นิกโกเลาะ มาเกียเวลลี เกิดเมื่อ 3 พฤษภาคม ค.ศ.1469 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี บิดาของมาเกียเวลลี คือ แบร์นาร์โด มาเกียเวลลี มีอาชีพเป็นทนายความ และสนใจการศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ ส่วนมารดา คือ บาร์โรโลเนีย เปลลี ว่ากันว่าเป็นกวีทางศาสนา มาเกียเวลลีเริ่มเรียนหนังสือเมื่ออายุ 7 ปี โดยศึกษาเกี่ยวกับภาษาลาตินเป็นพื้นฐาน เมื่ออายุได้ 12 ปี ได้ศึกษากับอาจารย์ที่มีชื่อเสียงคือ เปาโล ดารอนิโญนี (Pao Daroniglioni) และได้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยฟลอเรนซ์ ซึ่งได้พบอาจารย์ที่มีอิทธิพลต่อมาเกียเวลลีเป็นอย่างมาก นั่นก็คือ มาร์เชลโล อะเดรียนี (Marcello Adriani) ซึ่งเป็นอาจารย์ที่สอนวิชาคลาสสิคที่มหาวิทยาลัยฟลอเรนซ์ ต่อมาอาจารย์ท่านนี้ได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ในเมืองฟลอเรนซ์[6]
มาเกียเวลลีเริ่มรับราชการครั้งแรกในช่วงเดือน มิถุนายน ค.ศ.1498 ในตำแหน่งเลขานุการฝ่ายการทูตแห่งมหาชนรัฐฟลอเรนซ์ ขณะนั้น มาเกียเวลลี อายุได้ 19 ปี และได้ดำรงตำแหน่งนี้เป็นนระยะเวลา 14 ปี[7] ซึ่งทำให้มาเกียเวลลีได้เดนทางไปสังเกตการณ์ทางการทูตทั้งภายในและภายนอกประเทศอิตาลี โดยมาเกียเวลลีได้มีโอกาสพบกับบุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลทางการเมืองหลายท่านทำให้มีโอกาสได้พบกับ เชซาเร บอร์เจีย (Cesare Borgia)ในปี ค.ศ.1502 ผู้นำทัพเข้ายึดดินแดนของสันตะปาปาอย่างไม่เกรงกลัวต่ออำนาจใดๆทั้งสิ้น ทำให้มาเกียเวลลีประทับใจท่านเชซาเร บอร์เจีย เป็นอย่างมากซึ่งเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจที่สำคัญในการเขียน The Prince หรือ เจ้าผู้ปกครอง (โดยเฉพาะบทที่7) นอกจากนั้นยังมีโฮกาสได้พบกับสันตะปาปาจูเลียสที่2 เมื่อ ค.ศ.1506 และจักรพรรดิแมกซิมิเลียน เมื่อ ค.ศ.1507[8]
มาเกียเวลลีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเลขานุการของคณะกรรมการทั้งเก้าของกองทหารแห่งชาติในปี ค.ศ.1506 สามารถจัดตั้งกองทหารดังกล่าวสำเร็จในปี ค.ศ.1509 เหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้มาเกียเวลลีมีอิทธิพลและสามารถทำให้ประชาชนในเมืองฟลอเรนซ์ยอมรับในตัวมาเกียเวลลีมากยิ่งขึ้น ในปี ค.ศ.1510 เกิดการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ทางการเมืองทำให้เมืองฟลอเรนซ์ทำให้เมืองฟลอเรนซ์กลับไปอยู่ภายใต้การปกครองของตระกูลเมดิชีอีกครั้ง(ซึ่งตระกูลเมดิชีเคยมีอำนาจในเมืองฟลอเรนซ์มาตั้งแต่ปี ค.ศ.1432) มาเกียเวลลีถูกปลดออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 15 พฤศจิการยน ค.ศ.1512 ขณะนั้นมาเกียเวลลีอายุ 43 ปี แต่ความโชคร้ายไม่ได้หยุดเพียงแค่นั้นเพราะต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ.1513 มาเกียเวลลีถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการโค่นล้มอำนาจของตระกูลเมดิชีที่ถูกจับได้ ทำให้ถูกจับกุมและโดนทรมาน แต่เพราะมาเกียเวลลีไม่ได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาจึงได้รับอิสรภาพเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ.1513 ตามประกาศนิรโทษกรรม หลังจากนั้นมาเกียเวลลีได้ย้ายไปอยู่ชนบทพร้อมภรรยาและบุตรอีก 6 คน ที่ซาน อันเดรีย (San Andrea) ในแปร์กุชชินา ห่างไปทางตอนใต้ของเมืองฟลอเรนซ์ 7 ไมล์ และได้อุทิศตัวเองเพื่อการศึกษาและการเขียนตำราทางการเมือง ซึ่งผลงานเหล่านั้นได้สร้างชื่อเสียงให้มาเกียเวลลีไม่ว่าจะเป็น บทความวิชาการ ร้อยแก้วร้อยกรอง หรือบทละครต่างๆ เช่น เจ้าผู้ปกครอง (The Prince) จนเมื่อปี ค.ศ.1520 มาเกียเวลลีได้รับบัญชาจากคาร์ดินัล จูลิโอ เด เมดิซี ให้เขียนประวัติของนครฟลอเรนซ์[9] ในปี ค.ศ.1525 ได้กลับเข้ามาวงการของการเมืองอีกครั้งเป็นระยะเวลาสั้น ในปี ค.ศ.1526 ได้เป็นประธานคณะกรรมการส่วนท้องถิ่นและมาเกียเวลลีได้มีโอกาสไปปฏิบัติการทางการทูตในฐานะกึ่งเจ้าหน้าที่ของสำนักสันตะปาปา ทำให้มาเกียเวลลีมีความหวังที่จะไดกลับมารับตำแหน่งในเมืองฟลอเรนซ์อีกครั้ง แต่ถูกกล่าวหาซึ่งทำให้เสียโอกาสที่จะเข้าไปรับราชการในตำแหน่งเลขานุการ มาเกียเวลลีถึงแก่กรรมด้วยวัย 58 ปี เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ.1527 และมีพิธีฝังศพเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ.1527 ณ ซันตา โครเช ฟลอเรนซ์[10]
ผลงาน
นิกโกเลาะ มาเกียเวลลี
ผลงานในด้านวรรณกรรมหรืองานเขียนของมาเกียเวลลีมีหลากหลายประเภทโดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้[11]
งานเขียนที่เป็นผลมาจากหน้าที่การงาน
Reports on The Florentine's Republic's Efforts to Suppress the Pistoia Factions
Of the Methods of Dealing with the Rebels of the Valdichiana
Discourses on Florentine Military Preparation
Description on the Affairs of France
Report on the Affair of Germany
งานเขียนหลังจากที่มาเกียเวลลีออกจากราชการ เป็นช่วงที่มีผลงานมากที่สุด
เจ้าผู้ปกครอง (Il Principe) (ค.ศ.1513)
วจนิพนธ์ว่าด้วยสิบแรกของติตุส ลีวิอุส (Discorsi sopra la prima Deca di Tito Livio) (ค.ศ.1512-16)
ศิลป์สงคราม (Dell'arte della guerra) (ค.ศ.1520)
ชีวิตของกัสทรุกซิโอ กัสตรากานี (Vita di Castruccio Castracani) (ค.ศ.1520)
ประวัติศาสตร์ฟลอเรนซ์ (Istorie fiorentine) (ค.ศ.1520-25)
งานเขียนที่เป็นบทกวีหรือบทละครตลก
The Golden Ass
Decennale primo (ค.ศ.1506)
Decennale secondo (ค.ศ.1509)
Belfagor arcidiavolo (ค.ศ.1515)
Andria or The Girl From Andros (ค.ศ.1517)
Asino d'oro (ค.ศ.1517)
Mandragola (ค.ศ.1518)
Frammenti storici (ค.ศ.1525)
อ้างอิง
J.-J. Rousseau, Contrat sociale , III, 6
Airaksinen, Timo (2001). The philosophy of the Marquis de Sade . Taylor & Francis e-Library. p. 20. ISBN 0-203-17439-9 . Two of Sade’s own intellectual heroes were Niccolò Machiavelli and Thomas Hobbes, both of whom he interpreted in the traditional manner to recommend wickedness as an ingredient of virtue.
Diderot, Denis. "Machivellianism". Encyclopedie .
Najemy, John M. (2010). The Cambridge Companion to Machiavelli . Cambridge University Press. p. 259.
คำนวล คำมณ๊.(2547).(ปรัชญาการเมือง).หน้า70
ธีระวิทย์.(2523).(สถาปนิกผู้สร้าง ทฤษฎีการเมืองตะวันตก จากแม็คคีเอเวลลีถึงรูสโซ).หน้า11
สมบัติ จันทรวงศ์.(2551).(์Niccolo Machiavelli The Prince เจ้าผู้ปกครอง).หน้า17
สมบัติ จันทรวงศ์.(2551).(Niccolo Machiavelli The Prince เจ้าผู้ปกครอง).หน้า17-22
สมบัติ จันทรวงศ์.(2551).(Niccolo Machiavelli The Prince เจ้าผู้ปกครอง).หน้า21
สมบัติ จันทรวงศ์.(2521).(ปรัชญาการเมืองสมัยใหม่).หน้า26