Remove ads
นักการเมืองและนักวารสารศาสตร์ชาวอิตาลี ผู้ก่อตั้งพรรคชาตินิยมฟาสซิสต์ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เบนิโต อามิลกาเร อานเดรอา มุสโสลินี (อิตาลี: Benito Amilcare Andrea Mussolini) เป็นนักการเมืองชาวอิตาลีและนักเขียนข่าวที่เป็นผู้นำของพรรคชาตินิยมฟาสซิสต์ เขาได้ขึ้นปกครองอิตาลีในฐานะนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1922 ถึง 1943 เขาได้กลายเป็นผู้นำประเทศจนกระทั่งปี ค.ศ. 1945 เมื่อเขาได้ทำลายการหลอกลวงของระบอบประชาธิปไตยและสร้างระบอบเผด็จการ
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
เบนิโต มุสโสลินี | |
---|---|
นายกรัฐมนตรีอิตาลี | |
ดำรงตำแหน่ง 31 ตุลาคม 1922 – 25 กรกฎาคม 1943 | |
กษัตริย์ | พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 |
ก่อนหน้า | หลุยจี ฟาคตา |
ถัดไป | ปีเอโตร บาโดลโย |
ดูเชแห่งสาธารณรัฐสังคมอิตาลี | |
ดำรงตำแหน่ง 23 กันยายน 1943 – 25 เมษายน 1945 | |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | ยุบเลิกตำแหน่ง |
ดูเชฟาสซิสต์ | |
ดำรงตำแหน่ง 23 มีนาคม 1919 – 25 กรกฎาคม 1943 | |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | ยุบเลิกตำแหน่ง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | เบนิโต อามิลกาเร อานเดรอา มุสโสลินี 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1883 โดวีอาดีเปรดัปปีโอ ฟอร์ลิ อิตาลี |
เสียชีวิต | 28 เมษายน ค.ศ. 1945 ปี) Giulino di Mezzegra, Como อิตาลี | (61
ที่ไว้ศพ | San Cassiano cemetery, เปรดัปปีโอ, ฟอร์ลิ |
เชื้อชาติ | อิตาลี |
ศาสนา | ไม่มี |
พรรคการเมือง | พรรคชาตินิยมฟาสซิสต์ (1921–1943) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | พรรคสังคมนิยมอิตาลี (1901–1914) Italian Fasci of Combat (1919–1921) Fasci of Revolutionary Action (1914–1919) Autonomous Fasci of Revolutionary Action (1914) พรรครีพับลิกันฟาสซิสต์ (1943–1945) |
ความสูง | 5' 6½" (1.69 m) |
คู่สมรส | ราเคเล มุสโสลินี |
บุตร | เบนิโต อัลบิโน มุสโสลินี เอ็ดดา มุสโสลินี วิคตอริโอ มุสโสลินี บรูโน มุสโสลินี โรมาโน มุสโสลินี แอนนา มาเรีย มุสโสลินี |
บุพการี |
|
ญาติ | Ida Dalser มาร์เกริต้า ซาร์ฟาตี้ คลาล่า แปตะชิ |
วิชาชีพ | ผู้เผด็จการ, นักการเมือง, สื่อสารมวลชน, ผู้ประพันธ์บันเทิงคดี, ครู |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | อิตาลี สาธารณรัฐสังคมอิตาลี |
สังกัด | แม่แบบ:Country data กองทัพบกราชอาณาจักรอิตาลี |
ประจำการ | ประจำการ: 1915–1917 |
ยศ | จอมพลอันดับที่หนึ่งแห่งจักรวรรดิ สิบโท |
หน่วย | กรมทหาร Bersaglieri ที่ 11 |
ผ่านศึก | สงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามโลกครั้งที่ 2 |
เป็นที่รู้จักกันในฐานะ "อิลดูเช"(ท่านผู้นำ), มุสโสลินีได้เป็นผู้ก่อตั้งลัทธิฟาสซิสต์อิตาลี[1][2][3] ในปี ค.ศ. 1912 มุสโสลินีได้เป็นสมาชิกชั้นนำของคณะกรรมการแห่งชาติของพรรคสังคมนิยมอิตาลี(PSI)[4] แต่ถูกขับออกจากพรรค PSI จากการสนับสนุนในการเข้าแทรกแซงการทหารในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในฐานะที่เป็นผู้คัดค้านต่อจุดยืนของพรรคที่วางตัวเป็นกลาง มุสโสลินีได้รับใช้ในกองทัพบกแห่งราชอาณาจักรอิตาลีในช่วงสงครามจนกระทั่งเขาได้รับบาดเจ็บและถูกปลดประจำการในปี ค.ศ. 1917 มุสโสลินีได้กล่าวประณามต่อพรรค PSI มุมมองของเขาในตอนนี้มีศูนย์กลางอยู่ที่ลัทธิชาตินิยมแทนที่จะเป็นลัทธิสังคมนิยมและต่อมาได้ก่อตั้งขบวนการฟาสซิสต์ซึ่งได้ต่อต้านสมภาคนิยม[5] และความขัดแย้งระหว่างชนชั้น แทนที่จะเรียกร้องให้"คณะปฏิวัติชาตินิยม"ได้เอาชนะการแบ่งชนชั้น[6] ภายหลังการเดินขบวนสู่เบอร์ลินในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1922 มุสโสลินีได้กลายเป็นนายกรัฐมนตรีอิตาลีคนสุดท้องในประวัติศาสตร์อิตาลีจนกระทั่งได้แต่งตั้งให้แก่มัตเตโอ เรนซี ในเดือนกุมภาพันธ์ ปีค.ศ. 2014 ภายหลังจากได้กำจัดคู่แข่งทางการเมืองทั้งหมดด้วยตำรวจลับของเขาและการนัดหยุดแรงงานของคนงาน[7] มุสโสลินีและผู้ติดตามของเขาได้รวบรวมอำนาจผ่านหนึ่งในกฎหมายที่เปลี่ยนประเทศให้เป็นระบอบเผด็จการพรรคการเมืองเดียว ภายในห้าปีที่ผ่านมา มุสโสลินีได้จัดตั้งอำนาจเผด็จการด้วยวิธีทั้งทางกฎหมายและวิธีที่ไม่ธรรมดาและต้องการที่จะสร้างรัฐระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ ในปี ค.ศ. 1929 มุสโสลินีได้ลงนามสนธิสัญญาลาเตรันกับนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นการสิ้นสุดในช่วงหลายทศวรรษของการสู้รบระหว่างรัฐอิตาลีและพระสันตะปาปาและได้ยอมรับการเป็นรัฐอิสระของนครวาติกัน
ภายหลังวิกฤตการณ์อะบิสซิเนีย ปี ค.ศ. 1935-1936 มุสโสลินีได้ส่งกองทัพเข้ารุกรานเอธิโอเปียในสงครามอิตาลี-เอธิโอเปียครั้งที่สอง การรุกรานครั้งนี้ได้ถูกประณามโดยมหาอำนาจตะวันตกและตอบโต้ด้วยการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิตาลี ความสัมพันธ์ระหว่างเยอรมนีและอิตาลีที่ดีขึ้น เนื่องจากการสนับสนุนของฮิตเลอร์ในการรุกราน มุสโสลินีได้ยอมรับให้ประเทศออสเตรียอยู่ภายใต้เขตอิทธิพลของเยอรมนี, ได้ลงนามสนธิสัญญาในการร่วมมือกับเยอรมนีและประกาศก่อตั้ง อักษะ โรม-เบอร์ลิน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1936 ถึง 1939 มุสโสลินีได้ส่งทหารจำนวนมากไปให้การสนับสนุนแก่กองกำลังของฟรังโกในสงครามกลางเมืองเสปน การแทรกแซงอย่างรวดเร็วครั้งนี้ยิ่งทำให้อิตาลีห่างเหินจากฝรั่งเศสและบริเตน มุสโสลินีได้พยายามชะลอสงครามครั้งใหญ่ในทวีปยุโรป แต่เยอรมนีได้เข้ารุกรานโปแลนด์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 ส่งผลทำให้มีการประกาศสงครามโดยฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรและจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1940-ด้วยฝรั่งเศสพ่ายแพ้และถูกยึดครองใกล้มาถึง—อิตาลีได้เข้าร่วมสงครามอย่างเป็นทางการโดยเข้าข้างฝ่ายเยอรมัน แม้ว่ามุสโสลินีได้ทราบดีว่าอิตาลีไม่มีขีดความสามารถทางทหารและทรัพยากรในการทำสงครามอันยืดเยื้อกับจักรวรรดิบริติซ[8] เขาเชื่อว่าภายหลังจากการสงบศึกกับฝรั่งเศสที่ใกล้มาถึง อิตาลีอาจจะได้รับดินแดนจากฝรั่งเศส และเขาจะสามารถรวบรวมกองกำลังของเขาในการรุกครั้งใหญ่ในแอฟริกาเหนือ ที่กองกำลังบริติซและเครือจักรภพมีจำนวนมากกว่ากองทัพอิตาลี[9] อย่างไรก็ตาม, รัฐบาลบริติซได้ปฏิเสธที่ยอมรับข้อเสนอเพื่อสันติภาพที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับชัยชนะของฝ่ายอักษะในยุโรปตะวันออกและตะวันตก แผนการสำหรับการรุกรานสหราชอาณาจักรไม่ได้ดำเนินต่อไปและสงครามยังคงดำเนินต่อไป ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1940 มุสโสลินีได้ส่งกองทัพอิตาลีเข้าไปยังกรีซ กลายเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามอิตาลี-กรีซ การรุกรานครั้งนี้ล้มเหลวและหลังจากกรีซได้โจมตีตอบโต้กลับผลักดันอิตาลีกลับไปยังเขตยึดครองแอลเบเนีย การล่มสลายของกรีซและพร้อมกับความปราชัยต่อบริติซในแอฟริกาเหนือทำให้อิตาลีต้องพึ่งพาเยอรมนี
เริ่มต้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 มุสโสลินีได้ส่งกองทัพอิตาลีเพื่อเข้าร่วมในการรุกรานสหภาพโซเวียตและอิตาลีได้ประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาในเดือนธันวาคม ในปี ค.ศ. 1943 อิตาลีต้องประสบหายนะหลายครั้ง ภายหลังจากนั้นอีก: ในเดือนกุมภาพันธ์ กองทัพแดงได้ทำลายกองทัพอิตาลีในรัสเซียอย่างราบคาบ ในเดือนพฤษภาคม, ฝ่ายอักษะถูกขับไล่ออกจากแอฟริกาเหนือ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม, ฝ่ายสัมพันธมิตรได้บุกครองเกาะซิซิลี และเมื่อถึงวันที่ 16 ได้เห็นอย่างชัดเจนว่าการรุกรานในช่วงฤดูร้อนในสหภาพโซเวียตล้มเหลว ด้วยผลที่ตามมา, เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม สภาใหญ่แห่งฟาสซิสต์ได้ลงมติไม่ไว้วางใจต่อมุสโสลินี วันต่อมา กษัตริย์ได้ปลดเขาออกจากตำแหน่งผู้นำคณะรัฐบาลและควบคุมตัวเขาให้อยู่ในความดูแล เพื่อแต่งตั้งปีเอโตร บาโดลโยขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนต่อจากเขา มุสโสลินีได้รับการปลดปล่อยจากที่คุมขังในการตีโฉบฉวยแกรน์ แซสโซโดยทหารโดดร่มเยอรมันและหน่วยคอมมานโดวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สภายใต้การนำโดยพันตรี Otto-Harald Mors
ภายหลังที่ได้เข้าพบกับอดีตผู้นำเผด็จการที่ได้คอยให้ความช่วยเหลือ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ก็ได้ให้มุสโสลินีเข้าไปปกครองในรัฐหุ่นเชิดทางภาคเหนือของอิตาลี สาธารณรัฐสังคมอิตาลี(อิตาลี: Repubblica Sociale Italiana, RSI),[10] เป็นที่รู้จักกันอย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐซาโล ในช่วงปลายเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 ในขณะที่ความพ่ายแพ้ทั้งหมดได้ใกล้เข้าถึง มุสโสลินีและอนุภรรยาของเขา คลาล่า แปตะชิ ได้พยายามหลบหนีไปยังสวิตเซอร์แลนด์[11] แต่ทั้งคู่ถูกจับกุมโดยพลพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลีและถูกประหารชีวิตอย่างรวบรัดโดยชุดทีมยิงเป้า เมื่อวันที่ 28 เมษายน ใกล้กับทะเลสาบโกโม ร่างของเขาถูกนำไปยังเมืองมิลาน ซึ่งที่นั้นได้ถูกแขวนประจานไว้ที่หน้าสถานที่ราชการเพื่อเป็นการยืนยันการตายของเขาแก่สาธารณชน[12]
มุสโสลินี เกิดเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1883 ใน Dovia di Predappio เมืองขนาดเล็กในจังหวัดฟอร์ลีในโรมานญ่า ต่อมา ในช่วงยุคฟาสซิสต์ Predappio ได้ถูกขนานนามว่า "เมืองของดูเช" และฟอร์ลีถูกเรียกว่า "เมืองของดูเช" โดยนักแสวงบุญที่กำลังไปยัง Predappio และฟอร์ลี เพื่อมาดูบ้านเกิดของมุสโสลินี
บิดาของเขาคือ อเลสซานโดร มุสโสลินี เป็นช่างตีเหล็กและนักสังคมนิยม[13] ในขณะที่มารดาของเขา โรซา(นามสกุล มัลโทนี) เป็นครูสอนหนังสือในโรงเรียนซึ่งนับถือคาทอลิกที่เคร่งครัด[14] ด้วยการที่เอนเอียงทางการเมืองของบิดาของเขา มุสโสลินีจึงได้รับการตั้งชื่อว่า เบนิโต ซึ่งมาจากชื่อของประธานาธิบดีแม็กซิกันฝ่ายเสรีนิยม เบนิโต ฮัวเรซ ในขณะที่ชื่อกลางของเขาคือ อานเดรอาและอามิลกาเร ซึ่งเป็นชื่อของนักสังคมนิยมชาวอิตาลีสองคนที่มีนามว่า อานเดรอา คอสตรา และอามิลกาเร ชิปริชอานี[15] ในทางกลับกัน มารดาได้นำเขาเข้าพิธีบัพติศมาตั้งแต่แรกเกิด[14] เบนิโตเป็นลูกคนโตในเหล่าลูกสามคนของพ่อแม่ พี่น้องของเขาคือ อาร์นัลโด และ Edvige [16]
ในช่วงวัยเด็ก มุสโสลินีจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการช่วยเหลือแก่บิดาของเขาในโรงตีเหล็ก[17] มุมมองทางการเมืองช่วงแรกของมุสโสลินีได้รับอิทธิพลอย่างมากมายจากบิดาของเขา ซึ่งได้เทิดทูนต่อบุคคลที่เป็นนักชาตินิยมชาวอิตาลีในช่วงศตวรรษที่ 19 ที่มีความเอนเอียงไปทางมนุษยนิยม ได้แก่ Carlo Pisacane Giuseppe Mazzini และ Giuseppe Garibaldi[18] ทัศนคติทางการเมืองของบิดาของเขาได้ผสมผสานกับมุมมองของบุคคลที่เป็นฝ่ายอนาธิปไตย เช่น Carlo Cafiero และ Mikhail Bakunin ลัทธิอำนาจนิยมทางทหารของ Garibaldi และลัทธิชาตินิยมของ Mazzini ใน ค.ศ. 1902 ซึ่งเป็นวันครบรอบของการเสียชีวิตของ Garibaldi มุสโสลินีได้กล่าวสุนทรพจน์แก่สาธารณะในการยกย่องแก่ฝ่ายรีพับบลีกันชาตินิยม[19]
มุสโสลินีได้ถูกส่งไปยังโรงเรียนประจำที่ถูกดำเนินการโดยนักบวชคณะซาเลเซียน[14] เนื่องจากนิสัยที่บึ้งตึง ชอบใช้กำลัง กระดากและหยิ่งผยองของเขา เขามักจะทะเลาะเบาะแว้งกับครูและเพื่อนร่วมโรงเรียน ในช่วงที่มีการโต้แย้งกัน เขาได้ทำร้ายเพื่อร่วมชั้นด้วยมีดพกแบบพับและถูกลงโทษอย่างรุนแรง[14] ภายหลังจากที่ได้เข้าเรียนในโรงเรียนแห่งใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาใน Forlimpopoli มุสโสลินีได้รับผลการเรียนที่ดี เป็นที่ชื่นชอบจากครูของเขา แม้ว่าจะมีนิสัยที่รุนแรง และมีคุณสมบัติที่จะเป็นครูสอนหนังสือระดับชั้นประถมในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1901[14][20]
ใน ค.ศ. 1902 มุสโสลินีได้ย้ายถิ่นไปยังสวิตเซอร์แลนด์ สาเหตุอย่างหนึ่งเพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าประจำการทหารภาคบังคับ[13] เขาทำงานในช่วงเวลาสั้น ๆ ในฐานะช่างทำหิน ในเจนีวา ฟรีบูร์ และแบร์น แต่ไม่สามารถหางานประจำได้เลย
ในช่วงเวลานี้ เขาได้ศึกษาแนวคิดของนักปรัชญา ฟรีดริช นีทเชอ นักสังคมวิทยา Vilfredo Pareto และนักลัทธิสหการนิยม Georges Sorel ต่อมามุสโสลินีได้เลื่อมใสให้กับนักสังคมนิยมชาวครีสเตียน Charles Péguy และนักลัทธิสหการนิยม Hubert Lagardelle ซึ่งบางส่วนก็เป็นอิทธิพลของเขา การเน้นย้ำของ Sorel ถึงความจำเป็นในการล้มล้างประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมและระบบทุนนิยมที่เสื่อมโทรมด้วยการใช้ความรุนแรง การลงมือโดยตรง การนัดหยุดงานทั่วไป และการใช้ลัทธินีโอ-มาเกียเวลลีที่คอยดึงดูดทางด้านอารมณ์ ทำให้มุสโสลินีเกิดความรู้สึกประทับใจอย่างสุดซึ้ง
มุสโสลินีได้เริ่มมีบทบาทในขบวนการสังคมนิยมอิตาลีในสวิตเซอร์แลนด์ โดยทำงานในการตีหนังสือพิมพ์ที่ชื่อว่า L'Avvenire del Lavoratore ซึ่งจะคอยจัดให้มีการประชุม การกล่าวสุนทรพจน์แก่คนงาน และดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการของสหภาพแรงงานอิตาลีในโลซาน Angelica Balabanoff ได้รายงานว่า ได้แนะนำเขาให้รู้จักกับวลาดีมีร์ เลนิน ซึ่งภายหลังได้วิพากษ์วิจารน์ต่อนักสังคมนิยมอิตาลีที่ได้สูญเสียมุสโสลินีไปจากสาเหตุของพวกเขา ใน ค.ศ. 1903 เขาถูกตำรวจแบร์เนอร์จับกุมด้วยข้อหาให้การสนับสนุนการนัดหยุดงานอย่างรุนแรง ถูกจำคุกเป็นเวลาสองสัปดาห์ และถูกส่งตัวกลับไปยังอิตาลี ภายหลังจากที่เขาได้รับการปล่อยตัวที่นั่น เขาได้กลับมายังสวิตเซอร์แลนด์ ใน ค.ศ. 1904 ได้ถูกจับกุมอีกครั้งในเจนีวาและถูกขับออกนอกประเทศด้วยข้อหาปลอมแปลงเอกสารของเขา มุสโสลินีจึงกลับไปยังโลซาน ที่ซึ่งเขาได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยโลซาน ภาควิชาสังคมศาสตร์ ซึ่งได้ติดตามบทเรียนของ Vilfredo Pareto ใน ค.ศ. 1937 เมื่อเขาได้เป็นนายกรัฐมนตรีอิตาลี มหาวิทยาลัยโลซานได้มอบปริญญากิตติมศักดิ์แก่มุสโสลนี เนื่องในโอกาศครบรอบ 400 ปี
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1904 มุสโสลินีได้เดินทางกลับอิตาลีเพื่อใช้ประโยชน์จากการนิรโทษกรรมสำหรับการหลีกหนีทหาร การตัดสินลงโทษของเขาในเรื่องนี้ได้หายไปแล้ว เนื่องจากเงื่อนไขในการรับอภัยโทษคือให้เข้าประจำการในกองทัพบก เขาจึงเข้าร่วมในกองทัพน้อย Bersaglieri ในฟอร์ลี เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1904 ภายหลังจากเข้ารับราชการทหารเป็นเวลาสองปี (ตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 1905 ถึง เดือนกันยายน ค.ศ. 1906) เขาจึงกลับไปสอนหนังสือที่โรงเรียน
ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1909[21] มุสโสลินีได้ออกจากอิตาลีอีกครั้ง คราวนี้ได้ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรคแรงงานในเมืองเทรนโตที่พูดด้วยภาษาอิตาลี ซึ่งช่วงเวลานั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี(ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอิตาลี) นอกจากนี้ เขายังได้ทำงานในสำนักงานแก่พรรคสังคมนิยมท้องถิ่น และแก้ไขเรียบเรียงหนังสือพิมพ์ที่ชื่อว่า L'Avvenire del Lavoratore (อนาคตของกรรมกร) เมื่อกลับมายังอิตาลี เขาใช้เวลาช่วงสั้น ๆ ในมิลาน และใน ค.ศ. 1910 เขาได้กลับมายังบ้านเกิดที่ฟอร์ลี ซึ่งที่นั้นเขาได้แก้ไขเรียบเรียงหนังสือพิมพ์ประจำสัปดาห์ที่ชื่อว่า Lotta di classe (การต่อสู้ทางชนชั้น)
มุสโสลินีคิดว่าตัวเขาเองเป็นคนมีปัญญาและถือว่าอ่านเก่ง เขาได้อ่านด้วยความละโมบ ปรัชญาชาวยุโรปที่เขาโปรดปราน รวมทั้ง Sorel นักอนาคตศาสตร์ชาวอิตาลี ฟีลิปโป ตอมมาโซ มารีเนตตี นักสังคมนิยมชาวฝรั่งเศส Gustave Hervé นักอนาธิปไตยชาวอิตาลี Errico Malatesta และนักปรัชญาชาวเยอรมันอย่าง ฟรีดริช เอ็งเงิลส์และคาร์ล มาคส์ ผู้ก่อตั้งลัทธิมากซ์[22][23] มุสโสลินีได้ฝึกอ่านภาษาฝรั่งเศสและภาษาเยอรมันด้วยตัวเองและแปลข้อความที่ถูกตัดตอนออกมาจากงานเขียนของนิทเชอ โชเพินเฮาเออร์ และคานต์
ในช่วงเวลานี้ เขาได้ตีพิมพ์บทความที่ชื่อว่า "Il Trentino veduto da un Socialista" ("เทรนติโนถูกมองโดยสังคมนิยม") ลงใน "ลา โวเซ่" ซึ่งเป็นวารสารของพวกหัวรุนแรง[24] เขายังได้เขียนบทความเกี่ยวกับวรรณกรรมเยอรมันหลายเรื่อง ซึ่งบางเรื่องและหนึ่งในนวนิยายคือ L'amante del Cardinale: Claudia Particella, romanzo storico (The Cardinal's Mistress) นวนิยายเรื่องนี้ เขาได้เขียนร่วมกับ Santi Corvaja และได้ถูกตีพิมพ์เป็นหนังสือต่อเนื่องในหนังสือพิมพ์ เทรนโต 2 โปโปโล ได้ถูกออกจำหน่ายเป็นงวด ๆ ตั้งแต่ 20 มกราคม ถึง 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1910[25] นวนิยายเรื่องนี้เป็นการต่อต้านศาสนจักรอย่างเจ็บแสบ และหลายปีต่อมาก็ได้ถูกถอดถอนจากการออกจำหน่าย ภายหลังจากที่มุสโสลินีได้ยุติความขัดแย้งกับวาติกัน[13]
เขาได้กลายเป็นหนึ่งในนักสังคมนิยมที่มีความโดดเด่นในอิตาลี ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1911 มุสโสลินีได้เข้าร่วมในการก่อจลาจล ซึ่งนำโดยฝ่ายสังคมนิยม เพื่อต่อต้านสงครามในลิเบียของอิตาลี เขาได้กล่าวประณามถึง"การทำสงครามลัทธิจักรวรรดินิยม"ของอิตาลีได้อย่างเจ็บแสบ ซึ่งการกระทำครั้งนี้ทำให้เขาต้องรับโทษจำคุกเป็นเวลาห้าเดือน[26] ภายหลังได้รับการปล่อยตัว เขาได้ช่วยเหลือในการขับไล่อีวาโนเอ โบนอมีและ Leonida Bissolati ออกจากพรรคสังคมนิยม เนื่องจากพวกเขาทั้งสองคนเป็น"พวกลัทธิแก้"(revisionist) ซึ่งคอยให้การสนับสุนต่อสงคราม
เขาได้รับรางวัลบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ของพรรคสังคมนิยมที่ชื่อว่า "อวันตี" ภายใต้การนำของเขา ยอดจำหน่ายได้เพิ่มขึ้นในไม่ช้า จาก 20,000 ฉบับ มาเป็น 100,000 ฉบับ[27] John Gunther ใน ค.ศ. 1940 ได้เรียกเขาว่า "หนึ่งในนักข่าวที่ดีเยี่ยมที่ยังมีชีวิต" มุสโสลินีได้ทำงานเป็นนักรายงานข่าว ในขณะที่เตรียมความพร้อมสำหรับการเดินขบวนสู่โรม และเขียนข่าวให้แก่ Hearst News Service ถึงปี ค.ศ. 1935[28] มุสโสลินีคุ้นเคยกับวรรณกรรมลัทธิมากซ์อย่างมากในงานเขียนของเขา เขาไม่เพียงแต่จะอ้างอิงจากงานของลัทธิมากซ์ที่มีชื่อเสียง แต่ยังมาจากงานที่ยังดูคลุมเครืออยู่ด้วย[29] ในช่วงเวลานี้ มุสโสลินีได้ถือว่าตัวเขาเองเป็นนักลัทธิมากซ์ และกล่าวยกย่องแก่มาคส์ว่า "เป็นผู้ยิ่งใหญ่ในเหล่าบรรดานักทฤษฏีทั้งหมดของลัทธิสังคมนิยม"[30]
ใน ค.ศ. 1913 เขาได้ตีพิมพ์หนังสือที่ชื่อ Giovanni Hus, il veridico (ยัน ฮุส, ผู้เผยพระวจนะที่แท้จริง) ซึ่งเป็นชีวประวัติทางประวัติศาสตร์และการเมืองเกี่ยวกับช่วงชีวิตและภารกิจของนักบวชชาวเช็กซึ่งเป็นนักปฏิรูปนามว่า ยัน ฮุส และกลุ่มนักรบผู้ติดตามของเขาคือ ฮุสไซต์ ในช่วงชีวิตนักสังคมนิยมของเขา บางครั้งมุสโสลินีจะใช้นามปากกาว่า "เวโร เอเรติโก"("พวกนอกรีตที่ซื่อสัตย์")[31]
มุสโสลินีได้ปฏิเสธสมภาคนิยม (Egalitarianism) คำสอนหลักของสังคมนิยม[5] เขาได้รับอิทธิพลจากแนวคิดการต่อต้านชาวคริสเตียนของนีทเชอและปฏิเสธของการมีอยู่ของพระเจ้า[32] มุสโสลินีเกิดความรู้สึกว่าสังคมนิยมนั้นขาดความหนักแน่น ในมุมมองของความล้มเหลวของนิยัตินิยมลัทธิมากซ์และลัทธิการปฏิรูปประชาธิปไตยสังคมนิยม และเชื่อว่าแนวคิดของนีทเชอจะทำให้สังคมนิยมนั้นแข็งแกร่งขึ้น ในขณะที่มีความเกี่ยวข้องกับลัทธิสังคมนิยม งานเขียนของมุสโสลินีในท้ายที่สุด ได้บ่งบอกว่า เขาได้ละทิ้งลัทธิมากซ์และสมภาคนิยม เพื่อสนับสนุนแนวคิด Übermensch (เหนือมนุษย์) ของนีทเชอ และการต่อต้านสมภาคนิยม[32]
มีสมาชิกพรรคสังคมนิยมจำนวนหนึ่งได้ริเริ่มให้การสนับสนุนในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ณ เวลาที่เป็นจุดเริ่มต้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1914.[33] เมื่อสงครามได้เริ่มขึ้น นักสังคมนิยมจากชาวออสเตรีย บริติช ฝรั่งเศส และเยอรมันได้ติดตามกระแสชาตินิยมที่เพิ่มพูนมากขึ้นโดยการสนับสนุนของพวกเขาในการเข้าแทรกแซงในสงครามของประเทศ[34] การปะทุของสงครามได้ส่งผลก่อให้เกิดลัทธิชาตินิยมของชาวอิตาลีที่เพิ่มพูนมากขึ้น สงครามได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มทางการเมืองต่าง ๆ หนึ่งในนักชาตินิยมชาวอิตาลีที่มีชื่อเสียงโด่งดังและเป็นที่นิยมมากที่สุดซึ่งเป็นผู้สนับสนุนสงครามคือ Gabriele D'Annunzio ซึ่งได้ส่งเสริมการเรียกร้องดินแดนกลับคืน (irredentism) ของชาวอิตาลี และช่วยในการชักจูงประชาชนชาวอิตาลีเพื่อสนับสนุนการแทรกแซงในสงคราม[35] พรรคเสรีนิยมอิตาลีภายใต้การนำโดย เปาโล โบเซลลี่ ได้ส่งเสริมการแทรกแซงในสงครามโดยอยู่ข้างฝ่ายสัมพันธมิตรและใช้ Società Dante Alighieri เพื่อส่งเสริมชาตินิยมอิตาลี[36][37] นักสังคมนิยมชาวอิตาลีได้ถูกแบ่งแยกระหว่างฝ่ายสนับสนุนสงครามหรือฝ่ายต่อต้านสงคราม[38] ช่วงก่อนที่มุสโสลินีจะเข้ารับตำแหน่งในสงคราม กลุ่มนักปฏิวัติฝ่ายสหการนิยมจำนวนหนึ่งได้ประกาศว่าจะให้การสนับสนุนในการแทรกแซง รวมทั้ง อัลเชสเต เด แอมบริส Filippo Corridoni และ Angelo Oliviero Olivetti[39] พรรคสังคมนิยมอิตาลีได้ยืนกรานที่จะต่อต้านสงคราม ภายหลังจากผู้ประท้วงซึ่งเป็นฝ่ายต่อต้านทหารนั้นถูกสังหาร ส่งผลก่อให้เกิดการนัดหยุดงานทั่วไปที่ถูกเรียกว่า สัปดาห์แดง[40]
ในช่วงแรก มุสโสลินีได้ให้การสนับสนุนอย่างเป็นทางการสำหรับการยืนกรานของพรรค และในบทความฉบับเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1914 มุสโสลินีได้เขียนว่า "จมด้วยสงคราม เรายังคงวางตัวเป็นกลาง" เขามองเห็นว่า สงครามคือโอกาส ทั้งสำหรับความทะเยอทะยานของตัวเขาเองเช่นเดียวกับพวกเหล่านักสังคมนิยมและชาวอิตาลี เขาได้รับอิทธิพลจากความรู้สึกชาตินิยมอิตาลีที่ต่อต้าน-ออสเตรีย ซึ่งเชื่อว่า สงครามได้เปิดโอกาสให้ชาวอิตาลีที่อยู่ภายใต้ออสเตรีย-ฮังการีได้ปลดปล่อยด้วยตัวพวกเขาเองจากการปกครองของราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค ในที่สุด เขาก็ได้ตัดสินใจประกาศในการสนับสนุนสงครามโดยเรียกร้องความต้องการแก่ฝ่ายสังคมนิยมในการโค่นล้มราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์นและราชวงศ์ฮาพส์บวร์คในเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งเขาได้กล่าวว่า เคยถูกปราบปรามลัทธิสังคมนิยมมาโดยตลอด[41]
มุสโสลินีได้ให้เหตุผลเพิ่มเติมต่อตำแหน่งของเขาโดยการกล่าวประณามฝ่ายมหาอำนาจกลางว่าเป็นมหาอำนาจที่เป็นพวกปฏิกิริยา จากที่กำลังใฝ่หาตามแบบจักรวรรดินิยม ต่อต้านเบลเยียมและเซอร์เบีย เช่นเดียวกับในอดีตซึ่งต่อต้านกับเดนมาร์ก ฝรั่งเศส และต่อต้านอิตาลีด้วย เนื่องจากชาวอิตาลีจำนวนนับแสนคนภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค เขาได้โต้แย้งว่า การล่มสลายของราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์นและฮาพส์บวร์ค และการปราบปราม "พวกปฏิกิริยา" ในตุรกีจะสร้างเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์ต่อชนชั้นกรรมกร ในขณะที่เขาได้ให้การสนับสนุนแก่ฝ่ายมหาอำนาจภาคี มุสโสลินีได้ตอบสนองต่อธรรมชาติของอนุรักษ์นิยมของพระเจ้าซาร์รัสเซีย โดยระบุว่า การระดมกำลังทหารที่จำเป็นสำหรับการทำสงครามจะบ่อนทำลายลัทธิอำนาจนิยมของพวกปฏิกิริยารัสเซีย และสงครามจะนำรัสเซียไปสู่การปฏิวัติทางสังคม เขาได้กล่าวว่า สำหรับอิตาลีแล้ว การทำสงครามจะก่อให้เกิดกระบวนการของริซอจิเมนโตอย่างสมบูรณ์โดยการรวบรวมชาวอิตาลีในออสเตรีย-ฮังการีมาเข้าสู่อิตาลี และโดยอนุญาตให้ประชาชนทั่วไปของอิตาลีได้เข้าร่วมสมาชิกของประเทศชาติอิตาลีในสิ่งที่ควรจะเป็นสงครามระดับชาติครั้งแรกของอิตาลี ดังนั้นเขาจึงกล่าวอ้างว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมากมายมหาศาลที่สงครามจะทำได้ ซึ่งหมายความว่าควรจะให้การสนับสนุนในฐานะสงครามการปฏิวัติ[39]
เมื่อการสนับสนุนในการแทรกแซงของมุสโสลินีได้เพิ่มมากขึ้น เขาได้ขัดแย้งกับนักสังคมนิยมที่เป็นฝ่ายต่อต้านสงคราม เขาได้โจมตีฝ่ายต่อต้านสงครามและกล่าวอ้างว่า ชนชั้นกรรมมาชีพที่ให้การสนับสนุนในสันตินิยมจะแตกต่างจากชนชั้นกรรมมาชีพที่ได้เข้าร่วมกับแนวหน้าของการแทรกแซงที่กำลังเพิ่มมากขึ้นซึ่งกำลังเตรียมความพร้อมในอิตาลีสำหรับสงครามการปฏิวัติ เขาได้เริ่มวิพากษ์วิจารณ์พรรคสังคมนิยมอิตาลีและลัทธิสังคมนิยมเช่นเดียวกัน จากความล้มเหลวในการยอมรับปัญหาระดับชาติซึ่งได้นำไปสู่การประทุของสงคราม[6] ดังนั้น เขาจึงถูกขับออกจากพรรคสำหรับการสนับสนุนการแทรกแซงของเขา
ข้อความที่ถูกตัดตอนมาต่อไปนี้มาจากรายงานของตำรวจซึ่งถูกจัดทำโดยสารวัตรใหญ่แห่งความั่นคงสาธารณะในมิลาน G. Gasti ได้อธิบายถึงภูมิหลังและจุดยืนของเขาในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งส่งผลทำให้เขาถูกขับออกจากพรรคสังคมนิยมอิตาลี สารวัตรใหญ่ได้เขียนว่า:
ศาสตราจารย์เบนิโต มุสโสลินี อายุ 38 ปี นักปฏิวัติสังคมนิยมซึ่งมีประวัติในกรมตำรวจว่า เป็นครูสอนหนังสือระดับประถมศึกษาซึ่งมีคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับการสอนหนังสือในโรงเรียนมัธยม อดีตเลขาธิการคนแรกของห้องสำนักทนายความใน เชซานา ฟอร์ลี และเวเวนนา ภายหลังปี ค.ศ. 1912 บรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ อวันตี! ซึ่งเขาได้ให้ข้อชี้แนะที่รุนแรงและกำหนดเป้าหมายอย่างไม่หยุดยั้ง ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1914 ได้พบว่าตัวเขาเองได้ต่อต้านผู้อำนวยการของพรรคสังคมนิยมอิตาลีเพราะเขาให้การสนับสนุนความเป็นกลางอย่างเข้มแข็งในส่วนหนึ่งของอิตาลีในสงครามแห่งชาติเพื่อต่อต้านความเอนเอียงความเป็นกลางอย่างแท้จริง เขาได้ถอนตัวเมื่อวันที่ยี่สิบของเดือนนั้นจากตำแหน่งบรรณาธิการของ อวันตี! จากนั้นในวันที่ 15 ของเดือนพฤศจิกายน [ค.ศ. 1914] หลังจากนั้น เขาได้เริ่มตีพิมพ์คำแถลงข่าวในหนังสือพิมพ์ Il Popolo d'Italia ซึ่งเขาได้ให้การสนับสนุน-ตรงข้ามกับอวันตี และท่ามกลางการโต้เถียงอันขมขืนต่อหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นและผู้สนับสนุนหลัก-วิทยานิพนธืเรื่องของการแทรกแซงของอิตาลีในสงคราม ต่อต้านการทหารของจักรวรรดิมหาอำนาจกลาง ด้วยเหตุผลนี้ เขาจึงถูกกล่าวหาว่าไม่คู่ควรในทางศีลธรรมและทางการเมือง และดังนั้น พรรคจึงได้ตัดสินใจขับเขาออกไป ภายหลังจากนั้นก็ได้ดำเนินการด้วยการรณรงค์อย่างเข้มข้นในนามของการแทรกแซงของอิตาลี การเข้าร่วมขบวนการประท้วงในจัตุรัส และการเขียนบทความที่รุนแรงไว้ใน Il Popolo d'Italia[27]
ในการสรุปของเขา สารวัตรยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า:
เขาเป็นบรรณาธิการในอุดมคติของอวันตี! เพื่อสังคมนิยม ในสายงานนั้น เขาเป็นได้รับการเคารพนับถือและเป็นที่รักอย่างยิ่ง อดีตสหายและผู้ที่ชื่นชอบเขาบางคนยังได้สารภาพว่าไม่มีใครเข้าใจวิธีตีความหมายถึงจิตวิญญาณของชนชั้นกรรมมาชีพได้ดีกว่านี้อีกแล้ว และไม่มีใครสังเกตถึงการละทิ้งความเชื่อของเขาด้วยความเศร้าโศก สิ่งนี้ไม่เกิดขึ้นเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวหรือเงิน เขาเป็นผู้สนับสนุนที่แท้จริงและกระตือรือร้น ครั้งแรกของความรอบคอบและความเป็นกลางทางด้านอาวุธและต่อจากนั้นก็ทำสงคราม และเขาไม่มีความเชื่อว่า เขามีความประนีประนอมกับความซื่อตรงส่วนตัวและการเมืองโดยใช้ทุกวิถีทาง—ไม่ว่าพวกเขาจะมาจากไหนหรือที่ไหนก็ตามที่เขาจะได้รับมัน—เพื่อชดใช้ให้กับหนังสือพิมพ์ของเขา, โครงการของเขาและแนวทางการปฏิบัติของเขา นี่คือแนวทางแรกของเขา มันเป้นการยากที่จะบอกว่าเขามีความเชื่อมั่นในสังคมนิยมมากแค่ไหน(ซึ่งเขาไม่เคยเปิดเผยหรือล้มเลิกโดยส่วนตัวเลย) อาจต้องเสียสละในเส้นทางของข้อตกลงทางการเงินที่ขาดไม่ได้ซึ่งจำเป็นสำหรับความต่อเนื่องของการสู้รบที่ซึ่งเขาได้มีส่วนร่วม ... แต่เป็นการอวดดีว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้เกิดขึ้น ... เขาต้องการทำให้ดูเหมือนว่ายังคงเป็นนักสังคมนิยมและเขาก็หลอกตัวเองด้วยการเข้าไปในความคิด นี่คือกรณีหนึ่ง[42]
ภายหลังจากถูกพรรคสังคมนิยมอิตาลีขับออกมาเพราะการให้สนับสนุนการแทรกแซงของอิตาลี มุสโสลินีได้เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ได้ยุติการสนับสนุนสำหรับการต่อสู้ทางชนชั้นและเข้าร่วมการสนับสนุนการปฏิวัติชาตินิยมซึ่งเหนือกว่าสายชนชั้น[6] เขาก่อตั้งหนังสือพิมพ์ที่เป็นการแทรกแซงอย่าง Il Popolo d'Italia และ Fascio Rivoluzionario d'Azione Internazionalista ("การปฏิวัติของฟาสเซสเพื่อดำเนินการระหว่างประเทศ") ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1914[37] การสนับสนุนชาตินิยมของเขาในการแทรกแซงทำให้สามารถระดมเงินทุนหาได้จากอันซัลโด(บริษัทผลิตอาวุธยุทโธกรณ์) และบริษัทอื่น ๆ เพื่อสร้าง Il Popolo d'Italia เพื่อชักจูงให้นักสังคมนิยมและนักปฏิวัติในการสนับสนุนการทำสงคราม[43] เงินทุนเพิ่มเติมสำหรับฟาสซิสต์ของมุสโสลินีในช่วงสงครามซึ่งมาจากแหล่งของฝรั่งเศส เริ่มต้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1915 แหล่งเงินทุนหลักนี้มาจากฝรั่งเศสซึ่งเชื่อว่าน่าจะมาจากนักสังคมนิยมชาวฝรั่งเศสที่ส่งให้การสนับสนุนไปยังนักสังคมนิยมที่ไม่เห็นด้วยซึ่งต้องการให้อิตาลีเข้าแทรกแซงแก่ฝ่ายฝรั่งเศส[44]
เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1914 มุสโสลินีได้กล่าวประณามสังคมนิยมชาวออร์ทอดอกซ์ จากความล้มเหลวในการยอมรับสงครามทำให้เอกลักษณ์และความจงรักภักดีต่อชาติมีความสำคัญมากกว่าการแบ่งแยกทางชนชั้น[6] เขาได้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของเขาอย่างเต็มที่ในการกล่าวสุนทรพจน์ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่า ประเทศชาติคือเอกลักษณ์ แนวความคิดที่เขาได้ปฏิเสธก่อนเข้าสู่สงคราม ได้บอกว่า:
ชาติไม่ได้หายไปไหน พวกเราเคยเชื่อว่าแนวคิดนี้ทั้งหมดไม่มีสาระ แต่เรากลับเห็นประเทศชาติได้เกิดขึ้นด้วยใจสั่นอย่างแท้จริงต่อหน้าเรา ชนชั้นไม่สามารถทำลายประเทศชาติได้ ชนชั้นได้เปิดเผยตัวเองในฐานะชุดสะสมของผลประโยชน์—แต่ประเทศชาติคือประวัติศาสตร์แห่งความรู้สึก ประเพณี ภาษา วัฒนธรรม และเชื้อชาติ ชนชั้นสามารถสามารถกลายเป็นส่วนที่สำคัญของประเทศชาตินั้นได้ แต่ชนชั้นหนึ่งไม่สามารถบดบังอีกชนชั้นหนึ่งได้[45]
การต่อสู้ทางชนชั้นเป็นหลักเกณฑ์ที่ไร้สาระ โดยปราศจากผลกระทบและผลลัพธ์ที่ตามมา เมื่อใดก็ตามที่พบผู้คนที่ไม่ได้รวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียวในการเข้ากับขอบเขตทางภาษาและเชื้อชาติที่เหมาะสม—ซึ่งเป็นปัญหาระดับชาติที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขเลย ในสถานการณ์เช่นนี้ ขบวนการทางชนชั้นได้พบว่าตนเองมีความบกพร่องจากบรรยากาศทางประวัติศาสร์ที่เป็นลางร้าย[46]
มุสโสลินียังคงส่งเสริมความต้องการของนักปฏิวัติแนวหน้าระดับหัวกะทิเพื่อเป็นผู้นำทางสังคม เขาไม่ได้ให้การสนับสนุนแนวหน้าของชนชั้นกรรมมาชีพอีกต่อไป แต่เป็นแนวหน้าซึ่งนำโดยผู้คนที่มีพลังและนักปฏิวัติซึ่งมาจากชนชั้นทางสังคมใด ๆ ก็ได้[46] แม้ว่าเขาจะประณามสังคมนิยมชาวออร์ทอดอกซ์และความขัดแย้งทางชนชั้น แต่เขาก็ได้สานต่อในตอนที่เขาเป็นนักชาติสังคมนิยมและเป็นผู้สนับสนุนมรดกตกทอดของชาติสังคมนิยมในประวัติศาสตร์อิตาลี เช่น Giuseppe Garibaldi Giuseppe Mazzini และ Carlo Pisacane สำหรับพรรคสังคมนิยมอิตาลีและการสนับสนุนสังคมนิยมชาวออร์ทอดอกซ์ เขากล่าวอ้างว่า ความล้มเหลวของเขาในฐานะสมาชิกของพรคในฟื้นฟูและเปลี่ยนแปลงในการรับรู้ความเป็นจริงร่วมสมัยซึ่งเผยให้เห็นถึงความสิ้นหวังของสังคมนิยมชาวออร์ทอดอกซ์ที่ดูล้าหลังและล้มเหลว[47] ความเข้าใจถึงความล้มเหลวของสังคมนิยมชาวออร์ทอดอกซ์ในการก่อประทุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งไม่ได้เกิดขึ้นโดยมุสโสลินีเพียงคนเดียว นักสังคมนิยมที่ให้การสนับสนุนการแทรกแซงคนอื่น ๆ เช่น Filippo Corridoni และ Sergio Panunzio ก็ประณามลัทธิมาร์กซ์แบบคลาสสิกเพื่อให้การสนับสนุนการแทรกแซง[48]
มุมมองทางการเมืองขั้นพื้นฐานและหลักการเหล่านี้เป็นพื้นฐานของขบวนการทางเมืองที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นมาใหม่ของมุสโสลินี the Fasci d'Azione Rivoluzionaria ใน ค.ศ. 1914 ที่เรียกพวกเขาว่า ฟาสซิตี(ฟาสซิสต์)[49] ในเวลานี้ พวกฟาสซิสต์ยังไม่มีนโยบายที่มั่นคงมากนักและขบวนการนั้นมีขนาดเล็ก ไร้ประสิทธิภาพในความพยายามจัดตั้งการประชุมหลายครั้ง และถูกก่อกวนโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐและพวกนักสังคมนิยมชาวออร์ทอดอกซ์เป็นประจำ[50] ความเป็นศัตรูกันระหว่างผู้แทรกแซง รวมทั้งพวกฟาสซิสต์ปะทะกับพวกนักสังคมนิยมชาวออร์ทอดอกซ์ที่ต่อต้านการแทรกแซงส่งผลทำให้เกิดความรุนแรงระหว่างฟาสซิสต์และสังคมนิยม การต่อต้านและการโจมตีโดยนักปฏิวัติสังคมนิยมที่ต่อต้านการแทรกแซงต่อกรกับพวกฟาสซิสต์และกลุ่มผู้แทรกแซงอื่น ๆนั้นรุนแรงมากขึ้นจนแม้แต่นักประชาธิปไตยสังคมนิยมที่ต่อต้านสงคราม เช่น Anna Kuliscioff ได้กล่าวว่า พรรคสังคมนิยมอิตาลีมาไกลเกินไปในการรณรงค์เพื่อปิดปากเสรีในการพูดของผู้สนับสนุนสงคราม ความเป็นศัตรูกันในช่วงแรกระหว่างพวกฟาสซิสต์และนักปฏิวัติสังคมนิยมได้หลอมรวมกับแนวคิดของมุสโสลินีเกี่ยวกับธรรมชาติของลัทธิฟาสซิสต์เพื่อสนับสนุนความรุนแรงทางการเมือง[51]
มุสโสลินีได้เป็นพันธมิตรกับนักการเมืองที่ต้องการเรียกร้องดินแดนของชาติตนกลับคืนและนักข่าวที่ชื่อว่า Cesare Battisti[27] เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้เริ่มต้นขึ้น มุสโสลินีก็เหมือนกับนักชาตินิยมชาวอิตาลีคนอื่น ๆ หลายคน ที่อาสาสมัครจะเข้าสู้รบในสงคราม แต่เขากลับถูกปฏิเสธเพราะความคิดแบบลัทธิสังคมนิยมอย่างหัวรุนแรงและบอกให้รอการเรียกตัวในการเข้ากำลังพลสำรอง เขาถูกเรียกตัวเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม และเข้ารายงานตัวเพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้กับหน่วยรบเดิมของเขา Bersaglieri ภายหลังสองสัปดาห์ในการฝึกซ้อมรบ เขาถูกส่งไปยังแนวหน้าอิซอนโซ ซึ่งเขาได้เข้าร่วมในยุทธการที่อิซอนโซครั้งที่สอง เดือนกันยายน ค.ศ. 1915 หน่วยรบของเขายังได้เข้าร่วมในยุทธการที่อิซอนโซครั้งที่สาม เดือนตุลาคม ค.ศ. 1915[52]
สารวัตรใหญ่ยังเขียนกล่าวอีกว่า
เขาได้รับเลื่อนยศตำแหน่งเป็นร้อยตรี "สมควรได้ในสงคราม" การเลื่อนตำแหน่งครั้งนี้ได้ถูกแนะนำ เนื่องจากความประพฤติของเขาเป็นแบบอย่างและการต่อสู้รบอย่างมีประสิทธิภาพ จิตใจของเขาสงบนิ่ง และไม่วิตกกังวลต่อความยากลำบาก ความกระตือรือร้นและความเป็นระเบียบในการปฏิบัติหน้าที่ของตน ที่ซึ่งเขายังได้เป็นที่หนึ่งในทุกภารกิจที่เกี่ยวข้องกับแรงงานและความอดทน[27]
ในที่สุด มุสโสลินีก็ได้รับบาดเจ็บซึ่งเป็นการได้รับบาดเจ็บในปฏิบัติหน้าที่ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 และได้รับบาดเจ็บอย่างสาหัสจนต้องถูกย้ายออกจากแนวหน้าไป[52]
ด้วยประสบการณ์ทางทหารของมุสโสลินีได้ถูกบอกเล่าในผลงานของเขาอย่าง Diario di guerra โดยรวมทั้งหมด เขาใช้เวลาประมาณ 9 เดือนในปฏิบัติหน้าที่การรบ ของการทำสงครามแนวหน้าบนสนามเพลาะ ในช่วงเวลานั้น เขาล้มป่วยเป็นไข้พาราไทฟอยด์[53] การหาผลประโยชน์จากกองทัพทหารของเขาได้ยุติลงใน ค.ศ. 1917 เมื่อเขาได้รับบาดเจ็บโดยไม่ได้ตั้งใจเพราะแรงระเบิดจากระเบิดปืนครกตกลงใส่สนามเพลาะที่เขาประจำการอยู่ ในร่างกายของเขามีสะเก็ดระเบิดเหลืออย่างน้อย 40 ชิ้น[53] เขาได้ออกจากโรงพยาบาลในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1917 และกลับมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าบรรณาธิการคนใหม่ในหนังสือพิมพ์ของเขา Il Popolo d'Italia เขาได้เขียนบทความเชิงบวกเกี่ยวกับกองพันทหารชาวเชโกสโลวักในอิตาลี
เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1915 ใน Treviglio เขาได้แต่งงานกับราเคเล กุยดี เพื่อนสาวในชนบท ซึ่งได้ให้กำเนิดบุตรสาวของเขาอย่างเอ็ดดา ที่ฟอร์ลี ใน ค.ศ. 1910 ใน ค.ศ. 1915 เขาได้มีบุตรชายกับ Ida Dalser หญิงสาวที่เกิดใน Sopramonte หมู่บ้านที่อยู่ใกล้กับเมืองเทรนโต[20][15][54] เขาได้ยอมรับบุตรชายคนนี้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 1916
ในช่วงเวลานี้ เขาได้เดินทางกลับจากการรับใช้ในกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ด้วยสภาพของการเป็นนักสังคมนิยมของมุสโสลินีนั้นมีเหลืออยู่เล็กน้อย อันที่จริง เขาในตอนนี้มีความเชื่อมั่นว่าลัทธิสังคมนิยมที่เป็นหลักคำสอนนั้นส่วนใหญ่ดูล้มเหลว ใน ค.ศ. 1917 มุสโสลินีเริ่มต้นในการเมืองด้วยความช่วยเหลือจากค่าจ้างรายสัปดาห์จำนวน 100 ปอนด์(เทียบเท่ากับจำนวนเงิน 7100 ปอนด์ ณ ปี ค.ศ. 2020) จากหน่วยความมั่นคงบริติซ(เอ็มไอ5) ที่ได้กักขังผู้ประท้วงที่ต่อต้านสงครามไว้ที่บ้าน และเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อที่สนับสนุนสงคราม ความช่วยเหลือครั้งนี้ได้รับอนุญาตจากเซอร์ ซามูเอล ฮอร์ ในช่วงต้น ค.ศ. 1918 มุสโสลินีได้เรียกร้องขอให้มีชายผู้นึง"ที่มีความโหดเหี้ยมและมีพละกำลังมากพอที่จะทำการกวาดล้าง" เพื่อฟื้นฟูประเทศอิตาลี ภายหลังจากมุสโสลินได้กล่าวว่า เขามีความรู้สึกใน ค.ศ. 1919 "ลัทธิสังคมนิยมซึ่งเป็นหลักคำสอนได้ล้มตายจากไปแล้ว ยังคงเหลือไว้เพียงแต่ความแค้น" เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1919 มุสโสลินีได้ก่อตั้ฟาสซิโอมิลานขึ้นมาใหม่อีกครั้งมาเป็นฟาสซิ อิตาเลียนี ดี คอมแบทติเมนโต(กองหมู่รบอิตาเลียน) ประกอบไปด้วยสมาชิก 200 คน
พื้นฐานทางอุดมการณ์สำหรับลัทธิฟาสซิสต์มาจากแหล่งที่มาหลายแห่ง มุสโสลินีได้ใช้ผลงานของเพลโต Georges Sorel นีทเชอ และแนวคิดทางเศรษฐกิจของ Vilfredo Pareto เพื่อพัฒนาลัทธิฟาสซิสต์ มุสโสลินีได้ชื่นชมบทความที่ชื่อว่า อุตมรัฐ ของเพลโตซึ่งเขามักจะอ่านบ่อย ๆ เพื่อหาแรงบันดาลใจ อุตมรัฐได้แสดงแนวคิดหลายประการซึ่งลัทธิฟาสซิสต์ได้ให้การส่งเสริม เช่น การปกครองโดยชนชั้นนำที่คอยส่งเสริมรัฐเป็นจุดสิ้นสุด การต่อต้านระบอบประชาธิปไตย การปกป้องระบบชนชั้นและการส่งเสริมการร่วมมือทางชนชั้น การปฏิเสธถึงอสมภาคนิยม การส่งเสริมทางทหารของประเทศชาติโดยการสร้างชนชั้นนักรบ เรียกร้องให้ประชาชนคอยทำหน้าที่ในฐานะพลเมืองเพื่อผลประโยชน์ของรัฐ และใช้รัฐในการเข้าแทรกแซงการศึกษาเพื่อส่งเสริมการพัฒนานักรบและผู้ปกครองรัฐในอนาคต เพลโตเป็นนักอุดมคตินิยม มุ่งเป้าเน้นไปที่การบรรลุถึงความยุติธรรมและศีลธรรม ในขณะที่มุสโสลินีและลัทธิฟาสซิสต์คือสัจนิยม โดยมุ่งเน้นไปที่การบรรลุถึงเป้าหมายทางการเมือง
แนวคิดเบื้องหลังของนโยบายต่างประเทศของมุสโสลินีคือแนวคิด สปาซิโอ วิทาเล (พื้นที่อยู่อาศัย) ซึ่งเป็นแนวคิดในลัทธิฟาสซิสต์ที่มีความคล้ายคลึงกับเลเบินส์เราม์ในลัทธิชาติสังคมนิยมของเยอรมัน แนวคิดของสปาซิโอ วิทาเลได้ถูกประกาศเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1919 เมื่อทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เรียกกันว่า จูเลียนมาร์ช เป็นการนิยามใหม่เพื่อให้ปรากฏเป็นแว่นแคว้นที่ถูกรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวซึ่งเคยเป็นของอิตาลีตั้งแต่สมัยจังหวัดอิตาเลียของยุคโรมันโบราณ และกล่าวอ้างว่าเป็นเขตอิทธิพลพิเศษของอิตาลี สิทธิ์ในการก่อตั้งอาณานิคมบนพื้นที่ชาติพันธุ์สโลวีเนียที่อยู่ใกล้เคียงและในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยโดยสิ่งที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นชนชาติที่พัฒนาน้อยกว่านั้น ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วจากหลักฐานที่อิตาลีได้กล่าวอ้างว่า กำลังประสบภาวะการมีจำนวนประชากรที่มากเกินไป
โดยการหยิบยืมแนวคิดที่ถูกพัฒนาเป็นครั้งแรกโดย Enrico Corradini ก่อนปี ค.ศ. 1914 ของความขัดแย้งตามธรรมชาติระหว่างประเทศชาติที่เป็น"ธนาธิปไตย" ตัวอย่างเช่น บริเตน และประเทศชาติที่เป็น"ชนกรรมาชีพ" ตัวอย่างเช่น อิตาลี มุสโสลินีได้กล่าวอ้างว่าปัญหาหลักของอิตาลีคือ ประเทศชาติที่เป็น"ธนาธิปไตย" อย่างบริเตนกำลังขัดขวางการบรรลุแนวคิดสปาซิโอ วิทาเลที่สำคัญซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจของอิตาลีนั้นเติบโต มุสโสลินีได้เปรียบเทียบศักยภาพของประเทศในการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยขนาดดินแดน ดังนั้นในมุมมองของเขา ปัญหาความยากจนในอิตาลีจะได้รับการแก้ไขได้ด้วยการบรรลุแนวคิดสปาซิโอ วิทาเลที่สำคัญเท่านั้น
แม้ว่าลัทธิการเหยียดชนชาติทางชีววิทยาจะมีความโดดเด่นในลัทธิฟาสซิสต์น้อยกว่าในลัทธิชาติสังคมนิยม สิทธิ์ตั้งแต่เริ่มต้นของแนวคิดสปาซิโอ วิทาเล ได้มีกระแสของการเหยียดเชื้อชาติที่แข็งแกร่ง มุสโสลินีได้ยืนยันว่า "กฏธรรมชาติ" สำหรับผู้คนที่เข้มแข็งกว่าที่จะควบคุมและครอบงำผู้คนที่ดู"อ่อนด้อยกว่า" เช่น ชนชาติสลาฟที่ดู"ป่าเถื่อน" ของยูโกสลาเวีย เขาได้กล่าวเอาไว้ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1920:
เมื่อต้องติดต่อกับชนชาติอย่างชาวสลาฟ—ที่ดูอ่อนด้อยกว่าและป่าเถื่อน—เราไม่ต้องไล่ตามแครอด แต่กลับใช้นโยบายกิ่งไม้ ... พวกเราไม่ควรกลัวเหยื่อรายใหม่นี้ ... ชายแดนอิตาลีควรจะดำเนินผ่านทางช่องเขาแบรนเนอร์, มอนเต เนโวโซ และเทือกเขาแอลป์ดีนาริก ... ข้าพเจ้าจะบอกว่า เราสามารถเสียสละชาวสลาฟที่ดูป่าเถื่อนจำนวน 500,000 คนได้อย่างง่ายดายสำหรับชาวอิตาลี 50,000 คน ...
ในขณะที่อิตาลียึดครองพื้นที่อดีตจักรวรรดิออสเตรียและฮังการีระหว่างปี ค.ศ. 1918 และ ค.ศ. 1920 ชนสังคม"ชาวสลาฟ"จำนวนห้าร้อยคน (ตัวอย่างเช่น Sokol) และห้องสมุดมีจำนวนน้อยกว่าเล็กน้อย ("ห้องอ่านหนังสือ") ถูกสั่งห้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภายหลังด้วยกฎหมายว่าด้วยสมาคม (ค.ศ. 1925) กฎหมายว่าด้วยการเดินขบวนสาธารณะ (ค.ศ. 1926) และกฎหมายว่าด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน (ค.ศ. 1926)—การปิดสถานศึกษาแบบคลาสสิคในพาซิน ของโรงเรียนมันธยมในโวโลซกา (ค.ศ. 1918) โรงเรียนระดับชั้นประถมในสโลวีเนียและโครเอเชียจำนวนห้าร้อยแห่งได้ปฏิบัติตาม ส่วนครูสอนหนังสือที่เป็น"ชาวสลาฟ" ถูกบีบบังคับให้เนรเทศไปยังซาร์ดิเนียและทางตอนใต้ของอิตาลี
ในทำนองเดียวกัน มุสโสลินีได้โต้แย้งว่าอิตาลีมีสิทธิ์ที่จะปฏิบัติตามนโยบายจักรวรรดินิยมในแอฟริกา เพราะเขาเห็นว่าคนผิวดำทุกคนล้วนดู"อ่อนด้อยกว่า" กับคนผิวขาว[57] มุสโสลินีได้กล่าวอ้างว่า โลกได้ถูกแบ่งแยกออกเป็นลำดับชั้นของเชื้อชาติ(แม้จะคิดว่ามันดูสมเหตุสมผลทางวัฒนธรรมมากกว่าเหตุผลทางชีววิทยา) และประวัติศาสตร์นั้นก็ไม่ได้มีอะไรไปมากกว่าการต่อสู้แย่งชิงอำนาจและดินแดนของลัทธิดาร์วินระหว่าง"ฝูงชนเชื้อชาติ"ต่าง ๆ[57] มุสโสลินี—พร้อมกับขบวนการสุพันธุศาสตร์ในสหรัฐ สหราชอาณาจักร และประเทศยุโรปอื่น ๆ และประเทศอาณานิคมของยุโรปต่าง ๆ เช่น บราซิล (เปรียบเทียบกับโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับภัยเหลือง)—แสดงให้เห็นว่า อัตราการเกิดนั้นสูงขึ้นในแอฟริกาและเอเชียถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อ"ชนชาติผิวขาว" และเขามักจะตั้งคำถามเชิงวาทศิลป์ว่า "คนผิวดำและคนผิวเหลืองเหล่านั้นอยู่ที่ประตูหรือไม่" คำตอบที่ได้รับมาคือ "ใช่เลย! พวกเขาอยู่นั่น" มุสโสลินีเชื่อว่าสหรัฐจะถึงเคราะห์กรรมแล้ว เนื่องจากชาวอเมริกันคนผิวดำมีอัตราการเกิดที่สูงกว่าคนผิวขาว ทำให้ไม่อาจหลีกเลี่ยงที่คนผิวดำจะเข้ายึดครองสหรัฐเพื่อลากลงมาอยู่ในระดับเดียวกับพวกเขา[58] ข้อเท็จจริงที่ว่าอิตาลีกำลังประสบภาวะจำนวนประชากรที่มากเกินไปนั้นถูกมองว่าเป็นการพิสูจน์ถึงพลังทางวัฒนธรรมและจิตวิญญาณของชาวอิตาลี ซึ่งมีเหตุผลอันสมควรในการแสวงหาดินแดนอาณานิคมที่มุสโสลินีได้โต้แย้ง—ตามประวัติศาสตร์ขั้นพื้นฐาน—เคยเป็นของอิตาลีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นทายาทของจักรวรรดิโรมัน เนื่องจากอัตราการเกิดที่เพิ่มมากขึ้นเท่านั้นที่อิตาลีสามารถรับรองในอนาคตได้ว่า เมื่อเป็นชาติมหาอำนาจที่จะบรรลุเป้าหมายของสปาซิโอ วิทาเลได้อย่างแน่นอน จากการคำนวณของมุสโสลินี ประชากรอิตาลีต้องมีจำนวนถึง 60 ล้านคนเพื่อให้อิตาลีสามารถต่อสู้รบในสงครามครั้งใหญ่ได้—ด้วยเหตุนี้ เขาจึงได้เรียกร้องอย่างไม่หยุดหย่อนแก่สตรีชาวอิตาลีให้กำเนิดบุตรเพิ่มมากขึ้นเพื่อที่จะได้ครบตามจำนวนที่ต้องการนั้น[57]
มุสโสลินีและพวกฟาสซิสต์สามารถจัดการทั้งฝ่ายการปฏิวัติและฝ่ายอนุรักษ์นิยมได้พร้อมกัน[59][60] เพราะสิ่งนี้แตกต่างอย่างมากจากสิ่งอื่นใดในบรรยากาศทางการเมืองในช่วงสมัยนั้น บางครั้งได้ถูกอธิบายโดยนักเขียนบางคนว่าเป็น "หนทางที่สาม"[61] ฟาสซิตี ซึ่งนำโดยคนสนิทใกล้ชิดคนหนึ่งของมุสโสลินี Dino Grandi ได้จัดตั้งกองกำลังติดอาวุธของเหล่าทหารผ่านศึกที่เรียกกันว่า เชิ้ตดำ (หรือ squadristi) โดยมีเป้าหมายในการฟื้นฟูระเบียบสู่ท้องถนนของอิตาลีด้วยมือที่แข็งกร้าว กลุ่มเชิ้ตดำได้ปะทะกับพวกคอมมิวนิสต์ สังคมนิยม และอนาธิปไตยในการเดินขบวนพาเหรดและการเดินขบวนประท้วง ทุกฝ่ายเหล่านี้ยังได้มีส่วนร่วมในการปะทะกับแต่ละฝ่าย รัฐบาลอิตาลีไม่ค่อยจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการกระทำของกลุ่มเชิ้ตดำ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะภัยคุกคามที่กำลังคืบคลานเข้ามาและความหวาดกลัวต่อการปฏิวัติคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวาง ฟาสซิตีได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วภายในเวลาสองปี ซึ่งพวกเขาได้เปลี่ยนมาเป็นพรรคชาตินิยมฟาสซิสต์ที่รัฐสภาในกรุงโรม ใน ค.ศ. 1921 มุสโสลินีได้ชนะการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฏรเป็นครั้งแรก[15] ในเวลาเดียวกันนั้น ตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 1911 ถึง ค.ศ. 1938 มุสโสลินีมีความสัมพันธ์แบบรักใคร่อย่างมากมายกับนักเขียนและนักวิชาการชาวยิวนามว่า Margherita Sarfatti ซึ่งถูกเรียกว่า "มารดาชาวยิวแห่งลัทธิฟาสซิสต์" ในช่วงสมัยนั้น[62]
ในคืนระหว่างวันที่ 27 และ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1922 กลุ่มเชิ้ตดำฟาสซิสต์ประมาณ 30,000 คน ได้รวมตัวกันในกรุงโรมเพื่อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีฝ่ายเสรีนิยม Luigi Facta ลาออก และแต่งตั้งรัฐบาลฟาสซิสต์ขึ้นมาใหม่ ช่วงเช้าของวันที่ 28 ตุลาคม พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 ซึ่งทรงได้ปฏิบัติตามธรรมนูญอัลแบร์ติโนในการถือครองอำนาจทางทหารสูงสุด ทรงปฏิเสธคำร้องจากรัฐบาลในการประกาศกฏอัยการศึก ซึ่งนำไปสู่การลาออกของ Facta จากนั้นกษัตริย์ได้ทรงมอบอำนาจแก่มุสโสลินี(ซึ่งอยู่ในสำงานใหญ่ของเขาในมิลานในช่วงการเจรจา) โดยทรงรับสั่งให้เขาจัดตั้งรัฐบาลขึ้นมาใหม่ การตัดสินพระทัยที่ดูขัดแย้งของกษัตริย์ได้ถูกอธิบายโดยนักประวัติศาสตร์ว่า เป็นการผสมผสานระหว่างการหลงผิดและความกลัว มุสโสลินีนั้นมีความสุขด้วยการสนับสนุนอย่างกว้างขวางในกองทัพและในท่ามกลางชนชั้นนำของอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ในขณะที่กษัตริย์และสถาบันอนุรักษ์นิยมเกรงกลัวว่าจะเกิดสงครามกลางเมือง และในที่สุดก็คิดไว้แล้วว่าพวกเขาจะสามารถใช้มุสโสลินีเพื่อฟื้นฟูกฎหมายและความสงบเรียบร้อยในประเทศได้ แต่กลับล้มเหลวถึงการคาดการณ์ล่วงหน้าถึงอันตรายของการวิวัฒนาการระบอบเผด็จการ[63]
ในการดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ปีแรกของการปกครองของมุสโสลินีซึ่งมีลักษณะเฉพาะโดยรัฐบาลผสมของฝ่ายขวาซึ่งประกอบด้วยพวกฟาสซิสต์ ชาตินิยม เสรีนิยม และนักบวชนิกายคาทอลิกสองคนจากพรรคประชาชน ฟาสซิสต์ได้สร้างชนกลุ่มน้อยในรัฐบาลดดั้งเดิมของเขา เป้าหมายภายในประเทศของมุสโสลินีคือการสถาปนารัฐเผด็จการด้วยตัวเขาเองในที่สุดในฐานะผู้นำสูงสุด(อิลดูเช) ข้อความที่ดูเด่นชัดโดยหนังสือพิมพ์ฟาสซิสต์ Il Popolo d'Italia, ซึ่งตอนนี้ได้ถูกแก้ไขเรียบเรียงโดยน้องชายของมุสโสลินี อาร์นัลโด ด้วยเหตุนี้ มุสโสลินจึงได้รับอำนาจเบ็ดเสร็จจากสภานิติบัญญัติเป็นเวลาหนึ่งปี(ซึ่งถูกต้องตามกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญอิตาลีในช่วงเวลานั้น) เขาได้ให้การสนับสนุนการฟื้นฟูอำนาจรัฐอย่างสมบูรณ์ ด้วยการรวมพวกฟาสเช่อิตาเลียนในการสู้รบเข้าสู่กองทัพ(ถูกก่อตั้งขึ้นในเดือนมกราคม ค.ศ. 1923 ในนามว่า กองทหารอาสาสมัครเพื่อความมั่งคงแห่งชาติ) และความก้าวหน้าในการแยกแยะของพรรคการเมืองกับรัฐ ในด้านการเมืองและเศรษฐกิจสังคม เขาได้ร่างผ่านกฎหมายที่ให้การสนับสนุนความมั่นคั่งให้แก่ชนชั้นอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม(การโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชน การเปิดเสรีด้านกฎหมายค่าเช่า และการล้มล้างสหภาพแรงงาน)[15]
ใน ค.ศ. 1923 มุสโสลินีได้ส่งกองทัพอิตาลีเข้ารุกรานเกาะคอร์ฟูในช่วงเหตุการณ์คอร์ฟู ในท้ายที่สุด สันนิบาตชาติก็ไร้อำนาจ และกรีซก็ถูกบังคับให้ปฏิบัติตามการเรียกร้องของอิตาลี
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1923 รัฐบาลได้ผ่านการร่างกฎหมายอะแซร์โบ ซึ่งได้เปลี่ยนประเทศอิตาลีให้กลายเป็นเขตเลือกตั้งระดับชาติเพียงแห่งเดียว นอกจากนี้ยังให้เสียงข้างมากจากสองในสามของที่นั่งในรัฐสภาแก่พรรคหรือกลุ่มพรรคกลางเมืองที่ได้รับคะแนนเสียงอย่างน้อย 25%[64] กฎหมายฉบับนี้ได้มีผลบังคับใช้ในการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1924 พันธมิตรระดับชาติ ซึ่งประกอบไปด้วยพวกฟาสซิสต์ ซึ่งส่วนมากเป็นพวกเสรีนิยมเก่าและอื่น ๆ ได้รับชัยชนะด้วยคะแนนเสียง 64%
การลอบสังหารผู้แทนการเลือกตั้งจากสังคมนิยม Giacomo Matteotti ผู้ที่ได้ร้องขอให้มีการเพิกถอนการเลือกตั้งเพราะพบว่าดูผิดปกติ[65] ก่อให้เกิดวิกฤตชั่วครู่ในรัฐบาลมุสโสลินี มุสโสลินีสั่งให้ทำการปกปิด แต่กลับมีพยานพบเห็นว่า รถที่ขนศพของ Matteotti ได้ถูกจอดทิ้งไว้ที่ด้านนอกของบ้านพักของ Matteotti ซึ่งเชื่อมโยงไปถึง Amerigo Dumini กับการฆาตกรรม
ต่อมามุสโสลินีได้ยอมรับว่า ชายเด็ดเดี่ยวเพียงไม่กี่คนจะสามารถเปลี่ยนความคิดเห็นของสาธารณชนและเริ่มที่จะก่อรัฐประหารที่จะกวาดล้างลัทธิฟาสซิสต์ให้หมดไป Dumini ได้ถูกจำคุกเป็นเวลาสองปี เมื่อเขาได้รับการปล่อยตัว Dumini ถูกตั้งข้อหาว่าไปบอกคนอื่นว่ามุสโสลินีเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งเขาก็ต้องถูกคุมขังในเรือนจำต่อไป
พรรคการเมืองฝ่ายค้านได้ตอบโต้อย่างแผ่วเบาหรือโดยทั่วไปแล้วไม่ได้ตอบสนองอะไร นักสังคมนิยม นักเสรีนิยม และพวกสายกลางจำนวนมากต่างพากันคว่ำบาตรรัฐสภาในการแยกตัวอเวนตินเน โดยคาดหวังจะบีบบังคับให้พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 รับสั่งปลดมุสโสลินีลงจากตำแหน่ง
เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1924 คณะกงสุลของ MVSN ได้เข้าพบกับมุสโสลินีและยื่นคำขาดให้กับเขาว่า: จะกำจัดฝ่ายค้านหรือพวกเขาจะลงมือกันเองโดยไม่มีเขา ด้วยความเกรงกลัวว่าจะเกิดการก่อจลาจลโดยกลุ่มทหารของตนเอง มุสโสลินีจึงตัดสินใจล้มเลิกการเสแสร้งทั้งหมดในการเป็นประชาธิปไตย[66] เมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1925, มุสโสลินีได้กล่าวสุนทรพจน์อย่างแข็งกร้าวต่อหน้าห้องประชุมสภา ซึ่งเขาได้ยอมรับว่าเป็นผู้รับผิดชอบต่อการก่อความรุนแรงของพวกเชิ้ตดำ(squadristi) (แม้ว่าเขาจะไม่ได้กล่าวถึงการลอบสังหาร Matteotti).[67] อย่างไรก็ตาม เขายังไม่ได้ยุบหน่วย squadristi จนถึงปี ค.ศ. 1927 .[28]
นักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมัน-อเมริกัน Konrad Jarausch ได้โต้แย้งว่า มุสโสลินีเป็นผู้รับผิดชอบสำหรับชุดกลุ่มผสมผสานของนวัตกรรมทางการเมือง ซึ่งทำให้ลัทธิฟาสซิสต์กลายเป็นมหาอำนาจในยุโรป ประการแรก เขาได้ก้าวข้ามคำมั่นสัญญาที่ดูคลุมเครือของการสร้างประเทศชาติครั้งใหม่ในอนาคตและพิสูนจ์ให้เห็นว่าขบวนการนี้สามารถยึดอำนาจและดำเนินการปกครองที่ครอบคลุมในส่วนใหญ่ของประเทศตามแนวทางฟาสซิสต์ ประการที่สอง ขบวนการนี้ได้กล่าวอ้างว่าเป็นตัวแทนของชุมชนชาติทั้งหมด ไม่ใช่ส่วนที่ถูกแตกแยกออกมา เช่น ชนชั้นกรรมกรหรือชนชั้นสูง เขาได้พยายามอย่างมากที่จะรวบรวมส่วนหนึ่งของชาวคาทอลิกที่ห่างเหินไปก่อนหน้านี้ เขาได้กำหนดบทบาทสาธารณะสำหรับภาคหลักของชุมชนธุรกิจมากกว่าจะยินยอมให้ดำเนินการอย่างลับ ๆ ประการที่สาม เขาได้พัฒนาลัทธิผู้นำคนเดียวที่มุ่งเน้นความสนใจของสื่อและการอภิปรายระดับชาติเกี่ยวกับบุคลิกภาพของเขาเอง ในฐานะที่เคยเป็นนักข่าว มุสโสลินีได้ถูกพิสูจน์แล้วมีความเชี่ยวชาญอย่างมากในการใช้ประโยชน์จากสื่อมวลชนทุกรูปแบบ รวมทั้งรูปแบบใหม่ เช่น ภาพยนตร์และวิทยุ ประการที่สี่ เขาได้สร้างสมาชิกพรรคจำนวนมาก โดยโครงการฟรีสำหรับเยาวชนชาย เยาวชนหญิง และกลุ่มอื่นต่าง ๆ ที่สามารถระดมพลและติดตามได้ง่ายดายมากขึ้น เขาได้ทำการปิดการก่อตั้งและพรรคทางเลือกทางการเมืองทั้งหมด (แต่ขั้นตอนนี้ไม่ใช่นวัตกรรมแต่อย่างใด) เช่นเดียวกับเผด็จการทุกคน เขาได้ใช้การคุกคามของการก่อความรุนแรงทางวิสามัญอย่างเสรี เช่นเดียวกับการใช้ความรุนแรงของกลุ่มเชิ้ตดำของเขาเพื่อทำให้ฝ่ายตรงข้ามเกิดความหวาดกลัว
ระหว่าง ค.ศ. 1925 และ ค.ศ. 1927 มุสโสลินีก็ค่อย ๆ รื้อถอนรัฐธรรมนูญเกือบทั้งหมดและจำกัดอำนาจตามแบบแผนของเขาและก่อตั้งรัฐตำรวจ การผ่านร่างกฎหมาย เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 1925—ช่วงคริสต์มาสอีฟสำหรับประเทศนิกายโรมันคาทอลิกส่วนใหญ่—ได้เปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการของมุสโสลินีจาก"ประธานคณะรัฐมนตรี"มาเป็น"หัวหน้ารัฐบาล" แม้ว่าเขาจะยังถูกเรียกว่า "นายกรัฐมนตรี" จากแหล่งข่าวที่ไม่ใช่ของอิตาลีส่วนใหญ่ เขาไม่ได้มีหน้าที่รับผิดชอบในรัฐสภาอีกต่อไปและมีเพียงพระมหากษัตริย์เท่านั้นที่จะสามารถถอดถอนได้ ในขณะที่รัฐธรรมนูญอิตาลีได้ระบุว่า รัฐมนตรีมีหน้าที่รับผิดชอบต่ออธิปไตยเท่านั้น ในทางปฏิบัติ แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะปกครองโดยขัดต่อเจตจำนงของรัฐสภา กฎหมายคริสมาสต์อีฟได้ยุติการปฏิบัติครั้งนี้ และทำให้มุสโสลินีเป็นบุคคลเพียงคนเดียวที่มีอำนาจในการกำหนดวาระประชุมของสภา กฎหมายฉบับนี้เปลี่ยนแปลงรัฐบาลของมุสโสลินีให้กลายเป็นการปกครองแบบเผด็จการตามกฎหมายโดยพฤตินัย การปกครองตนเองในท้องถิ่นถูกยกเลิก และโพเดสตราได้ถูกแต่งตั้งโดยวุฒิสภาอิตาลีเข้ามาแทนที่นายกเทศมนตรีและสภาที่มาจากการเลือกตั้ง
วันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1926 มุสโสลินีรอดชีวิตจากความพยายามลอบสังหารครั้งแรกโดยไวโอเลต กิบสัน หญิงสาวชาวไอริชและบุตรสาวของลอร์ดแอชบอร์น ซึ่งถูกเนรเทศออกนอกประเทศ ภายหลังจากที่เธอถูกจับกุม เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1926 อันเตโอ ซัมโบนี วัยสิบห้าปี พยายามที่จะยิงมุสโสลินีในเมืองโบโลญญา ซัมโบนีจึงถูกรุมประชาทัณฑ์ทันที มุสโสลินียังรอดชีวิตจากความพยายามลอบสังหารที่ล้มเหลวในกรุงโรมโดยผู้นิยมอนาธิปไตย Gino Lucetti และความพยายามตามแผนโดยผู้นิยมอนาธิปไตยชาวอิตาลี Michele Schirru ซึ่งจบลงด้วย Schirru ถูกจับกุมและประหารชีวืต
พรรคการเมืองอื่น ๆ ได้ถูกประกาศว่าผิดกฎหมาย ภายหลังจากความพยายามลอบสังหารของซัมโบนีใน ค.ศ. 1926 แม้ว่าในทางปฏิบัติ อิตาลีจะเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวมาตั้งแต่ ค.ศ. 1925 (ไม่ว่ามาจากการกล่าวสุนทรพจน์ต่อสภาในช่วงมกราคมหรือผ่านการร่างกฎหมายช่วงคริสมาสต์อีฟ ขึ้นอยู่กับแหล่งข้อมูลที่มา) ในปีเดียวกัน กฎหมายการเลือกตั้งได้ยกเลิกการเลือกตั้งรัฐสภา แต่สภาใหญ่แห่งฟาสซิสต์กลับเลือกราชื่อผู้สมัครการเพียงรายเดียวที่จะได้รับการอนุมัติจากการลงประชามติ สภาใหญ่ถูกสร้างขึ้นเมื่อห้าปีก่อนในฐานะพรรคการเมือง และถูก"ทำให้เป็นรัฐธรรมนูญ" และกลายเป็นอำนาจสูงสุดตามรัฐธรรมนูญในรัฐ ในเอกสาร สภาใหญ่มีอำนาจที่จะทำให้มุสโสลินีหลุดพ้นจากตำแหน่ง และด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเพียงการตรวจสอบต่ออำนาจในทางทฤษฏี อย่างไรก็ตาม มุสโสลินีเท่านั้นที่สามารถเรียกประชุมสภาใหญ่และกำหนดวาระการประชุมได้ เพื่อเข้าควบคุมภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกาะซิซิลี เขาได้แต่งตั้งให้ Cesare Mori เป็นนายอำเภอของเมืองปาแลร์โม โดยมีหน้าที่รับผิดชอบในการกำจัดพวกมาเฟียให้หมดสิ้น ในโทรเลข มุสโสลินีได้เขียนถึง Mori ว่า:
ด้วยตำแหน่งอันสูงส่งของท่านที่มีเกียรติเปี่ยมล้น อำนาจของรัฐจะต้องมีความเด็ดขาด ข้าพเจ้าขอย้ำว่าต้องเด็ดขาด ซึ่งจะถูกจัดตั้งขึ้นในเกาะซิซิลี หากว่ากฎหมายที่ยังถูกบังคับใช้จะเข้าขัดขวางท่าน เรื่องนี้ไม่มีปัญหา เพราะเราจะร่างกฎหมายขึ้นมาใหม่เอง[68]
Mori แทบจะไม่ลังเลเลยที่จะทำการปิดล้อมเมือง, ใช้การทรมาน และจับผู้หญิงและเด็กไว้เป็นตัวประกันเพื่อบีบบังคับให้ผู้ต้องสงสัยยอมจำนน วิธีการที่ดูรุนแรงเหล่านี้ทำให้เขาได้รับฉายาว่า "นายอำเภอเหล็ก". ใน ค.ศ. 1927,การสอบสวนของ Mori ได้นำไปสู่หลักฐานของการสมรู้ร่วมคิดระหว่างมาเฟียและสถาบันฟาสซิสต์ และเขาถูกปลดออกจากหน้าที่ในระยะยาวในปี ค.ศ. 1924, ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จำนวนการฆาตกรรมในจังหวัดปาแลร์โมได้ลดลงจากจำนวน 200 คน มาเป็น 23 คน มุสโสลินีได้เสนอชื่อ Mori ในการเข้ารับตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาและโฆษณาชวนเชื่อของฟาสซิสต์ได้อ้างว่า พวกมาเฟียได้พ่ายแพ้แล้ว[69]
การเลือกตั้งทั่วไปได้ถูกจัดขึ้นในรูปแบบของการลงประชามติ. โดยครั้งนี้, ประเทศเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวโดยพรรคชาตินิยมฟาสซิสต์(PNF) เป็นพรรคการเมืองที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น รายชื่อที่ถูกส่งไปก่อนหน้านี้ได้ถูกอนุมัติในที่สุดด้วยคะแนนเสียง 98.43%[70]
ใน ค.ศ. 1919 รัฐอิตาลีได้นำการปฏิรูปแบบเสรีนิยมในลิเบียเพื่อที่จะยินยอมให้มีการศึกษาภาษาอาหรับและภาษาเบอร์เบอร์ และยินยอมสำหรับความเป็นไปได้ที่จะทำให้ชาวลิเบียกลายเป็นพลเมืองอิตาลี[71] Giuseppe Volpi ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงใน ค.ศ. 1921 ซึ่งถูกสงวนที่ไว้โดยมุสโสลินีและถอดถอนมาตรการทั้งหมดที่ถูกเสนอเพื่อความเท่าเทียมให้กับชาวลิเบีย[71] นโยบายการเข้ายึดที่ดินจากชาวลิเบียเพื่อส่งมอบให้กับอาณานิคมอิตาลีให้มีความแข็งแกร่งขึ้นมาใหม่เพื่อต้านทานจากการต่อต้านของชาวลิเบียภายใต้การนำโดย Omar Mukhtar และในช่วงเวลาต่อมา "กระบวนการสันติภาพแก่ลิเบีย" ระบอบฟาสซิสต์ได้ดำเนินรณรงค์การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ที่ถูกออกมาเพื่อสังหารชาวลิเบียจำนวนมากเท่าที่จะเป็นไปได้[72][71] มากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรเมืองไซรีนิกาถูกกักขังไว้ที่ค่ายกักกันสิบห้าแห่งในปี ค.ศ. 1931 ในขณะที่กองทัพอากาศหลวงอิตาลีได้จัดทำสงครามทางเคมีในการเข้าโจมตีกับชาวเบดูอิน[73] เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1930 จอมพล ปีเอโตร บาโดลโย ได้เขียนจดหมายไปถึง นายพล โรดอลโฟ กราซีอานี ว่า:
สำหรับกลยุทธ์ทั้งหมด มีความจำเป็นเพื่อที่จะสร้างการแบ่งแยกที่สำคัญและชัดเจนระหว่างการควบคุมประชากรและการก่อตัวของพวกกบฏ ข้าพเจ้าไม่ได้ซ่อนมาตรการที่สำคัญและร้ายแรงนี้เลย ซึ่งอาจจะกลายเป็นความย่อยยับของประชากรที่ดูเงียบสงบลง ... แต่ตอนนี้เส้นทางได้ถูกกำหนดไว้แล้ว และเราต้องดำเนินการให้จบ แม้ว่าประชากรทั้งหมดของเมืองไซเรนีกาจะต้องสูญสิ้น[74]
เมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1933 มุสโสลินีได้บอกกับนักการทูต บารอน Pompei Aloisi ว่า ชาวฝรั่งเศสในตูนีเซียได้สร้าง"ความผิดพลาดอย่างน่ากลัว" โดยยอมรับให้มีเพศสัมพันธ์ระหว่างชาวฝรั่งเศสกับชาวตูนีเซีย ซึ่งเขาได้คาดการณ์ว่าจะนำไปสู่ความเสื่อมทรามของฝรั่งเศสที่จะกลายเป็นประเทศของ"พวกลูกผสม" และเพื่อป้องกันสิ่งเดียวกันที่จะเกิดขึ้นกับชาวอิตาลี จึงออกคำสั่งให้กับจอมพลบาโดลโยว่า การแต่งงานต่างเชื้อชาติถือว่าผิดกฎหมายในลิเบีย[75]
มุสโสลินีได้เปิดตัวโครงการการก่อสร้างทางสาธารณะหลายโครงการและความคิดริเริ่มของรัฐบาลตลอดทั่วทั้งอิตาลีเพื่อต่อสู้กับความล้มเหลวทางเศรษฐกิจหรือระดับการว่างงาน โครงการก่อนหน้านี้ของเขา(และหนึ่งในที่เป็นรู้จักกันอย่างดี) คือ การรบเพื่อข้าวสาลี ซึ่งฟาร์มแห่งใหม่ที่มีจำนวน 5,000 แห่งและเมืองเกษตรกรรมแห่งใหม่ห้าแห่ง(ท่างกลางเมือง Littoria และ Sabaudia) บนที่ดินที่ถูกบุกเบิกโดยการระบายน้ำของพอนติเน มาร์ชีส์ ใน Sabaudia ตัวอย่างเมืองเกษตรกรรมได้ถูกก่อตั้งขึ้นและถูกตั้งชื่อว่า มุสโสลิเนีย แต่พอเวลาผ่านไปนาน ๆ ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น อาร์บอเรีย เมืองนี้เป็นที่แห่งแรกที่มุสโสลินีคาดหวังว่าจะมีการตั้งถิ่นฐานทางเกษตรกรรมใหม่จำนวนนับพันแห่งทั่วประเทศ การรบเพื่อข้าวสาลีได้หันเหทรัพยากรที่มีค่าไปยังผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี ซึ่งห่างไกลจากพืชอื่น ๆ ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ เจ้าของที่ดินได้ข้าวสาลีที่เติบโตบนดินที่ไม่เหมาะสมโดยใช้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ทั้งหมด และแม้ว่าการเก็บเกี่ยวข้าวสาลีจะเพิ่มขึ้น ราคาที่สูงขึ้น การบริโภคลดลง และอัตราภาษีศุลกากรสูงได้ถูกกำหนดไว้[76] ภาษีศุลการกรได้ส่งเสริมความไร้ประสิทธิภาพอย่างกว้างขวางและเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่มอบให้แก่เกษตรกรได้ผลักดันประเทศให้เป็นหนี้มากยิ่งขึ้น
มุสโสลินียังได้ริเริ่มโครงการ "การสู้รบเพื่อที่ดิน" ซึ่งเป็นนโยบายต่อที่ดินที่ถูกแปรสถาพที่ได้ถูกระบุไว้ใน ค.ศ. 1928 ความคิดริเริ่มนี้ได้ประสบความสำเร็จหลายอย่าง ในขณะที่โครงการต่าง ๆ เช่น การระบายน้ำของพอนติเน มาร์ชีส์ ใน ค.ศ. 1935 สำหรับเกษตรกรรมนั้นดีสำหรับเป้าหมายของการโฆษณาชวนเชื่อ การจัดหางานให้แก่ผู้ว่างงานและอนุญาตให้เจ้าของที่ดินรายใหญ่ควบคุมเงินอุดหนุน ส่วนพื้นที่อื่น ๆ ในการสู้รบเพื่อที่ดินก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก โครงการนี้ซึ่งไม่สอดคล้องกับการรบเพื่อข้าวสาลี(แปลงที่ดินขนาดเล็กได้ถูกจัดสรรอย่างไม่เหมาะสมสำหรับการผลิตข้าวสาลีขนาดใหญ่) และพอนติเน มาร์ชีส์ก็สูญหายไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ชาวนามีจำนวนน้อยกว่า 10,000 คนซึ่งได้ตั้งถิ่นฐานใหม่บนที่ดินที่ได้รับการจัดสรร และความยากจนของชาวนายังคงพุ่งสูงขึ้น ความคิดริเริ่มของการสู้รบเพื่อที่ดินก็ได้ถูกยกเลิกไปใน ค.ศ. 1940
ใน ค.ศ. 1930 ใน"คำสอนของลัทธิฟาสซิสต์" เขาเขียนว่า "สิ่งที่เรียกว่าวิกฤตสามารถแก้ไขได้โดยการดำเนินของรัฐและภายในวงโคจรของรัฐเท่านั้น"[77] เขาได้พยายามต่อสู้ภาวะเศรษฐกิจที่กำลังถดถอยโดยการนำเสนอริเริ่มโครงการ "ทองคำเพื่อปิตุภูมิ" ส่งเสริมให้ประชาชนทำการบริจาคเครื่องประดับทองคำโดยความสมัครใจให้กับเจ้าหน้าที่ข้าราชการเพื่อแลกกับสายรัดข้อมือเหล็กที่มีการสลักคำว่า "ทองคำเพื่อปิตุภูมิ" แม้แต่ราเคเล มุสโสลินีก็ยังบริจาคแหวนแต่งงานของเธอ ทองคำที่รวบรวมมาได้จะถูกนำไปหลอมและเปลี่ยนกลายเป็นทองคำแท่ง ซึ่งหลังจากนั้นก็นำไปแจกจ่ายให้กับธนาคารแห่งชาติ
การควบคุมธุรกิจของรัฐบาลเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนนโยบายของมุสโสลินี ใน ค.ศ. 1935 เขาได้กล่าวอ้างว่า ธุรกิจสามในสี่ส่วนของอิตาลีได้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ ต่อมาในปีนั้น มุสโสลินีได้ออกพระราชกฤษฏีกาหลายฉบับเพื่อเข้าควบคุมเศรษฐกิจเพิ่มเติม เช่น การใช้อำนาจบังคับธนาคาร ธุรกิจ และความเป็นส่วนตัวของพลเมืองเพื่อยอมมอบหุ้นและพันธบัตรที่ถูกออกโดยต่างประเทศทั้งหมดที่ถือครองอยู่ให้กับธนาคารแห่งอิตาลี ใน ค.ศ. 1936 เขาได้กำหนดการควบคุมราคา[78] นอกจากนี้เขายังได้พยายามที่จะเปลี่ยนอิตาลีให้กลายเป็นเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง(self-sufficient autarky) ก่อให้เกิดอุปสรรคครั้งใหญ่ทางการค้ากับประเทศส่วนใหญ่ ยกเว้นเพียงประเทศเยอรมนี
ใน ค.ศ. 1943 มุสโสลินีได้เสนอทฤษฏ๊การขัดเกลาทางสังคมทางเศรษฐกิจ
มุสโสลินีมีความกระตือรือร้นที่จะได้รับเครดิตสำหรับงานสาธารณะที่สำคัญในอิตาลี โดยเฉพาะระบบรางรถไฟ[79] รายงานของเขาได้ทำการปรับใหม่ของโครงข่ายรางรถไฟทำให้เกิดคำพูดติดปากว่า, "ถ้าพูดในสิ่งที่คุณชอบเกี่ยวกับมุสโสลินี เขาจะทำให้รถไฟวิ่งได้ตรงเวลา."[79] Kenneth Roberts, นักข่าวและนักประพันธ์, ได้เขียนใน ค.ศ. 1924 ว่า :
ความแตกต่างระหว่างบริการรางรถไฟของอิตาลีใน ค.ศ. 1919 1920 และ 1921 และบริการที่ได้มาในช่วงปีแรกของระบอบมุสโสลินีแทบไม่น่าเชื่อ รถก็ดูสะอาด พนักงานก็ดูคล่องแคล่งและสุภาพเรียบร้อย, และรถไฟก็ได้มาถึงและออกจากสถานีอย่างตรงเวลา— มาช้าไม่เกินสิบห้านาที, และไม่สายเกินห้านาที; แต่ตรงเวลาแบบเป๊ะ ๆ เลย.[80]
ในความเป็นจริงแล้ว การปรับปรุงระบบรางรถไฟในช่วงหลังสงครามที่เลวร้ายของอิตาลีได้เริ่มขึ้นก่อนที่มุสโสลินีจะเข้ายึดอำนาจ.[79][81] การปรับปรุงยังคงปรากฏอย่างชัดเจนมากกว่าของจริง. Bergen Evans ได้เขียนใน ค.ศ. 1954 ว่า:
ผู้เขียนได้รับการว่าจ้างเป็นผู้เดินเอกสารโดยบริษัททัวร์ Franco-Belgique ในช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 1930,จุดสูงสุดของสมัยรุ่งเรืองของมุสโสลินี, เมื่อทหารองค์รักษ์ฟาสฟิสต์ได้ขึ้นรถไฟทุกขบวนและเต็มใจที่จะบันทึกคำให้การว่าประสิทธิภาพของรถไฟอิตาลีส่วนใหญ่ที่ได้เดินทางไปนั้นไม่ตรงตามตารางเวลา—หรือแค่เกือบ ๆ. ต้องมีจำนวนหลายพันคนที่สามารถให้การสนับสนุนที่จะเป็นพยานครั้งนี้ มันเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ก็คุ้มค่าที่จะตอกย้ำ.[82]
George Seldes ได้เขียนใน ค.ศ. 1936 ว่า แม้ว่ารถไฟรถไฟด่วนที่บรรทุกโดยสารนักท่องเที่ยวโดยทั่วไป—แต่ก็ไม่เสมอไป—วิ่งตามตารางเวลา, ไม่เหมือนกับสายรางที่เล็กกว่า ซึ่งมีความล้าช้าบ่อยครั้ง,[79] ในขณะที่ Ruth Ben-Ghiat ได้บอกว่า "พวกเขาปรับปรุงสายรางรถไฟที่มีความหมายทางการเมืองสำหรับพวกเขา".[82]
สิ่งที่สำคัญมากที่สุดของมุสโสลินีคือการเอาชนะทางจิตใจของประชาชนชาวอิตาลีผ่านการใช้โฆษณาชวนเชื่อ ระบอบการปกครองได้ส่งเสริมลัทธิบูชาบุคคลที่ดูมากเกินไปที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ตัวของมุสโสลินี เขาอวดอ้างว่า ได้จุติลงมาเป็น ยอดเหนือมนุษย์(Übermensch) คนใหม่ของฟาสซิสต์ โดยส่งเสริมสุนทรียศาสตร์ที่ดูขุ่นเคืองของ Machismo (ความเป็นชาย) ซึ่งเป็นผลมาจากความสามารถเสมือนระดับเทพเจ้าของเขา[83] หลายครั้งช่วงหลัง ค.ศ. 1922 มุสโสลินีได้เข้ารับตำแหน่งเป็นการส่วนตัวในฐานะรัฐมตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงอาณานิคม กิจการบรรษัท กระทรวงกลาโหม และงานสาธารณะ บางครั้ง เขาก็ดำรงตำแหน่งถึงเจ็ดกระทรวงพร้อมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ เขายังเป็นหัวหน้าของพรรคฟาสซิสต์ที่ทรงอำนาจและกองกำลังทหารติดอาวุธประจำท้องถิ่นอย่างหน่วย MVSN หรือ"กลุ่มเชิ้ตดำ" ซึ่งคอยข่มขวัญการต่อต้อนที่กำลังก่อตัวขึ้นในเมืองและจังหวัด ต่อมา เขาก็ได้ก่อตั้งหน่วย OVRA ซึ่งเป็นสถาบันตำรวจลับที่ดำเนินการจากการสนับสนุนของรัฐอย่างเป็นทางการ ด้วยวิธีนี้ เขาก็ประสบความสำเร็จในการรักษาอำนาจไว้ในมือของเขาเองและป้องกันการปรากฏตัวของคู่แข่งใด ๆ
มุสโสลินียังแสดงให้เห็นว่าตัวเขาเองเป็นนักกีฬาที่ดูองอาจเหี้ยมหาญและนักดนตรีที่มีความสามารถ ครูทุกคนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยจะต้องกล่าวสาบานว่า จะพิทักษ์ปกป้องระบอบฟาสซิสต์ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์จะถูกคัดเลือกเป็นการส่วนตัวทั้งหมดโดยมุสโสลินี และมีเพียงผู้ที่อยู่ในความครอบครองของใบรับรองจากพรรคฟาสซิสต์ซึ่งสามารถนำประกอบใช้วารสารศาสตร์ได้ ใบรับรองเหล่านี้ถูกออกมาอย่างลับ ๆ มุสโสลินีจึงได้สร้าพภาพลวงตาของ "เสรีสื่อ" อย่างเชี่ยวชาญ สหภาพการค้ายังถูกริดรอนความเป็นอิสระใด ๆ และถูกรวมเข้ากับสิ่งที่ถูกเรียกว่า ระบบ"บรรษัท" จุดมุ่งหมายนี้ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากสมาคมกิลด์ในช่วงยุคกลางและไม่เคยประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ คือ การบรรจุชาวอิตาลีทั้งหมดไว้ในองค์กรหรือบริษัทวิชาชีพต่าง ๆ ซึ่งทั้งหมดล้วนอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลอย่างลับ ๆ
เงินจำนวนมากมายถูกนำไปใช้กับงานสาธารณะที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนและโครงการอันเกียรติภูมิระหว่างประเทศ สิ่งเหล่านี้ได้รวมถึงการมอบรางวัลบลูริบบันด์แก่เรือเดินสมุทรที่ชื่อว่า เอ็สเอ็สเร็กซ์ ด้วยการสร้างสถิติการบินด้วยเครื่องบินทะเลที่เร็วที่สุดในโลกอย่าง Macchi M.C.72 และการล่องเรือบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกของอิตาโล บัลโบ ซึ่งได้รับการต้อนรับด้วยการประโคมดนตรีอย่างมากมายในสหรัฐ เมื่อลงจอดที่ชิคาโก ใน ค.ศ. 1933
หลักการของคำสอนลัทธิฟาสซิสต์ถูกลงในบทความโดยนักปรัชญาผู้มีชื่อเสียงนามว่า Giovanni Gentile และมุสโสลินีตัวเขาเองซึ่งปรากฏในสารานุกรมภาษาอิตาลี ฉบับ ค.ศ. 1932 มุสโสลินีมักจะสวมบทบาทตัวเองว่าเป็นผู้มีปัญญา และนักประวัติศาสตร์บางคนก็เห็นด้วย[84] กึนเธอร์เรียกเขาว่า เป็น"เผด็จการที่มีการศึกษาดีเยี่ยมที่สุดและซับซ้อนมากที่สุดอย่างง่ายดาย" และเป็นผู้นำระดับชาติเพียงคนเดียวใน ค.ศ. 1940 ซึ่งเป็นปัญญาชน[28] นักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมันนามว่า Ernst Nolte กล่าวว่า "การสั่งการของเขาในปรัชญาร่วมสมัยและวรรณกรรมทางการเมืองของเขานั้นดีพอ ๆ กับผู้นำทางเมืองร่วมสมัยคนอื่น ๆ ของยุโรป"[85]
เหล่านักชาตินิยมในช่วงปีหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งต่างคิดว่าตนเองกำลังต่อสู้กับฝ่ายเสรีนิยมและการครอบงำสถาบันซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยคณะรัฐมนตรี เช่น รัฐบาลของ Giovanni Giolitti รวมทั้งสถาบันการศึกษาแบบดั้งเดิม ด้วยลัทธิอนาคตนิยม ขบวนการการปฏิวัติทางวัฒนธรรมซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวแรงกระตุ้นสำหรับลัทธิฟาสซิสต์ การโต้เถียงสำหรับ "โรงเรียนสำหรับความกล้าหาญทางกายภาพและลัทธิความรักชาติ" ตามที่ฟีลิปโป ตอมมาโซ มารีเนตตีได้กล่าวไว้ใน ค.ศ. 1919 มารีเนตตีได้แสดงดูถูกเหยียดหยามสำหรับ"หลักสูตรภาษาละตินและภาษากรีกโบราณในช่วงยุคสมัยมนุษย์ที่อาศัยอยุ่ในถ้ำและก่อนประวัติศาสตร์ปัจจุบัน" การโต้เถียงเพื่อแทนที่พวกเขาด้วยการฝึกจำลองของเหล่าทหารหน่วยอาร์ดีตี("[ข้อเรียนรู้] เพื่อที่จะรุกคืบด้วยมือและเข่าในแนวหน้าที่มีการยิงปืนกลอย่างกระหน่ำถาโถม เพื่อรอลืมตาสำหรับคานไม้เคลื่อนที่ไปด้านข้างเหนือหัวของพวกเขา เป็นต้น") ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กองกำลังปีกยุวชนฟาสซิสต์กลุ่มแรกได้ถูกก่อตั้งขึ้น: Avanguardia Giovanile Fascista (กองแนวหน้ายุวชนฟาสซิสต์) และ Gruppi Universitari Fascisti (กลุ่มมหาวิทยาลัยฟาสซิสต์) ใน ค.ศ. 1922
ภายหลังจากการเดินขบวนสู่โรมซึ่งทำให้มุสโสลินีได้ขึ้นสู่อำนาจ ฟาสซิสต์ได้เริ่มคิดที่จะหาวิธีที่จะทำให้สังคมอิตาลีเป็นการเมือง โดยเน้นไว้ที่การศึกษา มุสโสลินีได้มอบหมายให้อดีตทหารจากหน่วยอาร์ดิตีและอดีตเลขาธิการด้านการศึกษานามว่า Renato Ricci ในการทำภารกิจของ "การปฏิรูปปรับปรุงเยาวชนจากมุมมองทางศีลธรรมและทางกายภาพ" Ricci ได้แสวงหาแรงบันดาลใจกับโรเบิร์ต เบเดน โพเอลล์ ผู้ก่อตั้งกิจการลูกเสือ ซึ่งได้พบกับเขาในประเทศอังกฤษ เช่นเดียวกับศิลปินจากเบาเฮาส์ในประเทศเยอรมนี โอเปร่า เนซิโอนาเล บาลิลาถูกก่อตั้งขึ้นโดยประกาศกฤษฏีกาของมุสโสลินี เมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1926 และนำโดย Ricci จากการติดตามมาเป็นเวลาสิบเอ็ดปี รวมทั้งเด็กที่มีอายุระหว่าง 8 ถึง 18 ปี ซึ่งจะถูกจัดประเภทว่า เป็นบาลิลาและอาวันกัวดิสตี
ตามที่มุสโสลินีได้กล่าวไว้ว่า: "การศึกษาฟาสซิสต์คือศีลธรรม กายภาพ สังคม และการทหาร: มุ่งเป้าที่จะสร้างมนุษย์ที่ดูสมบูรณ์และกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวอย่างเต็มตัว ฟาสซิสต์ตามมุมมองของเรา" มุสโสลินีได้จัดโครงสร้างกระบวนการนี้โดยคำนึงถึงด้านอารมณ์ในวัยเด็ก: "วัยเด็กและวัยแรกรุ่นเช่นเดียวกัน ... ไม่สามารถเลี้ยงดูเพียงลำพังโดยการแสดงดนตรี ทฤษฏี และการสอนเชิงนามธรรม ความเป็นจริงที่เราตั้งเป้าจะสอนพวกเขาควรดึงดูดใจพวกเขาเป็นอันดับแรกก่อนในจิตนาการ สู่หัวใจ และต่อมาด้วยจิตใจของพวกเขาเท่านั้น"
"คุณค่าทางการศึกษาที่ถูกกำหนดผ่านการปฏิบัติและตัวอย่าง"มาแทนที่แนวทางที่ถูกกำหนดไว้ ลัทธิฟาสซิสต์ต่อต้านรูปแบบอุดมคตินิยมกับลัทธิเหตุผลนิยมซึ่งเป็นที่แพร่หลาย และใช้โอเปร่า เนซิโอนาเล บาลิลาในอุบายการกำจัดการศึกษาแบบดั้งเดิมโดยการจัดตั้งกลุ่มหมู่และลำดับชั้น เช่นเดียวกับลัทธิบูชาบุคคลของมุสโสลินีเอง
องค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของนโยบายวัฒนธรรมฟาสซิสต์คือนิกายโรมันคาทอลิก ใน ค.ศ. 1929 มีการลงนามสนธิสัญญากับวาติกัน ซึ่งเป็นอันยุติของความขัดแย้งมาหลายศตวรรษระหว่างรัฐอิตาลีและตำแหน่งพระสันตะปาปาซึ่งต้องย้อนกลับไปถึงการยึดอำนาจรัฐสันตะปาปาใน ค.ศ. 1870 โดยราชวงศ์ซาวอย ในช่วงระหว่างการรวมชาติอิตาลี สนธิสัญญาลาเตรัน ซึ่งในท้ายสุด รัฐอิตาลีได้รับยอมรับจากคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก และความเป็นอิสระของนครวาติกันได้รับการยอมรับจากรัฐอิตาลี ซึ่งได้รับการชื่มชมอย่างมากมายจากลำดับชั้นคณะสงฆ์นักบวช สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11 ทรงยกย่องมุสโสลินีว่าเป็น "บุรุษแห่งพรอวิเดนซ์"[86]
สนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ. 1929 ได้รวมบทบัญญัติทางกฎหมายโดยที่รัฐบาลอิตาลีจะทำการปกป้องเกียรติและศักดิ์ศรีของพระสันตะปาปาด้วยการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด[87] มุสโสลินีได้นำเหล่าบุตรของเขาเข้าพิธิรับบัพติศมาใน ค.ศ. 1923 และตัวเขาเองก็เข้าพิธิรับบัพติศอีกครั้งโดยบาทหลวงนิกายโรมันคาทอลิกใน ค.ศ. 1927[88] ภายหลังปี ค.ศ. 1929 มุสโสลินี พร้อมกับคำสอนถึงการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ได้โน้มน้าวชาวคาทอลิกจำนวนมากในการสนับสนุนเขาอย่างแข็งขัน
ในนโยบายต่างประเทศ, มุสโสลินีเป็นนักปฏิบัติจริงและฉวยโอกาส. ณ จุดศูนย์กลางของวิสัยทัศน์ของเขาคือความฝันที่จะสร้างจักรวรรดิโรมันขึ้นมาใหม่ในแอฟริกาและคาบสมุทรบอลข่าน, แก้ต่างในสิ่งที่เรียกว่า "ชัยชนะที่พังทลาย" ใน ค.ศ. 1918 ซึ่งถูกกำหนดโดย "ประชาธิปไตยแบบพลูโต" (บริติชและฝรั่งเศส) ได้ทรยศต่อสนธิสัญญาลอนดอนและช่วงชิงสิ่งที่เป็น "สิทธิตามธรรมชาติ" ของอิตาลีซึ่งได้คาดหวังว่าจะมีอำนาจสูงสุดในลุ่มน้ำเมดิเตอร์เรเนียน[89][90] อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 1920 การมอบความอ่อนแอแก่เยอรมนี ปัญหาการฟื้นฟูช่วงหลังสงครามและคำถามของการชดใช้ สถานการณ์ของยุโรปไม่เอื้ออำนวยเกินกว่าจะสนับสนุนแนวทางการปรับปรุงแก้ไขต่อสนธิสัญญาแวร์ซาย. ในปี ค.ศ. 1920, นโยบายต่างประเทศของอิตาลีนั้นมีพื้นฐานมาจากแนวคิดดั้งเดิมของอิตาลีที่ยังคงมีจุดยืนที่ "เท่าเทียมกัน" จากมหาอำนาจหลักทั้งหมดเพื่อใช้เป็น "ตัวกำหนดน้ำหนัก" ซึ่งโดยอำนาจใดก็ตามที่อิตาลีเลือกเพื่อจัดให้อยู่ในแนวเดียวกันกับการเปลี่ยนความสมดุลของอำนาจในยุโรปอย่างเด็ดขาด และราคาของการจัดตำแหน่งดังกล่าวน่าจะสนับสนุนความทะเยอทะยานของอิตาลีในยุโรปและแอฟริกา[91] ในเวลาเดียวกัน เนื่องจากประชากรศาสตร์ของมุสโสลินีได้ถูกกำหนดเอาไว้แล้ว เขาจึงดำเนินนโยบายการกำเนิดอย่างไม่หยุดหย่อนซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มอัตราการเกิด ตัวอย่างเช่น ใน ค.ศ. 1924 การให้สนับสนุนหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับการคุมกำเนิดเป็นความผิดทางอาญา และใน ค.ศ. 1926 ได้ออกคำสั่งให้ผู้หญิงชาวอิตาลีทุกคนเพิ่มจำนวนเด็กเป็นสองเท่า เมื่อพวกเขามีความเต็มใจที่จะแบกรับภาระเอาไว้[92] สำหรับมุสโสลินี ประชากรชาวอิตาลีจำนวน 40 ล้านคนในปัจจุบันนั้นไม่เพียงพอที่จะต่อสู้รบในสงครามครั้งใหญ่ได้ และเขาจำเป็นต้องเพิ่มจำนวนประชากรชาวอิตาลีมาอย่างน้อย 60 ล้านคนก่อนที่เขาจะเตรียมความพร้อมสำหรับสงคราม[93]
ในช่วงปีแรกในอำนาจของเขา, มุสโสลินีได้ดำเนินเป็นรัฐบุรุษในทางปฏิบัติ, พยายามที่จะบรรลุข้อได้เปรียบบางประการ แต่ไม่เคยเสี่ยงที่จะทำสงครามกับบริติชและฝรั่งเศส ยกเว้นเพียงแต่การระดมยิงปืนใหญ่และเข้ายึดครองเกาะคอร์ฟู ใน ค.ศ. 1923, ภายหลังจากเหตุการณ์ที่บุคลากรทางทหารอิตาลีซึ่งถูกตั้งข้อกล่าวหาโดยสันนิบาตชาติเพื่อยุติข้อพิพาทเขตแดนระหว่างกรีซและแอลเบเนียได้ถูกลอบสังหารโดยพวกโจร; สัญชาติของพวกโจรยังไม่ปรากฏชัดเจน ในช่วงเวลาของเหตุการณ์เกาะคอร์ฟู มุสโสลินีเตรียมความพร้อมที่จะทำสงครามกับบริเตน และมีเพียงการอ้อนวอนอย่างสิ้นหวังจากผู้นำกองทัพเรืออิตาลี ซึ่งได้โต้แย้งว่ากองทัพเรืออิตาลีไม่อาจทัดเทียมกับราชนาวีบริติชได้ จึงเกลี้ยกล่อมมุสโสลินีให้ยอมรับวิธีการแก้ปัญหาทางการทูตเสีย.[94] ในการกล่าวสุนทรพจน์อย่างลับ ๆ ต่อผู้นำกองทัพอิตาลีในเดือนมกราคม ค.ศ. 1925 มุสโสลินีได้กล่าวอ้างว่า อิตาลีจำเป็นต้องบรรลุนโยบายสปาซิโอ วิทาเล และด้วยเหตุนี้ เป้าหมายสูงสุดของเขาคือการเข้าร่วม 'ชายฝั่งทั้งสองของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและมหาสมุทรอินเดียให้กลายเป็นดินแดนเดียวของอิตาลี"[94] สะท้อนถึงความหมกหมุ่นของเขาอยู่กับประชากรศาสตร์ มุสโสลินีได้กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบัน อิตาลีมีกำลังคนที่ไม่เพียงพอที่จะเอาชนะสงครามกับบริติชหรือฝรั่งเศส และช่วงเวลาของการทำสงครามกำลังจะมาถึงในช่วงกลางปี ค.ศ. 1930 เมื่อมสโสลินีคิดคำนวณอัตราการเกิดชาวอิตาลีที่สูง ซึ่งในท้ายสุด จะทำให้อิตาลีมีจำนวนที่จำเป็นเพื่อให้ได้ชัยชนะ .[94] ต่อมามุสโสลินีได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในสนธิสัญญาโลคาร์โน ใน ค.ศ. 1925, เป็นการรับประกันเขตชายแดนทางตะวันตกของเยอรมนีซึ่งถูกวาดเส้นเอาไว้ใน ค.ศ. 1919 ใน ค.ศ. 1929, มุสโสลินีได้ออกคำสั่งให้เหล่าคณะเสนาธิการกองทัพบกของเขาให้เริ่มวางแผนสำหรับการเข้ารุกรานต่อฝรั่งเศสและยูโกสลาเวีย.[94] ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1932, มุสโสลินีได้ส่งข้อความถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของเยอรมนี นายพล ควร์ท ฟ็อน ชไลเชอร์ โดยให้ข้อเสนอแนะในการเป็นพันธมิตรระหว่างอิตาลี-เยอรมันเพื่อต่อต้านฝรั่งเศส ซึ่งข้อเสนอนี้ ชไลเชอร์จะตอบรับอย่างดี แม้ว่าจะมีเงื่อนไขว่า เยอรมนีจำเป็นต้องฟื้นฟูกองทัพซะก่อน[94] ในช่วงปลาย ค.ศ. 1932–ช่วงต้น ค.ศ. 1933, มุสโสลินีได้วางแผนที่จะเข้าโจมตีโดยไม่ให้ตั้งตัวกับทั้งฝรั่งเศสและยูโกสลาเวีย ซึ่งได้เริ่มต้นขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1933[94] แผนการทำสงครามของมุสโสลินีใน ค.ศ. 1933 ได้ยุติลง เมื่อเขารับรู้ว่า Deuxième Bureau(สำนักงานที่สองของคณะเสนาธิการกองทัพฝรั่งเศส) ได้ละเมิดหลักเกณฑ์ทางการทหารของอิตาลี และเมื่อฝรั่งเศสได้รับแจ้งเตือนล่วงหน้าถึงแผนการทั้งหมดของอิตาลี จึงเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าโจมตีอิตาลีเช่นเดียวกัน.[94]
ภายหลังจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้ก้าวขึ้นสู่อำนาจ, ได้เข้าคุกคามผลประโยชน์ของอิตาลีในออสเตรียและลุ่มน้ำดานูบ มุสโสลินีได้เสนอกติกาสัญญาสี่อำนาจกับบริติช ฝรั่งเศส และเยอรมนีใน ค.ศ.. เมื่อนายกรัฐมนตรีออสเตรียซึ่งเป็น 'ฟาสซิสต์ออสเตรีย' นามว่า Engelbert Dollfuss กับอำนาจแบบเผด็จการได้ถูกลอบสังหาร เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1934 โดยฝ่ายสนับสนุนชาติสังคมนิยม, มุสโสลินีได้ข่มขู่เยอรมนีด้วยสงครามในกรณีที่เยอรมันเข้ารุกรานออสเตรีย มุสโสลินีในช่วงเวลานี้ยังคงต่อต้านอย่างเข้มงวดต่อความพยายามใด ๆ ของเยอรมันในการบรรลุอันชลุส และให้การสนับสนุนแนวสเตรซาแบบชั่วคราวในการต่อต้านเยอรมนีใน ค.ศ. 1935
แม้ว่ามุสโสลินีจะถูกกักขังสำหรับการต่อต้านสงครามอิตาลี-ตุรกีในแอฟริกาในฐานะ "โรคสั่นเพ้อเหตุชาตินิยม" และ "สงครามพิชิตที่น่าสังเวช",[28] ภายหลังวิกฤตกาณณ์อะบิสซิเนีย ค.ศ. 1935–1936, ในสงครามอิตาลี-เอธิโอเปียครั้งที่สอง อิตาลีเข้ารุกรานเอธิโอเปีย ภายหลังจากเหตุการณ์ชายแดนซึ่งเกิดขึ้นมาจากการผนวกของอิตาลีเหนือการวาดเส้นแบ่งเขตชายแดนที่ไม่ชัดเจนระหว่างเอธิโอเปียและอิตาเลียน โซมาลิแลนด์ นักประวัติศาสตร์ยังคงแบ่งแยกเกี่ยวกับเหตุผลสำหรับการโจมตีเอธิโอเปียใน ค.ศ. 1935 นักประวัติศาสตร์ชาวอิตาลีบางคน เช่น Franco Catalano และ Giorgio Rochat ได้กล่าวอ้างว่า การบุกครองครั้งนี้เป็นการกระทำของลัทธิจักรวรรดินิยมทางสังคม โดยยืนยันว่า ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ได้ทำลายชื่อเสียงศักดิ์ศรีของมุสโสลินีอย่างรุนแรง และเขาต้องการสงครามกับต่างประเทศเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของประชาชน[95] นักประวัติศาสตร์คนอื่น ๆ เช่น Pietro Pastorelli ได้โต้แย้งว่า การบุกครองครั้งนี้เป็นการเปิดฉากในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการการขยายอาณาเขตเพื่อให้อิตาลีกลายเป็นมหาอำนาจหลักในพื้นที่ทะเลแดงและตะวันออกกลาง[95] มีการตีความทางสายกลางได้ถูกนำเสนอโดยนักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกัน MacGregor Knox ได้กล่าวอ้างว่า สงครามเริ่มต้นด้วยเหตุผลทั้งต่างประเทศและภายในประเทศ โดยทั้งสองอย่างเป็นส่วนหนึ่งของแผนการขยายอาณาเขตระยะยาวของมุสโสลินีและความตั้งใจที่จะทำให้มุสโสลินีได้รับชัยชนะนโยบายต่างประเทศที่ยอมให้เขาผลักดันระบบฟาสซิสต์ไปในทิศทางที่รุนแรงมากขึ้นที่บ้านเกิด[95] กองทัพอิตาลีมีความได้เปรียบเหนือกว่ากองทัพอะบิสซิเนีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอำนาจเหนือน่านฟ้า และในไม่ช้าพวกเขาก็ได้รับชัยชนะ จักรพรรดิฮัยเลอ ซึลลาเซทรงถูกบีบบังคับให้หลบหนีออกนอกประเทศ พร้อมกับอิตาลีได้เข้าสู่อาดดิสอาบาบา ซึ่งเป็นเมืองหลวง เพื่อประกาศว่าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1936 ทำให้เอธิโอเปียกลายเป็นส่วนหนึ่งของแอฟริกาตะวันออกของอิตาลี[96]
ด้วยความมั่นใจว่าจะได้รับการปล่อยมือจากนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส ปีแยร์ ลาวาล และแน่นอนว่าบริติซและฝรั่งเศสจะยอมให้อภัย เพราะการต่อต้านของเขาต่อลัทธิแก้ของฮิตเลอร์ภายในแนวสเตรซา มุสโสลินีได้รับด้วยการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของสันนิบาตชาติอย่างน่ารังเกียจซึ่งถูกบังคับใช้กับอิตาลีโดยความคิดริเริ่มของลอนดอนและปารีส[97] ในมุมมองของมุสโสลินี การเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นการกระทำอย่างน่าไหว้หลังหลอกโดยปกติ ซึ่งดำเนินการโดยการทำลายอำนาจจักรวรรดิซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันการขยายอาณาเขตตามธรรมชาติของประเทศที่มีอายุน้อยกว่าและยากจนดังเช่นอิตาลี[98] อันที่จริง แม้ว่าฝรั่งเศสและบริติซจะเข้ามาก่อตั้งอาณานิคมในแอฟริกาแล้วก็ตาม แต่ลัทธิอาณานิคมในทวีปแอฟริกาได้สิ้นสุดลงเมื่อการเริ่มต้นของศตวรรษที่ยี่สิบ อารมณ์ความรู้สึกระหว่างประเทศตอนนี้ได้ต่อต้านการขยายอาณานิคมและการกระทำของอิตาลีได้ถูกประณาม นอกจากนี้ อิตาลียังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ได้ใช้แก๊สมัสตาร์ดและฟอสจีนในการกำจัดศัตรู และยังใช้เป็นวิธีการที่ไม่อดทนต่อการรบแบบกองโจรของข้าศึกอีกด้วย ซึ่งได้รับการอนุมัติจากมุสโสลินี[96] ระหว่างปี ค.ศ. 1936 และ ค.ศ. 1941 ในช่วงปฏิบัติการเพื่อ"ทำให้สงบ" ต่อเอธิโอเปีย อิตาลีได้ทำการสังหารพลเรือนชาวเอธิโอเปียไปนับแสนคน และมีคาดคะเนว่า ได้ทำการสังหารประมาณ 7% ของประชากรชาวเอธิโอเปียทั้งหมด[99] มุสโสลินีได้ออกคำสั่งให้จอมพล โรดอลโฟ กราซีอานี "ทำการริเริ่มและดำเนินนโยบายอย่างเป็นระบบต่อการก่อการร้าย และการทำลายล้างต่อพวกกบฏและประชากรในการสมรู้ร่วมคิดกับพวกเขา หากปราศจากนโยบายสิบตาต่อหนึ่ง พวกเราคงไม่สามารถรักษาบาดแผลนี้ได้ในเวลาที่เหมาะสม"[100] มุสโสลินีได้ออกคำสั่งเป็นการส่วนตัวแก่กราซีอานีว่า ให้ทำการประหารชีวิตผู้ชายที่มีอายุเกิน 18 ปีทั้งหมดในหนึ่งเมืองและในหนึ่งเขต โดยสั่งว่า "นักโทษ ผู้สมรู้ร่วมคิดของพวกเขา และผู้ที่ต้องสงสัยจะถูกประหารชีวิต" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ "การชำระบัญชีอย่างทีละน้อย ๆ" ของประชากร[100] มีความเชื่อกันว่าคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์เป็นแรงบันดาลใจให้กับชาวเอธิโอเปียลุกขึ้นมาต่อต้าน มุสโสลินีจึงออกคำสั่งให้นักบวชและคณะสงฆ์นิกายออร์ทอดอกซ์กลายเป็นเป้าหมายในการล้างแค้นจากการโจมตีแบบกองโจร[100] มุสโสลินีได้ประกาศใช้กฎหมายดีกรี 880 ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นอาชญากรรมที่มีบทลงโทษด้วยการจำคุกเป็นเวลาห้าปี เนื่องจากมุสโสลินีได้ชี้แจ้งเอาไว้อย่างชัดเจนว่า เขาไม่ต้องการให้ทหารและเจ้าหน้าที่ทางการของเขาในเอธิโอเปียมีเพศสัมพันธ์กับหญิงสาวชาวเอธิโอเปียไม่ว่ากรณีใด ๆ เนื่องจากเขามีความเชื่อว่าความสัมพันธ์หลากเชื้อชาติจะทำให้คนของเขาอาจจะสังหารชาวเอธิโอเปียได้น้อยลง[100] มุสโสลินีโปรดปราณนโยบายที่โหดเหี้ยม ส่วนหนึ่งเพราะเขาเชื่อว่าเอธิโอเปียไม่ใช่ประเทศชาติเพราะคนผิวดำงี่เง่าเกินกว่าจะมีจิตสำนึกความรักชาติ และดังนั้น พวกกองโจรก็เป็นเพียงแค่ "โจร"[101] อีกเหตุผลหนึ่งเพราะมุสโสลินีกำลังวางที่จะนำชาวอาณานิคมอิตาลีจำนวนล้านคนเข้ามายังเอธิโอเปีย และเขามีความจำเป็นจะต้องสังหารประชากรชาวเอธิโอเปียส่วนมากเพื่อให้มีที่ว่างสำหรับชาวอาณานิคมอิตาลีเช่นเดียวกับที่เขาเคยทำในลิเบีย[101]
การคว่ำบาตรอิตาลีได้ถูกใช้โดยมุสโสลินีเพื่อเป็นข้ออ้างในการเป็นพันธมิตรกับเยอรมนี ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1936 มุสโสลินีได้กล่าวกับเอกอัครราชทูตเยอรมนีนามว่า Ulrich von Hassell ว่า: "ถ้าออสเตรียกลายเป็นรัฐบริวารของเยอรมัน ในทางปฏิบัติแล้ว เขาก็จะไม่คัดค้านเลย"[102] โดยยอมรับว่าออสเตรียอยู่ในเขตอิทธิพลของเยอรมัน มุสโสลินีได้ขจัดปัญหาหลักในความสัมพันธ์ระหว่างอิตาลี-เยอรมัน[102]
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1936 ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาออสเตรีย-เยอรมัน ซึ่งออสเตรียได้ประกาศตนเองว่าเป็น "รัฐเยอรมัน" ซึ่งนโยบายต่างประเทศจะสอดคล้องกับเบอร์ลิน และยอมให้พวกสนับสนุนนาซีได้เข้าสู่คณะรัฐมนตรีออสเตรีย[102] มุสโสลินีได้ใช้ความกดดันอย่างหนักกับนายกรัฐมนตรีออสเตรีย ควร์ท ชุชนิค เพื่อลงนามในสนธิสัญญาเพื่อปรับแก้ไขความสัมพันธ์ของเขากับฮิตเลอร์ ภายหลังจากการคว่ำบาตรอิตาลีได้ยุติลงในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1936 ฝรั่งเศสได้พยายามอย่างหนักในการรื้อฟื้นแนวสเตรซา โดยแสดงให้เห็นในสิ่งที่ซัลลิแวนเรียกว่า "เกือบที่จะต้องอัปยศอดสูในการตัดสินใจเพื่อรักษาอิตาลีไว้ในฐานะพันธมิตร" ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1937 บริติชลงนามใน"ข้อตกลงสุภาพบุรุษ"กับมุสโสลินีโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะจำกัดการแทรกแซงของอิตาลีในสเปน และถูกมองโดยสำนักงานต่างประเทศของบริติชว่าเป็นก้าวแรกสู่การสร้างพันธมิตรระหว่างอังกฤษ-อิตาลี ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1938 บริติชและอิตาลีได้ลงนามข้อตกลงอีสเตอร์ ซึ่งบริติชให้คำมั่นสัญญาว่าจะยอมรับว่าชาวเอธิโอเปียเป็นชาวอิตาลีเป็นข้อแลกเปลี่ยนสำหรับอิตาลีทำการถอนตัวออกจากสงครามกลางเมืองสเปน สำนักงานต่างประเทศเข้าใจว่า สงครามกลางเมืองสเปนนั่นที่จะดึงดูดโรมและเบอร์ลินให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น และเชื่อว่าหากมุสโสลินีสามารถชักจูงให้ถอนตัวจากสเปนได้ จากนั้นเขาก็จะกลับมาอยู่ข้างฝ่ายพันธมิตร เพื่อที่จะนำมุสโสลินีออกจากสเปน บริติชพร้อมที่จะจ่ายราคาดังกล่าว เช่น การยอมรับพระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 เป็นจักรพรรดิแห่งเอธิโอเปีย นักประวัติศาตร์ชาวอเมริกันนามว่า แบร์รี ซัลลิแวน ได้เขียนว่า ทั้งบริติชและฝรั่งเศสต้องการอย่างมากในการทอดไมตรีกับอิตาลีเพื่อแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการคว่ำบาตรของสันนิบาตชาติ และกล่าวว่า "มุสโสลินีเลือกที่จะเป็นพันธมิตรกับฮิตเลอร์ มากกว่าที่จะถูกบีบบังคับ..."
สะท้อนถึงนโยบายต่างประเทศที่สนับสนุนเยอรมนีครั้งใหม่ เมื่อ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1936, มุสโสลินีได้ตกลงที่จะจัดตั้งอักษะ โรม-เบอร์ลิน ซึ่งได้รับการอนุมัติโดยข้อตกลงความร่วมมือกับนาซีเยอรมนีและลงนามในกรุงเบอร์ลิน นอกจากนี้ การพิชิตเอธิโอเปียนั้นได้สูญเสียชีวิตชาวอิตาลีจำนวน 12,000 คน และจำนวนอีก 4,000 ถึง 5,000 คน ที่เป็นชาวลิเบีย ชาวเอริเทรีย และชาวโซมาลิสซึ่งต่อสู้รบในการประจำการของอิตาลี[103] มุสโสลินีเชื่อว่าการพิชิตเอธิโอเปียจะมีค่าใช้จ่ายจำนวน 4 ถึง 6 พันล้านลีเล่ แต่ต้นทุนที่แท้จริงของการบุกครองซึ่งปรากฏให้เห็นเป็นจำนวนเงิน 33.5 พันล้านลีเล่.[103] ต้นทุนทางเศรษฐกิจของการพิชิตได้ปรากฏว่า อิตาลีต้องใช้จ่ายงบประมาณอย่างท่วมท้น และทำให้ความพยายามอย่างจริงจังของอิตาลีในการปรับปรุงกองทัพให้มีความทันสมัยต้องช้าลง เนื่องจากเงินงบประมาณที่มุสโสลินีได้จัดสรรไว้สำหรับความทันสมัยทางการทหารกลับถูกนำไปใช้สำหรับการพิชิตเอธิโอเปีย บางอย่างที่ได้ช่วยให้ผลักดันมุสโสลินีไปยังเยอรมนี[104] เพื่อช่วยปกปิดก้อนหนึ้มหาศาลที่กำลังประสบอยู่ในช่วงสงครามเอธิโอเปีย มุสโสลินีได้ลดค่าเงินลีเล่ลง 40% ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1936[103] นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในการยึดครองเอธิโอเปียทำให้กองคลังอิตาลีต้องสูญเสียเงินไปอีก 21.1 พันล้านลีเล่ ระหว่างปี ค.ศ. 1936 และ ค.ศ. 1940[103] มีส่วนเพิ่มเติมคือ อิตาลีต้องสูญเสียทหารจำนวน 4,000 นาย ซึ่งเสียชีวิตในการรบจากสงครามกลางเมืองสเปน ในขณะที่การเข้าแทรกแซงของอิตาลีในสเปนทำให้อิตาลีต้องเสียค่าใช้จ่ายไปอีก 12 ถึง 14 พันล้านลีเล่ ในปี ค.ศ. 1938 และ ค.ศ. 1939 รัฐบาลอิตาลีได้เก็บภาษีเป็นจำนวนเงิน 39.9 พันล้านลีเล่ ในขณะที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติของอิตาลีทั้งหมดมีมูลค่า 153 พันล้านลีเล่ ซึ่งหมายความว่าสงครามเอธิโอเปียและสเปนได้ทำให้เกิดความเสียหายที่จะทำให้เศรษฐกิจของอิตาลีทรุดโทรมลง[103] มีเพียง 28% ของงบประมาณทางการทหารทั้งหมดของอิตาลี ระหว่างปี ค.ศ. 1934 และ ค.ศ. 1939 ได้ถูกนำไปใช้ในการปรับปรุงกองทัพให้มีความทันสมัย ส่วนที่เหลือทั้งหมดถูกนำไปใช้โดยสงครามของมุสโสลินี ซึ่งนำไปสู่อำนาจทางการทหารของอิตาลีลดลงอย่างรวดเร็ว[105] ระหว่างปี ค.ศ. 1935 และ ค.ศ. 1939 สงครามของมุสโสลินีทำให้อิตาลีต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นมูลค่าถึง 500 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน ค.ศ. 1999 ซึ่งเป็นผลรวมที่เป็นสัดส่วนยิ่งเป็นภาระมากยิ่งขึ้น เนื่องจากอิตาลีเป็นประเทศที่ยากจนเช่นนี้[103] ช่วงทศวรรษ ค.ศ. 1930 เป็นช่วงเวลาแห่งความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในด้านเทคโนโลยีทางทหาร และซัลลิแวนได้เขียนว่า มุสโสลินีได้เลือกผิดเวลาในการต่อสู้ของเขาในสงครามเอธิโอเปียและสเปน[103] ในเวลาเดียวกันกับกองทัพอิตาลีกำลังตกอยู่ภายใต้มหาอำนาจอื่น ๆ การแข่งขันเสริมสร้างอาวุธอย่างเต็มรูปแบบได้ปะทุขึ้น โดยเยอรมนี บริติช และฝรั่งเศส ซึ่งต้องใช้จ่ายเงินงบประมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ ในกองทัพของพวกเขา เมื่อช่วงทศวรรษ ค.ศ. 1930 กำลังก้าวหน้า สถานการณ์ที่มุสโสลินีได้ยอมรับเป็นการส่วนตัวว่า ขีดจำกัดอย่างหนักหน่วงต่อความสามารถของอิตาลีในการสู้รบในสงครามครั้งใหญ่ด้วยตัวเองนั้น และด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องมีมหาอำนาจที่เป็นพันธมิตรเพื่อทดแทนความล้าหลังของกองทัพอิตาลีที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น[106]
ตั้งแต่ ค.ศ. 1936 ถึง ค.ศ. 1939 มุสโสลินีได้ให้การสนับสนุนทางทหารจำนวนมากมายแก่กลุ่มแห่งชาติในสงครามกลางเมืองสเปน การเข้าแทรกแซงอย่างแข็งขันในฝ่ายฟรังโกทำให้อิตาลีต้องตีตัวออกห่างจากฝรั่งเศสและบริติซมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างมุสโสลินีกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์จึงใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น และเขาเลือกที่จะยอมรับการผนวกออสเตรียของเยอรมันใน ค.ศ. 1938 ตามมาด้วยการแบ่งแยกดินแดนเชโกสโลวาเกียใน ค.ศ. 1939 ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1938 ในช่วงระหว่างการมาเยือนอิตาลีของฮิตเลอร์ มุสโสลินีได้บอกกับฟือเรอ์ว่าอิตาลีและฝรั่งเศสเป็นศัตรูตัวฉกาจที่ต้องสู้รบกันบน"ด้านตรงข้ามของรั้วแนวกั้น" ที่เกี่ยวข้องกับสงครามกลางเมืองสเปน และแนวสเตรซานั่น"ได้ตายและถูกฝังเสียแล้ว"[107] ในการประชุมมิวนิก ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1938 มุสโสลินียังคงวางท่าทางในการดำเนินวางตัวเป็นกลางเพื่อสันติภาพยุโรป ในขณะที่ได้ช่วยเหลือนาซีเยอรมนีทำการผนวกซูเดเทินลันท์ ข้อตกลงอักษะกับเยอรมันใน ค.ศ. 1936 ซึ่งมีความเข้มแข็งมากขึ้นโดยการลงนามกติกาสัญญาเหล็ก เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1939 ซึ่งได้เชื่อมโยงระหว่างฟาสซิสต์อิตาลีและนาซีเยอรมนีเข้าด้วยกันในพันธมิตรทางทหารอย่างเต็มรูปแบบ
สมาชิกของทีไอจีอาร์ กลุ่มพลพรรคชาวสโลวีเนีย ได้วางแผนที่จะสังหารมุสโสลินีในโคบาริด แต่ความพยายามของพวกเขาไม่ประสบความสำเร็จ
ในช่วงปลาย ค.ศ. 1930 ความหลงใหลในประชากรศาสตร์ของมุสโสลินีทำให้เขาได้สรุปว่าบริติชและฝรั่งเศสได้สูญสิ้นอำนาจแล้ว และเยอรมนีและอิตาลีจะกำหนดให้ปกครองยุโรปโดยปราศจากเหตุผลอื่น ๆ ใด นอกจากความแข็งแกร่งทางประชากรของพวกเขา[108] มุสโสลินีได้ยืนยันความเชื่อของเขาว่าอัตราการเกิดที่กำลังลดลงในฝรั่งเศสนั้น"น่ากลัวอย่างแท้จริง" และจักวรรดิบริติชถึงคราวเคราะห์เพราะหนึ่งในสี่ของประชากรบริติชมากกว่าห้าสิบ[108] ด้วยเหจุนี้ มุสโสลินีจึงเชื่อว่าการเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีดีกว่าการเป็นแนวร่วมกับบริติชและฝรั่งเศส เนื่องจากสมควรที่จะเป็นพันธมิตรกับฝ่ายที่เข้มแข็งมากกว่าฝ่ายที่อ่อนแอ.[109] มุสโสลินีได้มองเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นการต่อสู้ทางสัมคมแบบดาร์วิน ระหว่างประเทศที่ "แข็งแกร่ง" กับอัตราการเกิดที่สูงซึ่งถูกกำหนดให้ทำลายประเทศที่ "อ่อนแอ" กับอัตราการเกิดที่ต่ำ มุสโสลินีเชื่อว่าฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ "อ่อนแอและแก่" เนื่องจากอัตราการตายรายสัปดาห์ของฝรั่งเศสเกินกว่าอัตราการเกิดอยู่ที่ 2,000 คน และเขาไม่สนใจที่จะเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส.[110]
นั่นคือขนาดของความเชื่อของมุสโสลินีว่าเป็นโชคชะตาของอิตาลีที่จะปกครองทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เนื่องจากอัตราการเกิดของอิตาลีนั่นสูง เมื่อเขาได้ละเลยการวางแผนอย่างจริงจังไปมากและการเตรียมการที่จำเป็นสำหรับการทำสงครามกับมหาอำนาจตะวันตก ข้อโต้แย้งเพียงข้อเดียวที่ทำให้มุสโสลินีไม่ได้เป็นแนวร่วมเดียวกับเบอร์ลินอย่างเต็มตัวคือการตระหนักรู้ถึงความไม่พร้อมทางเศรษฐกิจและการทหารของอิตาลี ซึ่งหมายความว่า เขาจะต้องใช้เวลาเพิ่มเติมในการฟื้นฟูกองทัพ และความต้องการของเขาที่จะใช้ข้อตกลงอีสเตอร์ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1938 เพื่อที่จะแยกบริติชออกห่างจากฝรั่งเศส การเป็นพันธมิตรทางทหารกับเยอรมนีซึ่งตรงข้ามกับพันธมิตรทางการเมืองที่ดูหละหลวมกว่าที่มีอยู่แล้วกับไรช์ภายใต้กติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น(ซึ่งไม่มีข้อผูกมัดทางทหาร) น่าจะยุติโอกาสใด ๆ ของบริติชในการบรรลุผลของข้อตกลงอีสเตอร์ ข้อตกลงอีสเตอร์มีจุดมุ่งหมายโดยมุสโสลินีเพื่อยอมให้อิตาลีเข้าจัดการฝรั่งเศสโดยลำงโดยแก้ไขความสัมพันธ์ระหว่างบริติช-อิตาลีอย่างเพียงพอ เมื่อลอนดอนน่าจะยังคงวางตัวเป็นกลางในกรณีที่เกิดสงครามฝรั่งเศส-อิตาลี(มุสโสลินีได้ร่างออกแบบจักรวรรดิต่อตูนีเซีย และบางครั้งก็ได้รับการสนับสนุนในประเทศนั้น) ในทางกลับกัน ข้อตกลงอีสเตอร์มีจุดมุ่งหมายโดยบริติซที่จะทำให้อิตาลีออกห่างจากเยอรมนี
เคานต์ กาลีซโซ ชิอาโน ลูกเขยของมุสโสลินีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ได้สรุปวัตถุประสงค์นโยบายต่างประเทศของระบอบเผด็จการเกี่ยวกับฝรั่งเศส ซึ่งบันทึกลงในอนุทินประจำวันของเขา เมื่อวัน 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938: จิบูตีน่าจะได้ปกครองร่วมกับฝรั่งเศส "ตูนีเซียที่มีระบอบการปกครองที่คล้ายคลึงกันไม่มากก็น้อย คอร์ซิกา เป็นของอิตาลีและไม่เคยเป็นของฝรั่งเศส และดังนั้นภายใต้การควบคุมโดยตรงของเรา ชายแดนที่แม่น้ำวาร์" สำหรับซาวอย ซึ่งไม่ได้เป็น"ทางประวัติศาสตร์หรือทางภูมิศาสตร์ของอิตาลี" มุสโสลินีได้กล่าวอ้างว่าเขาแทบไม่สนใจมันเลย เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938 มุสโสลินีได้เชิญเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส André François-Poncet เพื่อเข้าร่วมการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฏรอิตาลี ในช่วงระหว่างที่สมาชิกผู้แทนได้รวมตัวกันตามคิวของเขา เริ่มแสดงด้วยการตะโกนเสียงอย่างกึกก้องต่อฝรั่งเศสว่า อิตาลีสมควรที่จะผนวก"ตูนิส นิส คอร์ซิกา ซาวอย" ซึ่งตามมาด้วยสมาชิกผู้แทนได้เดินขบวนไปตามถนนพร้อมกับชูถือป้ายเรียกร้องให้ฝรั่งเศสส่งมอบดินแดนตูนีเซีย ซาวอย และคอร์ซิกาให้แก่อิตาลี นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส เอดัวร์ เอรโอต์ ได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องของอิตาลีเรื่องการส่งมอบดินแดนโดยทันที และส่วนใหญ่ในช่วงฤดูหนาว ค.ศ. 1938-39 ฝรั่งเศสและอิตาลีเกือบที่จะทำสงคราม
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1939 นายกรัฐมนตรีบริติช เนวิล เชมเบอร์ลิน ได้มาเยือนกรุงโรม ในช่วงระหว่างการมาเยือน มุสโสลินีได้เรียนรู้ว่า แม้แต่บริติชต้องการมีความสัมพันธ์อันดีกับอิตาลีอย่างมาก และเตรียมความพร้อมที่จะทำข้อตกลงยินยอม ซึ่งจะไม่ตัดขาดความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสทั้งหมดเพื่อคิดถึงผลประโยชน์ของความสัมพันธ์บริติช-อิตาลีที่ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ มุสโสลินีมีความสนใจมากขึ้นในข้อเสนอของเยอรมันในการเป็นพันธมิตรทางทหาร ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1938 ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1939 มุสโสลินีได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้าสภาใหญ่แห่งฟาสซิสต์ ในช่วงระหว่างที่เขาได้ประกาศถึงความเชื่อของตนว่า อำนาจของรัฐคือ "ได้สัดส่วนกับตำแหน่งทางทะเล" และอิตาลีเป็น"นักโทษในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอิตาลียิ่งมีจำนวนประชากรและทรงอำนาจมากเท่าไหร่ นักโทษเหล่านั้นก็จะต้องทนทุกข์ทรมาณจากการถูกจองจำมากขึ้นเท่านั้น รั้วกั้นของเรือนจำแห่งนี้คือคอร์ซิกา ตูนีเซีย มอลตา ไซปรัส: ผู้คุมเรือนจำแห่งนี้คือยิบรอลตาร์และคลองสุเอซ"
แนวทางใหม่นี้โดยปราศจากเสียงวิจารณ์ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1939 ในช่วงการประชุมที่สภาใหญ่แห่งฟาสซิสต์ อิตาโล บัลโบได้กล่าวหามุสโสลินีว่าเป็น"การเลียรองเท้าบูทของฮิตเลอร์" ได้ทำลายนโยบายต่างประเทศที่ให้การสนับสนุนเยอรมนีของดูเชซึ่งเป็นการนำพาอิตาลีไปสู่หายนะ และเป็นที่สะดุดตาถึง "การเปิดช่องทางเข้าหาบริติช" ยังคงมีอยู่ และไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ว่าอิตาลีจะต้องมาเป็นพันธมิตรกับเยอรมนี[111] แม้ว่าเจอราชิ(เจ้าหน้าที่ระดับสูงของฟาสซิสต์) หลายคน เช่น บัลโบ จะไม่กระตือรือร้นต่อความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเบอร์ลิน การควบคุมเครื่องกลไลของนโยบายต่างประเทศของมุสโสลินีซึ่งหมายความว่าความขัดแย้งนี้นับได้เพียงเล็กน้อย[111] มุสโสลินีมีตำแหน่งผู้นำภายในพรรคฟาสซิสต์ แต่เขาไม่ได้ครอบงำเอาไว้ทั้งหมด ในขณะที่การโจมตีกล่าวหาของบัลโบต่อมุสโสลินีว่า เป็น"การเลียรองเท้าบูทของฮิตเลอร์" และข้อเรียกร้องของเขาคือ "การเปิดช่องทางเข้าหาบริติช" ได้ถูกติดตามในที่ประชุมสภาใหญ่แห่งฟาสซิสต์ร่วมกับสิ่งที่นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกนามว่า Aristotle Kallis ได้กล่าวว่า การแสดงตอบโต้อย่าง"ค่อนข้างจำกัด"ของมุสโสลินี—พรรคนาซีไม่มีอะไรมาเทียบเท่าสภาใหญ่แห่งฟาสซิสต์และมันเป็นความน่าเหลือเชื่อว่าหนึ่งในเกาไลเทอร์ของฮิตเลอร์จะโจมตีเขาในลักษณะเดียวกันกับเจอราชิอย่างบัลโบที่กล่าววิพากษ์วิจารณ์มุสโสลินี[111] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1939 มุสโสลินีได้ออกคำสั่งให้อิตาลีบุกครองแอลเบเนีย อิตาลีสามารถเอาชนะแอลเบเนียได้ภายในห้าวัน ได้บีบบังคับให้พระเจ้าซ็อกที่ 1 ทรงลี้ภัยออกนอกประเทศและจัดตั้งช่วงเวลาของแอลเบเนียภายใต้การปกครองของอิตาลี จนถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1939 ฝ่ายอักษะยังไม่ได้เป็นอย่างทางการทั้งหมด แต่ในช่วงเดือนนั้น กติกาสัญญาเหล็กได้ถูกลงนามโดยสรุปใจความว่า "มิตรภาพและการเป็นพันธมิตรกัน" ระหว่างเยอรมนีและอิตาลี ซึ่งถูกลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของแต่ละฝ่าย[112] กติกาสัญญาเหล็กเป็นพันธมิตรทางทหารแบบเชิงรุกและเชิงป้องกัน แม้ว่ามุสโสลินีจะลงนามในสนธิสัญญาก็ต่อเมื่อได้รับคำมั่นสัญญาจากฝ่ายเยอรมันว่าจะไม่มีสงครามในอีกสามปีข้างหน้า พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 แห่งอิตาลีทรงระมัดระวังในกติกาสัญญาฉบับนี้ โดยทรงให้การสนับสนุนพันธมิตรเดิมของอิตาลีอย่างฝรั่งเศส และทรงเกรงกลัวต่อผลกระทบของพันธมิตรทางทหารแบบก้าวร้าว ซึ่งหมายความว่าการจำนนต่อการควบคุมเหนือคำถามของสงครามและสันติภาพต่อฮิตเลอร์[113]
ฮิตเลอร์มีความตั้งใจที่จะบุกครองโปแลนด์ แม้ว่าชิอาโนจะกล่าวเตือนว่าการกระทำเหล่านี้จะนำไปสู่การทำสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร ฮิตเลอร์ได้ปฏิเสธความคิดเห็นของชิอาโน โดยคาดการณ์ล่วงหน้าเอาไว้แล้วว่า บริติชและประเทศตะวันตกจะยอมถอยออกไป และเขาได้ให้ข้อเสนอว่า อิตาลีควรจะทำการบุกครองยูโกสลาเวีย[114] ข้อเสนอนี้กลับดึงดูดใจต่อมุสโสลินี แต่ในช่วงเวลาของสงครามโลกกลายเป็นความหายนะสำหรับอิตาลี เนื่องจากสถานการณ์ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์จากก่อตั้งจักรวรรดิอิตาลีนั้นยังดูเบาบางเกินไป ที่สำคัญมากกว่านั้น พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 ทรงมีพระราชประสงค์ต่อการวางตัวเป็นกลางในข้อพิพาท[114] ดังนั้น เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองในยุโรปได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 ด้วยการบุกครองโปแลนด์ของเยอรมันทำให้เกิดการตอบโต้ของสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสด้วยการประกาศสงครามกับเยอรมนี อิตาลียังไม่ได้เข้าไปพัวพันในความขัดแย้งครั้งนี้[114] อย่างไรก็ตาม เมื่อเยอรมันได้กักขังเหล่าศาสตราจารย์จำนวน 183 คนจากมหาวิทยาลันจากีลโลเนียนในเมืองกรากุฟ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1939 มุสโสลินีได้เข้าแทรกแซงเป็นการส่วนตัวกับฮิตเลอร์เพื่อต่อต้านการกระทำครั้งนี้ ซึ่งนำไปสู่การปลดปล่อยชาวโปแลนด์จำนวน 101 คน[115]
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองได้เริ่มต้นขึ้น ชิอาโนและไวเคานต์ฮาลิแฟกซ์กำลังสนทนาทางโทรศัพท์อย่างลับ ๆ บริติชต้องการให้อิตาลีเข้าข้างฝ่ายพวกตนในการต่อต้านเยอรมนีดังเช่นในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่รัฐบาลฝรั่งเศสกลับมีความคิดเห็นในการพุ่งเป้าโจมตีอิตาลีมากยิ่งขึ้น เนื่องจากพวกเขาอยากจะเข้าโจมตีอิตาลีในลิเบีย ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 ฝรั่งเศสได้ทำการเหวี่ยงฝ่ายตรงข้ามอย่างรุนแรง โดยเสนอในการหารือปัญหาต่าง ๆ กับอิตาลี แต่ฝรั่งเศสยังไม่เต็มใจที่จะหารือเกี่ยวกับดินแดนจากคอร์ซิกา นิส และซาวอย มุสโสลินียังไม่ได้ให้คำตอบ[114] ปลัดกระทรวงการผลิตสงครามของมุสโสลินี Carlo Favagrossa ได้ประเมินคาดการณ์ว่าอิตาลียังไม่พร้อมสำหรับปฏิบัติการทางทหารครั้งใหญ่จนถึง ค.ศ. 1942 เนื่องจากเขตภาคอุตสาหรรมที่ค่อนข้างอ่อนแอเมื่อเปรียบเทียบกับยุโรปตะวันตก[116] ในปลายเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1939 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้ประกาศว่า: "ตราบใดที่ดูเชยังมีชีวิตอยู่ เราได้วางใจว่า อิตาลีจะโฉบฉวยทุกโอกาศเพื่อบรรลุเป้าหมายจักรวรรดินิยม"[114]
ด้วยความเชื่อมั่นว่าสงครามใกล้จะยุติลงในไม่ช้า ด้วยชัยชนะของเยอรมนีที่กำลังมองเห็นไปถึงจุดนั้น มุสโสลินีจึงตัดสินใจที่จะเข้าสู่สงครามกับฝ่ายอักษะ ดังนั้น อิตาลีจึงประกาศสงครามกับบริติชและฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1940 มุสโสลินีได้ถือว่าการทำสงครามกับบริติชและฝรั่งเศสเป็นการต่อสู้การเอาชีวิตรอดระหว่างอุดมการณ์ที่เป็นปฏิปักษ์—ลัทธิฟาสซิสต์และ"ระบอบประชาธิปไตยแบบพวกเศรษฐีทรงอำนาจและกลุ่มปฏิกิริยาของตะวันตก"—ได้อธิบายถึงสงครามครั้งนี้ว่า "เป็นการต่อสู้ของผู้คนวัยหนุ่มสาวและเจริญพันธุ์กับคนที่เป็นหมันที่กำลังเคลื่อนที่ไปยังตะวันตกดิน มันเป็นการต่อสู้ระหว่างสองศตวรรษและสองแนวคิด" และ "การพัฒนาเชิงตรรกะของการปฏิวัติของเรา"[117]
อิตาลีได้เข้าร่วมกับเยอรมันในยุทธการที่ฝรั่งเศส ต่อสู้รบกับแนวป้อมปราการบนเทือกเขาแอลป์ในบริเวณชายแดน สิบเอ็ดวันต่อมา ฝรั่งเศสและเยอรมนีได้ลงนามการสงบศึก รวมทั้งการควบคุมฝรั่งเศสของอิตาลีซึ่งส่วนใหญ่ของเมืองนิส และมณฑลทางตะวันอกเฉียงใต้อื่น ๆ[118] มุสโสลินีได้วางแผนที่รวบรวมกองทัพอิตาลีเพื่อเข้าโจมตีครั้งใหญ่ต่อจักรวรรดิบริตชในแอฟริกาและตะวันออกกลาง เป็นที่รู้จักกันคือ "สงครามคู่ขนาน" โดยคาดกาณณ์ว่า บริติชกำลังจะล่มสลายในเขตสงครามยุโรป อิตาลีเข้ารุกรานอียิปต์และการทิ้งระเบิดปาเลสไตน์ในอาณัติ และเข้าโจมตีบริติชในดินแดนอาณานิคมอย่างซูดาน เคนยา และบริติชโซมาลิแลนด์ (ในสิ่งที่จะกลายเป็นที่รู้จักกันคือ การทัพแอฟริกาตะวันออก)[119] บริติชโซมาลิแลนด์ถูกพิชิตและกลายเป็นส่วนหนึ่งของแอฟริกาตะวันออกของอิตาลี เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1940 และจากนั้นอิตาลีก็เข้ารุกคืบในซูดานและเคนยาด้วยความสำเร็จช่วงแรก[120] รัฐบาลบริติชปฏิเสธที่จะยอมรับข้อเสนอเพื่อสันติภาพที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับชัยชนะของฝ่ายอักษะในยุโรป แผนการสำหรับการบุกครองสหราชอาณาจักรยังไม่คืบหน้าและสงครามก็ยังคงดำเนินต่อไป
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1940 กองทัพที่สิบของอิตาลีซึ่งถูกบัญชาการโดยนายพล โรดอลโฟ กราซีอานี และก้าวข้ามจากอิตาเลียนลิเบียไปยังอียิปต์ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองทัพบริติช สิ่งนี้จะกลายเป็นการทัพทะเลทรายตะวันตก การรุกได้ประสบความสำเร็จ แต่อิตาลีต้องหยุดชะงักลงที่ Sidi Barrani เพื่อรอคอยระบบโลจิสติกส์ในการขนส่งเสบียงตามมาให้ทัน เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1940 มุสโสลินีได้ส่งกองบินอิตาเลียนไปยังเบลเยียม ซึ่งได้เข้าร่วมในเดอะบลิตซ์จนถึงเดือนมกราคม ค.ศ. 1941[121] ในเดือนตุลาคม มุสโสลินีได้ส่งกองทัพอิตาลีเข้าไปยังกรีซ โดยการเริ่มต้นสงครามกรีซ-อิตาลี กองทัพอากาศหลวงของบริติชได้เข้าขัดขวางการบุกครองของอิตลีและยอมให้กรีซทำการผลักดันอิตาลีให้กลับไปยังแอลเบเนีย แต่การรุกตอบโต้กลับกรีซในอิตาเลียนแอลเบเนียได้ยุติลงด้วยหนทางตัน[122]
เหตุการณ์ในแอฟริกาได้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อต้นปี ค.ศ. 1941 ในปฏิบัติการเข็มทิศได้บีบบังคับให้อิตาลีล่าถอยกลับไปยังลิเบีย ทำให้เกิดความสูญเสียอย่างหนักต่อกองทัพบกอิตาลี[123] นอกจากนี้ในการทัพแอฟริกาตะวันออก การโจมตีได้เกิดขึ้นกับกองทัพอิตาลี แม้จะถูกต่อต้านบ้าง แต่พวกเขาก็ถูกกดดันอย่างหนักในยุทธการที่เคเรน และการป้องกันของอิตาลีเริ่มที่จะพังทลายลงด้วยความปราชัยครั้งสุดท้ายในยุทธการที่กอนดาร์ ในการกล่าวปราศัยต่อสาธารณชนชาวอิตาลีเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว มุสโสลินีได้เปิดเผยอย่างเต็มที่เกี่ยวกับสถานการณ์ โดยกล่าวว่า "เราเรียกขนมปังก็ขนมปัง ไวน์ก็คือไวน์ และเมื่อข้าศึกได้รับชัยชนะการรบ มันไร้ประโยชน์และน่าขบขันในการแสวงหา เนื่องจากชาวบริติซกระทำในหน้าซื่อใจคด เพื่อที่จะปฏิเสธหรือลดทอนลง"[124] ส่วนหนึ่งของความคิดเห็นของเขาเกี่ยวข้องกับความสำเร็จก่อนหน้านี้ที่อิตาลีมีในแอฟริกา ก่อนที่จะพบกับความพ่ายแพ้ให้กับฝ่ายสัมพันธมิตรในภายหลัง ด้วยความเสี่ยงอันตรายจากการสูญเสียการควบคุมดินแดนทั้งหมดของอิตาลีในแอฟริกาเหนือ จนในที่สุด เยอรมนีจึงส่งกองทัพน้อยแอฟริกาไปให้การสนับสนุนแก่อิตาลี ในขณะเดียวกัน ปฏิบัติการมาริต้าจึงเกิดขึ้นในยูโกสลาเวียเพื่อยุติสงครามกรีซ-อิตาลี ส่งผลทำให้ฝ่ายอักษะได้รับชัยชนะและเข้ายึดครองกรีซโดยอิตาลีและเยอรมนี[ต้องการอ้างอิง] ด้วยการบุกครองยูโกสลาเวียและคาบสมุทรบอลข่านของฝ่ายอักษะ อิตาลีได้ผนวกรวมเข้ากับลูบลิยานา แดลเมเชีย และมอนเตเนโกร และก่อตั้งรัฐหุ่นเชิดแห่งโครเอเชียและรัฐเฮลเลนิก
นายพล Mario Robotti ผู้บัญชาการแห่งกองทัพอิตาลีที่ 11 ในสโลวีเนียและโครเอเชีย ได้ออกคำสั่งที่ได้รับมาโดยตรงจากมุสโสลินีในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1942: "ข้าพเจ้าไม่ขัดแย้งกับชาวสโลวีเนียทั้งหมด(ซิก) ซึ่งถูกกักขังและถูกแทนที่โดยชาวอิตาลี กล่าวอีกนัยคือ เราควรดำเนินการเพื่อให้การรับรองว่า เขตพรมแดนทางการเมืองและชาติพันธุ์นั้นตรงกัน"[125]
มุสโสลินีได้เรียนรู้เกี่ยวกับปฏิบัติการบาร์บาร็อสซาเป็นครั้งแรก ภายหลังจากการบุกครองสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 และฮิตเลอร์ไม่ได้ขอให้เขามีส่วนร่วมด้วย[126] มุสโสลินีได้ริเริ่มในการออกคำสั่งให้กองทัพน้อยแห่งกองทัพบกอิตาลีมุ่งหน้าสู่แนวรบด้านตะวันออก ซึ่งเขาคาดหวังว่าอิตาลีอาจได้รับชัยชนะมาอย่างง่ายดายเพื่อฟื้นฟูความรุ่งโรจน์ของระบอบฟาสซิสต์ ซึ่งได้รับความเสียหายจากความพ่ายแพ้ในกรีซและแอฟริกาเหนือ[ต้องการอ้างอิง] เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1941 เขาได้ตรวจสอบหน่วยรบเป็นครั้งแรกที่เมืองเวโรนา ซึ่งถูกใช้เป็นฐานยิงขีปนาวุธเข้าใส่รัสเซีย[127] มุสโสลินีได้บอกแก่คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ว่าสิ่งที่เขากังวลเพียงอย่างเดียวคือ เยอรมนีอาจจะเอาชนะโซเวียตได้ก่อนที่อิตาลีจะไปถึง[128] ในการเข้าพบกับฮิตเลอร์ในเดือนสิงหาคม มุสโสลินีได้เสนอแนะและฮิตเลอร์ก็ยอมรับในการส่งทหารชาวอิตาลีเพิ่มเติมในการสู้รบกับสหภาพโซเวียต[129] อิตาลีได้รับความสูญเสียอย่างหนักในแนวรบด้านตะวันออก ซึ่งการรบในครั้งนี้ไม่เป็นที่นิยมอย่างมากมาย เนื่องจากมุมมองอย่างกว้างขวางว่า นี่ไม่ใช่การสู้รบของอิตาลี ซึ่งได้ทำลายศักดิ์ศรีของมุสโสลินีกับประชาชนชนชาวอิตาลี[129] ภายหลังจากการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ของญี่ปุ่น เขาได้ประกาศสงครามกับสหรัฐ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1941[130][131] หลักฐานชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับการตอบสนองของมุสโสลินีต่อการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์มาจากอนุทินของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศอย่างชิอาโน:
โทรศัพท์ช่วงตอนกลางคืนจากริบเบินทร็อพ. เขาเกิดความดีใจอย่างสุด ๆ เกี่ยวกับญี่ปุ่นโจมตีต่ออเมริกา. เขาดูมีความสุขอย่างมากซะจนข้าพเจ้ามีความสุขไปกับเขาด้วย แม้ว่าข้าพเจ้าจะไม่ค่อยแน่ใจถึงผลประโยชน์ช่วงสุดท้ายในสิ่งที่จะเกิดขึ้น. สิ่งหนึ่งที่มั่นใจแล้วในตอนนี้ อเมริกาจะเข้าสู่ความขัดแย้งและความขัดแย้งครั้งจะกินเวลายาวนานจนเธอสามารถรับรู้ถึงอำนาจที่อาจเป็นไปได้ทั้งหมดของเธอ ช่วงเช้านี้ ข้าพเจ้าได้ทูลเรื่องนี้ต่อกษัตริย์ซึ่งทรงพอพระทัยต่อเหตุการณ์นี้. พระองค์ลงเอยด้วยการยอมรับว่าในระยะยาว ข้าพเจ้าอาจะพูดถูก มุสโสลินีก็มีความสุขเช่นกัน เป็นเวลามายาวนานแล้วที่เขาโปรดปราณการอธิบายที่ดูชัดเจนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอเมริกาและฝ่ายอักษะ[132]
ภายหลังจากการล่มสลายของวิชีฝรั่งเศสและกรณีอันตอน อิตาลีเข้ายึดครองดินแดนฝรั่งเศสอย่างคอร์ซิกา และตูนีเซีย กองทัพอิตาลียังได้รับชัยชนะจากผู้ก่อการกำเริบในยูโกสลาเวียและในมอนเตเนโกร และกองทัพอิตาลี-เยอรมันได้เข้ายึดครองพื้นที่บางส่วนของอียิปต์ซึ่งบริติชถือครองเพื่อพลักดันให้ไปยังอัลอะละมัยน์ ภายหลังจากที่พวกเขาได้รับชัยชนะที่กาซาลา
แม้ว่ามุสโสลินีจะตระหนักดีว่า ทรัพยากรของอิตาลีกำลังลดน้อยลงจากการทัพใน ค.ศ. 1930 นั้นไม่พร้อมสำหรับการทำสงครามระยะยาว เขาเลือกที่จะคงอยู่ในความขัดแย้งโดยไม่ละทิ้งดินแดนที่ยึดครองมาได้และความทะเยอทะยานของจักรวรรดิฟาสซิสต์[133]
ใน ค.ศ. 1943 ตำแหน่งทางการทหารของอิตาลีไม่สามารถป้องกันได้ กองทัพฝ่ายอักษะในแอฟริกาเหนือซึ่งท้ายที่สุดก็ต้องพ่ายแพ้ในการทัพตูนีเซียในช่วงต้น ค.ศ. 1943 อิตาลีก็ประสบความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่บนแนวรบด้านตะวันออกเช่นกัน การบุกครองเกาะซิซิลีของฝ่ายสัมพันธมิตรได้นำพาสงครามเข้าใกล้กับหน้าประตูบ้านของประเทศมากยิ่งขึ้น[134] แนวรบบนบ้านเกิดอิตาลียังอยู่ในสภาพที่ไม่ดี เนื่องจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรทำให้ได้รับความเสียหาย โรงงานอุตสาหกรรมทั่วทั้งอิตาลีต้องหยุดชะงักลงเกือบทั้งหมดเพราะวัตถุดิบ เช่น ถ่านหินและน้ำมัน นั้นเกิดภาวะขาดแคลน นอกจากนี้ อาหารก็ยังเกิดภาวะขาดแคลนแบบเรื้อรัง และอาหารที่มีอยู่ก็ถูกวางขายในราคาที่แทบจะเกือบถูกริบทรัพย์ได้เลย เครื่องโฆษณาชวนเชื่อที่ใช้กันอย่างแพร่หลายของมุสโสลินีได้สูญเสียความเชื่อมั่นของประชาชนไปจนหมดสิ้นแล้ว ประชากรชาวอิตาลีจำนวนมากหันเข้าหาวิทยุวาติกันหรือวิทยุลอนดอนเพื่อรับฟังรายงานข่าวที่แม่นยำมากยิ่งขึ้น ความไม่พอใจเริ่มก่อตัวขึ้นในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1943 ด้วยคลื่นกระแสของการนัดหยุดงานของแรงงานในภาคเหนือของอุตสาหกรรม—การนัดหยุดงานขนาดใหญ่เป็นครั้งแรงนับตั้งแต่ ค.ศ. 1925[134] นอกจากนี้ ในเดือนมีนาคม โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญบางแห่งในมิลานและตูรินได้หยุดการผลิตเพื่อประกันเงินให้ความช่วยเหลือในการอพยพสำหรับครอบครัวแรงงาน การมีอยู่ของเยอรมันในอิตาลีได้เปลี่ยนความคิดเห็นของสาธารณชนอย่างรวดเร็วต่อมุสโสลินี ตัวอย่างเช่น เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรได้บุกครองซิซิลี ประชาชนส่วนใหญ่ที่นั่นได้ต้อนรับพวกเขาในฐานะผู้ปลดปล่อย[135]
มุสโสลินีเกรงกลัวว่าด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรในแอฟริกาเหนือ กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรจะข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและเข้าโจมตีอิตาลี ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1943 ในขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ามาประชิดตูนีเซีย มุสโสลินีได้เรียกร้องให้ฮิตเลอร์หย่าศึกกับสหภาพโซเวียต และส่งกองทัพเยอรมันไปทางตะวันตกเพื่อป้องกันต่อการบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรที่ได้คาดการณ์เอาไว้ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ยกพลขึ้นบกที่เกาะซิซิลี เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 และภายในไม่กี่วันก็เป้นที่ประจักษ์แล้วว่า กองทัพอิตาลีใกล้จะย่อยยับแล้ว สิ่งนี้ทำให้ฮิตเลอร์เรียกมุสโสลินีไปเข้าประชุมที่เฟลเตร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 ในช่วงเวลานี้ มุสโสลินีรู้สึกสั่นคลอนจากความเครียดที่เขาไม่สามารถทนต่อคุยโวโอ้อวดของฮิตเลอร์ได้อีกต่อไป อารมณ์ของเขากลับมืดมนมากยิ่งขึ้น เมื่อในวันเดียวกัน ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทิ้งระเบิดที่กรุงโรม—เป็นครั้งแรกที่เมืองหลวงได้ตกเป็นเป้าหมายของการทิ้งระเบิดของฝ่ายข้าศึก[136] คราวนี้ได้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า สงครามกำลังจะพ่ายแพ้ แต่มุสโสลินีก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองจากพันธมิตรเยอรมันได้เลย[137]
เมื่อมาถึงจุดนี้ สมาชิกที่สำคัญบางคนของรัฐบาลมุสโสลินีได้หันมาต่อต้านเขา ในท่ามกลางพวกเขาก็มีกรันดีและชิอาโน เพื่อนร่วมงานหลายคนของเขาใกล้จะก่อจลาจลอย่างเต็มที่ และมุสโสลินีได้ถูกบีบบังคับให้เรียกประชุมสภาใหญ่ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 นี่เป็นการประชุมครั้งแรกของพวกเขานับตั้งแต่เริ่มต้นของสงคราม เมื่อเขาได้ประกาศว่าเยอรมันกำลังคิดที่จะลงมาทางใต้เพื่อมาขับไล่ฝ่ายสัมพันธฒิตรให้ออกจากอิตาลี กรันดีได้กล่าวโจมตีเขาอย่างรุนแรง[10] กรันดีได้ดำเนินลงมติในการกราบทูลต่อกษัตริย์เพื่อให้ทรงใช้พระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่— ซึ่งลงเอยด้วยการลงคะแนนเสียงในการไม่ไว้วางใจในมุสโสลินี ด้วยผลลัพธ์คะแนนเสียงคือ 19-8[134] มุสโสลินีได้แสดงท่าทางที่มองเห็นได้เพียงเล็กน้อย แม้ว่าสิ่งนี้จะมอบอำนาจอย่างเต็มที่แก่กษัตริย์ในการปลดออกจากตำแหน่งแล้วก็ตาม อย่างไรก็ตาม เขาได้ถามกรันดีในการพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่การเคลื่อนไหวนี้น่าจะหยุดยั้งจุดจบของลัทธิฟาสซิสต์ การลงคะแนนเสียงครั้งนี้แม้ว่าจะมีนัยสำคัญ แต่ก็ไม่ได้มีผลตามกฎหมาย เนื่องจากตามกฎหมายแล้ว นายกรัฐมนตรีมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการกระทำของเขาต่อกษัตริย์เท่านั้น และมีเพียงกษัตริย์เท่านั้นที่จะสามารถปลดเขาได้[137]
แม้ว่าจะถูกกล่าวประณามอย่างรุนแรง มุสโสลินีก็กลับมาทำงานในวันรุ่งขึ้นตามปกติ เขาถูกกล่าวหาว่ามองเห็นสภาใหญ่เป็นเพียงแค่คณะที่ปรึกษาเท่านั้นและไม่คิดว่าการลงคะแนนเสียงจะมีผลบังคับใช้ที่สำคัญแต่อย่างใด[134] ช่วงบ่าย เวลา 17:00 น. พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลทรงเรียกตัวเขาให้มาเข้าเฝ้าที่พระราชวัง ซึ่งทรงตัดสินพระทัยที่จะขับไล่มุสโสลินี อย่างไรก็ตาม ดูเชยังไม่รับทราบถึงพระราชประสงค์ของกษัตริย์ ซึ่งอยู่ในสถานที่ในการคุ้มกันและอาคารรัฐบาลถูกรายล้อมไปด้วยคาราบินีเอรีจำนวน 200 นาย เมื่อมุสโสลินีพยายามจะกราบทูลต่อกษัตริย์เกี่ยวกับการประชุมของสภาใหญ่ พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลทรงตรัสแทรกกับเขา และทรงรับสั่งให้ปลดเขาออกจากตำแหน่งอย่างทางหาร แม้ว่าจะเป็นการยืนยันว่าเขาจะต้องหลุดออกจากตำแหน่งแล้วก็ตาม[134] ภายหลังจากที่มุสโสลินีออกมาจากพระราชวัง เขาก็ถูกจับกุมโดยคาราบินีเอรีตามพระราชบัญชาของกษัตริย์ ตำรวจได้นำตัวมุสโสลินีขึ้นรถพยาบาลของกาชาดโดยไม่ระบุถึงจุดหมายปลายทาง และยืนยันกับเขาว่าพวกเขาทำเพื่อความปลอดภัยของเขาเอง[138] ในช่วงเวลานี้ ความไม่พอใจต่อมุสโสลินีได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นจนเมื่อมีการประกาศข่าวถึงการล่มสลายของเขาทางวิทยุ ก็ไม่มีการต่อต้านแต่อย่างใด ประชาชนก็ชื่นชมยินดีเพราะพวกเขาเชื่อว่าจุดจบของมุสโสลินีหมายถึงจุดจบของสงคราม[134] กษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้จอมพล ปีเอโตร บาโดลโย เป็นนายกรัฐตรีเข้ามาแทนที่ต่อจากมุสโสลินี
ในความพยายามเพื่อที่จะปกปิดตำแหน่งของเขาจากเยอรมัน มุสโสลินีถูกย้ายไปยังบริเวณรอบ: ครั้งแรกที่พอนซา จากนั้นก็ไปที่ลา มัดดาเลนา ก่อนที่จะคุมขังเขาไว้ที่กัมโป อิมเพอราโตเร รีสอร์ทบนภูเขาในอาบรุซโซ ที่ซึ่งเขาถูกโดดเดี่ยวอย่างสิ้นเชิง บาโดลโยยังคงแสดงความภักดีต่อเยอรมนี และประกาศว่าอิตาลีจะต่อสู้รบเคียงข้างฝ่ายอักษะต่อไป อย่างไรก็ตาม เขาได้ยุบพรรคฟาสซิสต์ได้เพียงสองวันภายหลังจากเข้ารับตำแหน่ง และเริ่มการเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1943 บาโดลโยได้ตกลงที่จะลงนามการสงบศึกระหว่างกองทัพอิตาลีและกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร การแถลงข่าวได้เพียงห้าวันต่อมาทำให้อิตาลีตกอยู่ในความโกลาหล กองกำลังทหารเยอรมันได้เข้ายึดการควบคุมในปฏิบัติการอัคเซ เมื่อเยอรมันได้เข้ามาประชิดกรุงโรม บาโดลโยและกษัตริย์ได้หลบหนีพร้อมกับผู้ประสานงานหลักของพวกเขาไปยังอะพิวเลีย โดยอยู่ภายใต้การคุ้มครองของฝ่ายสัมพันธมิตร แต่กลับทิ้งกองทัพอิตาลีไว้โดยไม่ได้รับคำสั่ง[139] ภายหลังช่วงเวลาของความโกลาหล พวกเขาได้จัดตั้งรัฐบาลในมอลตา และในที่สุดก็ประกาศสงครามกับเยอรมนี เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 1943 ทหารอิตาลีหลายพันนายได้เข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อต่อสู้รบกับเยอรมัน ส่วนมากถูกทอดทิ้งหรือยอมจำนนต่อเยอรมัน บางส่วนก็ปฏิเสธที่จะเปลี่ยนข้างและเข้าร่วมกับเยอรมัน รัฐบาลบาโดลโยได้ทำข้อตกลงในการสงบศึกทางการเมืองกับพลพรรคฝ่ายซ้ายที่มีอำนาจเหนือกว่าเพื่อผลประโยชน์ของอิตาลีและเพื่อขจัดดินแดนของนาซี[140]
เพียงสองเดือนหลังมุสโสลินีถูกปลดและจับกุม เขาได้รับความช่วยเหลือจากที่คุมขังของเขาที่โรงแรมกัมโป อิมเพอราโตเรในการตีโฉบฉวยแกรน์ แซสโซ เมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1943 โดยหน่วยรบพิเศษของฟัลเชียร์มเยเกอร์(ทหารพลร่ม) และหน่วยคอมมานโดของหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สภายใต้การนำโดยพลตรีออทโท-ฮารัลด์ มอร์ส กับออทโท สกอร์เซนี ซึ่งก็ปรากฏตัวมาให้เห็น[138] การให้ความช่วยเหลือครั้งนี้ได้ช่วยชีวิตมุสโสลินีจากการส่งมอบตัวไปยังฝ่ายสัมพันธมิตรตามข้อตกลงของการสงบศึก[140] ฮิตเลอร์ได้มีแผนที่จะจับกุมกษัตริย์ มกุฎราชกุมารอุมแบร์โต บาโดลโย และส่วนที่เหลือของรัฐบาลและฟื้นฟูมุสโสลินีขึ้นสู่อำนาจในกรุงโรม แต่การหลบหนีของรัฐบาลไปยังทางใต้ทำให้แผนการดังกล่าวไม่อาจที่จะดำเนินต่อไปได้[136]
สามวันหลังจากที่เขาได้รับความช่วยเหลือในการตีโฉบฉวยแกรน์ แซสโซ มุสโสลนีได้ถูกนำตัวไปยังเยอรมนีเพื่อเข้าพบกับฮิตเลอร์ในรัสแทนแบร์กที่กองบัญชาการใหญ่ปรัสเซียตะวันออกของเขา แม้ว่าจะได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนก็ตาม ฮิตเลอร์ก็ต้องตกตะลึงอย่างเต็มตากับภาพลักษณฺ์ที่ดูไม่เรียบร้อยและสภาพซูบผอมของมุสโสลินี รวมทั้งความดื้อรั้นเพื่อที่จะไล่ล่าคนในกรุงโรมที่ทำการโค่นล้มเขา ความรู้สึกว่าเขาต้องทำทุกวิถีทางเพื่อที่จะลดขอบเขตการปราบปรามของนาซี มุสโสลินีได้ตกลงที่จัดตั้งระบอบการปกครองใหม่ สาธารณรัฐสังคมอิตาลี(อิตาลี: Repubblica Sociale Italiana, RSI),[10] เป็นที่รู้จักกันอย่างไม่เป็นทางการว่า สาธารณรัฐซาโล เพราะการปกครองจากเมืองซาโลที่เขาได้จัดตั้งอยู่ได้เพียง 11 วัน ภายหลังที่เขาได้รับความช่วยเหลือโดยเยอรมัน ระบอบการปกครองใหม่ของมุสโสลินีได้เผชิญกับการสูญเสียดินแดนมากมาย: นอกเหนือจากการสูญเสียดินแดนอิตาลีจากการยึดครองโดยฝ่ายสัมพันธมิตรและรัฐบาลบาโดลโย จังหวัดของโบลซาโน เบลลูโน และเทรนโนได้อยู่ภายใต้การบริหารปกครองของเยอรมันในเขตปฏิบัติการของเยอรมันในเชิงเขาอัลไพน์ ในขณะที่จังหวัดของอูดิเน โกริเซีย ตรีเยสเต โพลา(ปัจจุบันคือ พูลา) ฟียูเม(ปัจจุบันคือ รีเยกา) ลูบลิยานา(ลูเบียนาในภาษาอิตาลี) ถูกรวมเข้ากับเขตปฏิบัติการของเยอรมันในฝั่งทะเลอาเดรียติค
นอกจากนี้ กองทัพเยอรมันได้เข้ายึดครองแคว้นดัลเมเชี่ยนของสปลิต(สปาลาโต)และโคเตอร์(กัตตาโร) ซึ่งต่อมาถูกผนวกรวมโดยระบอบฟาสซิสต์โครเอเชีย ดินแดนที่ได้รับมาของอิตาลีในกรีซและแอลเบเนียก็ยังสูญเสียให้กับเยอรมนี ยกเว้นเพียงหมู่เกาะทะเลอีเจียนของอิตาลี ซึ่งยังคงอยู่ภายใต้การปกครองเพียงในนามของ RSI มุสโสลินีได้ค้ดค้านการลดทอนดินแดนของรัฐอิตาลีและกล่าวกับเพื่อนร่วมงานของเขาว่า:
ข้าพเจ้าไม่ได้อยู่ที่นี่เพื่อจะสละดินแดนของรัฐแม้แต่ตารางเมตร เราจะกลับไปทำสงครามเพื่อสิ่งนี้ และเราจะก่อกบฏต่อใครก็ตามสำหรับครั้งนี้ ที่ใดที่ธงชาติอิตาลีโบกสะบัด ธงชาติอิตาลีจะกลับมา และที่แห่งนั้นจะไม่มีการลดธงลง บัดนี้ ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่แล้ว จะไม่มีใครลดมันลงได้ ข้าพเจ้าได้กล่าวสิ่งนี้กับท่านฟือเรอร์[141]
มุสโสลินีได้อาศัยอยู่ที่การ์ญาบนทะเลสาบการ์ดาในลอมบาร์ดีได้ประมาณหนึ่งปีครึ่ง แม้ว่าจะยืนยันในที่สาธารณะว่าเขาได้ควบคุมอย่างสมบูรณ์ แต่เขารู้ดีว่าเขาเป็นเพียงแค่ผู้ปกครองหุ่นเชิดภายใต้การคุ้มครองจากเยอรมันผู้ปลดปล่อยของเขา—สำหรับความตั้งใจและจุดประสงค์ทั้งหมด เกาไลเทอร์แห่งลอมบาร์ดี อันที่จริงแล้ว เขาได้อาศัยอยู่ภายใต้การกักตัวภายในบ้านของหน่วยเอ็สเอ็ส ซึ่งได้จำกัดการสื่อสารและการเดินทางของเขา เขาได้บอกกับเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งว่า น่าจะส่งเขาไปยังค่ายกักกันดีกว่าจะอยู่ในสถานะหุ่นเชิด
ภายหลังจากการยอมจำนนต่อแรงกดดันของฮิตเลอร์และพวกฟาสซิสต์ผู้จงรักภักดีที่เหลืออยู่ซึ่งได้ก่อตั้งรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐซาโล มุสโสลินีได้ช่วยเหลือในการจัดเตรียมการประหารชีวิตเหล่าผู้นำฟาสซิสต์บางคนซึ่งได้ทรยศหักหลังเขาในการประชุมครั้งสุดท้ายของสภาใหญ่แห่งฟาสซิสต์ หนึ่งในนั้นคือ กาลีซโซ ชิอาโน ผู้เป็นลูกเขยของเขา ในฐานะประมุขแห่งรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐสังคมอิตาลี มุสโสลินีได้ใช้เวลาส่วนใหญ่เขียนบันทึกความทรงจำของเขา นอกเหนือจากงานเขียนอัตชีวประวัติของเขาใน ค.ศ. 1928 งานเขียนเหล่านี้ได้ถูกรวบรวมและตีพิมพ์โดย Da Capo Press ในชื่อเรื่องว่า ความรุ่งโรจน์และการล่มสลายของข้าพเจ้า ในการให้บทสัมภาษณ์ เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1945 โดย Madeleine Mollier เมื่อไม่กี่เดือนก่อนที่เขาจะถูกจับกุมและประหารชีวิตโดยพลพรรคอิตาลี เขาได้กล่าวอย่างราบเรียบว่า "เมื่อเจ็ดปีที่แล้ว ข้าพเจ้าเป็นบุคคลที่น่าสนใจ ตอนนี้ ข้าพเจ้าเป็นมากกว่าซากศพ" เขายังได้กล่าวต่อว่า:
ใช่แล้ว คุณผู้หญิง ข้าพเจ้าจบสิ้นแล้ว ดาวของข้าพเจ้าได้ตกหล่นแล้ว ข้าพเจ้าไม่หลงเหลือการต่อสู้อยู่ในตัวข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าทำงานและข้าพเจ้าได้พยายาม แต่กลับรู้ดีว่าทุกอย่างเป็นแค่เรื่องขบขัน... ข้าพเจ้ากำลังรอจุดจบของโศกนาฏกรรม และ—แปลกแยกจากทุกสิ่ง—ข้าพเจ้าไม่ได้รู้สึกว่าเป็นนักแสดงอีกต่อไป ข้าพเจ้ารู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ชมคนสุดท้าย[142]
เมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1945 กองกำลังทหารฝ่ายสัมพันธมิตรกำลังรุกเข้าสู่ภาคเหนือของอิตาลีและการล่มสลายของสาธารณรัฐซาโลก็ใกล้มาถึงแล้ว มุสโสลินีและคลาล่า แปตะชิ อนุภรรยาของเขาได้ออกเดินทางไปยังสวิตเซอร์แลนด์ โดยตั้งใจว่าจะขึ้นเครื่องบินและหลบหนีไปยังสเปน สองวันต่อมา เมื่อวันที่ 27 เมษายน พวกเขาต้องหยุดชะงักใกล้กับหมู่บ้านดอนโก(ทะเลสาบโคโม) โดยพลพรรคคอมมิวนิสต์นามว่า วาเลริโอและเบลลินี และถูกระบุตัวโดยเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจการทางการเมือง (คอมมิสซาร์) แห่งพลพรรคที่ 52 กองทัพน้อยการิบัลดี Urbano Lazzaro ในช่วงเวลานั้น พี่ชายของแปตะชิซึ่งอาศัยอยู่ในกงสุลสเปน ภายหลังจากความพยายามหลายครั้งซึ่งไม่ประสบความสำเร็จในการพาพวกเขาจากทะเลสาบโคโมมายังเมซเซกรา พวกเขาใช้เวลาคืนสุดท้ายในบ้านของครอบครัวเดอ มาเรีย
เมื่อข่าวได้แพร่กระจายของการจับกุม โทรเลขหลายฉบับได้มาถึงกองบัญชาการคณะกรรมการปลดปล่อยแห่งชาติจากทางเหนือของอิตาลี(CLNAI) จากสำนักบริการด้านยุทธศาสตร์(OSS) ซึ่งตั้งสำนักงานใหญ่ในเมืองเซียนาโดยร้องขอให้ส่งมอบตัวมุสโสลินีมาอยู่ภายใต้การควบคุมของกองกำลังสหประชาชาติ อันที่จริง มาตรา 9 ของการสงบศึกที่ถูกลงนามในเกาะมอลตาโดยไอเซนฮาวด์และจอมพลอิตาลี ปีเอโตร บาโดลโย เมื่อวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1943 โดยได้กำหนดอย่างชัดเจนว่า: "เบนิโต มุสโสลินี พรรคพวกฟาสซิสต์และทุกคนที่ต้องสงสัยว่าได้ก่ออาชญากรรมสงครามหรืออาชญากรรมในลักษณะเดียวกัน ที่มีอยู่ในบัญชีรายชื่อที่จะถูกจัดส่งโดยสหประชาชาติ และซึ่งในตอนนี้หรือในอนาคตที่อยู่ในดินแดนที่ถูกควบคุมโดยกองบัญชาการกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรหรือรัฐบาลอิตาลี จะถูกจับกุมและส่งมอบตัวให้กับกองกำลังสหประชาชาติโดยทันที"
วันต่อมา มุสโสลินีและแปตะชิซึ่งทั้งสองถูกยิงประหารชีวิตอย่างเร่งรัด พร้อมกับสมาชิกส่วนใหญ่ของขบวนผู้ติดตาม 15 คน ส่วนมากจะเป็นรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ทางการของสาธารณรัฐสังคมอิตาลี การยิงปืนได้เกิดขึ้นในหมู่บ้านเล็กของ Giulino di Mezzegra และถูกดำเนินการโดยหัวหน้าพลพรรคที่ใช้นามแฝงว่า Colonnello Valerio ตัวตนที่แท้จริงของเขาไม่มีใครทราบ แต่ตามธรรมเนียมแล้ว เขาคิดว่าน่าจะเป็น วอลเตอร์ ออดิซิโอ ผู้ที่กล่าวอ้างอยู่เสมอว่า เป็นผู้ดำเนินการประหารชีวิต แม้ว่าพลพรรคอีกกลุ่มหนึ่งได้บอกข้อมูลที่ดูขัดแย้งว่า Colonnello Valerio คือ Luigi Longo ต่อมาภายหลังได้เป็นผู้นำนักการเมืองฝ่ายคอมมิวนิสต์ในอิตาลีช่วงหลังสงคราม มุสโสลินีถูกสังหารเมื่อสองวันก่อนที่ฮิตเลอร์และเอฟา เบราน์ ภรรยาของเขาจะกระทำอัตวินิบาตกรรม สาธารณรัฐสังคมอิตาลีนั้นอยู่รอดมาได้เพียงสี่วันก่อนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของมุสโสลินี โรดอลโฟ กราซีอานี จอมพลชาวอิตาลีเพียงคนเดียวที่ยังคงจงรักภักดีต่อลัทธิฟาสซิสต์ ภายหลังปี ค.ศ. 1943–ได้ยอมจำนนในส่วนที่เหลืออยู่ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม
เมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1945 ศพของมุสโสลินีและแปตะชิ และฟาสซิสต์คนอื่น ๆ ที่ถูกประหารชีวิตได้ถูกบรรจุไว้ในรถตู้และเคลื่อนที่ลงไปทางใต้สู่มิลาน เวลา 3 นาฬิกา(ตีสาม) ศพถูกกองทิ้งไว้บนพื้นใน Piazzale Loreto เก่า บริเวณลานสาธารณะแห่งนี้ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "Piazza Quindici Martiri"(บริเวณลานสาธารณะของมรณะสักขี 15 คน) เพื่อเป็นเกียรติแก่พลพรรคอิตาลีสิบห้าคนที่ถูกประหารชีวิตได้ไม่นานในที่แห่งนั้น[143]
ภายหลังจากถูกถีบและถุยน้ำลายใส่ ศพเหล่านั้นก็ถูกนำไปแขวนประจานโดยห้อยลงจากหลังคาปั๊มน้ำมันเอสโซ่[144] นอกจากนี้ยังถูกขว้างปาด้วยก้อนหินจากเบื้องล่างโดยพลเรือน สิ่งนี้ทำทั้งเป็นการสร้างความท้อใจแก่พวกฟาสซิสต์คนใดที่ยังสู้รบต่อไปและเป็นการล้างแค้นสำหรับการแขวนคอพลพรรคจำนวนมากในสถานที่เดียวกันโดยผู้มีอำนาจฝ่ายอักษะ ศพของผู้นำที่ถูกปลดจากอำนาจถูกทั้งเยาะเย้ยและกระทำย่ำยี ฟาสซิสต์ที่จงรักภักดีผู้นึงนามว่า อคีล สตาราเซ ถูกจับกุมและตัดสินประหารชีวิต และถูกพามายัง Piazzale Loreto และโชว์ให้เห็นถึงศพของมุสโสลินี สตาราเซ เคยกล่าวถึงมุสโสลินีว่า "เขาคือพระเจ้า"[145] เขาได้ทำความเคารพในสิ่งที่ผู้นำของเขาหลงเหลืออยู่ก่อนที่เขาจะถูกยิงเป้า ศพของสตาราเซถูกนำไปแขวนไว้ข้าง ๆ ศพของมุสโสลินีในเวลาต่อมา
ภายหลังการอสัญกรรมของเขาและศพถูกนำไปประจานในมิลาน มุสโสลินีถูกฝังในหลุมศพไม่มีป้ายในสุสานมูโซสโค ทางตอนเหนือของเมือง ในวันอาทิตย์อีสเตอร์ ค.ศ. 1946 ศพของเขาถูกค้นพบและขุดขึ้นมาโดยโดมินิโก เลชชิซิ และนีโอ-ฟาสซิสต์อีกสองคน ด้วยหละหลวมไปหลายเดือน—และสาเหตุของความวิตกกังวลอย่างมากต่อระบอบประชาธิปไตยอิตาลีครั้งใหม่—ในที่สุด ศพของมุสโสลินีก็ "ถูกยึดกลับคืนมา"ในเดือนสิงหาคม ซึ่งถูกซ่อนเอาไว้ในหีบขนาดเล็กที่ Certosa di Pavia นอกเมืองมิลาน บาทหลวงสองคนจากคณะฟรันซิสกันถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าทำการปกปิดศพในเวลาต่อมา แม้ว่าจะมีการสืบสวนเพิ่มเติมซึ่งพบว่า มีการเคลื่อนย้ายตลอดเวลา ด้วยความไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไร ทางการจึงได้เก็บศพเอาไว้ในบริเวณสถานที่ที่ถูกลืมของเมืองเป็นเวลาสิบปี ก่อนที่จะยินยอมให้มีการฝังศพอีกครั้งที่เปรดัปปีโอในโรมานญ่า บ้านเกิดของเขา Adone Zoli นายกรัฐมนตรีอิตาลีคนปัจจุบันได้ติดต่อกับดอนน่า ราเคเล ภรรยาม่ายของจอมเผด็จการ เพื่อบอกกับเธอว่าเขากำลังจะส่งคืนซากศพ เนื่องจากเขาจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายขวาจัดในรัฐสภา รวมทั้งเลชชิซิ ในเปรดัปปีโอ จอมเผด็จการได้ถูกฝังไว้ในห้องใต้ดิน(เกียรติภายหลังมรณกรรมเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่จะมอบให้แก่มุสโสลินี) หลุมศพของเขาถูกขนาบข้างด้วยสัญลักษณ์ฟาสเซสที่ถูกทำขึ้นด้วยหินอ่อน รูปปั้นใบหน้าที่ถูกทำขึ้นด้วยหินอ่อนตามอุดมคติของเขาที่ถูกวางไว้เหนือหลุมศพ[146]
ภรรยาคนแรกของมุสโสลินีคือ Ida Dalser, ซึ่งเขาได้แต่งงานใน Trento ใน ค.ศ. 1914. ทั้งสองได้มีบุตรในปีต่อมาและตั้งชื่อให้กับเขาว่า เบนนิโต อัลบิโน มุสโสลินี (ค.ศ. 1915–1942). ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1915, มุสโสลินีได้แต่งงานกับราเคเล กุยดี, ซึ่งเป็นอนุภรรยาของเขามาตั้งแต่ ค.ศ. 1910 เนื่องจากการขึ้นสู่ตำแหน่งทาการเมืองที่กำลังจะมาถึง ข้อมูลเกี่ยวกับการแต่งงานครั้งแรกของเขาถูกปกปิดเป็นความลับ และทั้งภรรยาคนแรกและลูกชายของเขาถูกข่มเหงในเวลาต่อมา.[54] กับราเคเล, มุสโสลินีมีลูกสาวสองคน, เอ็ดดา (ค.ศ. 1910–1995) และแอนนา มาเรีย (ค.ศ. 1929–1968), ซึ่งในเวลาต่อมา เธอได้แต่งงานกับ Nando Pucci Negri ในราเวนนา เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1960; และมีบุตรชายสามคน: วิตโตรีโอ (ค.ศ. 1916–1997), บรูโน (ค.ศ. 1918–1941) และ โรมาโน (ค.ศ. 1927–2006). มุสโสลินีมีอนุภรรยาหลายคน, ท่ามกลางในหมู่พวกเธอจะมี Margherita Sarfatti และเพื่อนสนิทคนสุดท้ายของเขาอย่างคลาล่า แปตะชิ. มุสโสลินีเคยประสบเจอกับเรื่องเชิงชู้สาวกับผู้หญิงที่เป็นผู้สนับสนุนมาหลายครั้ง ตามจากการรายงานโดยนักเขียนชีวประวัติของเขานามว่า Nicholas Farrell[147]
การถูกคุมขังอาจเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งของโรคกลัวในที่แคบของมุสโสลินี. เขาปฏิเสธไม่ยอมเข้าไปในบลู กรอทโท(ถ้ำทะเลบนชายฝั่งของกาปรี), และต้องการห้องขนาดใหญ่เป็นกรณีพิเศษ เช่น สำนักงานของเขามีขนาด 18*12*12 เมตร (60*40*40 ฟุต) ใน Palazzo Venezia.[28]
นอกเหนือจากภาษาอิตาลีท้องถิ่น, มุสโสลินีสามารถพูดภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมันอย่างน่าสงสัย (ความรู้สึกภาคภูมิใจของเขาซึ่งหมายความว่าเขาไม่เคยใช้ล่ามแปลภาษาเยอรมัน). สิ่งนีดูโดดเด่นในการประชุมมิวนิก,เพราะไม่มีผู้นำชาติอื่นใด ๆ พูดอย่างอื่นนอกจากภาษาท้องถิ่นของพวกเขา; มุสโสลินีได้ถูกอธิบายว่า เป็น"หัวหน้านักล่าม"อย่างมีประสิทธิภาพในที่ประชุม.[148]
มุสโสลินีได้รับการเลี้ยงดูจากมารดาที่นับถือนิกายคาทอลิกอย่างเคร่งครัด[149] และส่วนบิดาเป็นพวกต่อต้านนักบวช[150] โรซา แม่ของเขาได้นำเขาเข้าพิธีบัพติศมาในศาสนจักรโรมันคาทอลิก และนำลูกชายของเธอเข้าโบสถ์เพื่อรับใช้บาทหลวงทุกวันอาทิตย์ ส่วนบิดาของเขาไม่เคยสนใจเลย[149] มุสโสลินีได้เห็นว่าเวลาของเขาที่อยู่ในโรงเรียนประจำทางศาสนาคือการลงทัณฑ์ เปรียบเสมือนเป็นการตกนรก และ"ครั้งหนึ่ง เขาได้ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมพิธีมิสซาตอนเช้าและถูกใช้กำลังบังคับในลากไปที่นั่น"[151]
มุสโสลินีกลายเป็นพวกต่อต้านนักบวชเช่นเดียวกับบิดาของเขา สมัยวัยหนุ่ม เขาได้"ประกาศตนเองว่าเป็นผู้ที่ไม่เชื่อในพระเจ้า[152] และความพยายามหลายครั้งที่ทำให้ผู้ฟังต้องตกตะลึงโดยการเรียกร้องให้พระเจ้ามาเอาชีวิตของเขาไป"[150] เขามีความเชื่อว่าวิทยาศาสตร์ได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าไม่มีพระเจ้า และประวัติของพระเยซูเป็นความโง่เขลาและบ้าคลั่ง เขาได้ถือว่าศาสนาเป็นโรคป่วยทางจิต และกล่าวหาว่า ศาสนาคริสต์ส่งเสริมให้มีการจำยอมสละและขี้ขลาด มุสโสลินีมีความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ หลังจากที่ได้ยินเรื่องคำสาปของฟาโรห์ เขาก็สั่งให้มีการถอดถอนมันมี่อียิปต์ที่เขารับเป็นของขวัญออกจาก Palazzo Chigi ทันที[28]
มุสโสลินีเป็นผู้เลื่อมใสต่อฟรีดริช นีทเชอ จากการอ้างอิงของ Denis Mack Smith "ในนีทเชอ เขาพบว่ามีเหตุผลของการทำสงครามครูเสดของเขาในต่อกรกับคุณงามความดีของความอ่อนน้อมถ่อมตน การจำยอมสละ การกุศล และคุณธรรมของชาวคริสเตียน"[153] เขาให้ความสำคัญกับแนวคิดเหนือมนุษย์ของนีทเชอ "ผู้ที่เห็นแก่ตัวอันสูดสุดที่ท้าทายพระเจ้าและฝูงชน ที่ดูหมิ่นสมภาคนิยมและประชาธิปไตย ที่มีความเชื่อในผู้ที่อ่อนแอกว่าที่จะปีนข้ามกำแพงและผลักดันพวกเขา หากไปได้ไม่เร็วพอ"[153] ในวันเกิดครบรอบ 60 ปีของเขา มุสโสลินีได้รับของขวัญจากฮิตเลอร์เป็นหนังสือที่เป็นผลงานของนีทเชอครบชุดยี่สิบสี่เล่ม[154]
มุสโสลินีได้กล่าวโจมตีอย่างเผ็ดร้อนต่อศาสนาคริสต์และศาสนจักรคาทอลิก ซึ่งเขามาพร้อมกับคำพูดปลุกปั่นเกี่ยวกับการถวายตัวของเจ้าภาพและเกี่ยวกับเรื่องรักใคร่ระหว่างพระคริสต์และมารีย์ชาวมักดาลา เขาได้กล่าวประณามสังคมนิยมที่อดทนต่อศาสนา หรือผู้ที่นำบุตรมาเข้าพิธีบัพติศมา และเรียกร้องให้นักสังคมนิยมที่ยอมรับการแต่งงานทางศาสนาจะต้องถูกขับออกจากพรรค เขาได้กล่าวประณามศาสนจักรคาทอลิกจาก"ลัทธิอำนาจนิยมและปฏิเสธที่จะยินยอนให้มีเสรีภาพในความคิด ..." หนังสือพิมพ์ของมุสโสลินีอย่าง La Lotta di Classe ได้รายงานว่า จุดยืนของบรรณาธิการนั้นในการต่อต้านคริสเตียน[155]
แม้ว่าจะมีกล่าวโจมตีในลักษณะดังกล่าว มุสโสลินีก็ได้พยายามที่จะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนโดยการเอาใจชาวคาทอลิกส่วนใหญ่ในอิตาลี ในปี ค.ศ. 1924 มุสโสลินีได้มองเห็นว่าลูกสามคนของเขาได้เข้าร่วมทำพิธีศีลมหาสนิท ใน ค.ศ. 1925 เขายอมรับให้นักบวชได้ทำพิธีแต่งงานทางศาสนาให้กับตัวเขาเองและราเคเล ซึ่งเขาเคยแต่งงานในพิธีแบบพลเรือน เมื่อ 10 ปีก่อน[156] เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1929 เขาได้ลงนามในข้อตกลงและสนธิสัญญากับศาสนจักรโรมันคาทอลิก[157] ภายใต้สนธิสัญญาลาเตรัน นครวาติกันได้รับสถานะเป็นรัฐเอกราชและอยู่ภายใต้กฎหมายของศาสนจักร—แทนที่จะเป็นกฎหมายของอิตาลี—และศาสนาคาทอลิกได้รับการยอมรับว่าเป็นศาสนาประจำชาติของอิตาลี[158] ศาสนจักรยังได้รับอำนาจในการยินยอมให้มีการแต่งงานกลับคืนมา ศาสนานิกายคาทอลิกสามารถสอนหนังสือได้ในโรงเรียนมัธยมทุกแห่ง การคุมกำเนิดและองค์กรฟรีเมนสันถูกสั่งห้าม และคณะสงฆ์จะได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐและได้รับการยกเว้นภาษี[159][160] สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11 ทรงกล่าวยกย่องมุสโสลินี และหนังสือพิมพ์คาทอลิกอย่างเป็นทางการได้เขียนพาดหัวข่าวว่า "อิตาลีได้ตอบแทนแก่พระเจ้า และพระเจ้าทรงประทานแก่อิตาลีแล้ว"[161][162]
ภายหลังจากการประนีประนอมครั้งนี้ เขาได้กล่าวอ้างว่า ศาสนจักรได้อยู่ภายใต้บัญชาของรัฐ และ"อ้างอิงถึงนิกายคาทอลิกว่า ณ จุดกำเนิด นิกายขนาดย่อยที่แผ่ขจายอกไปนอกปาเลสไตน์เพียงเพราะถูกทาบทามในการเข้าสู่ส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน"[157] ภายหลังข้อตกลง "เขาได้ยึดหนังสือคาทอลิกหลายฉบับในอีกสามเดือนต่อมามากกว่าในช่วงเจ็ดปีที่ผ่านมา"[157] มีการรายงานว่า มุสโสลินีเกือบที่จะถูกตัดขาดจากคริสตจักรคาทอลกในช่วงเวลานั้น[157]
มุสโสลินีได้ทำการปรับความเข้าใจกับสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11 ต่อสาธารณชนใน ค.ศ. 1932 แต่"กลับสั่งให้นำรูปภาพถ่ายของเขาออกจากหนังสือพิพม์ทุกฉบับที่เป็นภาพการคุกเข่าหรือแสดงความเคารพต่อสมเด็จพระสันตะปาปา" เขาต้องการชักจูงชาวคาทอลิกว่า "ลัทธิฟาสซิสต์คือชาวคาทอลิกและเขาเองก็เป็นผู้ศรัทธาที่ใช้เวลาในแต่ละวันในการสวดมนต์อธิษฐาน"[157] สมเด็จพระสันตะปาปาทรงตรัสถึงมุสโสลินีว่า "เป็นชายที่ถูกส่งมาโดยความเมตตาของพระเจ้า"[155][157] ถึงแม้ว่ามุสโสลินีจะพยายามทำตัวเป็นผู้เคร่งศาสนา ตามคำสั่งของพรรคการเมืองของเขา คำสรรพนามที่อ้างอิงถึงเขาว่า "จะต้องเขียนด้วยอักษรตัวใหญ่ดั่งเช่นอ้างอิงถึงพระเจ้า"[157]
ในปี ค.ศ. 1938 มุสโสลินีได้เริ่มยืนยันถึงการต่อต้านอำนาจศาสนจักรอีกครั้ง บางครั้งก็เรียกตัวเขาเองว่า "ผู้ไร้ศรัทธาโดยสิ้นเชิง" และเคยบอกกับคณะรัฐมนตรีของเขาว่า "ศาสนาอิสลามอาจจะเป็นศาสนาที่มีประสิทธิภาพมากกว่าศาสนาคริสต์ซะอีก" และกล่าวว่า "ตำแหน่งพระสันตะปาปาเป็นเนื้องอกร้ายในร่างกายของอิตาลี และต้องกำจัดทิ้งภายในคราวเดียว เพราะในกรุงโรมนั้นไม่มีที่ว่างสำหรับพระสันตปาปาและตัวเขาเอง"[163] เขาได้กล่าวปฏิเสธต่อสาธารณชนจากคำแถลงการณ์ถึงการต่อต้านอำนาจศาสนจักรเหล่านี้ แต่ยังคงกล่าวคำแถลงการณ์ที่คล้ายกันเป็นการส่วนตัว[ต้องการอ้างอิง]
ภายหลังจากที่เขาหมดอำนาจใน ค.ศ. 1943 มุสโสลินีได้เริ่มพูดถึง"เกี่ยวกับพระเจ้าและภาระหน้าที่ของมโนธรรมมากขึ้น" แม้ว่า"เขาจะคงยังมีประโยชน์เพียงเล็กน้อยสำหรับพระนักบวชและศีลศักดิ์สิทธิ์ของศาสนจักร"[164] เขายังเริ่มวาดภาพที่คล้ายคลึงระหว่างเขากับพระเยซูคริสต์[164] ราเคเล ผู้เป็นภรรยาม่ายของมุสโสลินี ได้กล่าวว่า สามีของเธอยังคง"เป็นผู้ไม่นับถือศาสนาโดยแท้จริงจวบจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต"[165] มุสโสลินีได้ถูกทำพิธีศพในโบสถ์คาทอลิกใน ค.ศ. 1957[166]
แม้ว่าในช่วงแรก มุสโสลินีจะเมินเฉยต่อลัทธิการเหยียดเชื้อชาติทางชีววิทยา แต่เขาก็ยังมีความเชื่อมั่นอย่างมั่นคงในคุณลักษณะของชาติและได้กล่าวถึงลักษณะโดยทั่วไปหลายประการของชาวยิว อย่างไรก็ตาม มุสโสลินีได้ถือว่าชาวยิวเชื้อสายอิตาลีเป็นชาวอิตาลี ข้อคิดเห็นของมุสโสลินีต่อชาวยิวในช่วงปลาย ค.ศ. 1910 และช่วงแรก ค.ศ. 1920 มักจะไม่สอดคล้องกันและเหมาะสมกับช่วงเวลามากกว่าที่จะสะท้อนกับความเชื่อที่แท้จริงในพวกเขา มุสโสลินีได้กล่าวประณามการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 ต่อ"การล้างแค้นของชาวยิว" ต่อศาสนาคริสต์ด้วยคำพูดว่า "การแข่งขันไม่ทรยศหักหลังเชื้อชาติ ... ลัทธิบอลเชวิคกำลังได้รับการปกป้องโดยเศรษฐยาธิปไตยระหว่างประเทศ นั่นคือสัจธรรมที่แท้จริง" นอกจากนี้ เขายังยืนยันว่า 80% ของผู้นำโซเวียตเป็นชาวยิว[167] แต่ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ เขาก็ได้โต้แย้งกับตัวเขาเองด้วยคำพูดที่ว่า "ลัทธิบอลเชวิคนั้นไม่ใช่ปรากฏการณ์ของชาวยิวอย่างที่ผู้คนเชื่อถือ ความจริงก็คือลัทธิบอลเชวิคกำลังนำไปสู่ความพินาศย่อยยับของชาวยิวในยุโรปตะวันออก"[168]
ในช่วงต้น ค.ศ. 1920 มุสโสลินีกล่าวว่า ลัทธิฟาสซิสต์ไม่เคยหยิบยกถึง"ปัญหาชาวยิว" และในบทความที่เขาเขียนซึ่งได้กล่าวว่า "อิตาลีไม่ได้รับรู้ถึงลัทธิต่อต้านชาวยิวและเราเชื่อว่ามันจะไม่มีวันรู้เลย" และได้ถูกอธิบายโดยละเอียดว่า "เราหวังว่าชาวยิวเชื้อสายอิตาลีจะยังคงมีเหตุผลเพียงพอเพื่อไม่ทำให้เกิดลัทธิต่อต้านชาวยิวในประเทศเดียวที่ซึ่งไม่เคยมีอยู่จริง"[169] ใน ปี ค.ศ. 1932 มุสโสลินีในช่วงระหว่างการสนทนากับ Emil Ludwig ได้อธิบายว่า การต่อต้านชาวยิว คือ "รองชาวเยอรมัน" และกล่าวว่า "'ไม่มีปัญหาชาวยิว'ในอิตาลีและไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในประเทศเดียวที่มีระบบการปกครองที่ดี"[170] หลายครั้งหลายหน มุสโสลินีได้พูดเชิงบวกกับชาวยิวและขบวนการไซออนิสต์[171] แม้ว่าลัทธิฟาสซิสต์จะยังคงเกิดข้อสงสัยในลัทธิไซออนิสต์ ภายหลังจากพรรคฟาสซิสต์ขึ้นสู่อำนาจ[172] ใน ค.ศ. 1934 มุสโสลินีได้สนับสนุนการก่อตั่งโรงเรียนนายเรือเบตาร์ในชีวีตาเวกเกียเพื่อฝึกสอนนักเรียนนายเรือชาวไซออนิสต์ภายใต้การควบคุมของ Ze'ev Jabotinsky ซึ่งได้โต้แย้งว่า รัฐยิวจะอยู่ในความสนใจของอิตาลี[173] จนกระทั่ง ค.ศ. 1938 มุสโสลินีได้ปฏิเสธต่อผู้ใดก็ตามที่มีลัทธิต่อต้านยิวภายในพรรคฟาสซิสต์[171]
ความสัมพันธ์ระหว่างมุสโสลินีและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์เป็นความสัมพันธ์ที่ดูจะขัดแย้งกันเองตั้งแต่แรก ในขณะที่ฮิตเลอร์ได้อ้างว่า มุสโสลินีเป็นผู้ทรงอิทธิพลและแสดงความชื่นชมยินดีอย่างมากที่เด่นชัดเป็นการส่วนตัวต่อเขา มุสโสลินีให้ความนับถือฮิตเลอร์เพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากพวกนาซีมีสหายและพันธมิตรของเขาอย่าง Engelbert Dollfuss ซึ่งเป็นเผด็จการแห่งฟาสซิสต์ออสเตรีย ได้ถูกสังหารในปี ค.ศ. 1934
ด้วยการลอบสังหาร Dollfuss มุสโสลินีได้พยายามที่จะตีตัวออกห่างจากฮิตเลอร์ โดยให้ปฏิเสธส่วนใหญ่ของลัทธิการเหยียดเชื้อชาติ(โดยเฉพาะลัทธิชาวนอร์ดิกและลัทธิเจอร์มานิก) และลัทธิการต่อต้านชาวยิวที่ได้ให้การสนับสนุนโดยชาวเยอรมันหัวรุนแรง ในช่วงเวลานี้ มุสโสลินีได้ปฏิเสธลัทธิการเหยียดเชื้อชาติทางชีววิทยา อย่างน้อยก็ในความสำนึกคิดของนาซี และแทนที่ในการให้ความสำคัญถึง "การทำให้เป็นอิตาลี" ส่วนต่าง ๆ ของจักรวรรดิอิตาลีที่เขาต้องการจะสร้างขึ้น เขาได้ประกาศว่าแนวคิดของสุพันธุศาสตร์และแนวคิดเกี่ยวกับการถือชาติพันธุ์ที่น่าสงสัยของชาวอารยันแทบเป็นไปไม่ได้เลย
เมื่อกล่าวถึงรัฐกฤษฎีกาของนาซีว่า ประชาชนชาวเยอรมันจะต้องถือหนังสือพาสปอร์ตที่มีเครื่องหมายสัญลักษณ์ที่ระบุถึงเชื้อชาติอารยันหรือชาวยิว ใน ค.ศ. 1934 มุสโสลินีได้ประหลาดใจว่าพวกเขาจะกำหนดสมาชิกใน"เชื้อชาติเจอร์มานิก" ได้อย่างไร:
แต่เชื้อชาติไหนล่ะ? มีเชื้อชาติชาวเยอรมันหรือไม่? มันเคยมีอยู่จริงไหม? มันจะเคยมีอยู่หรือไม่? ความเป็นจริง เรื่องปรัมปรา หรือเรื่องหลอกลวงของนักทฤษฏี?
ถ้างั้น เราได้ตอบว่า เชื้อชาติเจอร์มานิกนั้นไม่มีอยู่จริง ขบวนการต่าง ๆ ความอยากรู้อยากเห็น เราพูดซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า ไม่ได้มีอยู่จริง เราไม่ได้บอกอย่างงั้น นักวิทยาศาสตร์ต่างหากที่พูด ฮิตเลอร์เองก็พูดอย่างนั้น
เมื่อนักข่าวชาวเยอรมันเชื้อสายยิว Emil Ludwig ได้ถามถึงมุมมองของเขาเกี่ยวกับเชื้อชาติ มุสโสลินีได้เปล่งเสียงอุทานว่า:
เชื้อชาติ! มันเป็นความรู้สึกต่างหาก ไม่ใช่ความจริง:เก้าสิบห้าเปอร์เซ็นต์ อย่างน้อย คือความรู้สึก ไม่มีอะไรที่จะทำให้ข้าพเจ้าเชื่อว่า เชื้อชาติทางชีววิทยาที่บริสุทธิ์จะสามารถแสดงให้เห็นว่ามีอยู่จริงในทุกวันนี้ น่าตลกขบขันพอ ซึ่งไม่เคยมีใครประกาศในการเป็น "ขุนนาง" ของเชื้อชาติทิวโทนิกคือตัวเขาเองที่เป็นชาวทิวทัน Gobineau เป็นชาวฝรั่งเศส (ฮุสตัน สจ๊วต) Chamberlain เป็นชาวอังกฤษ Woltmann เป็นชาวยิว Lapouge ก็ชาวฝรั่งเศสอีกคน
ในการกล่าวคำปราศัยที่บารี เขาได้เน้นย้ำถึงทัศนคติของเขาที่มีต่ออุดมกาณ์เยอรมันด้วยชนชาติผู้ปกครอง:
ประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่สามสิบ ทำให้เรามองเห็นด้วยความเวทนาอย่างสุดอนาถถึงหลักคำสอนบางประการซึ่งได้ถูกสั่งสอนไปไกล้พ้นจากเทือกเขาแอลป์โดยลูกหลานของผู้ไร้การศึกษาเหล่านั้น เมื่อกรุงโรมมีคนอย่างซีซาร์ เวอร์จิล และเอากุสตุส
แม้ว่าลัทธิฟาสซิสต์อิตาลีจะมีการเปลี่ยนตำแหน่งทางเชื้อชาติ ตั้งแต่ ค.ศ. 1920 ถึง ค.ศ. 1934 อุดมการณ์ของลัทธิฟาสซิสต์อิตาลีไม่ได้เลือกปฏิบัติต่อชุมชมชาวอิตาลี-ยิว: มุสโสลินีได้ยอมรับว่า มีกลุ่มชุมชนขนาดเล็กได้อาศัยอยู่ตั้งแต่"สมัยกษัตริย์แห่งโรม" และสมควร"ที่จะไม่ถูกรบกวน" มีชาวยิวบางคนที่อยู่ในพรรคชาตินิยมฟาสซิสต์ เช่น Ettore Ovazza ซึ่งใน ค.ศ. 1935 ได้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ยิวฟาสซิสต์ที่ชื่อว่า La Nostra Bandiera ("ธงของเรา")[174]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ครอบครัวมุสโสลินีนั้นมีผู้รอดชีวิตโดยภรรยาของเขา ราเคเล มุสโสลินี ลูกชายสองคนอย่างวิตโตริโอและโรมาโน มุสโสลินีและลูกสาวของเขาอย่างเอ็ดดา(เป็นภรรยาหม้ายของเคานต์ชิอาโน) และแอนนา มาเรีย บุตรชายคนที่สาม บรูโน ได้เสียชีวิตในเหตุเครื่องบินตก ในขณะที่ขับเครื่องบินทิ้งระเบิดรุ่น Piaggio P.108 ในภารกิจทดสอบ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1941 บุตรชายคนโตของเขา เบนิโต อัลบิโน มุสโสลินี ซึ่งกำเนิดจากภรรยาอีกคนคือ Ida Dalser ถูกสั่งห้ามประกาศว่ามุสโสลินีเป็นบิดาของเขา และใน ค.ศ. 1935 เขาถูกบังคับให้ลี้ภัยในมิลาน ที่นั่นเขาจึงถูกสังหาร เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1942 ภายหลังจากถูกฉีดยากระตุ้นทำให้อาการโคม่าซ้ำแล้วซ้ำเล่า[54] อเลสซานดรา มุสโสลินี ลูกสาวของโรมาโน มุสโสลินี บุตรชายคนที่สี่ของเบนิโต มุสโสลินี และภรรยานามว่า แอนนา มาเรีย ซีโคโลเน่ น้องสาวของโซเฟีย ลอเรน เป็นสมาชิกรัฐสภายุโรปสำหรับขบวนการทางเลือกสังคมของฝ่ายขวาจัด ตัวแทนในสภาล่างของอิตาลีและทำหน้าที่ในวุฒิสภาในฐานะที่เป็นสมาชิกพรรคฟอร์ซา อิตาเลียของซิลวีโอ แบร์ลุสโกนี
แม้ว่าพรรคชาตินิยมฟาสซิสต์จะถูกประกาศว่าเป็นพรรคที่ผิดกฎหมายตามรัฐธรรมนูญของอิตาลีภายหลังสงคราม ผู้รับช่วงต่อจำนวนหนึ่งของพรรคนีโอ-ฟาสซิสต์ได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อสืบทอดมรดกตกทอดเอาไว้ ในอดีต พรรคนีโอ-ฟาสซิสต์ขนาดใหญ่ที่สุดคือขบวนการสังคมอิตาเลียน (Movimento Sociale Italiano) ซึ่งถูกยุบใน ค.ศ. 1995 และถูกแทนที่โดยพันธมิตรแห่งชาติ พรรคอนุรักษ์นิยมที่ทำตัวเหินห่างจากลัทธิฟาสซิสต์(ผู้ก่อตั้งคือ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ Gianfranco Fini ได้ประกาศในช่วงการเยือนอิสราเอลอย่างเป็นทางการว่า ลัทธิฟาสซิสต์ "เป็นสิ่งที่ชั่วร้ายอย่างแท้จริง")[175] พันธมิตรแห่งชาติ และพรรคนีโอฟาสซิสต์จำนวนหนึ่งได้รวมตัวกันใน ค.ศ. 2009 เพื่อก่อตั้งพรรคประชาชนเสรีในช่วงเวลาสั้น ๆ ซึ่งนำโดยนายกรัฐมนตรี ซิลวีโอ แบร์ลุสโกนี ซึ่งในที่สุดก็ถูกยุบไป ภายหลังจากพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2013 ใน ค.ศ. 2012 อดีตสมาชิกของพันธมิตรแห่งชาติหลายคนได้เข้าร่วมภราดรภาพแห่งอิตาลี
ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018 การออกเสียงลงคะแนนที่ถูกจัดทำขึ้นโดยสถาบันวิจัย Demos & Pi พบว่า มีผู้สัมภาษณ์ทั้งหมด 1,014 คน ซึ่งมีจำนวน 19% ของผู้ลงคะแนนผ่างทางสเปกตัมทางการเมืองของอิตาลีนั้นมีความคิดเห็น"เชิงบวกหรือบวกอย่างมาก"ต่อมุสโสลินี 60% แสดงให้เห็นถึงการมองเขา"เชิงลบ" และ 21% ซึ่งไม่มีความคิดเห็นแต่อย่างใด[176]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.