Remove ads
นักประวัติศาสตร์ และนักเขียนบทภาพยนตร์ ชาวไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาสตราจารย์ สุเนตร ชุตินธรานนท์ เป็นนักประวัติศาสตร์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักเขียนบทภาพยนตร์ชาวไทย
สุเนตร ชุตินธรานนท์ | |
---|---|
ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 47 พ.ศ. 2562 | |
การศึกษา | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศศ.บ.) มหาวิทยาลัยคอร์เนล (ศศ.ม.) มหาวิทยาลัยคอร์เนล (ปร.ด.) |
อาชีพ | นักประวัติศาสตร์, นักเขียนบทภาพยนตร์ อดีตอาจารย์ |
ศาสตราจารย์สุเนตรจบการศึกษาปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต (ประวัติศาสตร์) เกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาบัณฑิต และ ดุษฎีบัณฑิต สาขา ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สุเนตรเป็นนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ และดำรงตำแหน่งคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย (2557-ปัจจุบัน) เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา (2550-2557) และผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต (นานาชาติ) สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้สนใจและศึกษาประวัติศาสตร์โบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่า จนเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์พม่า
มีผลงานการเขียนด้านบทความมากมายตามนิตยสารต่าง ๆ เช่น เมืองโบราณ, ศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น มีผลงานด้านหนังสือ เช่น
สำหรับผลงานวิจัย ในปี พ.ศ. 2552 คือ ไทยในการรับรู้และความเข้าใจของประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนเพื่อสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นโครงการที่ศึกษามุมมองของประเทศเพื่อนบ้านอันได้แก่ พม่า, ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา, และมาเลเซีย ว่ามีมุมมอง ทัศนคติต่อไทยอย่างไร ซึ่ง ศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าโครงการ
นอกจากนี้ ศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ยังเป็นวิทยากรให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์ตามโอกาสต่าง ๆ เช่น การพูดคุยกับวีระ ธีรภัทรทางวิทยุคลื่น F.M.96.5 MHz เป็นต้น และยังเป็นที่ปรึกษาทางประวัติศาสตร์แก่หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ในการเขียนบทภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท (พ.ศ. 2544) ภาพยนตร์ชุด ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. 2550-2557) "พันท้ายนรสิงห์" (พ.ศ. 2558) โดยในเครดิตภาพยนตร์ปรากฏชื่อของ ดร. สุเนตร เป็นผู้เขียนบทร่วมกับหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ด้วย [1][2]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.