รายพระนามพระมหากษัตริย์ทั่วโลกตามรัชกาล

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รายพระนามพระมหากษัตริย์ทั่วโลกตามรัชกาล

นี่คือรายพระนามพระมหากษัตริย์ทั่วโลกตามรัชกาลที่จัดเรียงประมุขที่ครองราชย์นานที่สุดในโลก ตามระยะเวลาของรัชกาล

Thumb
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์นานที่สุด ตามวันที่พิสูจน์ได้แน่นอน

พระมหากษัตริย์ในรัฐเอกราชที่ครองราชย์ตามวันที่พิสูจน์ได้แน่นอน

สรุป
มุมมอง

ตารางข้างล่างรวมพระมหากษัตริย์ 25 พระองค์ที่ได้รับการยอมรับว่าครองราชย์นานที่สุดในรัชสมัยทั้งหมดหรือส่วนใหญ่ คอนสแตนตินที่ 8 และเบซิลที่ 2 จักรพรรดิไบแซนไทน์ที่ครองราชย์ 66 ปี (ค.ศ. 962–1028) และ 65 ปี (ค.ศ. 960–1025) ตามลำดับ ไม่ได้นับรวมในนี้ เนื่องจากมีบางช่วงที่ครองราชย์เป็นจักรพรรดิผู้เยาว์ร่วมกับจักรพรรดิผู้อาวุโส

ผู้สำเร็จราชการไม่นับรวมกับพระมหากษัตริย์ นั่นจึงเป็นเหตุผลให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสได้รับการจัดให้เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์นานที่สุด แม้ว่าอานาแห่งออสเตรีย พระราชมารดา ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นเวลา 8 ปี และไม่มีการแยกแยะระหว่างพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ นั่นทำให้สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 จัดให้อยู่ในอันดับที่ 2 แม้ว่าพระองค์จะเป็นเพียงประมุขในนาม

ข้อมูลเพิ่มเติม ลำดับ, พระบรมฉายาลักษณ์ ...
ลำดับ พระบรมฉายาลักษณ์ พระนาม ดินแดน ครองราชย์ ระยะเวลา อ้าง.
ตั้งแต่ ถึง (วัน) (ปี, วัน)
1 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 14 พฤษภาคม 1643 1 กันยายน 1715 26,407 72 ปี 110 วัน [1]
2 สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 [a] 6 กุมภาพันธ์ 1952 8 กันยายน 2022 25,782 70 ปี 214 วัน[b] [2][3][4]
3 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  ไทย 9 มิถุนายน 1946 13 ตุลาคม 2016 25,694 70 ปี 126 วัน [5]
4 เจ้าชายโยฮันที่ 2  ลีชเทินชไตน์ 12 พฤศจิกายน 1858 11 กุมภาพันธ์ 1929 25,658 70 ปี 91 วัน [6]
5 Kʼinich Janaabʼ Pakal ที่ 1 ปาเลงเก (เม็กซิโก) 27 กรกฎาคม 615[c] 29 สิงหาคม 683 24,870 68 ปี 33 วัน [7][9]
6 จักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 2 ธันวาคม 1848 21 พฤศจิกายน 1916 24,825 67 ปี 355 วัน [10]
7 Chan Imix Kʼawiil โกปัน (ฮอนดูรัส) 5 กุมภาพันธ์ 628[d] 15 มิถุนายน 695 24,602 67 ปี 130 วัน [13][14]
8 เฟอร์ดินันที่ 3 6 ตุลาคม 1759 4 มกราคม 1825 23,831 65 ปี 90 วัน [15]
9 สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย  สหราชอาณาจักร 20 มิถุนายน 1837 22 มกราคม 1901 23,226 63 ปี 216 วัน [16]
10 พระเจ้าไชเมที่ 1 ราชบัลลังก์อารากอน 12 กันยายน 1213 27 กรกฎาคม 1276 22,964 62 ปี 319 วัน [17]
11 จักรพรรดิโชวะ[e] 25 ธันวาคม 1926 7 มกราคม 1989 22,659 62 ปี 13 วัน [18]
12 จักรพรรดิคังซี[f]  จีน 5 กุมภาพันธ์ 1661 20 ธันวาคม 1722 22,597 61 ปี 318 วัน [19]
13 ออนอเรที่ 3  โมนาโก 29 ธันวาคม 1731 13 มกราคม 1793 22,296 61 ปี 15 วัน [20][21]
14 Itzamnaaj Bahlam ที่ 3 Yaxchilan (เม็กซิโก) 20 ตุลาคม 681[g] 15 มิถุนายน 742 22,153 60 ปี 238 วัน [11]
15 Kʼakʼ Tiliw Chan Yopaat กิริกัว (กัวเตมาลา) 29 ธันวาคม 724[h] 27 กรกฎาคม 785 22,125 60 ปี 210 วัน [22][23]
16 จักรพรรดิเฉียนหลง[i]  จีน 18 ตุลาคม 1735 9 กุมภาพันธ์ 1796[j] 22,029 60 ปี 114 วัน [24]
17 พระเจ้าคริสเตียนที่ 4  เดนมาร์ก–นอร์เวย์ 4 เมษายน 1588 28 กุมภาพันธ์ 1648 21,879 59 ปี 330 วัน [25]
18 สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 25 ตุลาคม 1760 29 มกราคม 1820 21,644 59 ปี 96 วัน [26]
19 พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 1 กันยายน 1715 10 พฤษภาคม 1774 21,436 58 ปี 251 วัน [27]
20 จักรพรรดิเปดรูที่ 2  บราซิล 7 เมษายน 1831 15 พฤศจิกายน 1889 21,407 58 ปี 222 วัน [28]
21 อัลมุสตันศิร บิลลาฮ์ รัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์ (อียิปต์) 13 มิถุนายน 1036[l] 29 ธันวาคม 1094 21,383 58 ปี 199 วัน [29][30]
22 พระเจ้านิกอลาที่ 1 13 สิงหาคม 1860 26 พฤศจิกายน 1918 21,288 58 ปี 105 วัน [33]
23 สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินา  เนเธอร์แลนด์ 23 พฤศจิกายน 1890 4 กันยายน 1948 21,104 57 ปี 286 วัน [34]
24 พระเจ้าเจมส์ที่ 6  สกอตแลนด์ 24 กรกฎาคม 1567 27 มีนาคม 1625 21,066 57 ปี 246 วัน [35]
25 คอนราดที่ 1 บูร์กอญ 12 กรกฎาคม 937[m] 19 ตุลาคม 993 20,553 56 ปี 99 วัน [36]
ปิด

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

  1. เอลิซาเบธทรงเป็นพระราชินีในรัฐต่าง ๆ เพียงไม่นาน ยกเว้น 4 ประเทศนี้ ระยะเวลาข้างล่างระบุไว้สำหรับเอลิซาเบธในฐานะพระมหากษัตริย์ของประเทศหรือดินแดนที่เป็นเอกราช ไม่มีรัฐใดจัดให้พระองค์อยู่ในรายพระนามนี้ ยกเว้นประเทศจาเมกาที่จัดพระองค์อยู่ในอันดับที่ 17 รัฐข้างล่างเป็นดินแดนของบริติชในช่วงต้นรัชสมัยเอลิซาเบธที่ 2 ใน ค.ศ. 1952 แต่เป็นเอกราชในฐานะสาธารณรัฐในรัชสมัยของพระองค์:
    รัฐข้างล่างยังไม่ได้มีอธิปไตยเป็นของตนเองในช่วงเริ่มต้นของรัชสมัยเอลิซาเบธที่ 2 ใน ค.ศ. 1952 แต่เป็นเอกราชและภายหลังเปลี่ยนระบอบเป็นสาธารณรัฐในรัชสมัยของพระองค์:
    •  กานา (เอกราช 6 มีนาคม ค.ศ. 1957, สาธารณรัฐ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1961; 4 ปี 87 วัน)
    •  ไนจีเรีย (เอกราช 1 ตุลาคม ค.ศ. 1960, สาธารณรัฐ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1963; 3 ปี 0 วัน)
    •  เซียร์ราลีโอน (เอกราช 27 เมษายน ค.ศ. 1961, สาธารณรัฐ 19 เมษายน ค.ศ. 1971; 9 ปี 357 วัน)
    •  แทนกันยีกา (เอกราช 9 ธันวาคม ค.ศ. 1961, สาธารณรัฐ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1962; 1 ปี 0 วัน)
    •  ตรินิแดดและโตเบโก (เอกราช 31 สิงหาคม ค.ศ. 1962, สาธารณรัฐ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1976; 13 ปี 336 วัน)
    •  ยูกันดา (เอกราช 9 ตุลาคม ค.ศ. 1962, สาธารณรัฐ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1963; 1 ปี 0 วัน)
    •  เคนยา (เอกราช 12 ธันวาคม ค.ศ. 1963, สาธารณรัฐ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1964; 1 ปี 0 วัน)
    •  มาลาวี (เอกราช 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1964, สาธารณรัฐ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1966; 2 ปี 0 วัน)
    •  มอลตา (เอกราช 21 กันยายน ค.ศ. 1964, สาธารณรัฐ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1974; 10 ปี 83 วัน)
    •  แกมเบีย (เอกราช 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1965, สาธารณรัฐ 24 เมษายน ค.ศ. 1970; 5 ปี 65 วัน)
    •  กายอานา (เอกราช 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1966, สาธารณรัฐ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1970; 3 ปี 273 วัน)
    •  บาร์เบโดส (เอกราช 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1966, สาธารณรัฐ 30 พฤษจิกายน ค.ศ. 2021; 55 ปี 0 วัน)
    •  มอริเชียส (เอกราช 12 มีนาคม ค.ศ. 1968, สาธารณรัฐ 12 มีนาคม ค.ศ. 1992; 24 ปี 0 วัน)
    •  ฟีจี (เอกราช 10 ตุลาคม ค.ศ. 1970, สาธารณรัฐ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1987; 16 ปี 361 วัน)
    รัฐข้างล่างยังไม่ได้มีอธิปไตยเป็นของตนเองในช่วงเริ่มต้นของรัชสมัยเอลิซาเบธที่ 2 ใน ค.ศ. 1952 แต่เป็นเอกราชในรัชสมัยพระองค์ และคงพระองค์ไว้เป็นราชินี:
  2. ช่วงเวลาครองราชย์นับเฉพาะรัฐเอกราชที่ยังคงมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในรัชสมัยของพระองค์ ได้แก่: ออสเตรเลีย, แคนาดา, นิวซีแลนด์ และสหราชอาณาจักร
  3. ในปฏิทินมายา ครองราชย์ใน 9.9.2.4.8, 5 Lamat 1 Mol; สวรรคตใน 9.12.11.5.18, 6 Etz'nab 11 Yax. มีการแปลงวันที่แบบนับยาวด้วยวิธีการสร้างความสัมพันธ์กับ GMT+2 กับปฏิทินจูเลียน[7][8]
  4. ในปฏิทินมายา ครองราชย์ใน 9.9.14.17.5, 6 Chikchan 18 K'ayab; สวรรคตใน 9.13.3.5.7 12 Manik' 0 Yaxk'in. วันที่ตะวันตกนำมาจากการสร้างความสัมพันธ์กับ GMT+2 ในปฏิทินจูเลียน[11][12]
  5. ดำรงเป็นอุปราชในรัชสมัยจักรพรรดิไทโช ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1921 จนกระทั่งเสวยราชสมบัติ
  6. ผู้ปกครองจีนนานที่สุดโดยนิตินัย
  7. ในปฏิทินมายา ครองราชย์ใน 9.12.9.8.1 5 Imix 4 Mak; สวรรคตใน 9.15.10.17.14 6 Ix 12 Yaxk'in. วันที่ตะวันตกนำมาจากการสร้างความสัมพันธ์กับ GMT+2 ในปฏิทินจูเลียน[11]
  8. ในปฏิทินมายา ครองราชย์ใน 9.14.13.4.17 12 Kab'an 5 K'ayab'; สวรรคตใน 9.17.14.13.2 11 Ik 5 Yax. วันที่ตะวันตกนำมาจากการสร้างความสัมพันธ์กับ GMT+2 ในปฏิทินจูเลียน[11]
  9. ผู้ปกครองจีนนานที่สุดโดยพฤตินัย
  10. สละราชสมบัติ แต่ยังคงมีอำนาจโดยพฤตินัยในฐานะไท่ช่างหฺวังจนถึง 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1799
  11. บริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เข้าร่วมเป็นสหราชอาณาจักร โดยมีผลบังคับตามพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1800 ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1801
  12. ในปฏิทินอิสลาม ครองราชย์ในวันที่ 15 ชะอ์บาน ฮ.ศ. 427; สวรรคตวันที่ 18 ษุลฮิจญะฮ์ ฮ.ศ. 487[29] บางข้อมูลระบุวันสวรรคตของพระองค์ที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1095[29] แต่ข้อมูลส่วนใหญ่ให้ที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 1094[30][31][32]
  13. วันสวรรคตของรูดอล์ฟที่ 2 ผู้ครองราชย์ก่อนหน้า อยู่ที่ 11, 12 หรือ 13 กรกฎาคม[36][37]

อ้างอิง

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.