Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปฏิทินฮิจเราะห์ ปฏิทินอิสลาม หรือ ปฏิทินมุสลิม (อังกฤษ: Islamic calendar; อาหรับ: ٱلتَّقْوِيم ٱلْهِجْرِيّ at-taqwīm al-hijrī) เป็นระบบปฏิทินจันทรคติซึ่งประกอบด้วย 12 เดือน และใน 1 ปีจะมี 354 หรือ 355 วัน ใช้กำหนดวันเหตุการณ์ในหลายประเทศมุสลิม (ควบคู่ไปกับปฏิทินกริกอเรียน) และใช้โดยมุสลิมทั่วโลกเพื่อกำหนดวันที่เหมาะสมในการเฉลิมฉลองวันสำคัญและเทศกาลในศาสนาอิสลาม ปฏิทินฮิจเราะห์เริ่มนับเมื่อศาสดาแห่งอิสลาม นบีมุฮัมมัดอพยพจากมักกะฮ์ไปยังมะดีนะฮ์ หรือที่รู้จักกันว่า hijra, hijrah ในภาษาอังกฤษ ฮิจเราะห์ศักราชจะถูกระบุโดยใช้ตัวย่อ H หรือ AH อันเป็นตัวย่อของวลีภาษาละติน anno Hegirae (ในปีแห่งฮิจเราะห์)[1] ปัจจุบันอยู่ในฮิจเราะห์ศักราช 1446
เนื่องจากปฏิทินฮิจเราะห์เป็นปฏิทินจันทรคติ จึงไม่เกิดขึ้นพร้อมกับฤดูกาล โดยในแต่ละปีมีวันคาดเคลื่อนไปจากปฏิทินกริกอเรียนอยู่ 11 หรือ 12 วัน ทำให้ฤดูกาลจะกลับมาซ้ำเดิมทุก 33 ปีอิสลาม
ในหนึ่งปีฮิจเราะห์มี 12 เดือน คือ[2]
ในภาษาอาหรับ เช่นเดียวกับในภาษาฮีบรู "วันแรก" ของสัปดาห์เสมือนกับเป็นวันอาทิตย์แบบสากล วันในศาสนาอิสลามและศาสนายูดาห์เริ่มเมื่อดวงอาทิตย์ตก ขณะที่ศาสนาคริสต์สมัยกลางและวันแบบสากลเริ่มเมื่อเวลาเที่ยงคืน[3] แต่วันพิธีสวดในศาสนาคริสต์ ซึ่งใช้กันในอารามต่าง ๆ นั้น เริ่มด้วยพิธีทางศาสนาในตอนเย็น (Vespers) ซึ่งเป็นไปตามประเพณีของกลุ่มศาสนาอับราฮัมอื่น ๆ มุสลิมชุมนุมกันเพื่อสักการะที่มัสยิดเมื่อเวลาเที่ยงวันศุกร์ ดังนั้น วันศุกร์จึงมักถือว่าเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ ดังนั้นวันรุ่งขึ้น ซึ่งเป็นวันเสาร์ จึงเป็นวันแรกของสัปดาห์ทำงาน
ลำดับที่ | ภาษาอาหรับ | ภาษาไทย | ภาษาฮินดี | ภาษาเบงกอล | ภาษาฮีบรู | ภาษาอินโดนีเซีย | ภาษามลายู | ภาษาอูรดู | ภาษาเปอร์เซีย |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | เยามุลอะฮัด يَوْم الْأَحَد (วันแรก) | วันอาทิตย์ | รวิวาร रविवार | রবিবার | Yom Rishon יום ראשון | มิงกู Minggu | อาฮัด Ahad | Itwaar اتوار | Yek-Shanbeh یکشنبه |
2 | เยามุลอิษนัยน์ يَوْم الاِثْنَيْن (วันที่สอง) | วันจันทร์ | โสมวาร सोमवार | সোমবার | Yom Sheni יום שני | เซอนิน Senin | อิซนิน Isnin | Pîr پير | Do-Shanbeh دوشنبه |
3 | เยามุษษุลาษาอ์ يَوْم الثُّلَاثَاء (วันที่สาม) | วันอังคาร | มงคลวาร मंगलवार | মঙ্গলবার | Yom Shlishi יום שלישי | เซอลาซา Selasa | เซอลาซา Selasa | Mangl منگل | Seh-Shanbeh سه شنبه |
4 | เยามุลอัรบะอาอ์ يَوْم الْأَرْبَعَاء (วันที่สี่) | วันพุธ | พุธวาร बुधवार | বুধবার | Yom Revi'i יום רבעי | ราบู Rabu | ราบู Rabu | Budh بدھ | Chahar-Shanbeh چهارشنبه |
5 | เยามุลเคาะมีส يَوْم الْخَمِيس (วันที่ห้า) | วันพฤหัสบดี | คุรุวาร गुरुवार | বৃহস্পতিবার | Yom Khamishi יום חמישי | กามิซ Kamis | คามิซ Khamis | Jumahraat جمعرات | Panj-Shanbeh پنجشنبه |
6 | เยามุลญุมอะฮ์ يَوْم الْجُمْعَة (gathering day) | วันศุกร์ | ศุกรวาร शुक्रवार | শুক্রবার | Yom Shishi יום ששי | จุมอัต Jumat | จูมาอัต Jumaat | Jumah جمعہ | Jom'e หรือ Adineh جمعه หรือ آدينه |
7 | เยามุสซับต์ يَوْم ٱلسَّبْت (วันสะบาโต) | วันเสาร์ | ศนิวาร शनिवार | শনিবার | Yom Shabbat יום שבת | ซับตู Sabtu | ซับตู Sabtu | Hafta ہفتہ | Shanbeh شنبه |
นักวิชาการบางคน ทั้งมุสลิมและตะวันตก คิดว่าปฏิทินก่อนปฏิทินฮิจเราะห์ในอาระเบียกลางเป็นปฏิทินจันทรคติคล้ายกับปฏิทินฮิจเราะห์สมัยใหม่[4][5] ส่วนนักวิชาการอื่น ๆ ทั้งมุสลิมและตะวันตก เห็นด้วยว่าเดิมปฏิทินฮิจเราะห์เป็นปฏิทินจันทรคติ ที่ราว 200 ปีก่อนการฮิจเราะห์ ได้แปลงไปเป็นปฏิทินสุริยจันทรคติ ซึ่งมีการเพิ่มอธิกมาสเป็นบางครั้งเพื่อรักษาเวลาในฤดูกาลของปีเมื่อสินค้ามีมากที่สุดสำหรับผู้ซื้อเบดูอิน การแทรกอธิกมาสมีขึ้นทุกสามปี โดยจะเลื่อนเดือนแรกของปีไปหนึ่งเดือน การแทรกอธิกมาสเพิ่มเดือนแสวงบุญอีกหนึ่งเดือน และเดือนที่ตามมานั้นจะมีชื่อเหมือนกัน และเดือนที่เหลือและความศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายของเดือนที่ตามมานั้นจะเลื่อนออกไปหนึ่งเดือนทั้งหมด[6][7][8][9]
ในปีฮิจเราะห์ที่สิบ ตามที่ปรากฏในอัลกุรอาน (อัลกุรอาน 9:36-37) มุสลิมเชื่อว่าพระเจ้า (อัลลอฮ์) ห้ามการเลื่อนเดือน:
- แท้จริงจำนวนเดือน ณ อัลลอฮ์นั้นมีสิบสองเดือนในคัมภีร์ของอัลลอฮ์ตั้งแต่วันที่พระองค์ทรงสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน จากเดือนเหล่านั้นมีสี่เดือน ซึ่งเป็นเดือนที่ต้องห้ามนั่นคือบัญญัติอันเที่ยงตรง ดังนั้นพวกเธอจงอย่าอธรรมแก่ตัวของพวกเธอเองในเดือนเหล่านั้นและจงต่อสู้บรรดามุชริกทั้งหมด เช่นเดียวกับที่พวกเขากำลังต่อสู้พวกเธอทั้งหมด และพึงรู้เถิดว่า แท้จริงอัลลอฮ์นั้นร่วมกับบรรดาผู้ที่ยำเกรง
- แท้จริงการเลื่อนเดือนที่ต้องห้ามให้ล่าช้า ไปนั้นเป็นการเพิ่มในการปฏิเสธศรัทธา ยิ่งขึ้นโดยที่ผู้ปฏิเสธศรัทธาเหล่านั้นถูกทำให้หลงผิดไป เนื่องด้วยการเลื่อนเดือนต้องห้ามนั้น พวกเขาได้ให้มันเป็นที่อนุมัติปีหนึ่ง และให้มันเป็นที่ต้องห้ามปีหนึ่ง เพื่อพวกเขาจะให้พ้องกับจำนวนเดือนที่อัลลอฮ์ได้ทรงห้ามไว้ (มิเช่นนั้นแล้ว) พวกเขาก็จะทำให้เป็นที่อนุมัติสิ่งทีอัลลอฮ์ได้ทรงให้เป็นที่ต้องห้ามไป โดยที่ความชั่วแห่งบรรดาการงานของพวกเขาได้ถูกประดับประดาให้สวยงามแก่พวกเขา และอัลลอฮ์นั้นจะไม่ทรงนำทางแก่กลุ่มชนที่ปฏิเสธศรัทธา[10]
หากต้องการทราบว่าวันเดือนปีใน ค.ศ. xxxx ตรงกับวันเดือนปีใดใน ฮ.ศ. ให้ทำดังนี้
ตัวอย่างเช่น วันที่ 1 มกราคม 1992
1992 – 1 = 1991
1991 x 365.25 = 727212.75 + 11 = 727223
727223 – 227015 = 500208
10631 = 47 รอบ เศษ 551 x 30 = 1410 + 1 + 1 ปีเศษ 197 วัน = 2523 ปี 197 วัน
1411 + 1 ปี = 1412 ปี 197 วัน
197 30 + 29 + 30 + 29 + 30 + 30 + 19 = Rajab 1412
โดยใช้ข้อมูลต่อไปนี้เป็นหลัก
ตัวอย่างเช่น วันที่ 1 มค. 1992
ถ้าจะหา ค.ศ. จาก ฮ.ศ. ทำได้ดังนี้
ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) เป็นศักราชตามปฏิทินอิสลามหรือปฏิทินของชาวมุสลิม (Islam Calendar) ฮิจเราะห์มาจากภาษาอาหรับ แปลว่า การอพยพ เป็นการนับศักราชในประเทศที่มีการนับถือศาสนา อิสลาม โดยเริ่มนับ ฮ.ศ. 1 เมื่อท่านนีมูฮัมหมัดนำเหล่าสาวกอพยพจากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดินา ตรงกับพุทธศักราช 1165 หากจะเทียบปีฮิจเราะห์นักราชเป็นปีพุทธศักราชจะต้องบวกฮิจเราะห์ศักราชด้วย 1122 (Nsjiranon, n.d.) ซึ่งจะมิใช่ 1165 ทั้งนี้เพราะปฏิทินมุสลิมนี้เป็นปฏิทินจันทรคติอย่างแท้จริง คือ ใช้ดวงจันทร์เป็นหลักในการกำหนดเดือนกอมารียะห์12 เดือน (Mama, 2016) กล่าวคือปีหนึ่งมี12 เดือน จันทรคติแต่ละเดือนปกติแล้วจะมี 30 วันและ 29 วัน สลับกัน ปีหนึ่งจึงมี 354 วันซึ่งในรอบ 30 ปีจัดเป็นปีปกติ 19 ปีซึ่งปีหนึ่งมี 354 วัน และปีอธิกวาร 11 ปีซึ่งปีหนึ่งมี355 วัน (Chinnaphat, 1998, p.119) ซึ่งถ้าเทียบกับปฏิทินสากลของไทยในปัจจุบันแล้วปฏิทินอิสลามจะเร็วขึ้นปีละ 11–12 วัน ศักราชอิสลามนี้ เรียกว่าฮิจเราะห์ศักราชเริ่มต้นจาก ค.ศ. 622 หรือ พ.ศ. 1165 ดังกล่าวมาแล้ว ฮิจเราะห์ศักราชจะ ขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 ของ เดือนมูฮัรรอม (Muharam) ซึ่งจะตรงกับวันที่และเดือนอะไรตามปฏิทินไทย สากลขึ้นอยู่กับผลการสังเกตดวง จันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) ในแต่ละเดือนกอมารียะห์หรือคำประกาศของ สำนักจุฬาราชมนตรีซึ่งปีพ.ศ. 2559 สำนักจุฬาราชมนตรีได้ประกาศกำหนดวันขึ้นปีใหม่ของชาวมุสลิม คือวันที่ 1 ของเดือนมูฮัรรอม ฮิจเราะห์ 1438 ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2559 (Mama, 2016) ซึ่งเท่ากับ พ.ศ. 2559 – 1121 = ฮ.ศ. 1438 นั่นเองและประมาณเดือนมกราคม พ.ศ. 2560 ก็จะเป็น เดือนที่สี่หรือเดือนรอบีอุ้ลอาเคร (Rabiul Akhir) ฮิจเราะห์ศักราช 1438 (Mama, 2016) หรือเท่ากับ พ.ศ. 2560 – 1122 = ฮ.ศ. 1438 นั่นเอง ดังนั้นหากถือเอาเดือนมกราคม เป็นตัวตั้งก็ให้ใช้ พ.ศ. – 1122 = ฮ.ศ. ได้โดยตรง เพราะฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า การที่จะเทียบปีฮิจเราะห์ศักราชกับปีพุทธศักราชที่เป็นปีปฏิทินสุริยคติไทย ให้นำพุทธศักราชกับฮิจเราะห์ศักราช มาเทียบโดยนำ 1122 มาบวกหรือลบ [11]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.