Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อังกฤษ: Faculty of Liberal Arts, Thammasat University) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2504 โดยเป็นคณะศิลปศาสตร์ แห่งแรก และคณะลำดับที่ 2 ของประเทศที่จัดการเรียนการสอนด้านศิลปศาสตร์ ในประเทศไทย มีภารกิจเบื้องต้นในการจัดการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานให้แก่นักศึกษาทุกคณะในมหาวิทยาลัยก่อนจะเลือกเข้าศึกษาแขวงวิชาเฉพาะด้านสำหรับคณะตน ปัจจุบัน คณะศิลปศาสตร์มีหน้าที่ทำการสอนวิชาด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ อีกทั้งภาษาต่างประเทศ โดยมีการจัดการเรียนการสอนด้านศิลปศาสตร์ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติ อีกทั้งเป็นวิชาเลือกให้แก่นักศึกษาทั่วทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้เลือกเรียนได้อย่างเสรี
Faculty of Liberal Arts, Thammasat University | |
สถาปนา | 15 สิงหาคม พ.ศ. 2505 |
---|---|
คณบดี | ผศ.ดร.ภาสพงศ์ ศรีพิจารณ์ |
ที่อยู่ | คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) เลขที่ 2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) เลขที่ 99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 |
วารสาร |
|
สี | สีแสด |
มาสคอต | คบเพลิง |
เว็บไซต์ | www.arts.tu.ac.th |
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังเป็นคณะที่ค่อนข้างมีการแข่งขันสูงมาก โดยรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีคะแนนสอบแอดมิชชั่นทั้งประเทศสูงสุด 1 ใน 10 ของประเทศมาโดยตลอด (โดยปีการศึกษา 2559 และ 2560 รับนักเรียนที่มีคะแนนแอดมิชชั่นสูงสุดอันดับ 3 ของประเทศ และในปีการศึกษา 2561 ในระบบการรับตรงใหม่หรือ TCAS คณะศิลปศาสตร์มีคะแนนสอบเข้าสูงที่สุดในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วยคะแนน 94.45 คะแนน)[1][2][3] คณะศิลปศาสตร์ยังได้รับการจัดอันดับงานวิจัยมหาวิทยาลัยทั่วโลก (QS World University Rankings by Subject) ให้เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยในสาขาปรัชญา สาขาประวัติศาสตร์ และสาขาภาษาสมัยใหม่ และอีกทั้งยังติด 3 ของประเทศอันดับในสาขาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ และสาขาภาษาศาสตร์[4]
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดตั้งขึ้นตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2504 ด้วยดำริของศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ ซึ่งดำรงตำแหน่งคณบดีคนแรกของคณะด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานทั่วไปให้แก่นักศึกษาทุกคณะในมหาวิทยาลัย ก่อนเลือกแขนงวิชาเฉพาะทางของคณะต่าง ๆ ทั้งนี้ เป็นไปตามจุดมุ่งหมายสองประการคือ
โดยในยุคเริ่มแรก คณะศิลปศาสตร์ ได้ทำการสอนด้านศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้แก่ทั้งมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นวิชาพื้นฐาน และอีกทั้งประสาทปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต 5 สาขาวิชาอันได้แก่ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาสถิติ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ และสาขาวิชาภาษาศาสตร์ ซึ่งสาขาเหล่านี้ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2504 อันเป็นสาขาปีเดียวกันกับการต่อตั้งคณะศิลปศาสตร์แต่เดิม โดยชื่อคณะศิลปศาสตร์นั้นได้รับประทานนามจาก พระองค์เจ้าวรรณไวทยากรณ์ โดยเริ่มทำการสอนครั้งแรกในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2505 โดยเปิดสอนรายวิชาศิลปศาสตร์ให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของทั่วทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก่อนที่จะเลือกเข้าศึกษาตามคณะหรือสาขาวิชาต่างๆในชั้นปีต่อไป โดยดังนี้จึงถือเอาวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2505 เป็นวันสถาปณา "คณะศิลปศาสตร์"
ในแต่เดิมที่คณะศิลปศาสตร์ในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับท่าพระจันทร์ในการสร้างตึกโดยสร้างตึก "คณะศิลปศาสตร์" เป็นสองตึกโดยแต่เดิมเป็นตึก 5 ชั้น และ 3 ชั้น โดยเป็นอาคารต้นแบบสถาปัตยกรรมรูปแบบสมัยนิยม (Modernism) ต่อมาในปี พ.ศ. 2516 ได้ขยายอาคาร 5 ชั้นต่อเติมเพิ่มเป็น 8 ชั้น ก่อนการขยายการศึกษาไปยังศูนย์รังสิตอาคารคณะศิลปศาสตร์จึงเป็นอาคารที่สามารถรองรับนักศึกษาทั้งท่าพระจันทร์ได้ในสมัยนั้น ต่อมาเมื่อมีการขยายการศึกษาไปยังศูนย์รังสิต คณะศิลปศาสตร์จึงเริ่มพิจารณาการเรียนการสอนบางสาขาวิชาให้ย้ายไปยังศูนย์รังสิตด้วย โดยเริ่มแรกมีการย้ายสาขาจิตวิทยาและสาขาวิชาภูมิศาสตร์ไปยังศูนย์รังสิตเป็นกลุ่มแรก โดยพิจารณาการศึกษารายวิชาบางวิชาให้ไปศึกษาที่ศูนย์รังสิตแล้วให้มาศึกษาที่ท่าพระจันทร์ในช่วงชั้นปีสุดท้าย แม้กระนั้นด้วยการขยายตัวของคณะและมหาวิทยาลัยเอง การบริหารและสาขาวิชาต่างๆได้มีนโยบายตามนโยบายมหาวิทยาลัยที่ระบุว่าให้นักศึกษาปริญญาตรีภาคปกติเริ่มศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เต็มรูปแบบโดยใช้อาคารคณะศิลปศาสตร์ 9 ชั้น 2 ปีก ของศูนย์รังสิตซึ่งมี่เนื้อที่รองรับต่อการขยายตัวของสาขาวิชาและนักศึกษาเป็นที่สถานที่สำหรับการศึกษาหลักในระดับชั้ยปริญญาตรีเป็นต้นมา
ในส่วนของสาขาวิชาต่าง ๆ คณะศิลปศาสตร์ได้ขยายการเรียนการสอนในสายมนุษยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้กว้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนมากให้ โดยมีการบุกเบิกสาขาและศาสตร์ต่างเรื่อยมาตามลำดับหลังจาก 5 สาขาก่อตั้งอาทิ สาขาวิชาจิตวิทยา (พ.ศ. 2507) สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ (พ.ศ. 2509) สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (พ.ศ. 2513) สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น สาขาวิชาปรัชญา สาขาวิชาภาษาเยอร์มัน สาขาวิชาฝรั่งเศส และ สาขาวิชาภูมิศาสตร์ (พ.ศ. 2514) สาขาวิชาภาษาจีน และ สาขาวิชาภาษาไทย (พ.ศ. 2518) สาขาวิชาการละคอน (พ.ศ. 252X) สาขาวิชาศาสนา (พ.ศ. 2525) ต่อมาสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสาขาวิชาสถิติได้รับการยกฐานะให้ขึ้นตรงกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพร้อมกับการก่อตั้งและขยายการศึกษาไปศูนย์รังสิตในปี พ.ศ. 2529 และสาขาวิชาการละคอนได้รับการยกฐานะจากงบประมาณจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์และโอนสาขาวิชาการละคอนไปสังกัดคณะศิลปกรรมศาสตร์ตั้งแต่ พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา ส่วนสาขาวิชาศาสนาได้ทำการปิดการเรียนการสอนและยุบเหลือแค่วิชาโท สาขาวิชาภาษารัสเชีย (พ.ศ. 2518 และได้รับการยกเป็นภาควิชาในปี พ.ศ. 2536) คณะศิลปศาสตร์ยังได้ริเริ่มการสอนหลักสูตรนานาชาติเพื่อตอบสนองความต้องการในยุคสมัยใหม่โดยเปิดสอน สาขาวิชาอังกฤษ–อเมริกันศึกษา ในปี พ.ศ. 2541
|
|
ปัจจุบัน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดทำการเรียนการสอนในหลักสูตร ดังต่อไปนี้
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
|
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
|
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีรายนามคณบดีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังต่อไปนี้
ทำเนียบคณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | ||
รายนามคณบดี | ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง | |
---|---|---|
1. ศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ | พ.ศ. 2505 – 2511 | |
2. ศาสตราจารย์ อรุณ รัชตะนาวิน | พ.ศ. 2511 – 2517 | |
3. พันเอกหญิง ดร.นิออน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา | พ.ศ. 2517 – 2518 | |
4. ศาสตราจารย์ มงคล สีห์โสภณ | พ.ศ. 2519 – 2525 | |
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สืบแสง พรหมบุญ | พ.ศ. 2526 – 2528 | |
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทิพยา บิณษรี | พ.ศ. 2529 – 2531 | |
7. รองศาสตราจารย์ คุณหญิง วงจันทร์ พินัยนิติศาสตร์ | พ.ศ. 2531 – 2534 | |
8. อาจารย์ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ | พ.ศ. 2534 – 2537 | |
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิระพรรษ์ บุณยเกียรติ | พ.ศ. 2537 – 2539 | |
10. อาจารย์ ดร.ศิรินี เจนวิทย์การ | พ.ศ. 2539 – 2541 | |
11. รองศาสตราจารย์ ดร.มาลินี ดิลกวณิช | พ.ศ. 2542 – 2544 | |
12. รองศาสตราจารย์ ดร.พิมพันธุ์ เวสสะโกศล | พ.ศ. 2544 – 2547 | |
13. รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิโชค วรานุสันติกูล | พ.ศ. 2547 – 2549 | |
14. รองศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ | พ.ศ. 2550 – 2552 | |
15. รองศาสตราจารย์ ดร.ชัชวดี ศรลัมพ์ | พ.ศ. 2553 – 2555 | |
0. ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอมฤต | 1 ตุลาคม 2555 – 31 มกราคม 2556 (รักษาการฯ) | |
16. รองศาสตราจารย์ ดร.ดำรงค์ อดุลยฤทธิกุล | 1 กุมภาพันธ์ 2556 – 28 กุมภาพันธ์ 2562 | |
17. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาสพงศ์ ศรีพิจารณ์ | 1 มีนาคม 2562 – ปัจจุบัน | |
คณะกรรมการนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (กนศ.ศศ.) เป็นผู้จัดกิจกรรมรับเพื่อนใหม่ของคณะฯ หรืองาน "สืบสานตำนานศิลป์" ขึ้นเป็นประจำทุกปี จัดขึ้น ณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกับวันแรกพบของมหาวิทยาลัย เดิมกำหนดเป็นวันที่ 11 พฤษภาคมของทุกปี อันจะตรงกับวันปรีดี ต่อมาหลังจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายเปิดภาคเรียนของมหาวิทยาลัยจึงได้เปลี่ยนมาจัดระหว่างเดือนกรกฎาคม–สิงหาคม ก่อนวันงานปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ในงานจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อให้นักศึกษาใหม่ได้รู้จักบริเวณสำคัญต่าง ๆ รอบมหาวิทยาลัย ให้นักศึกษาใหม่ทำความรู้จักกับนักศึกษารุ่นพี่และเพื่อนนักศึกษาด้วยกัน รวมถึงให้นักศึกษารุ่นพี่ทำความรู้จักกับนักศึกษาใหม่ ทำให้สามารถให้ความช่วยเหลือและให้คำปรึกษากันได้ในระหว่างเปิดภาคเรียนใหม่ อันจะทำให้นักศึกษาใหม่สามารถปรับตัวและเตรียมพร้อมสำหรับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยได้ดียิ่งขึ้น
คณะศิลปศาสตร์ แบ่งกลุ่มนักศึกษาหรือที่เรียกว่า "โต๊ะ" ออกเป็น 6 ตระกูล และแต่ละตระกูลก็จะแบ่งย่อยไปเป็นกลุ่มเล็ก ๆ อีก เช่น จอว์ 1 จอว์ 2 จอว์ 3 เป็นต้น โดยนักศึกษาใหม่แต่ละคนจะต้องสุ่มจับฉลากเพื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิกโต๊ะได้เพียง 1 โต๊ะเท่านั้น และจะเป็นสมาชิกโต๊ะนั้นไปตลอดตั้งแต่เรียนไปจนจบจนถึงทำงานก็จะมีกิจกรรมที่ให้ทำร่วมกันเสมือนเป็นครอบครัวในมหาวิทยาลัยที่ช่วยเสริมสัมพันธ์พี่น้อง ดังนั้นจุดประสงค์ในการที่ทุกคนควรมีโต๊ะ–ตระกูลเป็นของตัวเองก็เพื่อสะดวกในการให้คำแนะนำหรือให้ปรึกษา การทำกิจกรรมก่อให้เกิดความคุ้นเคยสนิทสนมกลมเกลียวกันระหว่าง "เพื่อนใหม่" ซึ่งเป็นอุดมการณ์ของมหาวิทยาลัยที่ผู้ที่เข้ามาศึกษา ณ มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีความเท่าเทียมกัน ไม่มีรุ่นพี่รุ่นน้อง เราคือเพื่อนกัน และได้ตั้งชื่อกลุ่มโต๊ะต่าง ๆ ตามสถานที่สำคัญในบริเวณอาคารของคณะศิลปศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ดังนี้
"เราเริงรื่นชื่นบานวันวัยใส
เป็นสายใยถักทอสานต่อฝัน
จิ๊งคือเราเราคือจิ๊งไม่ทิ้งกัน
ร้อยใจมั่นรวมกันเป็นหนึ่งเดียว"
"ลานโพเรา นามนี้ นั้นมีศักดิ์
โพปกปักษ์ ประวัติศาสตร์ คู่สยาม
รอต้นกล้า ต้นใหม่ ใต้ฟ้าคราม
เจริญงาม เคียงคู่ ดินสอโดม"
"สวนศิลป์นี้ดูแลกันฉันท์พี่น้อง
รักปรองดองกลมเกลียวกันไม่ขาดสาย
เริ่มแรกพบแม้จากกันไม่เสื่อมคลาย
ผูกเป็นสายสินสัมพันธ์ไม่เปลี่ยนแปลง"
"ชาตินักรบไว้ลายใครท้าสู้
มาลองดูคมเขี้ยวกัดไม่ปล่อย
ตระกูลจอว์เลือดร้อนเราเฝ้าคอย
ฉลามน้อยฝูงใหม่มาพบกัน"
"คืออักษรที่สลักปักตรงหน้า
เปล่งเสียงว่า'ลายสือ'ชื่อเล่าขาน
เกียรติประวัติตระกูลเรามีมานาน
ไม่ว่าใครต่างเล่าขาน "ลายสือไทย""
"คือสายน้ำ ที่ไม่พบ เพื่อเพียงผ่าน
คือสายธาร ที่กลมเกลียว ไม่เปลี่ยนผัน
คือสายใย ที่ผูกเรา เข้าด้วยกัน
คือน้ำพุ สัมพันธ์ ของพวกเรา"
งานกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง 4 คณะวิชาด้านภาษาและมนุษยศาสตร์ ได้แก่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แต่เดิมใช้ชื่อว่า "งานสานสัมพันธ์อักษร" โดยเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง 2 คณะอักษรศาสตร์ของประเทศไทย แต่ทางคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มาเข้าร่วมด้วยในภายหลัง จึงเปลี่ยนชื่อเป็นงาน Tri Arts และล่าสุด ทางคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลก็ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมด้วยเช่นกัน ทำให้มีมากกว่า 3 มหาวิทยาลัย จึงตั้งชื่อกิจกรรมขึ้นมาใหม่ว่างาน One Arts เพื่อแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกันของทั้ง 4 มหาวิทยาลัย ภายในงานมีการแข่งขันกีฬา การแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมต่าง ๆ การเชียร์โต้ และโชว์เชียร์ลีดเดอร์จากแต่ละคณะ
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.