลาออกจากตำแหน่งเพื่อหลีกทางให้รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นใหม่ นำโดย มิเลนโก ราโดมาร์ เวสนิช จากพรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมที่ไม่ได้ร่วมมือกับอดีตพันธมิตรอย่างพรรคประชาธิปไตยอีกต่อไป เนื่องจากพรรคประชาธิปไตยไม่เห็นด้วยกับมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ของรัฐบาลใหม่นี้

เหตุการณ์ความขัดแย้งที่เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันในช่วงแรก ยังคงเป็นปัญหาที่ดำเนินอยู่ต่อไป พรรคประชาธิปไตยยังคงผลักดันวาระการรวมศูนย์อำนาจ และยังคงยืนยันถึงความจำเป็นในการปฏิรูปที่ดินอย่างสุดโต่ง จากความขัดแย้งของเรื่องกฎหมายเลือกตั้ง ท้ายที่สุดพรรคประชาธิปไตยได้ลงคะแนนเสียงคัดค้านฝ่ายรัฐบาลในรัฐสภาและจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของรัฐบาล แม้ว่าการประชุมครั้งนี้จะไม่ใช่วาระองค์ประชุม แต่เวสนิชได้ใช้เป็นข้ออ้างในการลาออก การลาออกของเขามีจุดมุ่งหมายเพื่อให้พรรคหัวรุนแรงตกลงที่จะยอมรับความจำเป็นในการรวมศูนย์อำนาจ และเพื่อให้พรรคประชาธิปไตยยกเลิกการคัดค้านโครงการการปฏิรูปที่ดิน อย่างไรก็ตามเวสนิชได้กลับมาดำรงตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลใหม่อีกครั้ง ท่ามกลางความไม่พอใจของประชาคมแห่งชาวโครเอเชีย (Croatian Community) และพรรคประชาชนสโลวีเนียต่อการยอมรับการรวมศูนย์อำนาจของพรรคหัวรุนแรง โปรติชจึงถอนตัวออกจากรัฐบาลเนื่องด้วยประเด็นนี้

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1920 ได้เกิดการจราจลในโครเอเชียโดยกลุ่มชาวนา เนื่องจากการเก็บภาษีจากตราผลิตภัณฑ์สินค้าจากปศุสัตว์ ประชาคมแห่งชาวโครเอเชียจึงกล่าวโทษนโยบายรวมศูนย์อำนาจของรัฐบาล และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐมนตรีสเวโตซาร์ ปริบิเชวิช

รัฐธรรมนูญและความขัดแย้ง

Thumb
ภูมิภาคของราชอาณาจักร ในปี ค.ศ. 1920–1922
Thumb
เขตการปกครองของราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน

มีกฎหมายเพียงไม่กี่ฉบับเท่านั้นที่ผ่านการรับรองโดยคณะผู้แทนชั่วคราว ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือกฎหมายการเลือกตั้งสำหรับสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในระหว่างการเจรจาก่อนการก่อตั้งรัฐใหม่ ได้มีการตกลงกันว่าการลงคะแนนเสียงจะถูกปกปิดเป็นความลับและอยู่บนพื้นฐานของสิทธิการเลือกตั้งสากล (ซึ่งคำว่า "สากล" ในตอนนั้นไม่ได้รวมสิทธิของสตรี) จนกระทั่งการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิการเลือกตั้งสากลของสตรีเกิดขึ้นพร้อมกับการสถาปนารัฐใหม่ พรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมและพรรคประชาชนสโลวีเนียได้สนับสนุนสิทธิการเลือกตั้งของสตรี แต่พรรคหัวรุนแรงกลับไม่เห็นด้วย พรรคประชาธิปไตยได้เปิดกว้างสำหรับแนวคิดนี้ แต่กลับไม่มีความมุ่งมั่นเพียงพอที่หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมา ตามหลักการแล้วการคำนวณผู้แทนตามระบบสัดส่วนได้รับการยอมรับ แต่กลับไปเลือกใช้ระบบโดนต์ โดยวิธีนี้ได้รับการสนับสนุนจากพรรคใหญ่และพรรคการเมืองที่มีการสนับสนุนอย่างเข้มแข็งในระดับภูมิภาค

มีกำหนดวันเลือกตั้งไว้วันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1920 ภายหลังจากการนับคะแนน ผลปรากฏว่าพรรคประชาธิปไตยได้ที่นั่งในคณะผู้แทนมากที่สุด แต่ถึงกระนั้น เมื่อเทียบกับพรรคที่มีอำนาจเหนือกว่าในคณะผู้แทนยังถือว่าพ่ายแพ้ ยิ่งไปกว่านั้น พรรคได้รับคะแนนเสียงที่แย่ในพื้นที่อดีตจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีเดิม นั่นเป็นการตัดราคาความน่าเชื่อถือของพรรคที่ว่านโยบายรวมศูนย์เป็นการแสดงถึงเจตจำนงของชาวยูโกสลาฟโดยรวม ถึงแม้ว่าพรรคหัวรุนแรงจะไม่ได้คะแนนเสียงดีไปกว่าพรรคประชาธิปไตยในภูมิภาคนั้น แต่ที่พรรคมีปัญหาน้อยกว่า เพราะพวกเขาได้รณรงค์อย่างเปิดเผยในฐานะพรรคของชาวเซอร์เบีย ในขณะที่ฝ่ายที่คัดค้านทั้งสองต่างได้รับคะแนนเสียงกันอย่างล้นหลาม ผู้นำพรรคชาวนารีพับลิกันโครเอเชียถูกปล่อยตัวออกจากเรือนจำในระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือพรรคมากกว่าแค่การรณรงค์หาเสียงเท่านั้น[22] ทำให้ประชาคมชาวโครเอเชีย (ซึ่งได้แสดงความไม่พอใจเกี่ยวกับการระดมพลของพรรคชาวนารีพับลิกันโครเอเชีย) มีรอยด่างพร้อยจากการมีส่วนร่วมในรัฐบาลและถูกขจัดออกจากรัฐบาลไปทั้งหมด และยังมีพรรคอื่นที่ได้รับผลประโยชน์อีก นั่นคือพรรคคอมมิวนิสต์ ที่ทำผลงานได้ดีเป็นพิเศษในภูมิภาคมาซิโดเนีย ส่วนพรรคอื่นที่เหลือต่างไม่ไว้วางใจนโยบายรวมศูนย์ของพรรคประชาธิปไตยด้วยเช่นกัน

จากผลการเลือกตั้งทำให้นิโคลา ปาซิชอยู่ในสถานะทางการเมืองที่แข็งแกร่งมาก เนื่องจากพรรคประชาธิปไตยไม่มีทางเลือกนอกจากการเป็นพันธมิตรกับพรรคหัวรุนแรง ถ้าพวกเขาต้องการที่จะให้หลักการรวมศูนย์ของยูโกสลาเวียผ่านรัฐสภา ปาซิชได้สังเกตสถานการณ์อย่างระมัดระวังและหาโอกาสในการร่วมมือกับฝ่ายค้านโครเอเชีย ทั้งสองพรรคต่างก็ไม่มีอำนาจพอที่จะผลักดันรัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้ผ่านสภาได้ด้วยตนเอง ดังนั้นพวกเขาจึงร่วมเป็นพันธมิตรกับองค์กรมุสลิมแห่งยูโกสลาเวีย (JMO) จึงเป็นโอกาสของพรรคมุสลิมที่ได้รับประโยชน์ในการปฏิรูปดินแดนและที่ดิน และปกป้องผลประโยชน์ของเจ้าของที่ดินชาวมุสลิมในบอสเนียด้วย

พรรคชาวนารีพับลิกันโครเอเชียได้ปฏิเสธที่จะสาบานตนต่อพระมหากษัตริย์ เนื่องจากพรรคเกรงว่ายูโกสลาเวียจะเปลี่ยนระบอบเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยได้โต้แย้งว่ามีเพียงสภาร่างรัฐธรรมนูญที่จะสามารถตัดสินใจในเรื่องนี้ได้ เหตุการณ์นี้ทำให้พรรคไม่มีที่นั่งในรัฐสภา กลุ่มฝ่ายค้านส่วนใหญ่จึงประกาศคว่ำบาตรรัฐบาล อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญว่าด้วยข้อตกลงระหว่างรัฐแห่งชาวสโลวีน โครแอต และเซิร์บและราชอาณาจักรเซอร์เบียในปี ค.ศ. 1918 ผ่านรัฐสภาด้วยคะแนนเสียงข้างมากคิดเป็นร้อยละ 66 โดยไม่คำนึงถึงคะแนนเสียงต่อต้าน

Thumb
รัฐธรรมนูญวิโดฟดาน

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1921 ซึ่งเป็นวันแห่งนักบุญวิตุส ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญวิโดฟดาน อันเป็นผลให้รัฐทั้งหลายในดินแดนยูโกสลาเวียก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รวมเป็นรัฐเดี่ยวภายใต้ระบอบราชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ และมีการจัดตั้งเขตการปกครองใหม่ทั้งหมด 33 เขตด้วยกัน โดยมีกรุงเบลเกรดเป็นศูนย์กลางการปกครองของราชอาณาจักร ในช่วงเวลานี้พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 สวรรคต (16 สิงหาคม ค.ศ. 1921) และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อเล็กซานเดอร์ คาราจอร์เจวิค ได้เป็นผู้สืบทอดบัลลังก์ต่อในนาม "สมเด็จพระราชาธิบดีอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน"

ลูโบเมียร์ ดาวิโดวิชแห่งพรรคประชาธิปไตยเริ่มมีความคลางแคลงใจเกี่ยวกับนโยบายการรวมศูนย์ของพรรคและได้เปิดการเจรจากับฝ่ายค้าน การกระทำเช่นนี้ถือเป็นการคุกคาม ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดความแตกแยกภายในพรรคของเขาได้ ในขณะที่การกระทำของเขาได้ถูกต่อต้านโดยสเวโตซาร์ ปริบิเชวิช นอกจากนี้ยังทำให้ปาซิชมีข้ออ้างสำหรับการยุติความสัมพันธ์กับพรรคอีกด้วย ในตอนแรกกษัตริย์อเล็กซานเดอร์ทรงมอบอำนาจให้ปาซิชก่อตั้งพันธมิตรกับพรรคประชาธิปไตยของปริบิเชวิช อย่างไรก็ตาม ปาซิชได้ให้ข้อเสนอกับปริบิเชวิชโดยเป็นข้อเสนอที่เป็นไปได้ยากที่จะทำให้ปริบิเชวิชเห็นด้วย รัฐบาลหัวรุนแรงได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อควบคุมการเลือกตั้ง พรรคหัวรุนแรงได้รับผลประโยชน์จากความสูญเสียของพรรคประชาธิปไตย ในขณะที่พรรคอื่น ๆ ก็ได้รับผลประโยชน์จากพรรคชาวนาหัวรุนแรงด้วยเช่นกัน

นักการเมืองชาวเซิร์บภายในพรรคหัวรุนแรงมองว่ามีเพียงเซอร์เบียเท่านั้น ที่จะสามารถรวมความเป็นเอกภาพของชาวยูโกสลาฟทั้งมวลได้ เหมือนดังปีเยมอนเตที่รวมอิตาลี หรือปรัสเซียที่รวมเยอรมัน โดยเป็นการรวมในรูปแบบ "มหาเซอร์เบีย" ในปีต่อมา ได้เกิดการประท้วงต่อต้านของชาวโครเอเชียที่มีต่อนโยบายรวมศูนย์ของเซอร์เบียและดูเหมือนจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ

ในข่วงต้นทศวรรษที่ 1920 รัฐบาลยูโกสลาเวียที่นำโดยนายกรัฐมนตรี นิโคลา ปาซิช ได้ใช้ตำรวจในการกดดันผู้มีสิทธิในการเลือกตั้งและชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ มีการยึดใบปลิวชวนเชื่อต่าง ๆ ของฝ่ายค้าน[23] และใช้วิธีอื่น ๆ เพื่อโกงเลือกตั้ง แต่ไม่มีวิธีใดเลย ที่จะสามารถเอาชนะพรรคชาวนาโครเอเชียได้ (เดิมคือพรรคชาวนารีพับลิกันโครเอเชีย) ซึ่งสมาชิกพรรคยังคงชนะการเลือกตั้งในรัฐสภายูโกสลาเวียเป็นจำนวนมาก[24] อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ก็สามารถกำจัดคู่แข่งทางการเมืองของพรรคหัวรุนแรงเซอร์เบียอย่างพรรคประชาธิปไตยได้

สเตฟาน ราดิช หัวหน้าพรรคชาวนาโครเอเชียถูกจำคุกหลายครั้งด้วยเหตุผลทางการเมือง[25] ต่อมาเขาถูกปล่อยตัวในปี ค.ศ. 1925 และกลับเข้าสู่รัฐสภาอีกครั้ง

ในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 1928 ราดิชและ สเวโตซาร์ ปริบิเชวิชได้ต่อสู้กันอย่างขมขื่นในรัฐสภา เพื่อต่อต้านการให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาเนตตูโนกับอิตาลี พวกเขาได้ระดมพวกฝ่ายค้านชาตินิยมในเซอร์เบีย แต่ถูกโต้ตอบกลับอย่างรุนแรงจากฝ่ายรัฐบาลเสียงข้างมาก ซึ่งรวมถึงการขู่ฆ่าด้วย เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1928 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายรัฐบาลชาวเซิร์บนามว่า ปูนิซา ราชิช ยิงสมาชิกพรรคชาวนาโครเอเชีย 5 คน รวมไปถึงสเตฟาน ราดิชด้วย เนื่องจากราดิชปฏิเสธที่จะขอโทษสำหรับความผิดก่อนหน้านี้ ซึ่งเขากล่าวหาว่าราชิชเป็นขโมย[26]

ด้วยเหตุการณ์นี้เอง ทำให้ฝ่ายค้านต่างทยอยออกจากรัฐสภา โดยพวกเขาได้ยืนยันว่าจะไม่กลับเข้าไปในรัฐสภาอีก ซึ่งเป็นสถานที่ที่สมาชิกของพวกเขาถูกสังหาร และขอให้มีการจัดเลือกตั้งใหม่ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ในการประชุมที่ซาเกร็บ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1920 พวกเขาเรียกร้องให้เจรจาเพื่อรวมชาติขึ้นใหม่โดยเริ่มจากศูนย์ นับจากวันที่ 8 สิงหาคม เมื่อสเตฟาน ราดิชเสียชีวิต

เผด็จการ 6 มกราคม

ในวันที่ 6 มกราคม 1929 กษัตริย์อเล็กซานเดอร์ทรงยกเลิกรัฐธรรมนูญ ระงับรัฐสภา และนำระบอบเผด็จการส่วนบุคคลมาใช้เป็นข้ออ้าง (รู้จักกันในชื่อ "เผด็จการ 6 มกราคม", Šestosiječanjska diktatura, Šestojanuarska diktatura) โดยมีจุดมุ่งหมาย ในการก่อตั้งอุดมการณ์ยูโกสลาเวียและยูโกสลาเวียหนึ่งชาติ เขาเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย" และเปลี่ยนการแบ่งแยกภายในจาก 33 แคว้นเป็นบาโนวินาใหม่ 9 แห่งในวันที่ 3 ตุลาคม การตัดสินใจครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากข้อเสนอของเอกอัครราชทูตอังกฤษที่จะกระจายอำนาจในประเทศให้ดีขึ้น โดยมีต้นแบบมาจากเชคโกสโลวาเกีย[34] ในไม่ช้าก็มีการจัดตั้งศาลเพื่อการคุ้มครองแห่งรัฐเพื่อทำหน้าที่เป็นเครื่องมือของรัฐบาลใหม่ในการปราบปรามผู้เห็นต่าง นักการเมืองฝ่ายค้าน วลาดโก มาเชค และ สเวโตซาร์ ปรีบิเชวิช ถูกศาลจับกุมภายใต้ข้อหา ต่อมา ปรีบิเชวิช ถูกเนรเทศในขณะที่ในช่วงทศวรรษที่ 1930 มาเชคจะกลายเป็นผู้นำของกลุ่มฝ่ายค้านทั้งหมด[27][28]

Thumb
เขตการปกครองบาวินาของยูโกสลาเวียจากทั้งหมด 9 รัฐก่อนปี 1939

ทันทีหลังจากมีการประกาศการปกครองแบบเผด็จการ นายอันเต พาเวลิช รองผู้อำนวยการชาวโครเอเชียได้ออกจากประเทศเพื่อเนรเทศ ปีต่อ ๆ มา พาเวลิช ทำงานเพื่อจัดตั้งองค์กรปฏิวัติอูสตาเชซึ่งเป็นพันธมิตรกับ Internal Macedonian Revolutionary Organization (IMRO) เพื่อต่อต้านรัฐ

ในปี 1931 กษัตริย์อเล็กซานเดอร์ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งทำให้อำนาจบริหารเป็นของขวัญจากกษัตริย์ การเลือกตั้งจะต้องมาจากการลงคะแนนเสียงของชายสากล บทบัญญัติสำหรับการลงคะแนนลับถูกยกเลิก และการกดดันให้พนักงานของรัฐลงคะแนนเสียงให้พรรคที่ปกครองจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของการเลือกตั้งทั้งหมดที่จัดขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญของอเล็กซานเดอร์ ยิ่งกว่านั้น สภาสูงครึ่งหนึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยตรงจากกษัตริย์ และกฎหมายจะกลายเป็นกฎหมายได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสภาใดสภาหนึ่งหากได้รับการอนุมัติจากกษัตริย์ด้วย[29][30][31]

ในปีเดียวกันนั้นเอง มิลาน ชัฟฟ์เลย์ นักประวัติศาสตร์และต่อต้านยูโกสลาเวียชาวโครเอเชียถูกลอบสังหารที่เมืองซาเกร็บ เพื่อเป็นการตอบโต้ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ และไฮน์ริช มานน์ ได้ส่งคำร้องไปยังสันนิบาตสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในกรุงปารีส เพื่อประณามการฆาตกรรมดังกล่าว โดยกล่าวหารัฐบาลยูโกสลาเวีย จดหมายระบุถึง "ความโหดร้ายอันน่าสยดสยองซึ่งกำลังปฏิบัติต่อชาวโครเอเชีย" คำอุทธรณ์ดังกล่าวส่งถึง Ligue des droits de l'homme ซึ่งมีฐานอยู่ในปารีส (Human Rights League) ในจดหมายของพวกเขาไอน์สไตน์และมานน์ระบุว่ากษัตริย์อเล็กซานดาร์แห่งยูโกสลาเวียต้องรับผิดชอบต่อสถานการณ์เหล่านี้อย่างชัดเจน

การต่อต้านระบอบการปกครองใหม่ของชาวโครแอตนั้นรุนแรงและในช่วงปลายปี 1932 พรรคชาวนาโครเอเชียได้ออกแถลงการณ์ซาเกร็บซึ่งต้องการยุติอำนาจการปกครองและเผด็จการของชาวเซิร์บ รัฐบาลตอบโต้ด้วยการจำคุกฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองหลายคน รวมทั้งวลาดโก มาเชคหัวหน้าพรรคชาวนาโครเอเชียคนใหม่ แม้จะมีมาตรการเหล่านี้ การต่อต้านเผด็จการยังคงดำเนินต่อไป โดยชาวโครแอตเรียกร้องให้มีการแก้ปัญหาในสิ่งที่เรียกว่า "คำถามของชาวโครแอต" ปลายปี 1934 กษัตริย์วางแผนที่จะปล่อยตัวมาเชกจากคุก เสนอการปฏิรูปประชาธิปไตย และพยายามหาจุดร่วมระหว่างชาวเซอร์เบียและชาวโครแอต

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 9 ตุลาคม 1934 กษัตริย์ถูกลอบปลงพระชนม์ที่เมืองมาร์เซย์ ประเทศฝรั่งเศส โดย เวลิชโก เคริน ชาวบัลแกเรีย (หรือที่รู้จักกันในนามแฝงของนักปฏิวัติ วลาโด เชอร์โนเซ็มสกี) นักเคลื่อนไหวของ IMRO ในการสมรู้ร่วมคิดกับผู้ลี้ภัยยูโกสลาเวียและสมาชิกหัวรุนแรงของพรรคการเมืองที่ถูกสั่งห้ามใน ความร่วมมือกับองค์กรอูสตาเชชาตินิยมสุดโต่งของโครเอเชีย

ผู้สำเร็จราชการแห่งยูโกสลาฟ

เนื่องจากพระราชโอรสของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ คือเจ้าชายปีเตอร์ที่ 2 ทรงยังเป็นผู้เยาว์ สภาผู้สำเร็จราชการ 3 คนตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ เข้ารับตำแหน่งและหน้าที่ของกษัตริย์องค์ใหม่ สภาถูกครอบงำโดยลูกพี่ลูกน้องคนแรกของกษัตริย์วัย 11 ปีที่ครั้งหนึ่งเคยถอดเจ้าชายพอล

ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1930 ความตึงเครียดภายในยังคงเพิ่มขึ้น โดยชาวเซิร์บและโครแอตพยายามจัดตั้งเขตการปกครองของรัฐบาลกลางชาติพันธุ์ ต้องการ วาร์ดาร์ บาวอดินา (ภายหลังเป็นที่รู้จักในยูโกสลาเวียในชื่อ วาร์ดาร์ มาซิโดเนีย),วอยวอดีนา,มอนเตเนโกร รวมเป็นหนึ่งกับดินแดนเซอร์เบีย และโครเอเชียต้องการดัลมาเชีย และวอยวอดีนาบางส่วน ทั้งสองฝ่ายอ้างสิทธิ์ในดินแดนบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาในปัจจุบันซึ่งมีชาวมุสลิมบอสเนียอาศัยอยู่เช่นกัน การขยายตัวของนาซีเยอรมนีในปี พ.ศ. 2481 ทำให้เกิดแรงผลักดันใหม่ต่อความพยายามในการแก้ปัญหาเหล่านี้ และในปี 1939 เจ้าชายพอลทรงแต่งตั้ง Dragiša Cvetković เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีเป้าหมายเพื่อบรรลุข้อตกลงกับฝ่ายค้านโครเอเชีย ดังนั้น ในวันที่ 26 สิงหาคม 1939 วลาดโก มาเชกจึงกลายเป็นรองนายกรัฐมนตรีของยูโกสลาเวีย และมีการก่อตั้งบาโนวินาแห่งโครเอเชียขึ้นเองโดยมีรัฐสภาของตนเอง

การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไม่เป็นที่พอใจของทั้งชาวเซิร์บที่เกี่ยวข้องกับสถานะของชนกลุ่มน้อยชาวเซิร์บในบาโนวีนาแห่งใหม่ของโครเอเชีย และผู้ที่ต้องการให้บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาเป็นดินแดนเซอร์เบียมากขึ้น หรืออุสตาเช ชาตินิยมชาวโครเอเชียที่โกรธเคืองกับการตั้งถิ่นฐานใด ๆ ที่ไม่ได้รับเอกราชอย่างเต็มที่สำหรับ โครเอเชียส่วนใหญ่รวมถึงบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาทั้งหมด

การล่มสลาย

Thumb
การยึดครองและการแบ่งแยกยูโกสลาเวียในปี ค.ศ. 1941–43
Thumb
การยึดครองและการแบ่งแยกยูโกสลาเวียในปี ค.ศ. 1943–44

ด้วยความกลัวว่าจะถูกรุกรานโดยฝ่ายอักษะ ยูโกสลาเวียจึงได้ลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคี เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1941 โดยให้สัญญาว่าจะร่วมมือกับฝ่ายอักษะอย่างเต็มกำลัง ทำให้เกิดการประท้วงของกลุ่มต่อต้านฝ่ายอักษะภายในกรุงเบลเกรด

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ระบอบการปกครองของเจ้าชายพอลได้ถูกโค่นล้มจากการทำรัฐประหารโดยกองทัพ ด้วยการสนับสนุนจากสหราชอาณาจักร พระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 ซึ่งในขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุ 17 พรรษา ทรงบรรลุนิติภาวะและได้รับอำนาจในการปกครอง โดยมีนายพลดูชัน ซิมอวิชดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ราชอาณาจักรยูโกสลาเวียได้ถอนตัวจากการสนับสนุนฝ่ายอักษะแบบพฤตินัยแต่ยังไม่ละทิ้งกติกาสัญญาไตรภาคีอย่างเป็นทางการ แม้ว่าผู้ปกครองคนใหม่จะต่อต้านนาซีเยอรมนี แต่พวกเขากลัวว่า อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ จะโจมตียูโกสลาเวีย โดยที่สหราชอาณาจักรก็ไม่สามารถช่วยเหลือได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1941 ฝ่ายอักษะได้เปิดฉากรุกรานยูโกสลาเวียอย่างรวดเร็ว ทำให้บรรดาเหล่าราชวงศ์รวมทั้งเจ้าชายพอล ได้เสด็จลี้ภัยและถูกกักบริเวณที่บ้านพักในบริติชเคนยา[32]

ราชอาณาจักรยูโกสลาเวียได้ถูกแบ่งแยกดินแดนเป็นหลายส่วนโดยฝ่ายอักษะ เยอรมนี, อิตาลี, ฮังการี, และบัลแกเรียต่างผนวกเขตแดนของยูโกสลาเวียไว้ เยอรมนีใหญ่ได้ผนวกดินแดนสโลวีเนีย อิตาลีได้จัดตั้งเขตผู้ว่าการแดลเมเชีย, ผนวกพื้นที่บางส่วนของมาซิโดเนียและคอซอวอ, มอนเตเนโกร, ทางตอนใต้ของโครเอเชีย, และพื้นที่หนึ่งในสามของสโลวีเนียตะวันตกไว้กับจักรวรรดิอิตาลี ฟาสซิสต์โครเอเชียได้รับการยอมรับในฐานะรัฐเอกราชโครเอเชีย (Nezavisna Država Hrvatska, NDH) มีการปกครองเป็นราชอาณาจักรและมีดยุกที่ 4 แห่งออสตา เป็นพระมหากษัตริย์ในนาม "สมเด็จพระราชาธิบดีโทมิสลาฟที่ 2 แห่งโครเอเชีย" ดินแดนเซอร์เบียกลายเป็นดินแดนยึที่ฝ่ายทหารของเยอรมนียึดครอง และปกครองโดยผู้บัญชาการทหารและรัฐบาลพลเรือนของเซอร์เบีย นำโดย มิลัน เนดิช เนดิชพยายามที่จะให้ได้รับการยอมรับจากเยอรมนีว่าเป็นรัฐที่สืบทอดต่อจากยูโกสลาเวีย และมีพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์แห่งเซอร์เบีย ส่วนฮังการีได้เข้าครอบครองภูดินแดนทางตอนเหนือ

การลี้ภัยขององค์กษัตริย์

พระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 ซึ่งเสด็จลี้ภัยยังได้รับการยอมรับว่าเป็นกษัตริย์แห่งรัฐยูโกสลาเวียทั้งหมดโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 1941 "กองทัพยูโกสลาเวียแห่งปิตุภูมิ" เซอร์เบียส่วนใหญ่ (Jugoslovenska vojska u otadžbini หรือ JVUO หรือ Chetniks) ต่อต้านการยึดครองยูโกสลาเวียของฝ่ายอักษะ ขบวนการต่อต้านนี้ซึ่งเป็นทั้งฝ่ายต่อต้านเยอรมันและฝ่ายต่อต้านคอมมิวนิสต์ ได้รับคำสั่งจากนายพล Draža Mihailović จอมราชาแห่งราชวงศ์ เป็นเวลานานมาแล้วที่กลุ่มเชตนิกส์ได้รับการสนับสนุนจากอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และรัฐบาลยูโกสลาเวียที่กษัตริย์ปีเตอร์ที่ 2 พลัดถิ่น

อย่างไรก็ตาม ในช่วงสงคราม อำนาจบริหารได้เปลี่ยนไปอยู่ในมือของ ยอซีฟ บรอซ ตีโต ในปี 1943 ติโตได้ประกาศจัดตั้งสหพันธ์ประชาธิปไตยยูโกสลาเวีย (Demokratska federativna Jugoslavija) ฝ่ายสัมพันธมิตรค่อยๆ ยอมรับว่ากองกำลังของตีโตเป็นกองกำลังต่อต้านที่แข็งแกร่งกว่าในการยึดครองของเยอรมัน พวกเขาเริ่มส่งความช่วยเหลือส่วนใหญ่ไปยังพลพรรคของตีโต แทนที่จะส่งไปยังเชทนิกส์ ผู้นิยมราชวงศ์ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 1944 มีการลงนามข้อตกลง ตีโต-ซุบาซิช ซึ่งรวมรัฐบาลโดยพฤตินัยและนิตินัยของยูโกสลาเวียเข้าด้วยกัน

ในช่วงต้นปี 1945 หลังจากที่เยอรมนีถูกขับไล่ออกไป ราชอาณาจักรยูโกสลาเวียได้รับการฟื้นฟูอีกครั้ง อย่างไรก็ตามอำนาจทางการเมืองที่แท้จริงอยู่ในมือของพรรคคอมมิวนิสต์ของตีโต และในวันที่ 29 พฤศจิกายน กษัตริย์ปีเตอร์ที่ 2 ถูกสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งยูโกสลาเวียปลดจากราชบัลลังก์และโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ ต่อมาในวันที่ 2 ธันวาคม ทางคอมมิวนิสต์ได้อ้างสิทธิ์เหนือดินแดนยูโกสลาเวียทั้งหมดในฐานะส่วนหนึ่งของสหพันธ์ประชาธิปไตยยูโกสลาเวีย

Remove ads

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.

Remove ads