Loading AI tools
สายการบินแห่งชาติของประเทศอียิปต์ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อียิปต์แอร์ (อาหรับแบบอียิปต์: مصر للطيران) เป็นสายการบินประจำชาติและสายการบินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอียิปต์ โดยมีฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานนานาชาติไคโร อียิปต์แอร์ให้บริการเที่ยวบินไปยังจุดหมายปลายทางกว่า 90 แห่งในแอฟริกา เอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ[3] อียิปต์แอร์เป็นสมาชิกของกลุ่มพันธมิตรทางการบินสตาร์อัลไลแอนซ์ตั้งแต่วันที่ กรกฎาคม ค.ศ. 2008[4] อียิปต์แอร์เป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งขององค์การสายการบินอาหรับ
| |||||||
ก่อตั้ง | 7 มิถุนายน ค.ศ. 1932 (92 ปี) (ในชื่อ สายการบินมิศร์) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มดำเนินงาน | กรกฎาคม ค.ศ. 1933 (91 ปี) | ||||||
ท่าหลัก | ไคโร | ||||||
เมืองสำคัญ |
| ||||||
สะสมไมล์ | อียิปต์แอร์ พลัส[1] | ||||||
พันธมิตรการบิน | สตาร์อัลไลแอนซ์ | ||||||
บริษัทลูก |
| ||||||
ขนาดฝูงบิน | 77 | ||||||
จุดหมาย | 90 | ||||||
บริษัทแม่ | อียิปต์แอร์โฮลดิงคอมปะนี (รัฐบาลอียิปต์) | ||||||
สำนักงานใหญ่ | ไคโร, ประเทศอียิปต์ | ||||||
บุคลากรหลัก | |||||||
เว็บไซต์ | egyptair |
ในการเยือยอียิปต์ของอลัน มันต์ซ ประธานเจ้าหน้าที่ของแอร์เวิร์กในปี 1931 มันต์ซได้แสดงเจตนารมณ์ในการเริ่มสายการบินใหม่ในประเทศ โดยใช้ชื่อ มิศร์แอร์เวิร์ก (Misr Airwork) โดย "มิศร์" ("مصر" ในภาษาอาหรับ) หมายถึงประเทศอียิปต์ในภาษาอาหรับ และได้รับการรับรองจากรัฐบาลในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1931[5] มิศร์แอร์เวิร์กได้ตั้งสายการบินลูกในชื่อ สายการบินมิศร์ ในวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1932[5] เป็นสายการบินที่เจ็ดของโลก[6]
มีการลงทุนเริ่มแรกด้วยเงินจำนวน 20,000 ปอนด์อียิปต์ โดยกรรมสิทธิบริษัทถูกแบ่งไประหว่างมิศร์แบงก์ (85%), แอร์เวิร์ค (10%), และนักลงทุนสัญชาติอียิปต์ (5%) สายการบินมิศร์เริ่มดำเนินงานในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1933 โดยเริ่มทำการบินจากไคโรสู่อะเล็กซานเดรียและมาร์ซามาทรูห์โดยใช้เครื่องบินเดอ ฮาวิลแลนด์ ดีเอช.84 ดรากอน และได้เพิ่มความถี่ของเที่ยวบินสู่อะเล็กซานเดรียเป็นวันละ 2 เที่ยวบินในอีกหนึ่งเดือนต่อมา[5] ในช่วงปลายปี 1933[7] ได้เพิ่มเที่ยวบินไคโร-อัสยุต-ลักซอร์-อัสวานสัปดาห์ละสองครั้ง และได้เพิ่มเที่ยวบินสู่ลิดดา, ไฮฟา, และกาซาผ่านพอร์ตซาอิดในปี 1934ะหว่างปี 1935 สายการบินมิศร์ได้บรรทุกผู้โดยสาร 6,990 คน และสินค้า 21,830 กิโลกรัม (48,130 ปอนด์)[8]
สายการบินมิศร์เริ่มให้บริการเที่ยวบินฮัจญ์ในปี 1937 และได้สั่งซื้อเครื่องบินมาประจำการในฝูงบินมากมาย ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1949[9] รัฐบาลได้เข้าซื้อสายการบิน และได้เปลี่ยนชื่อสายการบินเป็นมิศร์แอร์ เอสเออี[9]
อียิปต์แอร์มีสำนักงานใหญ่อยู่ในบริเวณท่าอากาศยานนานาชาติไคโรในกรุงไคโร[10][11]
อียิปต์แอร์ถือหุ้นโดยรัฐบาล 100% ผ่านอียิปต์แอร์โฮลดิงคอมปะนีที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2002 และมีบริษัทในเครืออีก 9 บริษัท ดังต่อไปนี้บริษัทอื่นๆ ที่อยู่ภายใต้อียิปต์โฮลดิง
สายการบินมีถือกรรมสิทธิ์ในบริษัทต่างๆ ดังนี้:
ผลประกอบการของอียิปต์แอร์ ในช่วงปี 2007-2017 มีดังนี้:
2007 | 2008 | 2009 | 2010 | 2011 | 2012 | 2013 | 2014 | 2015 | 2016 | 2017 | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รายได้ (ล้านปอนด์อียิปต์) | 6,947 | 9,265 | 9,917 | 10,189 | 9,678 | 10,975 | 12,877 | 13,139 | 14,140 | 13,597 | 20,010 |
กำไร/ขาดทุน สุทธิ (ล้านบาท) | 161 | 232 | 208 | 130 | −2,205 | −3,069 | −1,885 | −2,923 | −0,977 | −1,279 | −5,553 |
จำนวนผู้โดยสาร (ล้านคน) | 5.7 | 6.7 | 6.8 | 7.3 | 6.8 | 7.2 | 7.8 | 7.1 | 7.4 | 7.3 | 7.0 |
อัตราการบรรทุกผู้โดยสาร(%) | 63 | 67 | 68 | 72 | 68 | 65 | 67 | 63 | 66 | 69 | |
จำนวนอากาศยาน (ณ สิ้นปี) | 38 | 40 | 48 | 50 | 63 | 64 | 65 | 65 | 60 | 50 | |
หมายเหตุ/อ้างอิง | [12][13][14] | [14] | [14][15][16] | [14][16][17] | [16][17] | [18][19] | [20][21] | [22] | [23] | [24] | [25] |
ลักษณะของโลโก้อียิปต์แอร์จะเป็นรูปเทพฮอรัส เทพแห่งท้องฟ้าในตำนานอียิปต์โบราณ จากการที่ในอียิปต์โบราณฮอรัสถูกเปรียบเปรยว่าเป็น "เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ที่มีปีก" และมักจะแสดงภาพเป็นเหยี่ยวหรือชายที่มีหัวเป็นเหยี่ยว อียิปต์แอร์เริ่มใช้โลโก้ฮอรัสนี้ในต้นทศวรรษ 1970 โดยเริ่มแรกหัวฮอรัสจะมีสีแดงและขนนกสีน้ำเงินด้านหน้าพื้นหลังสีทอง[26]
ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2023 อียิปต์แอร์ให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทาง 90 แห่งทั่วโลก[3]
ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2023 อียิปต์แอร์ทำข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้:[27][28]
ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2023 อียิปต์แอร์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[34][35]
อากาศยาน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร[36] | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
C | Y | รวม | ||||
แอร์บัส เอ220-300 | 12 | — | 15 | 122 | 137 | |
แอร์บัส เอ320-200 | 2 | — | 16 | 123 | 139 | |
แอร์บัส เอ320นีโอ | 8 | — | 16 | 126 | 142 | |
แอร์บัส เอ321นีโอ | 6[37] | 1[38][39] | 16 | 166 | 182 | |
— | 199 | 199 | ||||
แอร์บัส เอ330-200 | 4 | — | 24 | 244 | 268 | |
แอร์บัส เอ330-300 | 4 | — | 36 | 265 | 301 | |
โบอิง 737-800 | 29 | — | 24 | 120 | 144 | |
16 | 138 | 154 | ||||
โบอิง 777-300อีอาร์ | 6 | — | 49 | 297 | 346 | |
โบอิง 787-9 | 6 | 2[40][38] | 30 | 279 | 309 | |
รวม | 77 | 3 |
อียิปต์แอร์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 9.2 ปี
{{cite book}}
: CS1 maint: location (ลิงก์)Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.