จักรวรรดิออสเตรีย

รัฐจักรวรรดิพหุชาติในทวีปยุโรปตอนกลาง ดำรงอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1804 ถึง 1867 จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จักรวรรดิออสเตรีย

จักรวรรดิออสเตรีย (อังกฤษ: Austrian Empire; เยอรมัน: Kaiserthum Oesterreich, ตัวสะกดสมัยใหม่: Kaiserthum Österreich, ออกเสียง: [ˌkaɪ̯zɐtuːm ˈøːstəʁaɪ̯ç] ) เป็นจักรวรรดิพหุชาติในภูมิภาคยุโรปกลางและตะวันออก ดำรงอยู่ตั้งแต่ ค.ศ. 1804 ถึง ค.ศ. 1867 จักรวรรดิออสเตรียได้รับการสถาปนามาจากอาณาจักรฮาพส์บวร์ค ในช่วงที่ยังดำรงอยู่ จักรวรรดิออสเตรียเป็นจักรวรรดิที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 3 รองจากจักรวรรดิรัสเซียและสหราชอาณาจักร โดยอยู่ร่วมกับปรัสเซีย และเป็นหนึ่งในสองมหาอำนาจของสมาพันธรัฐเยอรมัน ในทางภูมิศาสตร์ จักรวรรดิออสเตรียเป็นจักรวรรดิที่มีพื้นที่มากที่สุดเป็นอันดับ 3 ในยุโรป รองจากจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง (มีพื้นที่ 621,538 ตารางกิโลเมตร หรือ 239,977 ตารางไมล์) โดยจักรวรรดิออสเตรียได้รับสถาปนา เพื่อตอบโต้จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง โดยมีพื้นที่บางส่วนซ้อนอยู่ภายในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จนกระทั่งการล่มสลายของจักรวรรดิในระยะหลัง ใน ค.ศ. 1806

ข้อมูลเบื้องต้น จักรวรรดิออสเตรีย Kaiserthum Österreich (เยอรมัน), สถานะ ...
จักรวรรดิออสเตรีย

Kaiserthum Österreich (เยอรมัน)
ค.ศ. 1804–ค.ศ. 1867
Thumb
ธงชาติ
Thumb
ตราแผ่นดินจักรวรรดิ
เพลงชาติ: Gott erhalte Franz den Kaiser
ก็อทเอไฮล์ทีฟรานซ์ดินไคเซอร์
"พระเจ้าทรงพิทักษ์จักรพรรดิฟรันซ์"
Thumb
จักรวรรดิออสเตรียใน ค.ศ. 1815 โดยมีพรมแดนของสมาพันธรัฐเยอรมัน อยู่ในรูปของเส้นประ
Thumb
จักรวรรดิออสเตรีย ณ จุดที่ยิ่งใหญ่สูงสุด (คริสต์ทศวรรษที่ 1850)
สถานะ
เมืองหลวงเวียนนา
ภาษาทั่วไปออสเตรีย-บาวาเรีย, เยอรมัน, ฮังการี, เช็ก, สโลวัก, โปแลนด์, รูทีเนีย, สโลวีเนีย, โครเอเชีย, เซอร์เบีย, โรมาเนีย, ลอมบาร์ด, เวเนโต, ฟรูเลีย, ลาดิน, อิตาลี, ยูเครน, ยิดดิช
ศาสนา
ส่วนมาก:
โรมันคาทอลิก (ประจำชาติ)
ส่วนน้อย:
ลูเทอแรน, นิกายปฏิรูป, อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์, ยิว
เดมะนิมชาวออสเตรีย
การปกครอง
จักรพรรดิ 
 ค.ศ. 1804–1835
ฟรันทซ์ที่ 1
 ค.ศ. 1835–1848
แฟร์ดีนันท์ที่ 1
 ค.ศ. 1848–1867
ฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1
มุขมนตรี 
 ค.ศ. 1821–1848
เคลเมินส์ ฟ็อน เม็ทเออร์นีช (คนแรก)
 ค.ศ. 1867
ฟรีดริช แฟร์ดีนันท์ ฟ็อน บ็อยสท์ (คนสุดท้าย)
สภานิติบัญญัติสภาจักรวรรดิ
สภาขุนนาง
สภาผู้แทนราษฎร
ยุคประวัติศาสตร์19th century
 สถาปนา
11 สิงหาคม ค.ศ. 1804
6 สิงหาคม ค.ศ. 1806
8 มิถุนายน ค.ศ. 1815
 บังคับใช้รัฐธรรมนูญ
20 ตุลาคม ค.ศ. 1860
14 มิถุนายน 1866
30 มีนาคม ค.ศ. 1867
สกุลเงิน
  • เทียลเลอร์ (ค.ศ. 1804–1857)
  • แวเรินส์เทียลเลอร์ (ค.ศ. 1857–1867)
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
อาร์ชดัชชีออสเตรีย
รัฐผู้คัดเลือกซัลทซ์บวร์ค
ราชอาณาจักรฮังการี (ค.ศ. 1301–1526)
สาธารณรัฐเวนิส
ดัชชีมีลาโน
ราชอาณาจักรโบฮีเมีย
แคว้นชายแดนโมราเวีย
ดัชชีไซลีเชีย
ราชอาณาจักรโครเอเชีย (ฮาพส์บวร์ค)
ราชอาณาจักรสลาโวเนีย
ราชอาณาจักรกาลิเซียและโลโดเมเรีย
ดัชชีบูโควีนา
ราชรัฐทรานซิลเลเนีย (ค.ศ. 1711–1867)
สมาพันธรัฐเยอรมัน
ออสเตรีย-ฮังการี
คีลลีอิทาเนีย
ทรานส์ลีอิทาเนีย
ราชอาณาจักรอิตาลี
ดัชชีวอร์ซอ
1: เฉพาะดินแดนออสเตรียและโบฮีเมียเท่านั้น
ปิด

คำว่า “จักรวรรดิออสเตรีย” ใช้สำหรับดินแดนที่เป็นของราชวงศ์ฮาพส์บวร์คมาตั้งแต่ก่อนปี ค.ศ. 1804 แต่ไม่ใช่ชื่อทางการทางการ โดยทั่วไปแล้วมักจะใช้คำว่า “ออสเตรีย” มากกว่า บางครั้งใช้คำว่าออสเตรีย-ฮังการี แต่เป็นการใช้ที่ไม่ถูกต้อง

จักรวรรดิออสเตรียก่อตั้งในปี ค.ศ. 1804 โดยจักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค ซึ่งต่อมาจึงเฉลิมพระนามเป็นจักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 1 แห่งออสเตรีย ได้รวบรวมดินแดนมาจากที่ดินส่วนพระองค์และดินแดนของจักรวรรดิ เพื่อตอบโต้การที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงประกาศก่อตั้งจักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง ขึ้นในปีเดียวกันนั้น

หลังจากนั้นออสเตรียและบางส่วนของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก็รวมตัวกันต่อต้านฝรั่งเศสและพันธมิตรเยอรมันระหว่างสงครามประสานมิตรครั้งที่สาม ที่นำไปสู่ความพ่ายแพ้อย่างยับเยินในยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์ (Battle of Austerlitz) เมื่อต้นเดือนธันวาคม ค.ศ. 1805 เมื่อมาถึงวันที่ 4 ธันวาคมก็มีการยุติการสู้รบและเริ่มมีการเจรจาสงบศึกในที่ไม่ไกลนัก

ต่อมาจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 ต้องทรงจำยอมตกลงในสนธิสัญญาเพรสส์บูร์ก (Treaty of Pressburg) ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1805) ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่เท่ากับเป็นการยุบเลิกจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์อันเป็นจักรวรรดิที่รุ่งเรืองมาเป็นเวลานานโดยการจัดระบบการปกครองของรัฐในเยอรมนีภาพใต้อิทธิพลของนโปเลียน ที่เป็นการเริ่มต้นของอาณาบริเวณที่ใกล้เคียงกับอาณาบริเวณของประเทศเยอรมนีสมัยใหม่ ดินแดนของออสเตรียในเยอรมนีตกไปเป็นของพันธมิตรของฝรั่งเศส ได้แก่ กษัตริย์แห่งบาวาเรีย กษัตริย์เวือร์ทเทิมแบร์ก และรัฐผู้คัดเลือกบาเดิน ออสเตรียต้องสละดินแดนในเยอรมนีทั้งหมดโดยไม่มีข้อแม้

แปดเดือนหลังจากนั้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1806 จักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 2 ก็ทรงยุบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากการก่อตั้งสมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์โดยฝรั่งเศส เพราะไม่มีพระประสงค์จะให้นโปเลียนมาครองราชย์สืบต่อจากพระองค์ ในขณะเดียวกันพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรผู้ทรงเป็นผู้คัดเลือกแห่งฮันโนเฟอร์ผู้ทรงเสียดินแดนในบริเวณรัฐผู้คัดเลือกเบราน์ชไวก์-ลือเนบูร์กแก่นโปเลียนด้วยเช่นกัน ก็ไม่ทรงยอมรับการกระทำของฝรั่งเศส ฝ่ายสหราชอาณาจักรตอบโต้โดยการก่อตั้งราชอาณาจักรฮันโนเฟอร์ที่ปกครองต่อมาจนกระทั่งเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรขึ้นครองราชสมบัติราชอาณาจักรฮันโนเฟอร์ก็แยกตัวจากการปกครองโดยพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร

แม้ว่าจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จะเป็นตำแหน่งที่มาจากการเลือกตั้ง ราชวงศ์ฮาพส์บวร์คก็ดำรงตำแหน่งนี้มาสืบต่อกันมาตั้งแต่ ค.ศ. 1440 จะมีขาดก็เป็นเพียงบางช่วง และออสเตรียก็นับเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิมาโดยตลอด

จักรวรรดิออสเตรียเดิมมิได้รวมราชอาณาจักรฮังการี และดินแดนอิสระอื่น ๆ ที่ราชวงศ์ฮับส์บูร์กปกครองมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1541 ฮังการีมาถูกผนวกหลังจากการพ่ายแพ้ในการปฏิวัติระหว่างปี ค.ศ. 1848/1849 แต่ก็เป็นปัญหาต่อมาเมื่อฮังการีเรียกร้องให้มีการปฏิรูปรัฐธรรมนูญโดยการไม่ยอมสวมมงกุฎให้จักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟเป็นกษัตริย์แห่งฮังการี หลังจากออสเตรียพ่ายแพ้ในสงครามออสเตรีย-ปรัสเซียในปี ค.ศ. 1866 และแยกตัวออกจากสมาพันธรัฐเยอรมันแล้ว จักรวรรดิออสเตรียจึงได้เปลี่ยนมาเป็นจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีโดยข้อตกลงออสเตรีย-ฮังการี ค.ศ. 1867 ที่ทำให้ฮังการีและดินแดนในการปกครองมีฐานะเท่าเทียมกับออสเตรียทั้งหมด

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.